ReadyPlanet.com
ardo calypso
dot
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : ข้อควรปฎิบัติ
dot
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 1
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 2
bulletวิธีเลือกกุมารแพทย์ให้ลูก
bulletก่อนคลอด
bulletสิ่งที่ต้องทำเมื่ออยู่ ร.พ.
bulletหลังคลอด
bulletท่าในการให้นม
bulletBreast Crawl
bulletความคาดหวังของลูกน้อย
bulletบันทึกการให้นมลูก
bulletวิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง
bulletสัมผัสรักระหว่างแม่ลูก
bulletโรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
bulletแบบสอบถาม
dot
ปัญหาเรื่อง นมแม่
dot
bulletวิธีแก้ปัญหานมไม่พอ
bullet"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ
bulletนมพอหรือไม่
bulletเมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)
bulletอาหารเพิ่มน้ำนม
bulletวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม
bulletWorkshop เพิ่มน้ำนม (new)
bulletยาประสระน้ำนม
bulletDomperidone (Motilium)
bulletยาเพิ่มน้ำนม Motilium
bulletคำเตือนสำหรับการใช้ยา Domperidone
bulletน้ำหนักตัวเพิ่มช้า
bulletน้ำหนักตัวน้อย
bulletเจ็บหน้าอก หัวนมแตก
bulletการบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม
bulletลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า
bulletตัวเหลือง
bulletสารพันปัญหา
บริจาคนมแม่
dot
เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
dot
bullet20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน
bulletมาทำ stock น้ำนม กันเถอะ
bulletวิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
bulletจะให้ลูกกินอะไรเมื่อแม่ไปทำงาน
bulletวิธีเก็บรักษานมแม่
bulletต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?
bulletโปรแกรมคำนวณนมแม่
bulletยาคุมกำเนิด
dot
คุณแม่นักปั๊ม
dot
bulletการปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม
bulletปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
bulletข้อคิดก่อนซื้อ ที่ปั๊มนม
bulletเพิ่มน้ำนมภายใน 14 วันแรก
bulletเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
bulletซื้อเครื่องปั๊มที่ไหนดี
bulletปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี
bulletเรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
bulletถุงเก็บน้ำนมแม่
dot
กลเม็ดเคล็ดลับ
dot
bulletวิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new)
bulletบีบด้วยมือ vs ปั๊มด้วยเครื่อง
bullet10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี
bulletนอนให้นม...สบายมากๆ เลย
bulletอุปกรณ์เสริม ช่วยแม่ให้นมลูก
bulletมุมให้นมแม่
bulletวิธีพาสเจอร์ไรซ์นมแม่
dot
ปัญหาที่พบไม่บ่อย
dot
bulletลิ้นติด (Tongue Tie)
bulletเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่
bulletต้องการถามปัญหาอื่นๆ
bulletทำไมทารกร้องไห้โยเย
dot
หนังสือแนะนำ
dot
bulletขอรับหนังสือนมแม่ฟรี
bulletการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletสร้างชีวิตมหัศจรรย์ด้วยน้ำนมแม่
bulletนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก
bullet เคล็ดลับ...แม่มือใหม่ "นมแม่"
bulletเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletพัฒนาสมองด้วยนมแม่...
bulletGuide to Breastfeeding
dot
แหล่งข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่
dot
bulletคลินิกนมแม่ทั่วประเทศ
bulletนมแม่ แน่ที่สุด
bulletศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
bulletคลีนิครัก
bulletศริริราชออนไลน์
bulletสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
bulletwww.breastfeeding.com
bulletPromom
bulletรักลูก
bulletLa Leche League
bullet4woman
bulletMother & Child Health
bulletWABA
bulletBreastfeedingonline
bulletDr. Sears
bulletbreastfeedingbasics
bulletwebboard
bulletkellymom
bulletDr. Jack Newman
bulletInfact
bulletgotbreastpump
bulletNew Beginnings
bulletโครงการสายใยรัก
bulletศูนย์ข้อมูล สสส
bulletUNICEF
bulletbreastfeedingmadesimple
bullethm4hb
bulletLactation Narration
bulletNormalFed
dot
Brainfeeding
dot
bulletเก็บมาฝาก
bulletIf we don't care, who will?
bullet๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา
bulletสัมภาษณ์ ดร. อาจอง ชุมสาย ฯ
bulletคนดีของพ่อ
bulletเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้รู้
bulletคุยกับประภาส
dot
Sponsor Link
dot
bulletbfdcenter
bulletร้านนมแม่
bulletศูนย์รวมฟิล์มทุกชนิด
bulletV-Kool
bulletSuvarnabhumi Airport Hostel
bulletBussaba Bangkok Boutique Hotel Suvarnabhumi Airport
bulletbeing-mom
bulletมีลูกยาก
bulletSite Map
ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี whisper
unimom allegro
ardo calypso
Ardo Carum
bulletนมแม่


ร้านนมแม่-เครื่องปั๊มนม


เด็กไทยกับวัคซีน 1 ชีวิต 33 เข็ม มากมั้ย ? article

“หมอเด็ก...เกรงพ่อแม่บ้าจี้! ให้ลูกฉีดวัคซีนตามโฆษณา เด็กแรกเกิดถึง 15 ปีต้องทุกข์หนัก...ฉีดวัคซีนมากขึ้น ที่สำคัญต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เกินความจำเป็น”

นี่คือ...ผลพวงจากการสื่อสาร และการตลาดที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ของผู้ผลิตและจำหน่ายวัคซีน โดยเฉพาะวัคซีนสำหรับเด็ก

พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร รองผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ย้ำว่า หากผู้ปกครองให้เด็กได้รับวัคซีนตามที่มีการสื่อสารการตลาด จะทำให้เด็กได้รับการฉีดวัคซีน 33 เข็ม

โดยทั่วไป เด็กจะได้รับวัคซีนฟรีจากรัฐ 16 เข็ม หากพ่อแม่ต้องการให้ลูกได้รับวัคซีนทางเลือกครบทั้งหมด เด็กจะต้องฉีดวัคซีนเพิ่มอีก 17 เข็ม

วัคซีนเด็ก...แบ่งออกเป็น 3 ชุด

  • ชุดแรก...วัคซีนจำเป็นที่เด็กไทยทุกคนต้องได้รับโดยสถานพยาบาลของรัฐ และไม่เสียค่าใช้จ่าย จำนวน 10 โรค 16 เข็ม หยอด 5 ครั้ง อาทิ วัคซีนป้องกันวัณโรค ตับอักเสบบี ไอกรน คอตีบ บาดทะยัก คางทูม หัดเยอรมัน โปลิโอ
  • วัคซีนชุดที่สอง...วัคซีนเผื่อเลือกชุดที่ 1 จำนวน 3 โรค 7 เข็ม อาทิ วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส และตับอักเสบเอ..มูลค่าประมาณ 4,700 บาทต่อคน
  • วัคซีนชุดที่สาม...วัคซีนเผื่อเลือกชุดที่ 2 จำนวน 4 โรค 10 เข็ม อาทิ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ มะเร็งปากมดลูก...มูลค่าประมาณ 25,700 บาทต่อคน

“ถ้าฉีดวัคซีนทั้งหมด ต้องเสียค่าใช้จ่ายคนละ 32,200 บาท แต่ละปีเด็กไทยเกิดใหม่ 8 แสนคน ต้องใช้เงิน 25,700 ล้านบาท หักค่าวัคซีนฟรีของรัฐแล้ว ผู้ปกครองต้องจ่ายค่าวัคซีนเอง 24,800 ล้านบาท”

คุณหมอศิราภรณ์ บอกว่า วัคซีนเผื่อเลือกสำหรับเด็กที่มีการสื่อสารการตลาดมากที่สุดในตอนนี้ คือ วัคซีนไอพีดี (IPD) ใช้ในการป้องกันโรคไอพีดี ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส

“โรคไอพีดีทำให้เกิดความพิการ รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ อันเนื่องมาจากโรคปอดบวมที่มีภาวะแทรกซ้อน โรคติดเชื้อในกระแสโลหิต และโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ”

วันนี้...วัคซีนไอพีดีสามารถครอบคลุมการป้องกันได้ประมาณ 2-3 ปี และเป็นวัคซีนที่มีคุณภาพในการปกป้องโรคที่อันตราย แต่ยังไม่ ครอบคลุมทุกสายพันธุ์ของเชื้อที่ก่อโรค

ผู้ที่ควรได้รับวัคซีนไอพีดี ได้แก่ ผู้ใหญ่อายุมากกว่า 65 ปี และเด็กที่มีความเสี่ยงสูง อาทิ เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีและมากกว่า 2 ปี ที่มีโรคเรื้อรัง เด็กที่ไม่มีม้ามหรือม้ามทำงานไม่ดี ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ติดเชื้อเอชไอวี และเด็กที่ได้รับการผ่าตัดใส่วัสดุเทียมของหูชั้นใน หรือมีการเปลี่ยนอวัยวะ

แถลงการณ์องค์การอนามัยโลก (WHO) ประจำเดือนพฤษภาคม 2551 พุ่งเป้าไปที่ความสำคัญของการป้องกัน ควบคุม ตลอดจนลดอุบัติการณ์โรคปอดบวมในเด็กเล็ก

โรคปอดบวมป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งที่สำคัญของเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบทั่วโลกกว่า 2 ล้านคนทุกปี สาเหตุสำคัญเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส

ทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย เป็นสองภูมิภาคที่มีอัตราการตายจากโรคปอดบวมสูงที่สุด

เด็กเล็กที่จัดว่ามีความเสี่ยงสูง ได้แก่ เด็กที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ เด็กที่มีน้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำ เด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) รวมถึงเด็กที่อยู่ในปัจจัยแวดล้อมเสี่ยง เช่น การอาศัยในบ้านที่แออัด การต้องเผชิญกับมลภาวะภายในบ้าน ที่ส่งผลให้เด็กมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

ตัวชี้วัดในการป้องกันโรคปอดบวมที่เน้นเป็นพิเศษมีหลายปัจจัย เริ่มจากการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันพื้นฐาน ให้ทารกได้ดื่มนมแม่ในช่วง 2-3 เดือนแรกหลังคลอด เสริมธาตุสังกะสีแก่ทารก ควบคุมมลภาวะภายในที่อยู่อาศัย การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก

สุดท้าย คือ การป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสที่ได้ รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ รวมถึงการดูแลจัดการผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ

นมแม่...ถือเป็นวัคซีนหยดแรกของชีวิต ข้อมูลจาก ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ระบุว่า ทันทีที่ทารกแรกเกิดดูดน้ำนมจากอกแม่ เด็กจะได้รับวัคซีนหยดแรกเป็นต้นทุนสุขภาพที่ดีในอนาคต

โคลอสตรัม หรือ หัวน้ำนม เป็นน้ำนมที่มีการผลิตในระยะ 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ และมีต่อเนื่องไปอีก 1-2 สัปดาห์ คือสุดยอดอาหารที่สมบูรณ์แบบที่สุด อุดมด้วยโปรตีน วิตามิน เกลือแร่ รวมทั้งสารภูมิคุ้มกันโรคในปริมาณที่สูงมาก

ที่สำคัญ โคลอสตรัม มีในน้ำนมแม่เท่านั้น สารอาหารในนมผสม ไม่ว่ายี่ห้อไหนๆ ก็ไม่อาจทดแทนได้

พญ.ยุพยง แห่งเชาวนิช เลขาธิการศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย บอกว่า นมแม่คือความพอเพียงในทุกๆด้าน หนึ่ง...สิ่งแวดล้อม นมแม่อยู่ในเต้าของแม่ ผลิตได้เลย ไม่เสียค่าใช้จ่ายเรื่องขวดนม หม้อนึ่ง สอง...ไม่ต้องจ่ายเงินค่านมผง

สาม...ประหยัดค่ารักษาพยาบาลลูก เพราะมีสารอาหารที่เป็นภูมิคุ้มกันโรค เป็นรากฐานสุขภาพที่เหนือกว่าตัวเงินมากมาย

ในช่วง 6 เดือนแรก ควรให้เด็กกินนมแม่อย่างเดียว เพื่อลำไส้ของเด็กจะได้ เจริญเติบโตเต็มที่ หลังจากนั้นให้กินนมแม่พร้อมอาหารเสริมจนถึง 2 ปี

ปัญหามีว่า...ทุกวันนี้เปอร์เซ็นต์ผู้หญิงทำงานนอกบ้านมีมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ กฎหมายกำหนดให้ผู้หญิงลาคลอดได้เพียง 90 วัน จึงเป็นเหตุผลให้แม่หลายคน เลือกที่จะให้นมผงมากกว่านมแม่

ปัญหาใหญ่ของวัคซีนไอพีดีและวัคซีนอื่นๆ คือ ราคาสูง ความเป็นไปได้ ที่รัฐจะนำเข้าระบบสวัสดิการรัฐ..ฉีดฟรี ก็ยังริบหรี่ คุณแม่ยุคใหม่คงสับสนน่าดู โดยเฉพาะเวลาพาลูกไปรับวัคซีนตามโรงพยาบาล

เกือบทุกรายมักได้รับคำแนะนำ “ให้รับวัคซีนเสริม” ซึ่งไม่ใช่วัคซีนฟรี ที่เป็นสวัสดิการรัฐ แน่นอนว่า..แม่ทุกคนรู้สึกห่วงลูก โรคภัยสมัยนี้ก็มีเยอะ อยากได้คำตอบ จำเป็นมากน้อยแค่ไหน?

คอลัมน์ถามแม่-ถามหมอ คลินิกสุขภาพเด็ก นิตยสารเบบี้ แอนด์ คิดส์ ไดเจสท์ ฉบับล่า นพ.สมฤทธิ์ จันทรประทิน ตอบปัญหานี้ไว้น่าสนใจ

“วัคซีนที่ฉีดในสถานพยาบาลของรัฐเป็นวัคซีนที่ให้เพื่อสร้างเสริม ภูมิคุ้มกันพื้นฐานที่จำเป็นทั่วไปสำหรับเด็กไทย ปัจจุบันมีวัคซีนเกิดใหม่มากมายสามารถฉีด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับหลายโรคที่พบบ่อยในเด็ก โดยเฉพาะโรคที่มีความรุนแรง ภาวะแทรกซ้อนสูง”

วัคซีนบางชนิดในเข็มเดียว อาจกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้หลายโรค บางชนิดก็เป็นชนิดที่ฉีดแล้วไม่มีไข้ เกิดจากการพัฒนาทางการแพทย์ ซึ่งหมายถึงราคาที่สูงขึ้น

ทุกวันนี้...โรคส่วนใหญ่ที่ฉีดวัคซีนป้องกัน พบได้ไม่บ่อย ยกเว้นในพื้นที่ที่เด็กได้รับวัคซีนไม่ครบ แต่เป็นโรคที่มีภาวะแทรกซ้อนที่มีความเสี่ยงสูง เมื่อเทียบกับการยอมจ่ายเงินค่าวัคซีนในราคาสูงกว่า อาจเป็นความคุ้มค่าที่ไม่ให้ลูกเสี่ยงต่อโรคเหล่านี้

ทรรศนะคุณหมอสมฤทธิ์ โรคที่อยู่นอกโปรแกรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันของรัฐบาล เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Hib) ไข้สมองอักเสบ (Japanese encephalitis)... “การป้องกัน ดีกว่าการแก้”

ส่วน...วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ขึ้นอยู่กับความเห็นของผู้ปกครอง

“วัคซีนทุกชนิดมีประโยชน์ และมีประสิทธิภาพ หากเก็บรักษาในอุณหภูมิที่ได้ มาตรฐาน ส่วนความคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปนั้น อยู่ในดุลพินิจของคุณพ่อคุณแม่”

กุมารแพทย์จะเป็นผู้ให้ข้อมูลที่ดีที่สุด สำหรับการเลือกวัคซีนแต่ละชนิด การตัดสินใจเป็นของเรา โดยดูข้อมูลที่ครบถ้วน..โรคเกิดบ่อยไหม ภาวะแทรกซ้อนเป็นอย่างไร ช่วงนี้โรคอะไรระบาดบ้าง ราคาวัคซีน ภาวะแทรกซ้อนของวัคซีนแต่ละชนิด รวมไปถึงการปฏิบัติตัวหลังฉีดวัคซีน

การฉีดวัคซีนแต่ละครั้ง กุมารแพทย์จะซักถามเกี่ยวกับการกินอาหาร พัฒนาการของเด็ก แล้วให้คำแนะนำที่เหมาะสม เพื่อให้เลี้ยงลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“พึงจำไว้ว่า การพาบุตรหลานไปพบแพทย์ตามกำหนดการฉีดวัคซีน ไม่ใช่แค่ฉีดวัคซีนเท่านั้น แต่เป็นการเปิดมุมมองบางด้านของการเลี้ยงลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

คุณหมอสมฤทธิ์ฝากทิ้งท้าย.
 
 
จาก
นสพ.ไทยรัฐ [16 มิ.ย. 51 - 16:33]




เก็บมาฝาก

ญาติผู้ใหญ่กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
น้ำนมแม่ดีที่สุด!
วัคซีน ไอพีดี article
ทีวีส่งผลอะไรบ้างต่อลูกคุณ
นมแม่ในโรงงาน
5 ข้อดีที่คุณไม่เคยรู้ของการที่ลูกตื่นมากินนมตอนกลางคืนบ่อย ๆ
คุณพ่อเชิญทางนี้
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว: ความเชื่อหรือคลื่นกระแสนิยม?
ถ้อยแถลงของ ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน เรื่อง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ article



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล