ReadyPlanet.com
ardo calypso
dot
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : ข้อควรปฎิบัติ
dot
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 1
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 2
bulletวิธีเลือกกุมารแพทย์ให้ลูก
bulletก่อนคลอด
bulletสิ่งที่ต้องทำเมื่ออยู่ ร.พ.
bulletหลังคลอด
bulletท่าในการให้นม
bulletBreast Crawl
bulletความคาดหวังของลูกน้อย
bulletบันทึกการให้นมลูก
bulletวิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง
bulletสัมผัสรักระหว่างแม่ลูก
bulletโรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
bulletแบบสอบถาม
dot
ปัญหาเรื่อง นมแม่
dot
bulletวิธีแก้ปัญหานมไม่พอ
bullet"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ
bulletนมพอหรือไม่
bulletเมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)
bulletอาหารเพิ่มน้ำนม
bulletวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม
bulletWorkshop เพิ่มน้ำนม (new)
bulletยาประสระน้ำนม
bulletDomperidone (Motilium)
bulletยาเพิ่มน้ำนม Motilium
bulletคำเตือนสำหรับการใช้ยา Domperidone
bulletน้ำหนักตัวเพิ่มช้า
bulletน้ำหนักตัวน้อย
bulletเจ็บหน้าอก หัวนมแตก
bulletการบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม
bulletลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า
bulletตัวเหลือง
bulletสารพันปัญหา
บริจาคนมแม่
dot
เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
dot
bullet20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน
bulletมาทำ stock น้ำนม กันเถอะ
bulletวิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
bulletจะให้ลูกกินอะไรเมื่อแม่ไปทำงาน
bulletวิธีเก็บรักษานมแม่
bulletต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?
bulletโปรแกรมคำนวณนมแม่
bulletยาคุมกำเนิด
dot
คุณแม่นักปั๊ม
dot
bulletการปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม
bulletปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
bulletข้อคิดก่อนซื้อ ที่ปั๊มนม
bulletเพิ่มน้ำนมภายใน 14 วันแรก
bulletเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
bulletซื้อเครื่องปั๊มที่ไหนดี
bulletปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี
bulletเรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
bulletถุงเก็บน้ำนมแม่
dot
กลเม็ดเคล็ดลับ
dot
bulletวิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new)
bulletบีบด้วยมือ vs ปั๊มด้วยเครื่อง
bullet10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี
bulletนอนให้นม...สบายมากๆ เลย
bulletอุปกรณ์เสริม ช่วยแม่ให้นมลูก
bulletมุมให้นมแม่
bulletวิธีพาสเจอร์ไรซ์นมแม่
dot
ปัญหาที่พบไม่บ่อย
dot
bulletลิ้นติด (Tongue Tie)
bulletเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่
bulletต้องการถามปัญหาอื่นๆ
bulletทำไมทารกร้องไห้โยเย
dot
หนังสือแนะนำ
dot
bulletขอรับหนังสือนมแม่ฟรี
bulletการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletสร้างชีวิตมหัศจรรย์ด้วยน้ำนมแม่
bulletนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก
bullet เคล็ดลับ...แม่มือใหม่ "นมแม่"
bulletเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletพัฒนาสมองด้วยนมแม่...
bulletGuide to Breastfeeding
dot
แหล่งข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่
dot
bulletคลินิกนมแม่ทั่วประเทศ
bulletนมแม่ แน่ที่สุด
bulletศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
bulletคลีนิครัก
bulletศริริราชออนไลน์
bulletสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
bulletwww.breastfeeding.com
bulletPromom
bulletรักลูก
bulletLa Leche League
bullet4woman
bulletMother & Child Health
bulletWABA
bulletBreastfeedingonline
bulletDr. Sears
bulletbreastfeedingbasics
bulletwebboard
bulletkellymom
bulletDr. Jack Newman
bulletInfact
bulletgotbreastpump
bulletNew Beginnings
bulletโครงการสายใยรัก
bulletศูนย์ข้อมูล สสส
bulletUNICEF
bulletbreastfeedingmadesimple
bullethm4hb
bulletLactation Narration
bulletNormalFed
dot
Brainfeeding
dot
bulletเก็บมาฝาก
bulletIf we don't care, who will?
bullet๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา
bulletสัมภาษณ์ ดร. อาจอง ชุมสาย ฯ
bulletคนดีของพ่อ
bulletเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้รู้
bulletคุยกับประภาส
dot
Sponsor Link
dot
bulletbfdcenter
bulletร้านนมแม่
bulletศูนย์รวมฟิล์มทุกชนิด
bulletV-Kool
bulletSuvarnabhumi Airport Hostel
bulletBussaba Bangkok Boutique Hotel Suvarnabhumi Airport
bulletbeing-mom
bulletมีลูกยาก
bulletSite Map
ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี whisper
unimom allegro
ardo calypso
Ardo Carum
bulletนมแม่


ร้านนมแม่-เครื่องปั๊มนม


โรคแพ้โปรตีนนมวัว.....น่ากลัวกว่าที่คิด article

 

หลายคนมีความเชื่อว่า เด็กจะเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ และฉลาดก็ต่อเมื่อได้รับสารอาหารที่เพียงพอและมีคุณภาพ ซึ่งนอกจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้ว นมกระป๋องสำเร็จรูปก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ให้แม่ยุคใหม่เลือกให้ลูกกินเป็นอันดับต้น ๆ ด้วยเพราะมีการโฆษณานมสำหรับเด็กกันมาก บรรยายสรรพคุณกันไปต่าง ๆ นานา
       

       ยี่ห้อนี้.... ป้องกันโรคภูมิแพ้
       ยี่ห้อนี้.... ช่วยทำให้เด็กฉลาด
       ยี่ห้อนี้.... สร้างภูมิคุ้มกันได้
       ยี่ห้อนี้.... ”
       

       ความเชื่อดังกล่าวเป็นความเชื่อที่ไม่ผิด แต่นอกจากการได้รับสารอาหารเพียงพอเพื่อให้ลูกฉลาดแล้ว จะแน่ใจได้อย่างไรว่า สารที่เจือปนมากับนมกระป๋องจะไม่ส่งผลกระทบต่อลูกน้อยได้..โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่มีชื่อว่า “โรคแพ้โปรตีนนมวัว”
       
       โรคภูมิแพ้ จัดเป็นโรคที่พบบ่อยโรคหนึ่งในประเทศไทย จากการศึกษาอัตราความชุกของโรคในประเทศไทย พบว่า มีอัตราความชุกอยู่ระหว่าง 15- 45 % โดยประมาณ โดยพบโรคโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ มีอัตราชุกสูงสุดในกลุ่มโรคภูมิแพ้ นั่นหมายความว่า ประชากรเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศ มีปัญหาเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้อยู่
       
       โรคภูมิแพ้ แม้ดูเหมือนว่าจะไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงใด ๆ แต่ก่อให้เกิดความรำคาญและทำให้ร่างกายของผู้ที่เป็นโรคนี้อ่อนแอได้ หากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจัง สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะทุกวันนี้เด็กกินนมแม่น้อยลง ทำให้เด็กเสี่ยงต่อการเป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้น
       
       พญ.ภาสุรี แสงศุภวานิช กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยว่า จากสถิติเด็กไทยเกิดปีละประมาณ 8 แสนคนต่อปี การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือน เพียงร้อยละประมาณ 20 % เพราะฉะนั้นจะมีเด็กที่ถูกเลี้ยงด้วยนมวัวประมาณ 6 แสนคน และมีเด็กแพ้นมวัวสูงถึงปีละ 20,000 ราย
       
       “ทารกที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคภูมิแพ้ คือ ทารกที่มีบิดามารดา พี่น้องท้องเดียวกันเป็นโรคภูมิแพ้ หรือการกินนมวัวขณะตั้งครรภ์ ดังนั้น ควรให้ความสำคัญกับการให้ทารกได้รับนมแม่ ทั้งในระยะกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และให้ต่อเนื่องกับอาหารอื่นตามวัย ซึ่งนมแม่มีกลไกในการป้องกันโรคแพ้อาหาร เนื่องจากการกินนมแม่ช่วยลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ที่ร่างกายจะได้รับ เช่น โปรตีนนมวัว และในน้ำนมแม่มีภูมิคุ้มกันช่วยจับสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในอาหาร ทำให้สารก่อภูมิแพ้เหล่านั้นไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายของลูก ที่สำคัญการกินนมแม่ยังช่วยลดการติดเชื้อแบคทีเรียในวัยทารก ”
       
       พญ.ภาสุรีบอกด้วยว่า โรคแพ้โปรตีนนมวัวนี้ ถือเป็นโรคที่วินิจฉัยได้ยากมาก บางรายพอได้รับนมวัวปุ๊บก็มีอาการทันที เช่น มีผื่นแดงขึ้นบริเวณผิวหน้า แขน ขา ลำตัว ปากเจ่อบวม ขณะที่บางรายช่วงแรกที่ดื่มนมวัวจะยังไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมา แต่พอดื่มไปสักพัก 2-3 เดือน ก็จะมีอาการเป็นหวัดเรื้อรัง ท้องเสีย อาเจียน ถ่ายมีเลือดปน หายใจขัด คัดจมูก หลับไม่สนิท ผื่นแพ้ ซึ่งส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นโรคธรรมดาในเด็ก ก็เลยยิ่งทำให้เด็กเจ็บป่วยโดยไม่จำเป็น และไม่รู้สาเหตุที่แท้จริง

 

        ที่สำคัญคือ การแพ้โปรตีนนมวัวในวัยทารกเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเป็นโรคหืดเมื่อเด็กโตขึ้นได้

                       

      

นอกจากนี้ ในระยะ 4-6 เดือนแรก เยื่อบุทางเดินอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบน้ำย่อยสารต่าง ๆ ของทารกยังไม่แข็งแรง ดังนั้นการได้รับนมผสม หรืออาหารอื่น ทำให้ทารกเสี่ยงต่อการเกิดการแพ้อาหารและการกระตุ้นให้เกิดผื่นที่ผิวหนัง เนื่องจากนมผสมและอาหารอื่น จัดเป็นสิ่งแปลกปลอม เนื่องจากในระยะที่ทารกยังมีระบบทางเดินอาหารที่ไม่แข็งแรง โปรตีนแปลกปลอมเหล่านี้จึงไม่ถูกย่อย หรือทำลายความแปลกปลอมลงไม่ให้ได้มีโอกาสเล็ดลอดไปก่อให้เกิดการแพ้ได้ง่าย
       
       “โรคแพ้โปรตีนนมวัว ถึงจะเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่อาการจะส่งผลต่อเนื่องในอนาคตได้ เช่น โรคนี้จะทำให้เด็กหลับไม่สนิท ก็จะส่งผลให้เด็กเรียนไม่รู้เรื่อง ง่วงซึม หรือหวัดเรื้อรัง เด็กก็จะได้รับยาปฏิชีวนะเรื่อย ๆ เมื่อได้รับบ่อย ๆ จะเสี่ยงต่อการแพ้ยา ถ้าแพ้รุนแรงอาจถึงชีวิตได้ ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังในระยะยาว เห็นได้จาก โรคหืดเป็นสาเหตุอันดับ 1 ที่ทำให้เด็กขาดเรียน อาการ หายใจไม่ทัน มีเสียงหืดขณะหายใจ ต้องพ่นยาขยายหลอดลม ค่าใช้จ่ายที่ตามมาก็จะมีความทวีคูณขึ้น ” แพทย์คนเดิมอธิบาย
       
       ทั้งนี้ เห็นได้จากเด็กในสมัยก่อนมีอัตราการเสี่ยงโรคภูมิแพ้น้อย เพราะเด็กกินนมแม่เยอะ แต่ด้วยวิวัฒนาการทันสมัยในปัจจุบัน นมผงสำเร็จรูปจึงเข้ามามีบทบาทในการเลือกให้ทารกบริโภค ด้วยเพราะเชื่อในอานุภาพของส่วนประกอบที่พยายามเลียนแบบให้ใกล้เคียงนมแม่ ซึ่งสารประกอบบางตัวที่อ้างถึงนั้นอาจมีส่วนประกอบที่ต่างจากน้ำนมแม่ได้ เช่น นมแม่มี นิวคลีโอไทด์ ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ส่วนประกอบ นิวคลีโอไทด์ ในนมแม่ ต่างจาก นิวคลีโอไทด์ ในนมผสม
       
       ด้าน อัญญาลักษณ์ สามัติถิยดีกุล แม่ของน้องนีนี่วัย 11 เดือน เล่าว่า เหตุที่ให้ลูกกินนมวัวเพราะไม่มีน้ำนมให้ลูกได้กินเพียงพอ หลังจากคลอดแล้วประมาณ 3 วันลูกร้องไห้ตอนกลางคืนมาก จึงต้องพึ่งนมกระป๋อง โดยให้ลูกกินวันละ 3 ขวด ขวดละ 9 ออนซ์ต่อวัน ซึ่งถือว่าเยอะมาก ทำเช่นนี้เรื่อย ๆ ไปประมาณ 1 เดือน ลูกเริ่มมีผื่นแดงขึ้นตามผิวหน้าและลำตัว
       
       อย่างไรก็ตาม ในขณะนั้นพยายามหยุดนมกระป๋องแต่ด้วยเพราะไม่มีน้ำนมจึงไม่มีทางเลือก หลังจากที่เข้าเดือนที่ 2 ลูกเริ่มเป็นหวัดบ่อยมาก และถ่ายเยอะ 5-6 ครั้ง ต่อวัน หรือมากที่สุด 9 ครั้งต่อวัน
       
       “พอเริ่มเห็นท่าไม่มีดีแล้ว จึงพาน้องนีนี่ไปหาหมอ ตรวจอุจจาระ เจอสารเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดงซึ่งสารพวกนี้เป็นสารเพาะเชื้อ คุณหมอจึงแนะนำให้เปลี่ยนนมเป็นนมถั่วเหลือง หลังจากนั้นอาการก็หาย แต่พอไปตรวจอีกครั้งก็ยังพบเม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดแดงอยู่ จึงเปลี่ยนมาเป็นนมสลายโปรตีน สำหรับเด็กแพ้นมวัวและนมถั่วเหลือง ซึ่งไม่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป แถมราคายังสูงถึง 2-5 เท่า เมื่อเทียบกับราคานมทั่วไป ”
       
       แม่น้องนีนี่เล่าต่อว่า นอกจากนมวัวและนมถั่วเหลืองที่น้องกินไม่ได้แล้ว ขนมหรือคุกกี้ที่มีส่วนผสมของนมวัวและนมถั่วเหลืองก็กินไม่ได้เช่นกัน และน้องนีนี่ยังง่ายต่อสิ่งกระตุ้นให้เกิดการแพ้ง่ายขึ้น เช่น ไรฝุ่น เกสรต่าง ๆ ผ้าห่ม ผ้านวมด้วย
       
       เช่นเดียวกับ ภานิภักษ์ แม่ของน้องซานตร้า วัย 1 ขวบ 9 เดือน ที่เล่าว่า ให้นมลูกจนลูกอายุ 1 ขวบ 8 เดือน ก็ต้องหยุดให้เพราะมาทราบภายหลังว่าได้ตั้งท้องลูกคนที่ 2 ได้ ประมาณ 6 สัปดาห์ ระหว่างนั้นก็ให้กินอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของนม ทำให้น้องซานตร้ามีผื่นแดงทั้งหน้า หอบ หน้าบวม ปากบวม จึงหยุดให้อาหารเสริม หลังจากนั้นประมาณ 1 ชม. อาการก็ดีขึ้น ทราบภายหลังว่าลูกแพ้โปรตีนนมวัว ส่งผลให้แพ้อาหารตระกูลสตรอว์เบอร์รี่ ไข่ขาว อาหารทะเล เพราะเมื่อแพ้โปรตีนนมวัวแล้วจะกระตุ้นให้ร่างกายแพ้ง่ายขึ้น
       
       นอกจากนี้ การให้เด็กดื่มนมกระป๋องตั้งแต่แรกเกิดยังทำให้เด็กขาดโอกาสที่จะได้รับภูมิต้านทานโรคที่ดีซึ่งมาจากน้ำนม “โคลอสตรัม” เป็นหัวน้ำนมที่มีสารภูมิคุ้มกันเชื้อโรค มีวิตามิน เกลือแร่ และสารช่วยการเจริญเติบโตที่สำคัญสูงกว่านมระยะหลังถึง 10 เท่า เด็กจึงปลอดภัยจากโรคติดเชื้อต่าง ๆ เช่น ท้องเสีย หรือปอดบวม เนื่องจากระยะแรกนั้น แม้ช่วงสมองจะมีพัฒนาการที่เร็วมาก แต่ร่างกายก็มีความบอบบางมากเช่นกัน และเป็นสิ่งที่นมผสมไม่สามารถเติมสารใด ๆเลียนแบบได้เลย
       
       ขณะเดียวกันการที่ไม่ได้ให้ลูกดื่มนมแม่ตั้งแต่แรก ยังพลาดโอกาสที่สำคัญที่สุดที่จะได้รับอาหารที่เหมาะสมกับพัฒนาการทางสมอง ซึ่งถือว่า ทารกในช่วง 6 เดือนแรกนี้ สมองจะมีการเติบโตที่รวดเร็วมาก ดังนั้นการให้อาหารที่เหมาะสมกับการเติบโตของสมองทารกจะช่วยให้เด็กมีความเฉลียวฉลาด
       
       แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นก็คือ การให้ลูกดูดนมแม่ทันทีหลังเกิดเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างสายใยรัก กระตุ้นให้เกิดพลังรัก พลังความผูกพัน โดยสัมผัสดังกล่าวช่วยให้สมองของทารกมีการเชื่อมต่อ อันส่งผลต่อพัฒนาการทางสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กอีกด้วย
       
       เรื่อง....สุรีย์พร ชัยบุตร

 ที่มา :  www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9500000078002




นมแม่ VS นมผสม

สิ่งที่พ่อแม่ทุกคนควรรู้เกี่ยวกับนมผสม article
DHA/ARA ในนมผสม อันตรายที่พึงระวัง article
วิธีเตรียมนมผงดัดแปลงสำหรับทารก
กินนมผงก็ไม่เห็นเป็นไร จริงหรือ?
ไม่ต้องอ่านฉลากก่อนซื้อก็รู้ว่าแตกต่าง
นมแม่ vs นมผสม นมอะไรดีคะ? article
โคลิก จาก นมผสม
นมเมลามีนหรือจะสู้นมแม่
สูตรสำเร็จในการตัดสินใจเรื่องนมผสม
DHA-AA สูตรนมเด็กฉลาดจริงหรือหลอก ??? article
นมแม่หรือนมขวด?
อิทธิพลของโฆษณาและนมผสมแจกฟรี article
อย.เรียกคืนนมผงทารก 3 ยี่ห้อดัง พบจุลินทรีย์ที่อาจทำให้ถึงตาย article
อาหารเสริมของเด็ก ข้อมูลที่ไม่อยู่ในการโฆษณา article
มหัศจรรย์ น้ำนมแม่ article
โครงการประชากรสุขภาพดี ปี 2010 article
นมแม่ เพิ่มพลัง เพิ่มพัฒนาการ article