ReadyPlanet.com
ardo calypso
dot
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : ข้อควรปฎิบัติ
dot
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 1
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 2
bulletวิธีเลือกกุมารแพทย์ให้ลูก
bulletก่อนคลอด
bulletสิ่งที่ต้องทำเมื่ออยู่ ร.พ.
bulletหลังคลอด
bulletท่าในการให้นม
bulletBreast Crawl
bulletความคาดหวังของลูกน้อย
bulletบันทึกการให้นมลูก
bulletวิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง
bulletสัมผัสรักระหว่างแม่ลูก
bulletโรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
bulletแบบสอบถาม
dot
ปัญหาเรื่อง นมแม่
dot
bulletวิธีแก้ปัญหานมไม่พอ
bullet"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ
bulletนมพอหรือไม่
bulletเมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)
bulletอาหารเพิ่มน้ำนม
bulletวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม
bulletWorkshop เพิ่มน้ำนม (new)
bulletยาประสระน้ำนม
bulletDomperidone (Motilium)
bulletยาเพิ่มน้ำนม Motilium
bulletคำเตือนสำหรับการใช้ยา Domperidone
bulletน้ำหนักตัวเพิ่มช้า
bulletน้ำหนักตัวน้อย
bulletเจ็บหน้าอก หัวนมแตก
bulletการบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม
bulletลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า
bulletตัวเหลือง
bulletสารพันปัญหา
บริจาคนมแม่
dot
เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
dot
bullet20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน
bulletมาทำ stock น้ำนม กันเถอะ
bulletวิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
bulletจะให้ลูกกินอะไรเมื่อแม่ไปทำงาน
bulletวิธีเก็บรักษานมแม่
bulletต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?
bulletโปรแกรมคำนวณนมแม่
bulletยาคุมกำเนิด
dot
คุณแม่นักปั๊ม
dot
bulletการปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม
bulletปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
bulletข้อคิดก่อนซื้อ ที่ปั๊มนม
bulletเพิ่มน้ำนมภายใน 14 วันแรก
bulletเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
bulletซื้อเครื่องปั๊มที่ไหนดี
bulletปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี
bulletเรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
bulletถุงเก็บน้ำนมแม่
dot
กลเม็ดเคล็ดลับ
dot
bulletวิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new)
bulletบีบด้วยมือ vs ปั๊มด้วยเครื่อง
bullet10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี
bulletนอนให้นม...สบายมากๆ เลย
bulletอุปกรณ์เสริม ช่วยแม่ให้นมลูก
bulletมุมให้นมแม่
bulletวิธีพาสเจอร์ไรซ์นมแม่
dot
ปัญหาที่พบไม่บ่อย
dot
bulletลิ้นติด (Tongue Tie)
bulletเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่
bulletต้องการถามปัญหาอื่นๆ
bulletทำไมทารกร้องไห้โยเย
dot
หนังสือแนะนำ
dot
bulletขอรับหนังสือนมแม่ฟรี
bulletการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletสร้างชีวิตมหัศจรรย์ด้วยน้ำนมแม่
bulletนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก
bullet เคล็ดลับ...แม่มือใหม่ "นมแม่"
bulletเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletพัฒนาสมองด้วยนมแม่...
bulletGuide to Breastfeeding
dot
แหล่งข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่
dot
bulletคลินิกนมแม่ทั่วประเทศ
bulletนมแม่ แน่ที่สุด
bulletศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
bulletคลีนิครัก
bulletศริริราชออนไลน์
bulletสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
bulletwww.breastfeeding.com
bulletPromom
bulletรักลูก
bulletLa Leche League
bullet4woman
bulletMother & Child Health
bulletWABA
bulletBreastfeedingonline
bulletDr. Sears
bulletbreastfeedingbasics
bulletwebboard
bulletkellymom
bulletDr. Jack Newman
bulletInfact
bulletgotbreastpump
bulletNew Beginnings
bulletโครงการสายใยรัก
bulletศูนย์ข้อมูล สสส
bulletUNICEF
bulletbreastfeedingmadesimple
bullethm4hb
bulletLactation Narration
bulletNormalFed
dot
Brainfeeding
dot
bulletเก็บมาฝาก
bulletIf we don't care, who will?
bullet๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา
bulletสัมภาษณ์ ดร. อาจอง ชุมสาย ฯ
bulletคนดีของพ่อ
bulletเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้รู้
bulletคุยกับประภาส
dot
Sponsor Link
dot
bulletbfdcenter
bulletร้านนมแม่
bulletศูนย์รวมฟิล์มทุกชนิด
bulletV-Kool
bulletSuvarnabhumi Airport Hostel
bulletBussaba Bangkok Boutique Hotel Suvarnabhumi Airport
bulletbeing-mom
bulletมีลูกยาก
bulletSite Map
ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี whisper
unimom allegro
ardo calypso
Ardo Carum
bulletนมแม่


ร้านนมแม่-เครื่องปั๊มนม


นมแม่ ช่วยป้องกัน โรคติดเชื้อ ไอพีดี article

 

สวัสดีค่ะ

 

วันนี้มีเรื่องของโรคติดเชื้อไอพีดี (IPD : Invasive Pneumococal Disease) มาเล่าให้ฟังค่ะ  เมื่อประมาณกลางเดือนที่แล้ว ทุกท่านคงจะได้ยินข่าวเตือนให้ระวังโรคนี้ทางสื่อต่างๆ กันแล้วนะคะ  สำหรับคนที่ไม่ได้ติดตามข่าว จะเล่าให้ฟังย่อๆ นะคะว่าโรคนี้เป็นยังไง

 

โรคไอพีดี เป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงในเด็ก เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสเตรปโต   คอคคัส นิวโมเนียอี หรือที่รู้จักในชื่อนิวโมคอคคัส ซึ่งจะพบเชื้อชนิดนี้มากในโพรงจมูก ลำคอ และระบบทางเดินหายใจทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งผู้มีเชื้ออาจไม่มีอาการใด ๆ แต่สามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่คนอื่นได้ (พาหะ)

 

สามารถติดต่อได้ง่ายทางระบบหายใจ ด้วยการไอ หรือจาม ซึ่งเหมือนกับการแพร่เชื้อไข้หวัดธรรมดา แต่มีอาการร้ายแรงกว่ามาก หากเด็กรายใดป่วยเป็นโรคดังกล่าว จะมีอัตราการเสียชีวิต หรือไม่ก็อาจพิการสูง

หากได้รับการรักษาไม่ทัน

 

ปัจจัยเสี่ยงของโรคนี้ก็คือ การสูบบุหรี่ การใช้ยาปฏิชีวนะในอดีต การไม่ได้กินนมแม่เป็นเวลานานตอนเป็นเด็ก และการอยู่ร่วมกันในศูนย์รับเลี้ยงเด็ก

 

วิธีป้องกันโรค

 

  • สอนให้เด็กมีสุขอนามัยที่ดี ล้างมือบ่อยๆ และปิดปากปิดจมูกทุกครั้งที่ไอหรือจาม
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับคนเป็นหวัดหรือป่วย
  • ควรให้เด็กกินนมแม่เพื่อให้มีภูมิต้านทาน
  • ฉีดวัคซีนป้องกัน

 

รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ ที่นี่ ค่ะ

 

ที่วันนี้อยากเล่าเรื่องนี้ก็เพราะว่าตอนที่ฟังข่าวนั้น รู้สึกว่าโรคนี้ฟังดูน่ากลัวจัง ก็เลยไปหาข้อมูลเพิ่มเติมมาค่ะ  เริ่มจากไปถามคุณหมอของลูกที่ร.พ.กรุงเทพ  ได้ความว่า เป็นโรคที่พบไม่บ่อย แต่ถ้าเป็นแล้วจะมีอาการรุนแรงมาก สามารถฉีดวัคซีนป้องกันได้ แล้วก็ได้เอกสารมาอ่านต่อ สรุปได้คล้ายๆ กับที่เล่าไปแล้วข้างบนนั่นล่ะค่ะ  แถมด้วยจำนวนวัคซีนที่ต้องฉีดสำหรับเด็กแต่ละช่วงอายุดังนี้

 

  • เด็กแรกเกิดถึงหกเดือนต้องฉีดทั้งหมด 4 เข็ม
  • เด็กอายุ 7-11 เดือน ต้องฉีด 3 เข็ม
  • เด็กอายุ 12-23 เดือน ต้องฉีด 2 เข็ม
  • เด็กอายุ 2-9 ขวบ ฉีด 1 เข็ม

 

ถามราคาจาก ร.พ.กรุงเทพ แล้ววัคซีนชนิดนี้เข็มละ 4250 บาท (ไม่รวมค่าหมอ) โอ้โห! 4 เข็มร่วมสองหมื่นเชียวนะคะ แต่วัคซีนตัวนี้ยังไม่ใช่วัคซีนบังคับเหมือนที่เราต้องไปฉีดกันตามสมุดนัดค่ะ  เป็นวัคซีนภาคสมัครใจ ใครยินดีจ่ายก็ไปฉีดกันไว้ได้ค่ะ

 

จริงๆ เรื่องโรคนี้เคยเป็นข่าวมาครั้งนึงเมื่อปีที่แล้ว แต่ไม่ดังเท่าครั้งนี้  ตอนนั้นก็เคยถามคุณหมอที่ ร.พ.พระรามเก้า มาแล้วหนนึง คุณหมอก็บอกว่าวัคซีนตัวนี้ในอเมริกาเป็นวัคซีนบังคับ แต่เมืองไทยไม่บังคับ เพราะราคาแพงมาก ถ้าสามารถจ่ายได้ ก็ควรจะฉีดค่ะ ตอนนั้นฟังแล้วก็ลืมๆ ไป ไม่ได้สนใจอีก (จริงๆ แล้ว แกล้งลืมค่ะ เพราะคุณหมอบอกว่าเข็มละห้าพัน 5555)

 

แต่คราวนี้ข่าวดังมาก เลยกลับมาคิดใหม่  ในระหว่างที่ ติ๊กต่อกๆๆ เอาไงดี ฉีด-ไม่ฉีด-ฉีด-ไม่ฉีด ก็เลยไปหาข้อมูลเพิ่มเติมมาใหม่ ก็ได้ข้อมูลอีกด้านมาจากเว็บไซต์ของประเทศนิวซีแลนด์ค่ะ ที่นั่นเค้าก็ยังไม่บังคับวัคซีนตัวนี้เหมือนกัน  แต่กำลังจะบังคับเร็วๆ นี้ ทำให้เป็นเรื่องถกเถียงกันอยู่

 

ได้ความแบบย่อๆ ว่า จริงๆ แล้วแบคทีเรียชนิดนี้มีทั้งหมด 90 สายพันธุ์ ปกติก็ยั้วเยี้ยอยู่ในโพรงจมูก ลำคอและระบบหายใจของเรานี่อยู่แล้ว บางคนก็ติดเชื้อทำให้เกิดโรค บางคนก็ไม่เกิดโรค โดยมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคก็คือ การสูบบุหรี่ การใช้ยาปฏิชีวนะในอดีต การไม่ได้กินนมแม่เป็นเวลานานตอนเป็นเด็ก และการอยู่ร่วมกันในศูนย์รับเลี้ยงเด็ก

 

วัคซีนตัวที่จะฉีดนี้ป้องกันได้แค่ 7 สายพันธุ์เท่านั้นเอง ยังเหลืออีก 83 สายพันธุ์ แถมมีงานวิจัย พิสูจน์อีกว่าในขณะที่วัคซีนนี้กำจัดแบคทีเรีย 7 สายพันธุ์ที่กำหนดไปได้ แบคทีเรียสายพันธุ์อื่นๆ กลับเจริญเติบโตงอกงามมากยิ่งขึ้นในจมูกและลำคอของเด็กๆ และรอคอยจังหวะที่จะเกิดการติดเชื้อหรือแพร่กระจายเชื้อไปสู่คนอื่

 

ทำให้มีการโต้แย้งว่า เงินงบประมาณที่จะต้องเสียไปกับการฉีดวัคซีนป้องกันนี้   ควรจะถูกนำไปใช้เพื่อการกระตุ้นและรณรงค์ให้เลี้ยงทารกด้วยนมแม่จนอายุ 2 ปี และทำให้เด็กทุกคนได้รับอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน และปราศจากอาหารขยะอาหารจานด่วนซึ่งมีน้ำตาลและไขมันสูงเกินเสียยังจะดีกว่า

 

อ่านบทความเรื่องนี้ฉบับเต็มได้ ที่นี่ ค่ะ

 

 

นั่นเป็นเรื่องที่เค้าคุยกันที่นิวซีแลนด์ค่ะ ล่าสุดในประเทศไทย อธิบดีกรมควบคุมโรคก็ออกมาแถลงแล้วว่า

 

โรคไอพีดีที่พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ มีไข้สูงหอบ หากเกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้เสียชีวิตได้นั้นยังไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกัน ประเทศไทยมียารักษา

 

สถิติของประเทศไทยประเมินแล้วยังไม่เป็นปัญหาทางสาธารณสุข ยังไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกัน เพราะวัคซีนราคาค่อนข้างสูง มีให้บริการในสถานพยาบาลเอกชนเท่านั้น แต่ละปีพบผู้ป่วยประปราย แต่หากพบแนวโน้มมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นกรมควบคุมโรคจะประเมินสถานการณ์เสนอรัฐบาลให้บรรจุวัคซีนนี้เข้าในโปรแกรมการฉีดวัคซีนพื้นฐาน แต่ ณ เวลานี้ยังไม่จำเป็นต้องฉีด หากพ่อแม่มีเงินจะฉีดให้ลูกก็ไม่ว่ากัน

 

ได้ข้อมูลรอบด้านแล้วก็ไปพิจารณากันเองนะคะว่าจะฉีดหรือไม่ฉีด  แต่ที่แน่ๆ เลย การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นี่ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ไปได้เต็มๆ เลยนะคะ เพราะทำให้ลูกมีภูมิต้าน ไม่ป่วยบ่อย ทำให้ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะบ่อยๆ เพราะการใช้ยาปฏิชีวนะบ่อยๆ ก็เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้ค่ะ

 




Webmother รำพัน

ซื้อเครื่องปั๊มตามรีวิว
บุคลากรทางการแพทย์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
เลิกด่านมผงซะทีเถอะครับ...จากใจคุณพ่อลูกสอง (ตอนที่ 1)
หมาป่าในคราบนักบุญ
ปั๊มนมวันละ 7-8 รอบทุกวัน ทำไมนมไม่เพิ่มสักที
อุปสรรคทางสังคมกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
การให้ลูกกินนมผสมไม่เกี่ยวอะไรกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
นมเกลี้ยงเต้า เข้าใจให้ถูกต้อง
สงครามน้ำนม ตอนที่ 3 ตัวอย่างแจกฟรี
สงครามน้ำนม ตอน เล่นผิดบท
สงครามน้ำนม ตอน ลูกคนควรกินนมอะไร
อย่าบอกว่าดีเหมือนกัน
รู้ว่าเขาหลอก แต่เต็มใจให้หลอก
คุณค่าของนมแม่หลัง 6 เดือน หรือ 1 ปี
หมอที่ไม่ชอบให้หนูกินนมแม่
ท้องสาม ลองแล้วถึงรู้ ตอน นมผสม 3 article
ท้องสาม ลองแล้วถึงรู้ ตอน นมผสม-2
ท้องสาม ลองแล้วถึงรู้ ตอน นมผสม-1
สงสารหลินฮุ่ย article
ท้องสาม ลองแล้วถึงรู้ ตอน ตัวเหลือง
ร้องแค่ไหนถึงไม่ตาย
โครงการจัดพิมพ์หนังสือนมแม่ 2
โครงการจัดพิมพ์หนังสือนมแม่
Workshop เพิ่มน้ำนม ฉบับล่าสุด
ขอความร่วมมือหน่อยค่ะ
ไม่รู้จักพอ article
คำถามที่ไม่อยากตอบ
โรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
ช่วยกันเผยแพร่ความรู้ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ article
ทำไมถึงเข้าใจว่านมไม่พอ
แบบนี้ เห็นทีจะไม่พอแน่ article
ถ้าเข้าใจ...ยังไงก็พอ Part 2 article
ถ้าเข้าใจ...ยังไงก็พอ Part 1 article
ต้องการแต่ไม่อยากเป็น article
ควันหลง แม่ดีเด่น อยากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ article
รับสมัคร แม่อาสา ให้คำปรึกษาเรื่องนมแม่
Mission Accomplished : หนังสือของเรา
วันแม่แห่งชาติ - สัปดาห์แห่ง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ article
Workshop เพิ่มน้ำนม article
นมไม่พอ - บันทึกการให้นมลูก article
บีบน้ำนมด้วยมือ article
13 เม.ย. 49 เปิดใจ webmother article
ถุงรับขวัญ article
สงครามน้ำนม ตอนที่ 2 หมอจบอะไรมา
ถ้าย้อนเวลากลับไปได้
เข้าเว็บนี้ครั้งแรก article



[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (149312)

 

ตอนนี้ลูก 1 ขวบ 8 เดือนยังมีนมแม่ให้กินอยู่เลยลูกแข็งแรงมากๆ

ผู้แสดงความคิดเห็น แม่ลูก2 (Kannika542011-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-05-11 11:47:32


ความคิดเห็นที่ 2 (149904)

ลูก 1 ขวบ 7 เดือน ก็ยังทานนมแม่อยู่คะ น้ำนมมีเยอะอยู่นะคะ แต่มีคนบอกว่านมแม่ไม่มีประโยชน์แล้วนมผงเถอะ ตอนแรกก็เขวคะ กลัวลูกไม่สมบูรณ์ แต่พอเข้ามา web นี้อ่านบทความมั่นใจขึ้นเยอะเลยคะ ทานนมแม่ต่อไปนะลูกรัก

ผู้แสดงความคิดเห็น vi (samsaw_wachira-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-08-05 10:38:17


ความคิดเห็นที่ 3 (153879)

 ลูก4เดือนดูดนมครั้งละเต้า เพียงพอไหมค่ะ เค้าจะกินทุก2-3ชม.

แล้วถ้ากลางวันอากาศร้อน จำเป็นต้องใหเดูดน้ำเพิ่มไหมค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น แม่น้องไลลา วันที่ตอบ 2014-03-29 01:54:15



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล