ReadyPlanet.com


ทำอย่างไร... เมื่อลูกน้อยอาเจียน


"อาเจียน" เป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กป่วย อาจมีอาหารอื่นร่วมด้วย เช่น อาหารถ่ายเหลว ปวดท้องและไข้ อาการอาเจียนมักทุเลาลงหรือหายไปได้เอง ภายใน 24- 48 ชั่วโมง เด็กบางคนอาจมีอาการปวดท้องและท้องเสียร่วมกับอาการอาเจียนได้

สาเหตุ
++  อาเจียนในเด็กอาจมีสาเหตุจากภาวะอาหารเป็นพิษ อาจพบร่วมกับอาการไข้ หรือเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่เรียยกว่า "ไวรัสลงกระเพาะ"
++  เด็กที่เป็นโรคตับอักเสบมักมีอาการอาเจียน ร่วมกับอาการเจ็บใต้ชายโครงขวาซึ่งเป็นตำแหน่งของตับ และอาจมีภาวะดีซ่าน เด็กที่เป็นโรคติดเชื้อไวรัสโรต้ามักมี
อาการไข้ อาเจียน และถ่ายเป็นน้ำ
++  โรคติดเชื้อหลายโรค เช่น โรคไข้เลือดออก และไข้ทัยฟอยด์ อาจแสดงอาการอาเจียนเป็นอาการเด่น
++  เด็กเล็กที่มีอาการอาเจียนหลายครั้งร่วมกับการกรีดร้องเป็นพักๆและถ่ายเป็นเลือด ควรคิดถึงโรคลำไส้กลืนกันและต้องรีบไปพบแพทย์

การรักษาเบื้องต้น
++  หากเด็กมีอาการทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ดี เล่นได้ กินอาหารได้ สามารถดูแลและเฝ้าสังเกตอาการที่บ้าน
++  อาหารเป็นสิ่งสำคัญ ควรเน้นอาหารอ่อนและย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ควรเน้นอาหารจำพวกแป้ง ลดปริมาณของอาหารในแต่ละมื้อ และเพิ่มจำนวนมื้อแทน
++  ดื่มหรือจิบน้ำและน้ำเกลือแร่ ทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง ส่วนนมดื่มได้ตามปกติ แต่ควรลดปริมาณในแต่ละมือและเพิ่มจำนวนมื้อ
++  ยาแก้อาเจียนอาจช่วยให้อาเจียนน้อยลงและระยะเวลาในการอาเจียนห่างออก แนะนำให้ใช้ยาดอมเพอริโดนหรือโมทีเลียม ในขนาด 1 ช้อนชา (5ซีซี) ต่อน้ำหนักตัว
20 กิโลกรัม หรือครึ่งเม็ดสำหรับน้ำหนักตัว 25-4 กิโลกรัม และ 1 เม็ดสำหรับน้ำหนักตัว 40 กิโลกรัมขึ้นไป ให้ยาก่อนอาหารประมาณครึ่งชั่วโมงวันละ 2-4 ครั้ง

อาการที่ควรปรึกษาแพทย์
++  หากเด็กไม่สามารถดื่มน้ำได้ อาเจียนรุนแรง ปัสสาวะลดลง และอาการไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง มีอาการตาเหลือง ซึมลง กระสับ กระส่าย ไข้สูง ควรรีบปรึกษาแพทย์

การป้องกัน
++  ควรรักษาสุขอนามัยของอาหารและน้ำดื่มให้สะอาด ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัดเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ
++  วัคซีนตับอักเสบเอ วัคซีนตับอักเสบบี วัคซีนทัยฟอยด์ และวัคซีนโรต้า  อาจมีประโยชน์ในการป้องกันโรค

------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูลจาก  :  หนังสือรับมืออย่างไร เมื่อลูกน้อยป่วย
                   คณะแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ที่มา : http://www.magickidschool.com/specialistype.php



ผู้ตั้งกระทู้ แมจิก :: วันที่ลงประกาศ 2009-02-10 14:36:36 IP : 124.120.165.69


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล