ReadyPlanet.com
ardo calypso
dot
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : ข้อควรปฎิบัติ
dot
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 1
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 2
bulletวิธีเลือกกุมารแพทย์ให้ลูก
bulletก่อนคลอด
bulletสิ่งที่ต้องทำเมื่ออยู่ ร.พ.
bulletหลังคลอด
bulletท่าในการให้นม
bulletBreast Crawl
bulletความคาดหวังของลูกน้อย
bulletบันทึกการให้นมลูก
bulletวิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง
bulletสัมผัสรักระหว่างแม่ลูก
bulletโรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
bulletแบบสอบถาม
dot
ปัญหาเรื่อง นมแม่
dot
bulletวิธีแก้ปัญหานมไม่พอ
bullet"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ
bulletนมพอหรือไม่
bulletเมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)
bulletอาหารเพิ่มน้ำนม
bulletวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม
bulletWorkshop เพิ่มน้ำนม (new)
bulletยาประสระน้ำนม
bulletDomperidone (Motilium)
bulletยาเพิ่มน้ำนม Motilium
bulletคำเตือนสำหรับการใช้ยา Domperidone
bulletน้ำหนักตัวเพิ่มช้า
bulletน้ำหนักตัวน้อย
bulletเจ็บหน้าอก หัวนมแตก
bulletการบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม
bulletลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า
bulletตัวเหลือง
bulletสารพันปัญหา
บริจาคนมแม่
dot
เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
dot
bullet20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน
bulletมาทำ stock น้ำนม กันเถอะ
bulletวิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
bulletจะให้ลูกกินอะไรเมื่อแม่ไปทำงาน
bulletวิธีเก็บรักษานมแม่
bulletต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?
bulletโปรแกรมคำนวณนมแม่
bulletยาคุมกำเนิด
dot
คุณแม่นักปั๊ม
dot
bulletการปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม
bulletปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
bulletข้อคิดก่อนซื้อ ที่ปั๊มนม
bulletเพิ่มน้ำนมภายใน 14 วันแรก
bulletเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
bulletซื้อเครื่องปั๊มที่ไหนดี
bulletปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี
bulletเรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
bulletถุงเก็บน้ำนมแม่
dot
กลเม็ดเคล็ดลับ
dot
bulletวิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new)
bulletบีบด้วยมือ vs ปั๊มด้วยเครื่อง
bullet10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี
bulletนอนให้นม...สบายมากๆ เลย
bulletอุปกรณ์เสริม ช่วยแม่ให้นมลูก
bulletมุมให้นมแม่
bulletวิธีพาสเจอร์ไรซ์นมแม่
dot
ปัญหาที่พบไม่บ่อย
dot
bulletลิ้นติด (Tongue Tie)
bulletเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่
bulletต้องการถามปัญหาอื่นๆ
bulletทำไมทารกร้องไห้โยเย
dot
หนังสือแนะนำ
dot
bulletขอรับหนังสือนมแม่ฟรี
bulletการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletสร้างชีวิตมหัศจรรย์ด้วยน้ำนมแม่
bulletนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก
bullet เคล็ดลับ...แม่มือใหม่ "นมแม่"
bulletเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletพัฒนาสมองด้วยนมแม่...
bulletGuide to Breastfeeding
dot
แหล่งข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่
dot
bulletคลินิกนมแม่ทั่วประเทศ
bulletนมแม่ แน่ที่สุด
bulletศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
bulletคลีนิครัก
bulletศริริราชออนไลน์
bulletสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
bulletwww.breastfeeding.com
bulletPromom
bulletรักลูก
bulletLa Leche League
bullet4woman
bulletMother & Child Health
bulletWABA
bulletBreastfeedingonline
bulletDr. Sears
bulletbreastfeedingbasics
bulletwebboard
bulletkellymom
bulletDr. Jack Newman
bulletInfact
bulletgotbreastpump
bulletNew Beginnings
bulletโครงการสายใยรัก
bulletศูนย์ข้อมูล สสส
bulletUNICEF
bulletbreastfeedingmadesimple
bullethm4hb
bulletLactation Narration
bulletNormalFed
dot
Brainfeeding
dot
bulletเก็บมาฝาก
bulletIf we don't care, who will?
bullet๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา
bulletสัมภาษณ์ ดร. อาจอง ชุมสาย ฯ
bulletคนดีของพ่อ
bulletเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้รู้
bulletคุยกับประภาส
dot
Sponsor Link
dot
bulletbfdcenter
bulletร้านนมแม่
bulletศูนย์รวมฟิล์มทุกชนิด
bulletV-Kool
bulletSuvarnabhumi Airport Hostel
bulletBussaba Bangkok Boutique Hotel Suvarnabhumi Airport
bulletbeing-mom
bulletมีลูกยาก
bulletSite Map
ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี whisper
unimom allegro
ardo calypso
Ardo Carum
bulletนมแม่


ร้านนมแม่-เครื่องปั๊มนม


วิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง

 

มาดูวิธีที่ควรจะใช้กันในกรณีที่ จำเป็น ต้องให้นมชนิดอื่นกับลูก นอกจากนมแม่ ถ้าคุณได้อ่านบทความเรื่อง นมพอหรือไม่  อย่างตั้งใจ เรียบร้อยแล้ว และมั่นใจแล้วว่าที่คิดว่าไม่พอนั้น จริงแท้แน่นอน หาได้วิตกจริต หรือจิ้งจกข้างบ้านทักแต่อย่างใด  ก็ลองอ่านบทความนี้ต่อเลยค่ะ ว่าเราควรทำอย่างไร กับการให้นมชนิดอื่นเสริมแก่ลูกอย่างถูกวิธีโดยไม่ทำให้เป้าหมายการให้นมแม่มีปัญหา  จริงๆ เรื่องนี้อยากแนะนำในเว็บตั้งนานแล้ว แต่ติดว่าต้องไปตามล่าหาอุปกรณ์ประกอบมาให้ได้ก่อน  ครั้งแรกไปเจอ Supplemenntal Nursing System (SNS) ของ Medela  ดูสะดวกสบาย น่าใช้ค่ะ ราคาถูกมากค่ะ (ถูกตำหนินะ) สามพันค่ะ รีบวางเลย

 

 

 

นี่แบบสำเร็จรูปค่ะ สามพัน

 

 

 สุดท้ายเลยไปเจอ feeding tube อันละ 20 บาท  แต่ต้องไปซื้อแถวร้านขายยาหน้าศิริราชนะคะ ถึงจะมี เพราะเราต้องใช้เบอร์เล็กสุด คือเบอร์ 5 ค่ะ ลองไปหาดูนะคะ อาจจะต้องเดินถามหลายร้านหน่อย  มีหลายยี่ห้อ สั้นยาวไม่เท่ากัน  ลองดูค่ะ ยาวไป กินแรงลูกมากก็ตัดให้สั้นหน่อย  เป็นแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง แต่ที่ดร.แกบอก ก็ใช้สักอาทิตย์นึงค่อยทิ้งก็ได้ค่ะ

 

 

feeding tube อันละ 20 บาท ภาพไม่ค่อยชัด เพราะใช้ scan ค่ะ

 

 

 

 

 วิธีใช้ feeding tube เส้นละ 15 บาท ตัดปลายจุกขวดนมที่เรามีอยู่แล้วเสียบปลายด้านหนึ่งของสายลงไป อีกด้านหนึ่งเอามาให้ลูกดูดกับอกค่ะ 

 

 

ในบทความ ดร.แจ็คแนะนำว่า ควรให้ผู้เชี่ยวชาญทำให้ดูเป็นตัวอย่าง  แต่ไม่รู้ว่าบ้านเราจะไปหาผู้เชี่ยวชาญที่ไหนนะคะ  ที่คลินิกนมแม่จะมีสอนหรือเปล่าก็ไม่รู้ ใครรู้ช่วยเมล์มาบอกด้วยค่ะ  รู้แต่ว่าตอนไปตามหา feeding tube ที่จะใช้ในการนี้ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ คุยอยู่หลายคน ทำท่างงๆ ทุกคนเลย พยายามอธิบายตั้งนานว่าเราจะเอาไปทำอะไร คนฟังก็ทำหน้าเหมือนเราไม่ได้พูดภาษาไทย

 

หาผู้เชี่ยวชาญทำให้ดูไม่ได้ ก็ลองเองนี่ล่ะค่ะ  พอได้มาก็เอามาลองกับเจ้าลูกชายคนเล็ก คือให้เค้าดูดนมเราก่อน แล้วก็เอาปลายข้างที่มีจุกใส่ขวดนม  แล้วปลายอีกด้านนึงสอดเข้าปาก  นายแบบทำท่างงๆ เล็กน้อย แต่ก็ดูดได้ปกติค่ะ  แต่เนื่องจากตอนนั้นลูกเราแปดเดือนเข้าไปแล้ว เลยไม่รู้ว่าถ้าเป็นเด็กเล็กๆ เดือนสองเดือนจะง่ายแบบนี้หรือเปล่านะคะ  ถ้าใครลองแล้วได้เรื่องหรือไม่ได้เรื่องยังไงขอความกรุณา เมล์มาเล่าเป็นวิทยาทานกับคุณแม่ท่านอื่นๆ ด้วยนะคะ ก่อนลองก็อย่าลืมดู VDO Clips เรื่อง Lactation Aide เป็นตัวอย่างด้วยค่ะ

 

 

การใช้อุปกรณ์เสริมการให้นม (Lactation Aid)

 

คำนำ

 

อุปกรณ์เสริมการให้นม หรือ lactation aid คืออุปกรณ์เสริมที่จะช่วยให้คุณแม่ที่ให้ลูกกินนมจากอกแม่สามารถป้อนของเหลวให้แก่ลูกได้โดยไม่ต้องใช้จุกนมยาง (ของเหลวอาจเป็นน้ำนมแม่ที่บีบออกมา, นมผสม, น้ำกลูโคส, หรือน้ำกลูโคสผสมนมน้ำเหลืองก็ได้) การเริ่มใช้จุกนมยางตั้งแต่เนิ่นๆ อาจจะทำให้ทารก “ติดขวดนม” หรือเกิดอาการ “สับสนระหว่างหัวนม” เพราะจุกนมยางจะรบกวนวิธีการที่ทารกงับหัวนมและกินนมจากอกแม่ ในความเป็นจริงทารกไม่ได้สับสน เขารู้ดีว่าอะไรเป็นอะไร ถ้าเขากินนมจากอกแม่และน้ำนมไหลช้า เขาจะได้กินนมเพียงเล็กน้อย แล้วพอได้ขวดนมที่น้ำนมไหลเร็ว ทารกส่วนใหญ่เข้าใจความแตกต่างได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงวันแรกๆ

 

ยิ่งทารกงับหัวนมได้สนิทดีเท่าไร เขาก็ยิ่งกินนมได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่น้ำนมแม่มีปริมาณน้อย ในช่วงแรกคุณแม่ยังมีน้ำนมไม่มาก แต่ถ้าทารกได้กินนมจริงๆ  ปริมาณน้ำนมเท่าที่มีอยู่ก็พอเพียงกับความต้องการของเขา แต่ถ้าหากทารกงับหัวนมได้ไม่สนิทดี เขาจะไม่ได้รับน้ำนมจากอกแม่มากพอ และมักจะผล็อยหลับหรือผละออกจากอกแม่เมื่อน้ำนมไหลช้าลง หลังจากนั้นทารกอาจจะไม่ยอมกินนมจากอกแม่, หงุดหงิดรำคาญเวลาอยู่กับอกแม่, น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นไม่เหมาะสม, น้ำหนักตัวลดลง, หรืออาจถึงขั้นมีอาการขาดน้ำ ในช่วงสัปดาห์แรกๆ คุณแม่อาจมีอาการเจ็บหัวนม แต่การใช้จุกนมยางก็ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาได้เสมอไป การใช้จุกนมยางตอนที่สถานการณ์กำลังแย่แทบจะไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น และโดยมากจะทำให้แย่ลงด้วยซ้ำ ผมไม่คิดว่า จุกนมยางรุ่นใหม่ล่าสุด จะดีกว่าจุกนมยางรุ่นเก่า

 

การใช้อุปกรณ์เสริมการให้นมเพื่อป้อนนมผสมให้ทารกจะดีกว่าการใช้จุกนมยางเป็นอันมาก (สำหรับกรณีที่จำเป็นต้องให้นมผสมจริงๆ) และจะดีกว่าการป้อนด้วยกระบอกฉีด, ถ้วย, นิ้ว, หรือวิธีอื่นๆ เพราะทารกจะอยู่กับอกแม่และได้หัดกินจากอกแม่ ทารกก็เหมือนผู้ใหญ่ พวกเขาจะเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากการได้ลงมือทำ นอกจากนั้นทารกที่ถูกป้อนนมผสมที่อกแม่ก็จะได้รับนมแม่จากอกแม่ไปด้วย และอย่าลืมว่ายังมีคุณประโยชน์อื่นอีกมากมายจากการดูดนมจากอกแม่ นอกเหนือจากน้ำนมแม่

 

 

ทำไมการใช้อุปกรณ์เสริมการให้นมจึงดีกว่า

 

1. ทารกหัดกินนมแม่โดยการให้ลูกกินนมจากอกแม่

2. คุณแม่หัดให้นมลูกโดยการให้ลูกกินนมจากอกแม่

3. ทารกยังคงได้รับนมแม่อย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งในระหว่างถูกป้อนนมผสม

4. ทารกจะไม่ปฏิเสธหน้าอกแม่ ในขณะที่ถ้าเขาได้รับนมผสมวิธีอื่น ทารกมักจะไม่ยอมกินนมจากอกแม่อีกต่อไป

5. มีคุณประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายจากการกินนมจากอกแม่ นอกเหนือจากน้ำนมแม่

 

 

อุปกรณ์เสริมการให้นมคืออะไร

 

อุปกรณ์เสริมการให้นม ประกอบด้วย ภาชนะใส่นมผสม (โดยปกติมักจะเป็นขวดนมกับจุกนมยางที่มีรูขนาดใหญ่) กับ สายยางขนาดเล็กสายยาวๆ ที่ต่อกับภาชนะนี้ มีบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์เสริมการให้นมชนิดสำเร็จรูปออกมาวางขายด้วย ซึ่งมันอาจใช้ได้สะดวกกว่าในบางสถานการณ์ (แต่ก็ไม่เสมอไป) อุปกรณ์เสริมการให้นมชนิดสำเร็จรูปจะมีประโยชน์มากถ้าคุณแม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมในทารกที่มีอายุมากขึ้นแล้ว, ถ้าคุณแม่ต้องให้นมผสมกับทารกฝาแฝด, ถ้าต้องใช้อุปกรณ์เสริมการให้นมในระยะยาว, หรือเกิดปัญหาขึ้นเมื่อใช้อุปกรณ์เสริมการให้นมชนิดทำขึ้นเอง ถึงแม้อุปกรณ์เสริมการให้นมชนิดสำเร็จรูปจะมีราคาค่อนข้างแพง แต่มันก็มีราคาแค่พอๆ กับค่านมผสมสูตรสำหรับทารกประมาณ 2 สัปดาห์เท่านั้น

 

หมายเหตุ: การใช้สายยางเล็กๆ ร่วมกับกระบอกฉีด (แทนที่จะใช้ขวดนมตามที่กล่าวข้างต้น) อาจจะทำให้มีความซับซ้อนเกินความจำเป็น และไม่ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์แต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม มันกลับจะทำให้การใช้งานยุ่งยากขึ้นด้วย

 

 

การใช้อุปกรณ์เสริมการให้นม (ชนิดทำเอง)

(ควรให้ผู้ที่มีประสบการณ์ในการช่วยเหลือคุณแม่ในการให้ลูกกินนมจากอกแม่เป็นผู้สาธิตให้ดูก่อน)

 

1. ทารกอาจจะอยู่กับอกแม่และงับหัวนมแม่ได้สนิทดีก่อน แล้วจึงสอดสายยางเข้าปากทารกในจังหวะที่เหมาะสม (หลังจากทารกได้กินนมจากอกแม่จากอกแม่ทั้งสองข้างแล้ว) ยิ่งทารกงับหัวนมได้ดีเขาก็จะยิ่งได้กินนมได้ดีขึ้น การใช้อุปกรณ์เสริมการให้นมก็จะทำได้ง่ายขึ้น และจะทำให้คุณแม่สามารถเลิกใช้อุปกรณ์เสริมและเลิกการให้นมผสมได้เร็วขึ้นด้วย คุณแม่ควรจะค่อยๆ ขยับหน้าอกออกให้เล็กน้อยเพื่อให้เห็นมุมปากของทารก และจับสายยางไว้ระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้สอดเข้าไปตรงมุมปาก โดยสอดให้สายยางเข้าไปตรงๆ ไปทางด้านหลังของปากทารก และในขณะเดียวกันก็ให้สายยางชี้ขึ้นข้างบนไปทางเพดานปากของทารกเล็กน้อย สายยางจะอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมในขณะที่นมผสมเริ่มไหลมาตามสายยางด้วยอัตราค่อนข้างเร็ว ตามปกติจะไม่จำเป็นต้องเติมนมผสมเหลวในสายยางก่อนที่จะสอดสายยางเข้าไปในปากทารก

 

2. หรือ ให้ทารกงับหัวนมไปพร้อมๆ กับสายยาง โดยสายยางจะเดินเลียบไปกับหน้าอกและหัวนมของคุณแม่ ยิ่งทารกงับได้ดีเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้การใช้อุปกรณ์เสริมการให้นมทำได้ง่ายมากขึ้น นอกจากนั้นยิ่งทารกงับหัวนมได้ดีเท่าไหร่ ก็จะเพิ่มโอกาสที่เขาจะกินนมแม่ได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมได้มากขึ้นและเร็วขึ้น ดังนั้นการจัดตำแหน่งอย่างเหมาะสมและการงับหัวนมจึงยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากอยู่

 

3. ถ้าคุณแม่ต้องการ ก็อาจจะใช้เทปติดสายยางเข้ากับหน้าอกได้ แต่อาจจะไม่จำเป็น และอาจจะไม่ช่วยให้การใช้งานสะดวกขึ้นเสมอไป

 

4. สายยางไม่จำเป็นต้องยาวเลยปลายหัวนม และจะสามารถใช้การได้ดีถ้ามันแค่เลยพ้นเหงือกของทารกไปเล็กน้อย  ดูเหมือนว่าถ้าสายยางถูกสอดเข้าไปที่มุมปากของทารกและตรงเข้าไปที่เหนือลิ้น มันจะใช้การได้ดีขึ้น (ควรให้ปลายชี้ขึ้นเล็กน้อยไปทางเพดานปาก) ในบางครั้งถ้าคุณแม่ใช้นิ้วจับสายยางให้อยู่กับที่ก็จะช่วยด้วยเหมือนกัน เพราะทารกบางคนมักจะใช้ลิ้นดันสายยางออกจากตำแหน่งที่เหมาะสม

 

5. ขวดที่ใส่นมผสมไม่ควรอยู่สูงกว่าศีรษะของทารก ถ้าอุปกรณ์เสริมการให้นมใช้การได้เฉพาะตอนที่ขวดอยู่สูงกว่าศีรษะของทารกแสดงว่ามีสิ่งผิดปกติ ควรวางขวดให้อยู่สูงกว่าศีรษะเมื่อแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านนมแม่แนะนำเท่านั้น

 

6. ควรใช้สายยางในการให้นมทุกครั้ง นอกจากจะมีคำแนะนำเป็นอย่างอื่น ถึงแม้ว่าคุณแม่บางคนจะรู้สึกว่าสะดวกกว่าที่จะไม่ใช้สายยางในตอนกลางคืน แต่มันเป็นการดีกว่าที่จะให้นมผสมครั้งละน้อยๆ (ประมาณ 30 มล. หรือ 1 ออนซ์ ต่อการให้นมหนึ่งครั้ง) วันละ 8 ครั้ง เทียบกับการให้นมผสมครั้งละเสริมมากๆ (120 มล. หรือ 4 ออนซ์ ต่อการให้นมหนึ่งครั้ง) วันละ 2 ครั้ง

 

7. อย่าตัดปลายของสายยางออก อย่างที่เป็นอยู่ก็ใช้การได้ดีอยู่แล้ว

 

8. ทารกไม่ควรใช้เวลาถึง 1 ชั่วโมงในการกินนม 1 ออนซ์จากอุปกรณ์เสริมการให้นม ถ้าทารกใช้เวลานานขนาดนี้ สายยางอาจจะไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม หรือทารกไม่ได้งับหัวนมดีพอ ถ้าอุปกรณ์เสริมการให้นมใช้การได้ดี ทารกจะใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที หรือน้อยกว่า ในการกินนมผสม 1 ออนซ์ (ประมาณ 30 มล.)

 

9. เคล็ดลับเพื่อความสะดวก: ใส่เสื้อที่มีกระเป๋า และเอาขวดใส่ในกระเป๋าเสื้อ

 

 

การทำความสะอาดอุปกรณ์

 

1. อย่าต้มสายยางของอุปกรณ์เสริมการให้นมแม่แบบทำเอง เพราะมันไม่ได้ผลิตมาสำหรับการต้มทำความสะอาด

 

2. หลังใช้อุปกรณ์แล้ว ทำความสะอาดขวดและหัวนมตามปกติ อย่าต้มสายยาง ควรเทนมผสม/นมออกจากสายยางให้หมดและล้างด้วยน้ำร้อน (ดูดน้ำร้อนจากถ้วยเข้าไปในสายยาง) แล้วแขวนไว้ให้แห้ง อาจจะใช้สบู่ล้างถ้าต้องการ (แต่ไม่จำเป็น) แต่ต้องล้างสบู่ออกให้หมด สายยางอาจจะเริ่มแข็งตัวขึ้นและไม่เหมาะสมที่จะใช้งานหลังจากประมาณ 1 สัปดาห์

 

การให้ทารกเลิกใช้อุปกรณ์เสริมการให้นม

 

1. ปรึกษาคลินิกนมแม่เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการให้ทารกเลิกใช้อุปกรณ์เสริมการให้นม ดูแผ่นพับเรื่อง วิธีปฏิบัติเพื่อทำให้ทารกเพิ่มปริมาณการกินนมแม่

 

2. การให้ทารกเลิกใช้อุปกรณ์เสริมการให้นมอาจต้องใช้เวลานานหลายสัปดาห์ หรืออาจใช้เวลาแค่ระยะสั้นๆ  อย่าท้อแท้หมดกำลังใจและอย่าพยายามบังคับให้ทารกเลิกใช้ โดยปกติปริมาณน้ำนมที่เขาต้องการกินจากอุปกรณ์เสริมการให้นมจะเพิ่มขึ้นในเวลา 1 หรือ 2 สัปดาห์ และคงที่อยู่ระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะลดลง ขบวนการทั้งหมดอาจกินเวลา 2-8 สัปดาห์ ถึงแม้ว่าคุณแม่บางคนอาจจะใช้อุปกรณ์เสริมการให้นมอยู่แค่ไม่กี่วัน แต่คุณแม่บางคนอาจจะไม่สามารถทำให้ทารกเลิกใช้ได้เลย ในบางครั้งอาจเกิดพัฒนาการอย่างกะทันหันหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยอยู่เป็นเวลายาวนาน

 

3. คอยสังเกตการกินนมของทารก ถ้าคุณแม่ไม่รู้วิธีสังเกตว่าทารกได้กินนมอย่างไร ให้ถามผู้รู้ ควรให้ทารกอยู่กับอก และปล่อยให้ทารกกินนมไปเรื่อยๆ ถ้าเขายังดูดและได้กินนมอยู่ และใช้การบีบหน้าอก (ดูแผ่นพับที่ 15 เรื่องการบีบหน้าอก) เพื่อให้ทารกได้กินนมอย่างต่อเนื่อง จากนั้นก็ทำเช่นเดียวกันกับหน้าอกอีกข้างหนึ่ง คุณสามารถจะย้อนกลับไปที่หน้าอกข้างแรกและทำกลับไปกลับมาได้ ถ้าทารกยังคงกินนมอยู่ หลังจากคุณแม่ให้ลูกกินนมจนหมดทั้งสองข้างแล้ว จึงค่อยใส่สายยางเข้าไปในปากทารก และปล่อยให้ทารกกินนมจากอุปกรณ์เสริมการให้นมจนกว่าเขาจะพอใจ

 

ไปที่เว็บไซต์ www.thebirthden.com/Newman.html เพื่อดูวิดีโอการทำให้ทารกงับหัวนมได้ดี, การสังเกตว่าทารกได้กินนมอย่างไร, การบีบหน้าอก, การใช้อุปกรณ์เสริมการให้นม, และเอกสารเพิ่มเติมอื่นๆ เกี่ยวกับการให้ลูกกินนมแม่

 

แผ่นพับที่ 5 อุปกรณ์เสริมการให้นม (กันยายน 2549)

แปลและเรียบเรียงโดย นิจวรรณ ตั้งวิรุฬห์

จาก Handout #5. Lactation Aid. Revised January 2005

Written by Jack Newman, MD, FRCPC. © 2005

 

แผ่นพับนี้สามารถคัดลอกและนำไปแจกจ่ายได้โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากผู้เขียน/ผู้แปล โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่นำไปใช้ในทางที่จะละเมิดหลักเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับการทำการตลาดของนมผสมและสารทดแทนนมแม่

 

 

 

บทความนี้แปลโดยคุณนิจวรรณ ตั้งวิรุฬห์ ซึ่งสละเวลาส่วนตัวทำให้โดยมิได้รับค่าตอบแทนใดๆ หากคุณผู้อ่านทุกท่านอ่านบทความนี้แล้วรู้สึกว่าได้ประโยชน์ ขอความกรุณาส่งคำขอบคุณสั้นๆ ให้ผู้แปลบ้าง เราเชื่อว่าน่าจะเป็นการตอบแทนซึ่งทำให้ผู้รับอิ่มใจไม่น้อยค่ะ
 

 

 

 

 

 



ชื่อ:
อีเมล์:
*คำขอบคุณ: