ReadyPlanet.com
ardo calypso
dot
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : ข้อควรปฎิบัติ
dot
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 1
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 2
bulletวิธีเลือกกุมารแพทย์ให้ลูก
bulletก่อนคลอด
bulletสิ่งที่ต้องทำเมื่ออยู่ ร.พ.
bulletหลังคลอด
bulletท่าในการให้นม
bulletBreast Crawl
bulletความคาดหวังของลูกน้อย
bulletบันทึกการให้นมลูก
bulletวิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง
bulletสัมผัสรักระหว่างแม่ลูก
bulletโรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
bulletแบบสอบถาม
dot
ปัญหาเรื่อง นมแม่
dot
bulletวิธีแก้ปัญหานมไม่พอ
bullet"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ
bulletนมพอหรือไม่
bulletเมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)
bulletอาหารเพิ่มน้ำนม
bulletวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม
bulletWorkshop เพิ่มน้ำนม (new)
bulletยาประสระน้ำนม
bulletDomperidone (Motilium)
bulletยาเพิ่มน้ำนม Motilium
bulletคำเตือนสำหรับการใช้ยา Domperidone
bulletน้ำหนักตัวเพิ่มช้า
bulletน้ำหนักตัวน้อย
bulletเจ็บหน้าอก หัวนมแตก
bulletการบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม
bulletลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า
bulletตัวเหลือง
bulletสารพันปัญหา
บริจาคนมแม่
dot
เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
dot
bullet20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน
bulletมาทำ stock น้ำนม กันเถอะ
bulletวิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
bulletจะให้ลูกกินอะไรเมื่อแม่ไปทำงาน
bulletวิธีเก็บรักษานมแม่
bulletต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?
bulletโปรแกรมคำนวณนมแม่
bulletยาคุมกำเนิด
dot
คุณแม่นักปั๊ม
dot
bulletการปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม
bulletปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
bulletข้อคิดก่อนซื้อ ที่ปั๊มนม
bulletเพิ่มน้ำนมภายใน 14 วันแรก
bulletเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
bulletซื้อเครื่องปั๊มที่ไหนดี
bulletปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี
bulletเรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
bulletถุงเก็บน้ำนมแม่
dot
กลเม็ดเคล็ดลับ
dot
bulletวิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new)
bulletบีบด้วยมือ vs ปั๊มด้วยเครื่อง
bullet10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี
bulletนอนให้นม...สบายมากๆ เลย
bulletอุปกรณ์เสริม ช่วยแม่ให้นมลูก
bulletมุมให้นมแม่
bulletวิธีพาสเจอร์ไรซ์นมแม่
dot
ปัญหาที่พบไม่บ่อย
dot
bulletลิ้นติด (Tongue Tie)
bulletเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่
bulletต้องการถามปัญหาอื่นๆ
bulletทำไมทารกร้องไห้โยเย
dot
หนังสือแนะนำ
dot
bulletขอรับหนังสือนมแม่ฟรี
bulletการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletสร้างชีวิตมหัศจรรย์ด้วยน้ำนมแม่
bulletนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก
bullet เคล็ดลับ...แม่มือใหม่ "นมแม่"
bulletเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletพัฒนาสมองด้วยนมแม่...
bulletGuide to Breastfeeding
dot
แหล่งข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่
dot
bulletคลินิกนมแม่ทั่วประเทศ
bulletนมแม่ แน่ที่สุด
bulletศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
bulletคลีนิครัก
bulletศริริราชออนไลน์
bulletสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
bulletwww.breastfeeding.com
bulletPromom
bulletรักลูก
bulletLa Leche League
bullet4woman
bulletMother & Child Health
bulletWABA
bulletBreastfeedingonline
bulletDr. Sears
bulletbreastfeedingbasics
bulletwebboard
bulletkellymom
bulletDr. Jack Newman
bulletInfact
bulletgotbreastpump
bulletNew Beginnings
bulletโครงการสายใยรัก
bulletศูนย์ข้อมูล สสส
bulletUNICEF
bulletbreastfeedingmadesimple
bullethm4hb
bulletLactation Narration
bulletNormalFed
dot
Brainfeeding
dot
bulletเก็บมาฝาก
bulletIf we don't care, who will?
bullet๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา
bulletสัมภาษณ์ ดร. อาจอง ชุมสาย ฯ
bulletคนดีของพ่อ
bulletเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้รู้
bulletคุยกับประภาส
dot
Sponsor Link
dot
bulletbfdcenter
bulletร้านนมแม่
bulletศูนย์รวมฟิล์มทุกชนิด
bulletV-Kool
bulletSuvarnabhumi Airport Hostel
bulletBussaba Bangkok Boutique Hotel Suvarnabhumi Airport
bulletbeing-mom
bulletมีลูกยาก
bulletSite Map
ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี whisper
unimom allegro
ardo calypso
Ardo Carum
bulletนมแม่


ร้านนมแม่-เครื่องปั๊มนม


10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี

๑๐ เคล็ดลับในการให้ลูกกินนมจากอกแม่ได้ครบหนึ่งปี

โดย คริสทีน ฟอสเตอร์, เมาน์เทนวิว แคลิฟอร์เนีย

จาก NEW BEGINNINGS, เล่มที่ ๒๓ ฉบับที่ ๑, มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๐๐๖, หน้า ๔-๘

ถึงแม้สมาคมกุมารเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกาและองค์กรทางการแพทย์อื่นๆ จะให้คำแนะนำไว้อย่างชัดเจนว่า ทารกควรจะได้กินนมจากอกแม่จนกระทั่งอายุครบ ๑ ขวบ แต่มีแม่และทารกจำนวนไม่มากที่สามารถทำได้สำเร็จ แม้ว่าแม่ลูกอ่อนในสหรัฐอเมริกามากกว่า ๗๐% จะให้ลูกกินนมจากอกแม่ตอนแรกคลอด แต่มีเพียง ๑๖% เท่านั้นที่ยังคงให้ลูกกินนมจากอกแม่ตอนอายุ ๑ ขวบ เหตุผลที่คุณแม่จำนวนมากไม่สามารถทำได้สำเร็จตามเป้าหมายเป็นเรื่องซับซ้อน อาจเป็นเพราะสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบตัวไม่ได้ช่วยส่งเสริมการให้ลูกกินนมจากอกแม่มากพอ

การมีทางเลือกอื่นที่ง่ายกว่าเวลาเกิดปัญหาหรือความลำบากในการให้นม และการขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพของเด็กกินนมแม่ซึ่งจะแตกต่างจากเด็กกินนมขวดอย่างมหาศาล และเหตุผลอื่นๆ แต่คุณแม่ที่ตั้งใจจริงส่วนใหญ่จะสามารถให้ลูกกินนมจากอกแม่ได้จนครบปีหรือนานกว่านั้น บทความนี้จะให้คำแนะนำและเคล็ดลับที่จะทำให้คุณแม่ไปถึงเป้าหมายได้

๑. ขอความช่วยเหลือ

ถึงแม้คุณแม่ส่วนใหญ่จะได้เริ่มให้ลูกกินนมแม่จากอกแม่หลังคลอด แต่คุณแม่ส่วนใหญ่มักจะไม่เคยมีประสบการณ์ตรงในการให้นมลูกมาก่อน ความเปลี่ยนแปลงที่คุณแม่มือใหม่ต้องเผชิญหลังคลอดบุตรเป็นเรื่องที่ยากจะคาดเดา และบ่อยครั้งก็น่าประหลาดใจ หลักการทางทฤษฎีในการวางแผนให้ลูกกินนมจากอกแม่อาจจะแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับการให้นมลูกในทางปฏิบัติ ดังนั้นการได้รับความช่วยเหลือจากผู้มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการให้ลูกกินนมจากอกแม่จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกสบายใจและมั่นใจมากขึ้น

หนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดในการขอความช่วยเหลือ คือการเข้าร่วมประชุม LLL* ในระหว่างตั้งครรภ์ ผู้นำที่มีประสบการณ์ตั้งข้อสังเกตว่าคุณแม่ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมของ LLL ก่อนทารกคลอดมักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับการให้นมลูกน้อยกว่า เพราะพวกเขามีความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของการให้ลูกกินนมจากอกแม่มากกว่า และถ้าพวกเขาเจอปัญหาหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด คุณแม่ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมของ LLL แล้ว ก็มักจะไม่ลังเลใจที่จะโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือผู้นำ LLL ที่พวกเขารู้จัก

การให้สมาชิกในครอบครัวและเพื่อนๆ ได้รับรู้เกี่ยวกับเป้าหมายของการให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของคุณก็อาจจะช่วยได้มาก ตอนที่ยูนิที ดีนส์เริ่มตั้งครรภ์ลูกแฝด เธอเขียนรายการเหตุผลต่างๆ อธิบายว่าทำไมลูกทั้งสองของเธอจำเป็นต้องได้กินนมแม่ เพื่อทำให้ คลี สามีของเธอเข้าใจถึงเป้าหมายในการให้ลูกกินนมจากอกแม่ของเธอ การเตรียมการล่วงหน้าของยูนิทีมีความหมายมาก เพราะตอนที่พวกเขาประสบกับปัญหาในช่วงสัปดาห์แรกๆ เธอได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากสามี เขารู้สึกประหลาดใจมากที่มีเหตุผลมากมายขนาดนั้นเธอกล่าว

๒. หัดให้ลูกกินนมจากอกนมแม่ในที่สาธารณะ

การฝึกหัดที่จะให้ลูกกินนมจากอกแม่ในที่สาธารณะอาจจะเป็นเรื่องลำบากมาก โดยเฉพาะในชุมชนที่การให้ลูกกินนมจากอกแม่ไม่ใช่เรื่องปกติ ผู้หญิงที่รู้สึกไม่มั่นใจที่จะให้นมลูกในที่สาธารณะมักจะมีปัญหาในการให้ลูกกินนมจากอกแม่จนถึงหนึ่งปีหรือนานกว่านั้น ถ้าคุณแม่ไม่ต้องการให้นมลูกในที่สาธารณะ ก็ควรจะต้องลดกิจกรรมนอกบ้านลง หรือจะต้องปั๊มนมออกมาเก็บไว้เพื่อให้ลูกกินนมจากขวด ทั้งสองวิธีอาจจะเป็นเรื่องน่าอึดอัดและจำกัดสายสัมพันธ์ของการให้ลูกกินนมจากอกแม่

คุณแม่บางคนรู้สึกว่าเสื้อให้นมมีประโยชน์มากเวลาให้นมลูกในที่สาธารณะ ในขณะที่บางคนก็รู้สึกว่าการให้นมลูกโดยการเปิดเสื้อขึ้นจากด้านล่างและจับให้ทารกบังผิวหนังที่เปิดเผยก็สะดวกพอๆ กัน คุณแม่จำนวนมากเพิ่มความมั่นใจโดยการหัดให้นมในที่ที่ตนเองเคยชิน (เช่น ในการประชุม LLL) หรือฝึกหัดหน้ากระจกเพื่อดูว่าสิ่งที่คนอื่นเห็นเป็นอย่างไร บางครั้งการมีคนสนิทไปเป็นเพื่อนในการออกนอกบ้านช่วงแรกๆ อาจะช่วยให้คุณแม่รู้สึกมั่นใจมากขึ้น ถึงแม้คนจะรู้ว่าเรากำลังให้นมลูก แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ยูนิทีกล่าว พยายามสร้างความรู้สึกแบบนั้นขึ้นมา ว่าคุณกำลังให้นมลูก คุณกำลังทำให้ลูกสบายใจ นั่นคือหน้าที่ของเต้านมของคุณ

บ่อยครั้งคุณแม่ก็อาจจะได้รับกำลังใจสำหรับความสัมพันธ์ของการให้ลูกกินนมจากอกแม่จากคนแปลกหน้าที่ได้เห็นเธอให้นมลูก ดอว์น เบิร์ค ผู้นำ LLL ในรัฐจอร์เจียเล่าว่า ฉันรู้สึกไม่มั่นใจกับการให้นมลูกในที่สาธารณะตอนมีลูกคนแรกตอนที่ลูกของเธออายุประมาณ ๘ เดือน พวกเขาไปตลาดนัดที่ขายผักผลไม้ด้วยกัน ลูกของเธออยากกินนมแม่เต็มที่ ดอว์นหาจุดที่ค่อนข้างปลอดคน ตรงลังใส่นมใกล้ๆ กับที่พักพนักงานและคนทั่วไป เธอนั่งลงให้นมลูก พนักงานชายสูงอายุคนหนึ่งเดินเข้ามาและกล่าวชมการให้นมลูกของเธอเสียงดัง ดีจังที่เห็นคุณให้ลูกกินนมแม่ดอว์นเล่าว่าเขาพูดว่า ผมมาจากประเทศอินเดียเขาบอกต่อไปว่า และที่นั่นการให้ลูกกินนมจากอกแม่เป็นเรื่องสำคัญมาก คุณให้ลูกกินนมแม่ต่อไปนะ มันดีมากๆตอนนนี้ดอว์นกล่าวว่า ฉันบอกคุณแม่ทั้งหลายให้รับความช่วยเหลือและกำลังใจจากทุกที่ที่หาได้

๓. หลีกเลี่ยงการใช้ขวดนมและจุกนมเทียม

มีทารกบางคนสามารถใช้ขวดนมและจุกนมเทียมและยังสามารถกินนมจากอกแม่ต่อเนื่องได้จนถึง ๑ ขวบ แต่หนังสือ “THE BREASTFEEDING ANSWER BOOK” ระบุว่าการตอบสนองความต้องการในการดูดของทารกด้วยสิ่งอื่นนอกเหนือจากเต้านมมีโอกาสทำให้เกิดการหย่านมเร็วกว่าที่ควร การใช้จุกนมยางในช่วงสัปดาห์แรกๆ สามารถรบกวนความสามารถของทารกในการดูดนมจากอกแม่

LLL แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้จุกนมยางในช่วงสัปดาห์แรกๆ ซึ่งอาจจะทำให้คุณแม่รู้สึกสับสนกับคำแนะนำจากสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา ที่บอกว่าทารกควรจะนอนหลับไปพร้อมกับจุกนมเทียมเพื่อช่วยลดความเสี่ยงของโรคไหลตายในเด็ก (Sudden Infant Death Syndrome หรือ SIDS) LLL เชื่อว่าคำแนะนำนี้ไม่ได้พิจารณาหลักการสำคัญเกี่ยวกับการกินนมจากอกแม่ และจะเกิดผลเสียต่อพัฒนาการของความสัมพันธ์ในการกินนมจากอกแม่ในระยะยาว ประกาศที่ออกโดย LLL ระบุว่า

จุกนมเทียมคือสารสังเคราะห์ที่นำมาทดแทนสิ่งที่เต้านมทำได้โดยธรรมชาติ ทารกที่กินนมจากอกแม่มักจะกินนมจนหลับไปทั้งตอนนอนกลางวันและตอนกลางคืน การใช้จุกนมเทียมตามที่สถาบันกุมารเวชศาสตร์แนะนำอาจจะทำให้ปริมาณน้ำนมลดลงเนื่องจากเต้านมได้รับการกระตุ้นน้อยลง และอาจจะมีผลต่อระยะเวลาของการรให้ลูกกินนมจากอกแม่

อีกนัยหนึ่งก็คือ ถ้าจุกนมเทียมเป็นสิ่งที่ดีสำหรับทารก ทำไมถึงไม่ใช้สิ่งที่ดีที่สุด ซึ่งก็คือ เต้านม นั่นเอง

๔. หาวิธีให้คุณพ่อได้มีส่วนร่วม

หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้คุณแม่มือใหม่ตัดสินใจปั๊มนมใส่ขวดให้ลูกกินแทนการให้กินจากอกแม่ก็คือ พวกเขาอยากให้คุณพ่อได้มีส่วนร่วมในการให้นมลูกโดยใช้ขวดด้วย แต่การให้นมโดยใช้ขวดบ่อยๆ อาจนำไปสู่การหย่านมเร็วกว่าที่ควร ดังนั้นการหาวิธีอื่นที่คุณพ่อจะสามารถเชื่อมโยงกับทารกได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ หลายครอบครัวใช้การอาบน้ำหรือนวดตัวให้ทารกเป็นโอกาสพิเศษที่จะสร้างความผูกพันระหว่างพ่อกับลูก เพราะทารกมีโอกาสสัมผัสเนื้อแนบเนื้อกับพ่อและทำให้เขารู้สึกสบาย

ซินดี้ โฮเวิร์ด ผู้นำ LLL ในรัฐแคลิฟอร์เนีย เล่าว่าสามีของเธอไม่ชอบให้ลูกสาวกินนมจากขวด เพราะลูกๆ จะทำท่าเหมือนกับว่าพวกเขาไม่ได้รับสิ่งที่ดีที่สุด ตอนที่เกว็นลูกสาวคนเล็กยังเป็นทารก จอห์นสร้างความผูกพันโดยการนวดเท้าให้เธอในระหว่างที่ภรรยาของเขาเข้าชั้นเรียนออกกำลังกายตอนเช้า

เจนนิเฟอร์ โมควิน ผู้นำ LLL ในรัฐเพนซิลเวเนีย ให้แอนโทนีสามีของเธออยู่กะดึกกับลูกสาวที่ไม่ค่อยยอมนอนตอนกลางคืน เธอจะให้นมลูกและนอนพักซักงีบ ในขณะที่คุณพ่ออุ้มลูกเดินไปเดินมา เปิดเพลงพิเศษให้เธอฟังและชวนให้เธอดูรูปตัวเองที่ติดอยู่ที่ผนัง เธอสงบและผ่อนคลาย แต่ก็ตาสว่างเต็มที่เจนนิเฟอร์บอก มันเป็นเวลาที่ดีมากสำหรับทั้งคู่

๕. สร้างจังหวะประจำวัน

กำหนดการที่เคร่งครัดอาจทำให้คุณแม่ตอบสนองความต้องการของทารกได้ไม่ดีเท่าที่ควร กำหนดการเหล่านี้ยังอาจทำให้ปริมาณน้ำนมลดลงได้ เพราะเอาน้ำนมออกจากเต้านมได้น้อยครั้งลง คุณแม่อาจรู้สึกสับสนเวลาได้ยินคำพูดว่า ทารก ควรจะได้กินนมจากอกแม่ ๘๑๒ ครั้งใน ๒๔ ชั่วโมง หรือทารก ควรได้กินนมจากอกแม่ ๑๐๑๕ นาที ในขณะที่ลูกของตนเองไม่ได้ทำตามนี้ หนังสือ THE BREASTFEEDING ANSWER BOOK เขียนไว้ว่า ระยะเวลาในการให้นมลูกจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับบุคลิกของทารกและอายุของพวกเขา ลักษณะการกินนมจากอกแม่ของทารกอาจจะเปลี่ยนแปลงไปด้วยเมื่อเขาโตขึ้นคุณแม่หลายๆ คนรู้สึกว่าสถานการณ์ดีขึ้นถ้าพวกเขาเลิกสนใจที่จะจ้องดูนาฬิกาและนับจำนวนครั้งที่ลูกกินนม ถ้าลูกของคุณมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสม คุณแม่ก็แค่คอยสังเกตดูความต้องการของลูก ก็เพียงพอแล้ว

แต่สำหรับแม่ลูกบางคู่ ตารางเวลาที่ตายตัวก็เป็นเรื่องสำคัญ คุณแม่สามารถจะค่อยๆ กำหนดแบบแผนขึ้นได้โดยกำหนดตารางเป็นเวลาให้ทารก การมีลำดับที่แน่นอนสำหรับกิจกรรมในแต่ละวัน เช่น การอาบน้ำ ไปเดินเล่น อ่านหนังสือ จะช่วยให้ทารกและคุณแม่หาจังหวะที่เหมาะสมกับตัวเองได้ ทารกบางคนอาจจะไม่ยอมรับการให้กินนมจากอกแม่เป็นเวลาเมื่อเขาโตขึ้น ในขณะที่เด็กบางคนจะยังคงต้องการกินนมจากอกแม่บ่อยๆ ตลอดทั้งวันอยู่ต่อไป

๖. ให้นมลูกเพื่อปลอบโยน

คุณแม่บางคนกังวลว่าการให้ลูกกินนมจากอกแม่เพื่อช่วยปลอบลูกเวลาที่เขาหงุดหงิดไม่สบายใจจะทำให้ทารกสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์กับอาหารไปในทางที่ไม่เหมาะสม พวกเขากังวลว่าลูกจะใช้อาหารเป็นเครื่องระบายอารมณ์มากว่าจะกินเพื่อตอบสนองความหิวทางกาย พวกเขาอาจจะเชื่อว่าการพยายามแยกอาหารออกจากอารมณ์เป็นเรื่องที่ดีกว่า แต่ถ้าเราซื่อสัตย์กับความรู้สึกของตัวเอง เราจะพบได้ว่า พวกเราทุกคนมีความเชื่อมโยงทางอารมณ์ด้านใดด้านหนึ่งกับอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง ซินดี้ โฮเวิร์ด ผู้ซึงเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นมที่มีใบอนุญาตระดับนานาชาติยกตัวอย่างของเค้กวันเกิดว่า ขนมเค้กแทบจะไม่มีคุณค่าทางอาหารใดๆ ที่เป็นประโยชน์ แต่องค์ประกอบทางอารมณ์ที่ได้จากการฉลองร่วมกับคนอื่นต่างหาก ที่เป็นคุณค่าของเค้กวันเกิด

เวลาที่คุณให้ลูกกินนมจากอกเพื่อปลอบโยนลูก คุณกำลังกระตุ้นให้เขาหันมาหาคุณเวลาที่เขารู้สึกไม่สบายใจ แทนที่จะหันไปหาสิ่งของที่ไม่ใช่มนุษย์ การได้ติดต่อกับมนุษย์มีความสำคัญมากกว่าน้ำนม นอกจากนี้การให้ลูกกินนมจากอกแม่ยังช่วยให้ปริมาณน้ำนมไม่ลดลง และช่วยกระตุ้นเตือนทารกว่า เขาจะสามารถทำให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้นได้โดยการกินนมจากอกแม่

๗. รับรู้สัญญาณของการอดนมประท้วง (Nursing Strike)

มีบางช่วงเวลาที่ทารกจะรู้สึกอยากกินนมจากอกแม่มากขึ้นหรือน้อยลง แต่ไม่ใช่เรื่องปกติที่ทารกจะอยากหย่านมก่อนอายุ ๑ ขวบ มันไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณแม่บางคนจะคิดว่าลูกน้อยของเธอกำลังจะ หย่านมแต่ความจริงทารกกำลัง อดนมประท้วง(Nursing Strike) หรือกำลังมีพัฒนาการด้านอื่นๆ อย่างมากจนทำให้พวกเขารู้สึกสนใจที่จะกินนมจากอกแม่น้อยลง หนังสือ THE BREASTFEEDING ANSWER BOOK กล่าวไว้ว่าการอดนมประท้วงมักจะพบได้บ่อยในทารกช่วงอายุ ๓-๘ เดือน

กุญแจสำคัญที่จะหลีกเลียงการหย่านมโดยไม่ตั้งใจคือการรับรู้และจัดการกับการอดนมประท้วงอย่างเหมาะสม มอลลี่ รีเมอร์ ผู้นำ LLL ในรัฐมิสซูรี บอกว่าตอนที่แลนน์อายุ ๕ เดือน เขาไม่ยอมกินนมจากอกแม่ตอนที่เขาตื่นเป็นเวลา ๑ สัปดาห์ เพราะเขาเป็นหวัด เขาหงุดหงิดและอึดอัดมากเพราะคัดจมูก เขาหายใจไม่สะดวกเวลากินนมจากอกแม่ เขาจึงปฏิเสธการกินนมจากอกแม่โดยสิ้นเชิง มอลลีให้แลนน์กินนมจากอกแม่วลาที่เขานอน และทดลองวิธีต่างๆ เพื่อทำให้เขากลับมายอมกินนมตอนกลางวัน การให้กินนมในระหว่างที่มีการเคลื่อนไหวช่วยได้มาก ดังนั้นมอลลี่จึงให้นมในระหว่างที่อุ้มเขาเดินไปมา ตอนนี้แลนน์อายุสองขวบแล้วและยังกินนมจากอกแม่เป็นประจำ

อีกช่วงเวลาหนึ่งที่จะดูคล้ายกับการหย่านมแต่ไม่ใช่ คือช่วงประมาณ ๖ เดือน ตอนที่ทารกเริ่มจะเคลื่อนไหวเองได้และเริ่มรู้จักสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวมากขึ้น บางสิ่งอาจจะดึงดูดความสนใจของพวกเขาไปจากการกินนมจากอกแม่ คุณแม่บางคนพบว่าการให้ลูกกินนมถี่ขึ้น พาเขาเข้าไปให้นมในห้องมืดๆ หรืออาศัยช่วงเวลาตอนกลางคืนในการให้นมลูก จะช่วยให้พวกเขาผ่านปัญหาช่วงนี้ไปได้ บ่อยครั้งที่ทารกปฏิเสธการกินนมจากอกแม่ เพราะมีสิ่งที่ทำให้เขาไม่สบายใจเกิดขึ้น เช่น การป่วย ฟันขึ้น หรือการเปลี่ยนแปลงในครอบครัว เช่น การย้ายบ้าน หรือบางครั้งทารกก็อาจจะอยากหย่านมก่อนอายุ ๑ ขวบ แต่มักจะเกิดขึ้นไม่บ่อย ประโยชน์ของการให้ลูกกินนมจากอกแม่ต่อสุขภาพของทารกมีความสำคัญมาก มันจึงคุ้มค่าที่จะพยายามทำให้ทารกไม่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่จะนำไปสู่การหยุดกินนมจากอกแม่โดยสิ้นเชิง

๘. ค่อยๆ จัดการไปทีละวัน

คุณแม่บางคนเป็นนักวางแผน พวกเขาต้องการตัดสินใจว่าทารกควรจะกินนมจากอกแม่นานเท่าไรตั้งแต่ทารกยังไม่คลอด พวกเขาคิดว่า ฉันไม่ต้องการให้ลูกกินนมจากอกแม่จนถึง ๓ ขวบ ดังนั้นฉันจะต้องให้ลูกหย่านมตอนนี้คุณแม่คนอื่นอาจจะวางแผนให้ลูกกินนมจากอกแม่จน ๑ ขวบหรือนานกว่านั้น แต่อาจจะรู้สึกว่ารับมือกับสถานการณ์ไม่ได้ในช่วงแรกๆ จนรู้สึกกลัวว่าจะไม่สามารถทำตามเป้าหมายได้

แทนที่จะตัดสินใจไปล่วงหน้าอย่างเด็ดขาด พยายามค่อยๆ จัดการไปทีละวัน ตอนที่ลูกของคุณเป็นทารกแรกคลอด ภาพของการต้องให้นมลูกวัย ๑๒ เดือนตัวใหญ่เบิ้มอาจจะน่าหวั่นใจ แต่เมื่อคุณแม่ช่วยลูกเป่าเค้กวันเกิดฉลอง ๑ ขวบ คุณจะเห็นว่าลูกของคุณก็ไม่ได้ตัวโตขนาดนั้น

เอเรียล วาเลนเซีย คุณแม่จากรัฐแคลิฟอร์เนีย ใช้วิธี ทีละวันเพื่อช่วยให้ตัวเองสามารถให้นมเอย์เรนลูกชายเธอต่อไปได้ เอเรียลทำงานนอกบ้าน และรู้สึกว่าการปั๊มนมให้พอกับที่ลูกต้องการในระหว่างที่เธอไม่อยู่บ้านเป็นเรื่องยากลำบากมาก เธอตั้งเป้าหมายไว้ทีละ ๒ สัปดาห์ และสามารถทำได้สำเร็จนานถึง ๕ เดือน

๙. อย่าคิดว่าการให้ลูกกินนมจากอกแม่เป็น ต้องให้ตลอด-ต้องหยุดตลอด

บางครั้งคุณแม่อาจจะให้ลูกกินนมผสม เพื่อแก้ปัญหาปริมาณน้ำนมไม่พอในระหว่างที่คุณแม่ไปทำงาน หรือกรณีที่คุณแม่เลือกจะไม่ปั๊มนมเก็บไว้ใช้ตอนไม่ได้อยู่กับลูก

จูลี เนลสัน คุณแม่จากรัฐนิวยอร์กให้นิโคลัสกินนมผสมตอนเขาอายุ ๙ เดือน เพราะเธอไม่สามารถปั๊มนมได้พอกับความต้องการของเขาในระหว่างที่เธอไปทำงาน แต่เธอก็ยังคงให้ลูกกินนมจากอกแม่ต่อไปในตอนเย็นและช่วงสุดสัปดาห์ และนิโคลัสได้กินนมจากอกแม่ต่อไปจนเขาอายุ ๑ ขวบ

๑๐. มีความสุขกับช่วงเวลาสำคัญ

จำไว้ว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาที่จะหลงรักการให้ลูกกินนมจากอกแม่ ยูนิที ดีนส์กล่าวว่า คุณจะต้องใช้หัวใจ, ไม่ใช่สมอง, ในการที่จะทำให้คุณสามารถทำต่อเนื่องต่อไปได้การที่หัวใจคุณหลงรักการให้ลูกกินนมจากอกแม่เป็นเรื่องสำคัญ ยูนิทีแนะนำว่าคุณแม่ควรจะ

  • พยายามทำให้การให้ลูกกินนมจากอกแม่ไม่มีความเจ็บปวด คุณไม่สามารถจะหลงรักสิ่งที่สร้างความเจ็บปวด
  • หลีกเลี่ยงสิ่งขวางกั้นระหว่างคุณกับลูก ซึ่งรวมไปถึงแผ่นรองหัวนมหรือขวดที่ใส่นมที่ปั๊มออกมา เวลาที่มีอะไรขวางกั้นระหว่างคุณกับลูก มันจะทำให้สถานการณ์ยากขึ้น 
  • โอบกอดลูกของคุณไว้ ลูดกลิ่นหอมจากตัวลูก มองดูน้ำนมที่ร่างกายของคุณผลิตหยดไหลจากมุมปากของลูก การหลงรักต้องการทุกประสาทสัมผัส

ถ้าคุณแม่ซาบซึ้งกับการให้ลูกกินนมจากอกแม่ มันจะเป็นเรื่องง่ายที่จะให้นมลูกตลอด ๑ ปีหรือนานกว่านั้น นั่นคือ เคล็ดลับที่แท้จริงของการให้ลูกกินนมจากอกแม่ ถ้าคุณแม่มีความสุขกับการให้ลูกกินนมจากอกแม่หรือมุ่งมั่นกับมันมากๆ คุณแม่จะรู้สึกสบายใจกับการให้นมลูกได้ง่ายกว่า สามารถหาวิธีที่จะให้นมลูกต่อหน้าคนอื่นได้ และพยายามขอความช่วยเหลือเวลาที่จำเป็น

ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาทองที่จะผ่านไปอย่างรวดเร็ว ในขณะที่คุณแม่กำลังปรับตัวรับประสบการณ์ใหม่ พยายามยอมรับสิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นอย่างที่มันเป็นอยู่ และพยายามมีความสุขกับช่วงเวลาสำคัญนี้

 *LLL หรือ La Leche League คือหน่วยงานที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะมีการจัดการประชุมอบรมเพื่อให้ความรู้และความช่วยเหลือกับคุณแม่เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สำหรับในประเทศไทย คุณแม่สามารถขอความช่วยเหลือหรือหาความรู้ได้จากศูนย์นมแม่ในโรงพยายาบาลต่างๆ

แปลโดย คุณนิจวรรณ ตั้งวิรุฬห์ 

ส่งคำขอบคุณให้ผู้แปลได้โดยกรอกแบบฟอร์มด้านล่างค่ะ



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




กลเม็ดเคล็ดลับ

5 อันดับสุดยอดเครื่องปั๊มนม Hospital Grade ระดับ World Class ที่ดีที่สุดในโลก
50 ข้อควรรู้ก่อนซื้อเครื่องปั๊มนม
จะซื้อเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
ปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
มาทำ stock น้ำนมกันเถอะ
กินอะไรเพิ่มน้ำนม
‎แม่ทำงานนอกบ้าน ‎ปั๊มนม อย่างไรให้พอเลี้ยงลูกได้นานๆ article
วิธีบีบน้ำนมด้วยมือ
วิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
เทคนิคฝึกลูกดูดเต้า (ฉบับ คุณแม่ใจเด็ด)
ลูกติดเต้า ไม่เอาขวด (ตอนที่ 3 จุกนมแบบไหนดี)
ลูกติดเต้า ไม่เอาขวด (ตอนที่ 1 ทำไมถึงติดเต้า)
ลูกติดเต้า ไม่เอาขวด (ตอนที่ 2 แม่ต้องไปทำงาน)
5 เทคนิคฝึกลูกดูดเต้า (ฉบับ คุณแม่ใจอ่อน)
วิธีทำอุปกรณ์ Hands Free ใช้เองง่ายๆ
ทำอย่างไรจึงมีนมแม่เพียงพอโดยไม่ต้องให้นมผสม
น้ำนมแม่มีกลิ่นหืนทำอย่างไร
คำนวณปริมาณน้ำนม