ReadyPlanet.com
ardo calypso
dot
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : ข้อควรปฎิบัติ
dot
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 1
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 2
bulletวิธีเลือกกุมารแพทย์ให้ลูก
bulletก่อนคลอด
bulletสิ่งที่ต้องทำเมื่ออยู่ ร.พ.
bulletหลังคลอด
bulletท่าในการให้นม
bulletBreast Crawl
bulletความคาดหวังของลูกน้อย
bulletบันทึกการให้นมลูก
bulletวิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง
bulletสัมผัสรักระหว่างแม่ลูก
bulletโรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
bulletแบบสอบถาม
dot
ปัญหาเรื่อง นมแม่
dot
bulletวิธีแก้ปัญหานมไม่พอ
bullet"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ
bulletนมพอหรือไม่
bulletเมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)
bulletอาหารเพิ่มน้ำนม
bulletวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม
bulletWorkshop เพิ่มน้ำนม (new)
bulletยาประสระน้ำนม
bulletDomperidone (Motilium)
bulletยาเพิ่มน้ำนม Motilium
bulletคำเตือนสำหรับการใช้ยา Domperidone
bulletน้ำหนักตัวเพิ่มช้า
bulletน้ำหนักตัวน้อย
bulletเจ็บหน้าอก หัวนมแตก
bulletการบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม
bulletลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า
bulletตัวเหลือง
bulletสารพันปัญหา
บริจาคนมแม่
dot
เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
dot
bullet20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน
bulletมาทำ stock น้ำนม กันเถอะ
bulletวิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
bulletจะให้ลูกกินอะไรเมื่อแม่ไปทำงาน
bulletวิธีเก็บรักษานมแม่
bulletต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?
bulletโปรแกรมคำนวณนมแม่
bulletยาคุมกำเนิด
dot
คุณแม่นักปั๊ม
dot
bulletการปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม
bulletปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
bulletข้อคิดก่อนซื้อ ที่ปั๊มนม
bulletเพิ่มน้ำนมภายใน 14 วันแรก
bulletเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
bulletซื้อเครื่องปั๊มที่ไหนดี
bulletปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี
bulletเรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
bulletถุงเก็บน้ำนมแม่
dot
กลเม็ดเคล็ดลับ
dot
bulletวิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new)
bulletบีบด้วยมือ vs ปั๊มด้วยเครื่อง
bullet10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี
bulletนอนให้นม...สบายมากๆ เลย
bulletอุปกรณ์เสริม ช่วยแม่ให้นมลูก
bulletมุมให้นมแม่
bulletวิธีพาสเจอร์ไรซ์นมแม่
dot
ปัญหาที่พบไม่บ่อย
dot
bulletลิ้นติด (Tongue Tie)
bulletเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่
bulletต้องการถามปัญหาอื่นๆ
bulletทำไมทารกร้องไห้โยเย
dot
หนังสือแนะนำ
dot
bulletขอรับหนังสือนมแม่ฟรี
bulletการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletสร้างชีวิตมหัศจรรย์ด้วยน้ำนมแม่
bulletนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก
bullet เคล็ดลับ...แม่มือใหม่ "นมแม่"
bulletเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletพัฒนาสมองด้วยนมแม่...
bulletGuide to Breastfeeding
dot
แหล่งข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่
dot
bulletคลินิกนมแม่ทั่วประเทศ
bulletนมแม่ แน่ที่สุด
bulletศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
bulletคลีนิครัก
bulletศริริราชออนไลน์
bulletสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
bulletwww.breastfeeding.com
bulletPromom
bulletรักลูก
bulletLa Leche League
bullet4woman
bulletMother & Child Health
bulletWABA
bulletBreastfeedingonline
bulletDr. Sears
bulletbreastfeedingbasics
bulletwebboard
bulletkellymom
bulletDr. Jack Newman
bulletInfact
bulletgotbreastpump
bulletNew Beginnings
bulletโครงการสายใยรัก
bulletศูนย์ข้อมูล สสส
bulletUNICEF
bulletbreastfeedingmadesimple
bullethm4hb
bulletLactation Narration
bulletNormalFed
dot
Brainfeeding
dot
bulletเก็บมาฝาก
bulletIf we don't care, who will?
bullet๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา
bulletสัมภาษณ์ ดร. อาจอง ชุมสาย ฯ
bulletคนดีของพ่อ
bulletเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้รู้
bulletคุยกับประภาส
dot
Sponsor Link
dot
bulletbfdcenter
bulletร้านนมแม่
bulletศูนย์รวมฟิล์มทุกชนิด
bulletV-Kool
bulletSuvarnabhumi Airport Hostel
bulletBussaba Bangkok Boutique Hotel Suvarnabhumi Airport
bulletbeing-mom
bulletมีลูกยาก
bulletSite Map
ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี whisper
unimom allegro
ardo calypso
Ardo Carum
bulletนมแม่


ร้านนมแม่-เครื่องปั๊มนม


วัคซีน ไอพีดี article

ควรจะใช้เงินเพื่อส่งเสริมโภชนาการที่ดีมากกว่าการฉีดวัคซีน 

 

กระทรวงสาธารณสุขนิวซีแลนด์ประกาศว่ากำลังพิจารณาบรรจุวัคซีนอีกชนิดหนึ่งเข้าในโปรแกรมการฉีดวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็ก แต่ Immunisation Awareness Society (หรือ IAS ซึ่งเป็นสมาคมที่มุ่งเน้นให้เกิดการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับการก่อภูมิคุ้มกัน) กังวลว่าจะเป็นการใช้เงินงบประมาณจำนวนมหาศาลไปกับวัคซีนซึ่งอาจจะทำให้เกิดผลร้ายต่อสุขภาพมากกว่าช่วยป้องกัน ในขณะที่สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กในนิวซีแลนด์เจ็บป่วยเป็นโรคต่างๆ อย่างเช่น การได้รับสารอาหารที่ไม่เหมาะสม การได้รับควันบุหรี่ การไม่ได้กินนมแม่ กลับไม่ได้รับการพิจารณาแก้ไขอย่างเหมาะสม

 

วัคซีนนิวโมคอคคัล ซึ่งเป็นวัคซีนที่ถูกจัดความสำคัญอันดับต่อไปสำหรับคณะทำงานด้านเทคนิคเกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกัน ประกอบด้วยแบคทีเรียเพียง 7 สายพันธุ์จากจำนวนทั้งหมด 90 สายพันธุ์ ซึ่งผลงานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร The Scientist ในปี 2003 พบว่าการฉีดวัคซีนเพรฟนาร์เป็นการแทนที่การติดเชื้อจากแบคทีเรียนิวโมคอคคัส 7 สายพันธุ์ซึ่งวัคซีนต้านไว้ได้ ด้วยการติดเชื้อจากแบคทีเรียอีก 83 สายพันธุ์

 

ในกรณีทั่วไปกระทรวงสาธารณสุขจะแนะนำวัคซีนนี้ให้กับเด็กที่มีปัจจัยความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ แต่กลับไม่ยอมบอกว่าปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อมีอะไรบ้าง ผลงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า การสูบบุหรี่ การใช้ยาปฏิชีวนะในอดีต การไม่ได้กินนมแม่ และการไปอยู่ร่วมกันในศูนย์รับเลี้ยงเด็ก คือปัจจัยเสี่ยงทั้งสิ้น

 

ผลการศึกษาแสดงว่ามีความเกี่ยวข้องระหว่างโรคภัยไข้เจ็บ การที่เด็กไปอยู่ร่วมกันที่ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก และการไม่ได้กินนมแม่ กับความเสี่ยงในการเป็นโรคไอพีดี (IPD หรือ invasive Pnuemococcal Disease) ในเด็ก ความเกี่ยวข้องระหว่างการใช้ยาปฏิชีวนะและการติดเชื้อพีอาร์เอสพี (PRSP หรือ Penicillin Resistant Streptococcus Pneumoniae) ทำให้เราต้องหันมาให้ความสำคัญกับการหลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเกินความจำเป็นในเด็ก

(วารสาร Pediatrics เล่มที่ 103 ลำดับที่ 3 เดือนมีนาคม 1999 หน้า e28)

 

เป็นที่น่าสังเกตว่าปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับลักษณะของการดำเนินชีวิตทั้งสิ้น ซึ่งก็รวมถึงการใช้ยาปฏิชีวนะด้วย การใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นเป็นเรื่องที่มีการพูดกันมากมายในสื่อมวลชน แต่พวกแพทย์ทั้งหลายก็ยังจ่ายยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น และบรรดาพ่อแม่ต่างก็เรียกร้องให้จ่ายยาเหล่านี้แก่ลูกๆ ของพวกเขาอย่างต่อเนื่อง ตามปกติแล้วเด็กและผู้ใหญ่ทั่วไปมีเชื้อแบคทีเรียทั้ง 90 สายพันธุ์นี้อยู่ในจมูกและลำคอ แม้กระทั่งตอนที่ไม่ป่วย และวัคซีนชนิดนี้ก็ไม่ได้ตอบคำถามว่า ทำไมมีเด็กเพียงจำนวนเล็กน้อยเท่านั้นที่เกิดอาการเจ็บป่วยเนื่องจากแบคทีเรีย 

 

นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มค่อนข้างสูงว่าเด็กที่ไม่ได้มีปัจจัยเสี่ยงใดๆ ก็ยังเจ็บป่วยเนื่องจากการกินอาหารที่ขาดสารอาหารและขาดวิตามินแร่ธาตุที่เหมาะสม  การไม่ได้กินนมแม่เป็นเวลานานตอนที่เป็นทารก และการกินอาหารที่มีน้ำตาลสูงและอาหารแปรรูปต่างๆ มีส่วนเกี่ยวข้องในการเกิดโรคจากเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสและโรคอื่นๆ ในทุกเพศทุกวัยของประชากร ในปี 2000 ดร. แอร์เดม แคนเทอคิน ศาสตราจารย์ด้านโสตศอนาสิกวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์กแสดงความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากวัคซีนนิวโมคอคคัล โดยกล่าวว่า 

 

ผลดีที่การคาดกันเอาไว้ว่าจะได้จากวัคซีนชนิดใหม่นี้เป็นการกล่าวอ้างเกินจริง และความเสี่ยงก็มีอยู่มากมาย

 

เขาชี้ให้เห็นว่ามีคำถามมากมายเกี่ยวกับแบคทีเรียนิวโมคอคคัสที่ยังไม่ได้รับคำตอบ และสรุปว่า

 

ด้วยปัจจัยต่างๆ ที่เรายังไม่รู้ การฉีดวัคซีนต้านเชื้อแบคทีเรีย 7 สายพันธุ์ให้กับเด็กแรกเกิด และโอกาสที่จะกำจัดแบคทีเรียทั้ง 7 สายพันธุ์นั้นไปได้ ยังเป็นแค่การทดลองที่ไม่มีการยืนยัน

 

การวิจัยในภายหลังได้พิสูจน์ว่าความเห็นของเขาถูกต้อง ในขณะที่วัคซีนเพรฟนาร์กำจัดแบคทีเรีย 7 สายพันธุ์ที่กำหนดไปได้ แบคทีเรียสายพันธุ์อื่นๆ กลับเจริญเติบโตงอกงามมากยิ่งขึ้นในจมูกและลำคอของเด็กๆ และรอคอยจังหวะที่จะเกิดการติดเชื้อหรือแพร่กระจายเชื้อไปสู่คนอื่น เป็นที่น่าสังเกตว่าอุบัติการณ์ของการเกิดโรคไอพีดีและโรคไข้กาฬหลังแอ่นในนิวซีแลนด์และประเทศอื่นๆ เพิ่มมากขึ้นหลังจากมีการใช้วัคซีนสำหรับป้องกันโรคไข้สมองอักเสบอันเกิดจากเชื้อฮีโมฟิลัสอินฟลูเอนซาชนิดบี ( Haemophilus influenza, type b)

 

มีงานวิจัยอื่นๆ แสดงว่าเมื่อมีการฉีดวัคซีนเพรฟนาร์พร้อมกับวัคซีนชนิดอื่นๆ ประสิทธิผลของวัคซีนชนิดอื่นๆ จะลดลง ในการทดลอง Phase-2 Randomised Control ระหว่างเดือนสิงหาคม 2000 ถึง มกราคม 2002 พบว่าวัคซีนโรคไข้กาฬหลังแอ่น ซี วัคซีนไข้สมองอักเสบอันเกิดจากเชื้อฮีโมฟิลัสอินฟลูเอนซาชนิดบี และวัคซีนคอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก ได้ผลลดน้อยลง IAS ยังเชื่ออีกด้วยว่ากระทรวงสาธารณสุขหลีกเลี่ยงการเปิดเผยความจริงทั้งหมดในการกล่าวว่าการเพิ่มวัคซีนนิวโมคอคคัลจะทำให้จำนวนครั้งทั้งหมดที่เด็กต้องฉีดวัคซีนก่อนถึงอายุสองปีเท่ากับ 16 ครั้ง ในขณะที่นั่นคือจำนวนครั้งที่เด็กต้องถูกฉีดวัคซีนที่แขนหรือสะโพก แต่จำนวนวัคซีนที่ได้รับจริงๆ จะมากกว่านี้มาก

 

ในขณะนี้เด็กทารกตั้งแต่แรกเกิดถึงสองปีจะได้รับวัคซีน 25 ชนิดสำหรับป้องกันโรค 11 ชนิด และการเพิ่มวัคซีนเพรฟนาร์จะทำให้เด็กได้รับวัคซีนทั้งหมด 29 ชนิดสำหรับป้องกัน 12 โรคเมื่อเด็กทารกมีอายุ 15 เดือน เป็นคำกล่าวของ IAS

 

ท้ายที่สุด IAS เชื่อว่างบประมาณราว 5.5 ล้านดอลลาร์ต่อปีจากเงินภาษีของประชาชนที่จะต้องจ่ายเพื่อฉีดวัคซีนเพรฟนาร์ให้กับเด็กทุกคน* ควรจะถูกนำไปใช้เพื่อการกระตุ้นและรณรงค์ให้เลี้ยงทารกด้วยนมแม่จนอายุ 2 ปี และทำให้เด็กทุกคนได้รับอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน และปราศจากอาหารขยะอาหารจานด่วนซึ่งมีน้ำตาลและไขมันสูงเกิน ในขณะเดียวกันบริษัทผู้ผลิตวัคซีนก็กำลังเริงร่ากับจำนวนเงินในธนาคารของพวกเขาที่กำลังเพิ่มขึ้น

 

*คำนวณจากค่าใช้จ่าย 100 ดอลลาร์สำหรับการฉีดวัคซีนเพรฟนาร์ซึ่งระบุว่าต้องมีการฉีดวัคซีนทั้งหมด 4

ครั้ง

 

แปลจากบทความเรื่อง  Money Better Spent On Nutrition Than Vaccine  โดย น้องสาวใจดีแต่ขี้โมโห

 




เก็บมาฝาก

ญาติผู้ใหญ่กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
น้ำนมแม่ดีที่สุด!
เด็กไทยกับวัคซีน 1 ชีวิต 33 เข็ม มากมั้ย ? article
ทีวีส่งผลอะไรบ้างต่อลูกคุณ
นมแม่ในโรงงาน
5 ข้อดีที่คุณไม่เคยรู้ของการที่ลูกตื่นมากินนมตอนกลางคืนบ่อย ๆ
คุณพ่อเชิญทางนี้
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว: ความเชื่อหรือคลื่นกระแสนิยม?
ถ้อยแถลงของ ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน เรื่อง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ article