ReadyPlanet.com
ardo calypso
dot
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : ข้อควรปฎิบัติ
dot
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 1
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 2
bulletวิธีเลือกกุมารแพทย์ให้ลูก
bulletก่อนคลอด
bulletสิ่งที่ต้องทำเมื่ออยู่ ร.พ.
bulletหลังคลอด
bulletท่าในการให้นม
bulletBreast Crawl
bulletความคาดหวังของลูกน้อย
bulletบันทึกการให้นมลูก
bulletวิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง
bulletสัมผัสรักระหว่างแม่ลูก
bulletโรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
bulletแบบสอบถาม
dot
ปัญหาเรื่อง นมแม่
dot
bulletวิธีแก้ปัญหานมไม่พอ
bullet"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ
bulletนมพอหรือไม่
bulletเมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)
bulletอาหารเพิ่มน้ำนม
bulletวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม
bulletWorkshop เพิ่มน้ำนม (new)
bulletยาประสระน้ำนม
bulletDomperidone (Motilium)
bulletยาเพิ่มน้ำนม Motilium
bulletคำเตือนสำหรับการใช้ยา Domperidone
bulletน้ำหนักตัวเพิ่มช้า
bulletน้ำหนักตัวน้อย
bulletเจ็บหน้าอก หัวนมแตก
bulletการบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม
bulletลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า
bulletตัวเหลือง
bulletสารพันปัญหา
บริจาคนมแม่
dot
เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
dot
bullet20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน
bulletมาทำ stock น้ำนม กันเถอะ
bulletวิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
bulletจะให้ลูกกินอะไรเมื่อแม่ไปทำงาน
bulletวิธีเก็บรักษานมแม่
bulletต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?
bulletโปรแกรมคำนวณนมแม่
bulletยาคุมกำเนิด
dot
คุณแม่นักปั๊ม
dot
bulletการปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม
bulletปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
bulletข้อคิดก่อนซื้อ ที่ปั๊มนม
bulletเพิ่มน้ำนมภายใน 14 วันแรก
bulletเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
bulletซื้อเครื่องปั๊มที่ไหนดี
bulletปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี
bulletเรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
bulletถุงเก็บน้ำนมแม่
dot
กลเม็ดเคล็ดลับ
dot
bulletวิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new)
bulletบีบด้วยมือ vs ปั๊มด้วยเครื่อง
bullet10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี
bulletนอนให้นม...สบายมากๆ เลย
bulletอุปกรณ์เสริม ช่วยแม่ให้นมลูก
bulletมุมให้นมแม่
bulletวิธีพาสเจอร์ไรซ์นมแม่
dot
ปัญหาที่พบไม่บ่อย
dot
bulletลิ้นติด (Tongue Tie)
bulletเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่
bulletต้องการถามปัญหาอื่นๆ
bulletทำไมทารกร้องไห้โยเย
dot
หนังสือแนะนำ
dot
bulletขอรับหนังสือนมแม่ฟรี
bulletการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletสร้างชีวิตมหัศจรรย์ด้วยน้ำนมแม่
bulletนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก
bullet เคล็ดลับ...แม่มือใหม่ "นมแม่"
bulletเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletพัฒนาสมองด้วยนมแม่...
bulletGuide to Breastfeeding
dot
แหล่งข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่
dot
bulletคลินิกนมแม่ทั่วประเทศ
bulletนมแม่ แน่ที่สุด
bulletศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
bulletคลีนิครัก
bulletศริริราชออนไลน์
bulletสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
bulletwww.breastfeeding.com
bulletPromom
bulletรักลูก
bulletLa Leche League
bullet4woman
bulletMother & Child Health
bulletWABA
bulletBreastfeedingonline
bulletDr. Sears
bulletbreastfeedingbasics
bulletwebboard
bulletkellymom
bulletDr. Jack Newman
bulletInfact
bulletgotbreastpump
bulletNew Beginnings
bulletโครงการสายใยรัก
bulletศูนย์ข้อมูล สสส
bulletUNICEF
bulletbreastfeedingmadesimple
bullethm4hb
bulletLactation Narration
bulletNormalFed
dot
Brainfeeding
dot
bulletเก็บมาฝาก
bulletIf we don't care, who will?
bullet๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา
bulletสัมภาษณ์ ดร. อาจอง ชุมสาย ฯ
bulletคนดีของพ่อ
bulletเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้รู้
bulletคุยกับประภาส
dot
Sponsor Link
dot
bulletbfdcenter
bulletร้านนมแม่
bulletศูนย์รวมฟิล์มทุกชนิด
bulletV-Kool
bulletSuvarnabhumi Airport Hostel
bulletBussaba Bangkok Boutique Hotel Suvarnabhumi Airport
bulletbeing-mom
bulletมีลูกยาก
bulletSite Map
ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี whisper
unimom allegro
ardo calypso
Ardo Carum
bulletนมแม่


ร้านนมแม่-เครื่องปั๊มนม


ร้องแค่ไหนถึงไม่ตาย

ขอถามเรื่องของการร้องไห้ของเด็กค่ะ (ในขณะที่นมแม่ยังไม่มา) 

วันแรกที่เพิ่งคลอดที่ว่าต้องให้เค้าดูดกระตุ้นนั้น.. ประสบการณ์เราคือเจอลูกร้องไห้มากๆๆๆๆๆ (อันนี้ทราบอยู่แล้วว่าต้องร้องไห้) แต่เราไม่เคยเจอข้อมูล ที่ว่า..ต้องร้องกันขนาดไหนกว่าที่ลูกจะยอมดูดน่ะค่ะ เช่นว่า ร้องกี่วัน กี่ชั่วโมง ร้องจนหลับไหม น่าสงสาร ทุลักทุเลขนาดไหน ถ้าขนาดร้องจนหมดแรงและหลับไปนั้น เป็นกี่ครั้ง? กี่วัน? สุดๆที่เด็กไม่ตายน่ะค่ะ(ป่านนั้นก็คงดูดนมแม่สำเร็จแล้ว) 

เรื่องนี้เราเองไม่รู้เลย เพราะถามแม่ แม่ก็บอกว่าเราดูดนมแม่เองเลย ง่ายๆอย่างนั้น แม่เลยไม่มีคำตอบให้ง่ะ T^T

 

พอดีว่าเพิ่งได้อ่านบทความที่ webmother รำพัน

เลยเพิ่งรู้ว่าเจ้าของเว็บก็เจอปัญหาเหมือนเรา ซึ่งเรื่องนี้ต้องถามคนที่มีประสบการณ์(ปัญหา)จริงที่ทำสำเร็จเท่านั้น พวกจำคำคนอื่นมา จำตำรา จำอุดมการณ์มาตอบนี่.. กรุณาไปให้พ้นเลย (อยากขอประสบการณ์จริงจากแม่ๆเยอะๆหลายๆท่านเลยค่ะ) 

กับ..มันมีเกณฑ์ไหมว่า ถ้าร้องไปจนถึงขนาด(...) หรือมีอาการขนาด(1..2..3..4...) ก็ควรหาอาหารให้ (เช่นน้ำต้มสุก น้ำข้าว หรือนมผสมก็ดี ป้อนถ้วย ป้อนขวดฯลฯ ไปก่อน เพราะไม่งั้นเด็กตายแน่แล้ว)

 

ในทางกลับกันคุณแม่จะได้แน่ใจไงคะ ว่าถ้าเด็กร้องไห้แต่ยังไม่มีอาการถึงเกณฑ์ดังกล่าวนี่ ยังไงๆเด็กก็ไม่ตายหรอก จะได้สู้ต่อโดยไม่ต้องมาประสาทกิน จนถอดใจเปิดประป๋องนมไปเสียก่อน(เหมือนอย่างเรา)ไงคะ 

ทำไมข้อมูลตรงนี้ถูกหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงจังเลย เห็นพูดกันแต่ว่า มาตอนแรกลูกไม่ดูด แต่อดทนๆๆ แล้วก็ตัดชึ๊บมาที่ว่า "..ในที่สุดลูกก็ยอมดูด" -ดิเอนด์- (แหม แฮปปี้เอนดิ้งซะด้วย :อิจฉานะ ฮึ:) 

ประสบการณ์เรา ลูกร้อง 2 ชั่วโมงไม่หยุดนี่.. เราก็ชงใส่ขวดแล้วน่ะค่ะ ก็นั่งรู้สึกผิดอยู่นี่ ..แต่ก็อดคิดไม่ออกอยู่ดีว่า ถ้าย้อนเวลากลับไปเราจะทำอย่างไร? ตอนนี้ก็ยังนึกไม่ออก และก็คงทำไม่ถูกอยู่ดีอะค่ะ
 
คุณเวบมาเตอร์เห็นด้วยไหม?ว่าข้อมูลจุดนี้มันสำคัญนะคะ คือแฟนเราเขาบอกเลยว่า..สิ่งสำคัญคือ "คุณไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้เลย ว่าคุณจะมีปัญหาหรือไม่" และเมื่อพอคุณรู้แล้ว(ว่าเด็กไม่ยอมดูด) ณ เวลานั้นคุณก็ทำอะไรไม่ได้แล้วอีกเช่นกัน (ดิฉันคอนเฟิร์มว่าแฟนฉันเค้าพูดถูกต้องที่ซู๊ดดเลยค่า T-T)
 

กล่าวคือ เราต้องทำเหมือนวิธีปฏิบัติตนเบื้องต้นที่รู้ๆกันดีเช่น การปฐมพยาบาลคนเป็นลม หรือ คุณต้องรู้ว่าเมื่อกระโดดร่ม แล้วร่มไม่กาง คุณจะต้องกระตุกร่มสำรองนะ หนึ่ง สอง สาม สี่..อะไรอย่างนี้อะค่ะ เช่นกันกับเรื่องลูกไม่ยอมดูดนมแม่ 

ต้องร่างๆวิธีการเตรียมพร้อมที่จะรับมือเมื่อเจอปัญหาฉุกเฉิน ใช่ค่ะ กลับบ้านไปแล้วพบว่าลูกไม่ยอมดูดนมนี่ ..แบบเบื้องต้นก่อน ไม่ใช่อะไรก็คลินิคนมแม่ๆ เราเคยติดต่อแล้วค่ะ สงสารเค้าเลย เคสเค้าเยอะจริงๆ รวมเราไปด้วยนี่ก็รู้เลยว่า "อย่างเราแทบไม่จำเป็นจะต้องไปหาเค้า ถ้าทางโรงพยาบาลที่เราคลอดมันสนับสนุนนมแม่จริง" ที่ศิริราช เรียนตามตรงเลยนะ ว่าเค้าแอบตำหนิเรา คุยแล้วรู้สึกได้ ทำให้ไม่อยากโทรไปอีกเลย ส่วนที่โรงพยาบาลเด็ก..มีเวลาคุยกันบ้างก็เลยทราบถึงวิบากกรรมของหน่วยงาน เขาบอกว่าอย่าง BNH นี่..สนับสนุนนมแม่จริง แต่พอมีปัญหาก็ไม่จัดการเอง กลับส่งมาให้ที่นี่.. ภาระเยอะแยะ(โดยที่บางรายก็ไม่จำเป็น) แล้วแบบนี้จะไปดูแลใครได้ตลอดรอดฝั่งละเนอะ ว่าไหมคะ? 

....

 

วินาทีนั้น(หากคุณจะจำ เรื่องของเรา ได้) เราแค่ตัดสินใจทำอะไรสักอย่าง ทั้งๆที่เราตั้งใจจะสู้และให้นมแม่ และทราบดีว่าจะต้องทนฟังเสียงลูกร้อง แต่เราตัดสินใจเปิดป๋องชงให้ก็เพราะ "เราไม่รู้ว่าลูกร้องนานเกินไปหรือยัง"ค่า ฮื๊ออออออออออ มันตกม้าตายตรงนี๊แหละค่า..................  

ช่วยทำข้อมูลเรื่องนี้หน่อยได้ไหมคะ เผื่อแม่รายใหม่ๆ จะขี่ม้ามาทางเดียวกับเรา ถ้าได้อ่านจะได้ตัดสินใจถูก แต่ถ้าไม่มีเวลาขอประสบการณ์ของคุณเองเลยก็ได้ แล้วเราอาจไปตั้งกระทู้ที่พันทิป (ซึ่งคุณแม่ๆในนั้นก็ดูเหมือนจะเป็นมาเฟียยังไงไม่รู้ คือล็อคอินเราไม่ใช่ขาประจำเลยไม่รู้คุณเธอทั้งหลายจะมาช่วยตอบไหมนะ) แต่ที่แน่ๆ เรามีบล็อก ถ้าหาข้อมูลและทำการบ้านให้ดีๆกว่านี้อีกนิด เราถึงจะลงมือเขียนและจะแจ้งให้ทาง bft.ทราบ (เผื่อมีประโยชน์ได้เอามาลงให้คุณแม่มือใหม่อ่านกันค่ะ)

 

 

ตอบ 

แม่น้องจู๊ดส่งคำถามนี้มาตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้วค่ะ ถามง่ายแต่ตอบยากนะคะ แม่น้องจู๊ดสงสัยว่าทำไมไม่เคยมีใครให้คำตอบตรงนี้ได้เลย อาจจะเป็นเพราะมันไม่มีคำตอบที่ถูกต้องสำหรับคำถามนี้ก็ได้มั้งคะ เอาเป็นว่าจะขอตอบแบบเล่าสู่กันฟังแล้วกัน จากประสบการณ์ของตัวเองร่วมกับที่เคยอ่าน เคยได้ยินมานี่ล่ะค่ะ แบบไม่มีวิชาการหรือทฤษฎีอะไรรองรับนะคะ 

เริ่มจากความเชื่อของพ่อของลูกก่อนดีกว่า เขาเชื่อว่า "ลูกคนต้องกินนมคน มันเป็นเรื่องของธรรมชาติ" ดังนั้นธรรมชาติก็ต้องสร้างให้แม่มีนมให้ลูกกิน โดยตั้งข้อสังเกตสนับสนุนความเชื่อนี้ไว้ด้วยว่า เห็นคนท้องใกล้คลอดทุกคน หน้าอกขยายใหญ่ขึ้นกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นคนหน้าอกเล็กหรือใหญ่ ถ้าไม่ใช่เป็นเพราะธรรมชาติกำลังทำให้หน้าอกเพิ่มหน้าที่ในการผลิตน้ำนมแล้วมันจะใหญ่ขึ้นเพื่ออะไร เมื่อก่อนไม่เคยคิดถึงประเด็นนี้ค่ะ พอเขาพูดก็เลยรู้สึกคล้อยตาม เพราะเชื่อว่าไม่มีคนใกล้คลอดคนไหนใส่เสื้อชั้นในไซส์เดิมกับตอนที่ก่อนตั้งครรภ์แน่ๆ  อย่างของตัวเองก็เหมือนกัน คือเป็นพวกไข่ดาวขนานแท้ คนที่รู้จักหลายๆ คน (แต่ไม่รู้ว่า Size doesn't matter สำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่) ยังแซวว่าหน้าอกก็เล็ก ทำไมเลี้ยงนมแม่เป็นปีได้ไง ตอนใกล้คลอดตลอดจนช่วงที่ให้นมลูกนั้น ต้องใส่เสื้อในใหญ่กว่าเดิมสองไซส์ทีเดียว แต่พอหยุดให้นมแล้วก็กลับมาแฟบเหมือนเดิมค่ะ ประมาณว่าหมดหน้าที่แล้วก็หมดเรื่องหนักอกได้ 

ปัญหาที่ทำให้แม่ส่วนใหญ่รู้สึกว่าเรา "อาจจะ" โชคร้ายไม่มีนมให้ลูกเหมือนคนอื่นเขา น่าจะเป็นเพราะความ "ไม่รู้" ของตัวเอง บวกกับความ "ไม่รู้จริง" ของกลุ่มคนที่เรา "เชื่อ" ว่าเขารู้และเราก็กำลังฝากความหวังไว้กับพวกเขา กลุ่มคนเหล่านี้รวมถึง แพทย์ พยาบาล พ่อแม่ พี่น้องและเพื่อนๆ ผู้มีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูก (ด้วยนมขวด) มาแล้ว เพราะฉะนั้นเมื่อเราซึ่งเป็นมือใหม่ ไม่เคยมีลูกมาก่อน ได้รับคำแนะนำจากกลุ่มคนเหล่านี้ เราก็พร้อมที่จะเชื่อและทำตามได้ในทันที โดยไม่รู้ว่าคำแนะนำเหล่านั้นกำลังทำให้เรากำลัง"เพิ่ม" ปัญหากับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากกว่า "แก้" ปัญหา 

วิธีปฏิบัติของเราในช่วงสองสามวันแรกของการคลอดนั้น เรียกได้ว่าเป็นจุดวิกฤตของการจะเลี้ยงลูกด้วนนมแม่ได้อย่างง่ายดายหรือยากลำบากเลยทีเดียว เอาแค่ว่าสามวันแรกที่อยู่ในโรงพยาบาล ถ้าพยาบาลบอกว่า "คุณแม่เพิ่งจะคลอดมา พักฟื้นก่อนนะคะ ให้ลูกกินนมขวดไปก่อน รอให้นมแม่มาก่อน กลับบ้านแล้วค่อยให้ลูกกินนมแม่ก็ได้ค่ะ" ฟังแล้วก็ "คล้ายๆ" จะเป็นคำแนะนำที่ดีใช่มั้ยคะ แค่สองสามวันเท่านั้นเอง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับการทำแบบนี้คืออะไรบ้าง  

เมื่อทารกได้ดูดนมจากขวด ทารกจะเรียนรู้วิธีการดูดจากขวด ซึ่งแตกต่างจากการดูดนมแม่โดยสิ้นเชิง เมื่อเขาเรียนรู้แบบนั้นไปแล้ว การที่จะให้เปลี่ยนมาดูดนมแม่เมื่อเวลาผ่านไปสองสามวันนั้น เทียบได้กับเราถนัดมือขวาไปแล้ว จะให้มาฝึกใช้มือซ้ายเมื่อตอนโตนั่นล่ะค่ะ พอดูดนมแม่ไม่เป็น ก็จะดูดไม่ได้น้ำนม เมื่อไม่ได้น้ำนมก็จะไม่ได้รับการตอบสนอง แล้วก็จะต่อต้านด้วยการไม่ยอมดูด ร้องบ้านแตก ร้องหน้าดำหน้าแดง ร้องจนพ่อแม่ พี่น้อง ลุงป้าน้าอา ย่ายายทนไม่ได้ 

ธรรมชาติของร่างกายของแม่เองก็เช่นกัน เมื่อมีการคลอดลูกใหม่ๆ การที่ลูกดูดนมแม่นั้นจะเป็นการส่งสัญญาณให้ร่างกายรู้ว่า การคลอดครั้งนี้ลูกปลอดภัยดี เมื่อลูกดูดนม ก็จะเป็นการกระตุ้นให้มดลูกบีบรัดตัว หน้าอกรู้ว่าต้องทำหน้าที่ผลิตน้ำนมต่อไป เป็นธรรมดาที่อะไรก็ตามที่ไม่เคยทำงานเลย เหมือนเครื่องยนต์ใหม่ที่ต้องมีการอุ่นเครื่อง หน้าอกเราก็จะผลิตน้ำนมได้น้อยนิดจิ๊ดเดียว เมื่อดูดต่อเนื่องไปเรื่องๆ ก็จะค่อยๆ เพิ่มปริมาณมากขึ้นในที่สุด

 

การที่เราเว้นวรรคไม่ให้ลูกดูดสองสามวันนั้น เหมือนเป็นการส่งสัญญาณว่า หน้าที่ในการผลิตน้ำนมนั้นไม่มีความจำเป็นในการคลอดครั้งนี้ อย่างเช่น การแท้งลูก คือธรรมชาติของร่างกายก็รออยู่ว่า คลอดปุ๊บ ต้องมีการดูดกระตุ้นในทันทีทันใด (ตามที่แนะนำกันว่า ภายในสามสิบนาทีแรกนั่นล่ะค่ะ)  เมื่อไม่มีการดูดเลยตั้งสองสามวัน ก็เหมือนเป็นการบอกว่า การคลอดครั้งนี้ล้มเหลว ทารกคงไม่ได้มีชีวิตอยู่ เพราะไม่มีความต้องการน้ำนมนั่นเอง ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วไม่ใช่  

ไม่ใช่แค่ไม่ดูดเท่านั้น การดูดแบบไม่ถูกวิธีก็เปรียบเหมือนกับไม่ได้ดูดเช่นกัน วิธีปฏิบัติที่ "ดูเหมือน" จะช่วยเหลือและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของโรงพยาบาล ก็คือ นำลูกมาให้ดูดพอเป็นพิธี แล้วก็นำกลับไปให้นมขวดต่อ การทำเช่นนี้ก็ให้ผลไม่ต่างกับการไม่ได้ดูดเท่าไหร่นัก เพียงแต่เหมือนจะดูดีกว่านิดหน่อย ดังนั้นภาวะ "นมไม่มา" เสียที จึงเกิดขึ้นได้ง่ายดายมาก วิธีปฏิบัติเช่นนี้ เชื่อว่าน่าจะเกิดขึ้นกับแม่ที่คลอดใหม่กว่า 90% ของโรงพยาบาลเอกชนทั่วๆ ไปแน่ๆ ผู้ที่รอดมาได้ ส่วนใหญ่จะต้องศึกษาหาข้อมูลมาเป็นอย่างดี รวมทั้งมีคนที่ "รู้จริง" คอยสนับสนุนและช่วยเหลือ 

เห็นมั้ยคะว่า "นมไม่มา นมไม่มี นมไม่พอ" นี่มันเกิดขึ้นง่ายพอๆ กับเปิดกระป๋องนมชงเลย แค่สองสามวันแรกเท่านั้นเองสร้างความผิดพลาดกันได้มหันต์ทีเดียว เรื่องที่ได้รับฟังจนชินก็คือ ผ่านไปเป็นอาทิตย์ เป็นเดือน แล้วนมก็ไม่เห็นมาเสียที กินแกงเลียงก็แล้ว กินน้ำวันละห้าลิตรก็แล้ว อะไรที่ว่าบำรุงน้ำนมก็สรรหามากินจนหมดแล้ว นมก็ยังไม่เห็นมา แบบนี้เรียกว่ารอความหวังไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้สาเหตุและแก้ปัญหาให้ถูกต้อง นมแม่มีแต่จะแห้งลง แทนที่จะเพิ่มขึ้นอย่างที่หวังไว้ ในทางกลับกัน คนที่กลับตัวได้ทัน และแก้ปัญหาได้ถูกทาง นมก็จะกลับเพิ่มขึ้นได้ในทีสุด 

เล่ามายาวยังไม่ได้ตอบคำถามเลยค่ะ แค่ไหนที่ทารกร้องแล้วไม่ตาย  

คงต้องตอบว่าไม่รู้หมือนกันค่ะ แล้วก็คิดว่าคงไม่มีใครรู้เช่นกัน เพราะถ้ามีคนรู้ คงไม่มีใครเก็บเรื่องนี้เป็นความลับหรอกค่ะ แล้วก็ต้องถามกลับว่า คนที่ต้องรับฟังเสียงร้องนี้ คือพ่อและแม่นั้นทนฟังได้แค่ไหนโดยไม่อยากตายไปเสียก่อนมากกว่า ประสบการณ์ของตัวเองนั้น คืนที่ลูกคนแรกกลับมาบ้านวันแรก แล้วพ่อของลูกเทนมสองออนซ์ที่ได้มาจากร.พ.ทิ้งไปตั้งแต่กลับมาถึงนั้น ลูกร้องตั้งแต่หนึ่งทุ่มจนตีหนึ่ง แม่ก็ร้องไปด้วย ไม่รู้ว่าลูกร้องเพราะอะไร ลองบีบนมดูก็เห็นแค่เป็นหยด ให้ดูดก็ดูเหมือนลูกไม่ยอมดูด สงสัยเหมือนกันว่า เอ๊ะ เราไม่มีนมหรือเปล่า แต่ก็ไม่มีทางเลือก เพราะทั้งบ้านไม่มีนมอื่นเลย ไม่มีร้านที่เปิด 24 ชม. เหมือนทุกวันนี้ด้วย หลังจากการร้องมาราธอน 5-6 ชม.ผ่านไป ลูกก็หลับในที่สุด ไม่รู้ว่าหมดแรงหรืออะไร เช้าตื่นขึ้นมาก็ปกติดี ลำพังแม่คนเดียวคงจะหมดกำลังใจให้นมแม่ต่อแน่ แต่พ่อของลูกกลับคิดตรงกันข้าม เขาบอกว่า "เห็นมั้ย ลูกมันไม่เห็นเป็นอะไรเลย" พูดง่ายๆ ก็คือ มันไม่ได้หิวตายซะหน่อย แล้วก็ตั้งสติได้ กลับมาหาวิธีแก้ปัญหาต่อ ก็ทุลักทุเลไม่น้อย แต่ในที่สุดก็ผ่านมาได้ (ไม่อยากจะตัดชับ the end เลยอย่างที่แม่น้องจู๊ดว่าหรอกค่ะ แต่ไม่งั้นมันจะยาวเกินไป) 

อยากจะบอกว่าวิธีการรับมือกับ "เสียงร้องของลูกเรา" (ที่ทุกคนยืนยันว่า ร้องน่ากลัว ร้องไม่มีใครเหมือน ร้องเหมือนจะตายจริงๆ นะ) นั้นขึ้นอยู่กับแต่ละครอบครัวค่ะ เท่าที่เคยรับฟังประสบการณ์ของแต่ละคนมานั้น ไม่มีสูตรสำเร็จค่ะ มันถึงไม่มีคำตอบสำหรับคำถามนี้ไงคะ แม่น้องจู๊ดคิดว่า ไม่น่าปล่อยให้ลูกร้องฟรีๆ ไปตั้งสองชั่วโมงเลย น่าจะชงนมไปตั้งนานแล้ว ในขณะที่ครอบครัวเราเข้าตาจน ไม่มีทางเลือก (คือ ไม่มีนมกระป๋อง) ลูกก็เลยร้องไปห้าหกชั่วโมงจนหลับไปเอง แต่พ่อเขาไม่ได้คิดเลยว่า น่าจะมีเตรียมนมกระป๋องเผื่อไว้ ลูกจะได้ไม่ต้องร้องนานขนาดนั้น 

ที่เปรียบเทียบนี้ ไม่ได้หมายความว่าครอบครัวเราทำถูก หรือครอบครัวแม่น้องจู๊ดทำผิด แต่กำลังจะบอกว่าวิธีคิด ความเชื่อ หรือแนวทางในการดำรงชีวิต ของแต่ละคน แต่ละครอบครัวนั้นแตกต่างกัน ดังนั้นแม้จะเป็นปัญหาเดียวกัน แต่ละครอบครัวก็ใช้วิธีการแก้ปัญหาที่ต่างกันอยู่นั่นเอง สมมติว่ามีคนฟันธงบอกตัวเลขออกมาว่า จากการวิจัยแล้วพบว่า เด็กทารกแรกเกิดนั้นสามารถปล่อยให้ร้องได้แปดชั่วโมงโดยไม่เสียชีวิตแน่นอน ถามว่าทุกครอบครัวจะยอมปล่อยให้ลูกร้องแปดชั่วโมง เพราะเชื่อตามนี้หรือไม่ คงไม่ใช่แน่นอน 

อะไรที่มันผ่านไปแล้ว มันก็คือประสบการณ์ ทุกครั้งที่เราคิดถึงมันก็ควรจะเพื่อเป็นบทเรียนสำหรับอนาคต ไม่ควรให้เป็นเรื่องที่เราต้องเก็บมารู้สึกผิดทุกครั้งที่คิดถึงมัน ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องไปโทษ หรือไปตำหนิว่าเป็นความผิดของใคร เพราะมันไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรกับใครเลย แถมยังทำให้จิตใจของเราขุ่นมัวอีกด้วยค่ะ 

ปัญหาสำคัญของเรื่องนี้ก็คือ พ่อแม่มือใหม่ไม่เคยมีใครมีประสบการณ์นี้มาก่อน แน่นอนว่าเราเคยได้ยินเสียงทารกร้องไห้มาก่อน แต่นั่นไม่ใช่ลูกเรา ไม่ใช่หน้าที่เราที่จะต้องดูแลรับผิดชอบ ลูกคนอื่นร้องไม่ได้สร้างความหวั่นไหวให้กับเราเลย การที่ลูกคนข้างบ้านร้องไห้ทั้งคืน เราไม่เคยคิดว่าหรอกว่าลูกของเขาร้องทั้งคืนขนาดนี้ "กำลังจะตายหรือเปล่า" มันก็แค่ทำให้เรารู้สึกรำคาญเท่านั้นเอง  

แต่ทันทีที่เป็นลูกเราเอง เมื่อได้ยินเสียงร้องแบบเดียวกัน เรากลับลืมไป และคิดว่ามันไม่เหมือนกัน ลูกเราจะเป็นอะไรหรือเปล่า เราเข้าตาจนขึ้นมาทันที เอ๊ะ เราจะต้องทำยังไง ลูกเราถึงจะหยุดร้อง ลูกเราจะตายมั้ยเนี่ย ลองไปถามพยาบาลที่โรงพยาบาลเถอะว่า เจอกรณีที่พ่อแม่มือใหม่อุ้มลูกมาโรงพยาบาลกลางดึก เพราะลูกร้องไห้ไม่หยุดบ่อยแค่ไหน โดยที่ความเป็นจริงแล้ว เด็กไม่ได้เป็นอะไรเลย หลังจากผ่านไปหลายปี มีลูกคนที่สอง ที่สาม พ่อแม่ทั้งหลายเมื่อย้อนกลับไปคิด แล้วก็อาจจะนึกขำตัวเองก็เป็นได้ 

จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ยืนยันและฟันธงได้เลยว่า เสียงร้องของลูกคนที่สองไม่ได้สร้างความหวั่นไหวให้พ่อแม่ได้มากเท่ากับลูกคนแรกแน่นอน ลูกคนที่สองส่วนใหญ่ "มักจะ" เลี้ยงง่ายกว่าคนแรกเสมอ เป็นเพราะคนที่สองเลี้ยงง่ายกว่าจริงๆ หรือเป็นเพราะ พ่อแม่มีประสบการณ์มาแล้วกันแน่ เลยทำให้รู้ว่าควรจะต้อง "รับมือ" กับปัญหายังไง ถ้าแม่น้องจู๊ดไม่ถอดใจเลือกที่จะมีลูกคนเดียวไปเสียก่อน อย่าลืมกลับมาตอบคำถามนี้ตอนที่มีลูกคนที่สองนะคะ

 

เรื่องการร้องไห้ของทารกนี้ อยากให้ลองกลับไปอ่านบทความเรื่อง "ทำไมทารกร้องไห้โยเย"

กันดูค่ะ ยาวหน่อยแต่มีประโยชน์มากทีเดียว เมื่ออ่านแล้วก็จะรู้ว่า เราเข้าใจอะไรผิดๆ ไปมากเกี่ยวกับสาเหตุการร้องไห้ของทารก โดยเฉพาะทารกแรกคลอดนั้น เวลาที่เขาร้อง จริงๆ แล้วเราบอกได้หรือไม่ว่า เขาร้องเพราะอะไร 

คนที่พยายามเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไม่ให้ดูดนมขวด มักจะตัดสาเหตุอื่นทิ้งไปหมด แล้วก็เชื่อว่า คงเป็นเพราะแม่ไม่มีนม ลูกหิวมาก ก็เลยร้อง แต่คนที่เลี้ยงลูกด้วยนมขวด ลูกก็ยังร้องอยู่ นมก็ให้กินแล้ว ทำไมยังร้องอยู่ล่ะคะ ตกลงเค้าเป็นอะไรกันแน่  

มันเป็นเจตนาของธรรมชาติหรือเปล่า ที่ทำให้มนุษย์ไม่มีความทรงจำตั้งแต่แรกคลอด เลยไม่มีใครบอกได้ว่าตอนที่ออกมาเจอโลกภายนอกเป็นครั้งแรกนั้น ทารกแต่ละคนรู้สึกอย่างไรกันบ้าง ลองจินตนาการว่าเราเป็นทารกที่เพิ่งคลอดออกมาจากท้องแม่ดู  

ตอนอยู่ในท้องแม่ เราอยู่ในพื้นที่ขนาดเล็กพอดีกับตัวเรา พอยื่นเท้า เหยียดมือได้นิดหน่อย ลอยเท้งเต้งอยู่ในน้ำคร่ำ อบอุ่นปลอดภัย อุณหภูมิพอเหมาะพอดี ไม่หนาว ไม่ร้อน หายใจและรับสารอาหารทางสายสะดือ มีเสียงหัวใจแม่เต้นเป็นจังหวะคอยกล่อมเราตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง ได้ยินเสียงอะไรข้างนอกแค่แว่วๆ บางทีอาจจะมีเสียงเพลงเสียงดนตรีเพราะๆ บ้างก็ได้ เราอยู่ในสภาพแวดล้อมแสนสบายนี้มาเก้าเดือนเต็ม 

อยู่ดีๆ ก็มีตัวอะไรไม่รู้มาดึงเราออกจากพื้นที่อันอบอุ่นแสนสบายนี้ ทำไมแสงข้างนอกนี้มันสว่างจ้าแสบตาขนาดนี้ หนาวด้วยนะเนี่ย เสียงอะไรก็ไม่รู้ดังจังเลย แล้วนี่เขาจะพาเราไปไหนกัน เรากลัวจะแย่อยู่แล้ว ใครก็ได้ช่วยที ช่วยพาเรากลับไปที่เดิมได้ไหม เสียงร้องไห้ของทารกอาจจะกำลังพยายามสื่อความรู้สึกให้เรารับทราบแบบนั้นก็ได้  

ถ้าเราพิจารณาดูให้ดี ก็จะรู้ว่าชีวิตในท้องแม่กับชีวิตที่ออกมาสู่โลกภายนอกของทารกนั้น แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ความรู้สึกของทารกอาจจะคล้ายๆ กับตกจากสวรรค์แสนสบายลงมาสู่พื้นโลกที่แสนลำบากวุ่นวายก็เป็นได้ ทารกไม่เคยหายใจทางจมูกมาก่อน ไม่เคยกินอาหารทางปาก ไม่เคยย่อยอาหารด้วยกระเพาะตัวเอง ไม่เคยรู้ว่าพื้นที่ภายนอกมันช่างกว้างใหญ่ อ้างว้างเช่นนี้ เดี๋ยวหนาว เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวก็ต้องถูกจับอาบน้ำ ใครๆ ก็มาจับตัว หอมแก้ม เขี่ยมือเขี่ยเท้า พูดอะไรก็ไม่รู้ มาดีหรือมาร้ายกันเนี่ย 

เมื่อสภาพแวดล้อมและการดำรงชีวิตของทารกต้องเปลี่ยนแปลงขนาดนี้ ลองคิดดูว่าถ้าเป็นเรา เราจะต้องใช้เวลาแค่ไหนในการปรับตัวให้เข้ากับชีวิตใหม่ สองสามวันในโรงพยาบาล ทารกจะได้รับการดูแลจากพยาบาลเป็นส่วนใหญ่ อาจจะกำลังจะเริ่มคุ้นเคย ต้องเปลี่ยนสถานที่กลับไปบ้านหลังใหม่อีกแล้ว เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอีกแล้ว เพราะฉะนั้น วันแรกที่เราพาลูกกลับบ้าน แล้วเขาร้องไห้จนเรารู้สึกทนไม่ได้ขนาดนั้น น่าจะเป็นเรื่องปกติหรือเปล่า เพราะเขาไม่มีวิธีสื่อสารอื่นเลย นอกจากการร้องไห้นั่นเอง 

ทารกที่ปรับตัวได้เร็วก็จะเป็นเด็กเลี้ยงง่าย ทารกที่ปรับตัวได้ช้าก็จะถูกตัดสินว่าเป็นเด็กเลี้ยงยาก คำถามประเภทที่ว่าทำไมลูกกินนอนไม่เป็นเวลา ทำไมนอนแป๊บเดียว ทำไมดูดนมแล้วหลับ ทำไมแหวะนม ทำไมถ่ายบ่อย ทำไมไม่ถ่าย ทำไมร้องไห้ไม่หยุด ทำไมติดมือ ฯลฯ เหล่านี้คือกระบวนการในการปรับตัวของทารกแต่ละคนนั่นเอง ถ้าพ่อแม่ให้เวลาและพยายามเข้าใจเขา  ทิ้งความคาดหวังลงไปบ้าง พ่อแม่อาจจะรู้สึกทุกข์ทรมานน้อยลง

 

ตอนที่ได้อ่านบทความเรื่อง "ทำไมทารกร้องไห้โยเย"

ใหม่ๆ ยังรู้สึกเสียดายว่า ถ้าเรารู้มาก่อน เราคงไม่รู้สึกแย่ขนาดนั้นในวันแรกที่กลับมาจากโรงพยาบาล เราคงจะรับมือกับการร้องไห้ของลูกได้ดีกว่าที่ผ่านมา 

อยากให้ทุกคนที่ผ่านประสบการณ์นั้นมาเหมือนๆ กัน ลองมาคิดถึงลูกเราในวันนั้นกันดีกว่าว่าเขาร้องด้วยสาเหตุอะไรกันแน่

 

  • หิวจังเลย
  • กลัวจังเลย (นี่เราอยู่ที่ไหนกัน คนพวกนี้เป็นใคร เขากำลังทำอะไรกับเรา)
  • ปวดท้องมากเลย (เพราะนมผสมที่ย่อยยากยังตกค้างอยู่ในกระเพาะ)
  • หายใจไม่ค่อยถนัด (ยังไม่ชินกับการหายใจทางจมูก)
  • คิดถึงบ้าน (สภาพแวดล้อมเดิมที่อยู่ในท้องแม่)
  • หนาวจังเลย (เปิดแอร์เย็นไปหรือเปล่า)
  • ร้อนจังเลย (ห่มผ้าให้ซะเต็มที่)
  • รำคาญตัวจังเลย (ทำไมต้องมีเสื้อผ้าห่อหุ้มตัวด้วย หัวก็ถูกปิด มือเท้าก็ถูกห่อ ผ้าอ้อมก็รัดตัว เมื่อก่อนไม่เห็นมีอะไรน่ารำคาญแบบนี้เลย)
  • ไม่ชอบเสียงแบบนี้เลย (เสียงทีวี เสียงรถวิ่ง เสียงก่อสร้าง ขุดถนน เสียงญาติพี่น้องคุยกันครึกครื้นตื่นเต้นกับหลานคนใหม่ฯลฯ)
  • ไม่ชอบให้อุ้มแบบนี้เลย ทำไมต้องเปลี่ยนให้คนโน้นคนนี้อุ้มด้วย
  • ไม่ชอบให้ใครมาจับแก้ม มาเขี่ยโน่นเขี่ยนี่
  • ฯลฯ

 ตอบตัวเองได้มั้ยคะ ว่าเขาร้องไห้เพราะอะไร 

ก่อนจบ ขอกลับมาเรื่องร้องแค่ไหนที่ไม่ตายอีกนิดนึงค่ะ คนใกล้ตัวแถมให้ว่า คนที่กำลังจะตายนั้น คือคนที่กำลังจะหมดพลังชีวิต ต้องหมดแรง ไม่มีแรงจะร้อง ถ้ายิ่งร้องยิ่งดัง นั่นก็แสดงว่ายังแข็งแรง ยังมีพลังชีวิตที่จะตะโกน ตะเบ็งเสียงร้อง ไม่ใช่สัญญานของอาการใกล้ตายแน่นอน เด็กส่วนใหญ่จะร้องติดต่อกันจนหมดแรง หมดยก พักหน่อยนึง มีแรงใหม่แล้วร้องต่อ อาจจะสามสี่ยกกว่าจะเงียบยาว (แต่ไม่ตาย) ใช่มั้ยคะ  อีกตัวอย่างก็คือ เวลาที่มีอุบัติเหตุตึกถล่มหรืออะไร ส่วนใหญ่ที่จะรอดชีวิต คือเด็กทารกแทบทั้งนั้น บางครั้งตั้งสองสามวันกว่าจะขุดคุ้ยเจอ ผู้ใหญ่กลายเป็นศพไปแล้ว แต่ทารกก็รอดชีวิตมาได้ เป็นข่าวที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ทีเดียว ทารกแข็งแรงและมีสัญชาตญาณที่จะเอาตัวรอดมากกว่าที่เราคิดหรือเปล่า 

ที่รำพันมายาวนี้ ไม่ได้กำลังจะบอกว่า ให้ปล่อยให้ลูกร้องไปเถอะ ไม่ตายหรอก ไม่ใช่แบบนั้นนะคะ เมื่อเขาร้อง เราก็ต้องพยายามตอบสนอง พยายามหาวิธีแก้ไขไปตามสถานการณ์ที่จะเดาเอาว่าเพราะอะไร แค่ไม่อยากให้ทุกคนเชื่อว่าสาเหตุของการร้องนั้น เป็นเพราะแม่ไม่มีนมแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นเอง

 

พร้อมๆ กันกับที่แม่น้องจู๊ดถามมาเรื่องนี้ แม่น้องแฝดก็เล่าประสบการณ์ของตัวเองมาให้อ่านกัน เข้ากันได้พอดีกับเรื่องนี้เลย ลองอ่านกันดูได้จาก Link  นี้ค่ะ

 

ถ้าเป็นไปได้ อยากให้ทุกคนช่วยๆ กันแบ่งปันประสบการณ์ หรือแสดงความคิดเห็นกับเรื่องนี้กันหน่อยค่ะ ถ้าไม่ยาวมากก็ใช้แบบฟอร์มข้างล่างสุดนี้เลยค่ะ ถ้ายาวมากๆ ก็ส่งเมล์มาที่ webmother@breastfeedingthai.com ค่ะ




Webmother รำพัน

ซื้อเครื่องปั๊มตามรีวิว
บุคลากรทางการแพทย์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
เลิกด่านมผงซะทีเถอะครับ...จากใจคุณพ่อลูกสอง (ตอนที่ 1)
หมาป่าในคราบนักบุญ
ปั๊มนมวันละ 7-8 รอบทุกวัน ทำไมนมไม่เพิ่มสักที
อุปสรรคทางสังคมกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
การให้ลูกกินนมผสมไม่เกี่ยวอะไรกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
นมเกลี้ยงเต้า เข้าใจให้ถูกต้อง
สงครามน้ำนม ตอนที่ 3 ตัวอย่างแจกฟรี
สงครามน้ำนม ตอน เล่นผิดบท
สงครามน้ำนม ตอน ลูกคนควรกินนมอะไร
อย่าบอกว่าดีเหมือนกัน
รู้ว่าเขาหลอก แต่เต็มใจให้หลอก
คุณค่าของนมแม่หลัง 6 เดือน หรือ 1 ปี
หมอที่ไม่ชอบให้หนูกินนมแม่
ท้องสาม ลองแล้วถึงรู้ ตอน นมผสม 3 article
ท้องสาม ลองแล้วถึงรู้ ตอน นมผสม-2
ท้องสาม ลองแล้วถึงรู้ ตอน นมผสม-1
สงสารหลินฮุ่ย article
ท้องสาม ลองแล้วถึงรู้ ตอน ตัวเหลือง
โครงการจัดพิมพ์หนังสือนมแม่ 2
โครงการจัดพิมพ์หนังสือนมแม่
Workshop เพิ่มน้ำนม ฉบับล่าสุด
ขอความร่วมมือหน่อยค่ะ
ไม่รู้จักพอ article
คำถามที่ไม่อยากตอบ
โรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
ช่วยกันเผยแพร่ความรู้ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ article
ทำไมถึงเข้าใจว่านมไม่พอ
แบบนี้ เห็นทีจะไม่พอแน่ article
ถ้าเข้าใจ...ยังไงก็พอ Part 2 article
ถ้าเข้าใจ...ยังไงก็พอ Part 1 article
ต้องการแต่ไม่อยากเป็น article
ควันหลง แม่ดีเด่น อยากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ article
รับสมัคร แม่อาสา ให้คำปรึกษาเรื่องนมแม่
Mission Accomplished : หนังสือของเรา
วันแม่แห่งชาติ - สัปดาห์แห่ง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ article
Workshop เพิ่มน้ำนม article
นมไม่พอ - บันทึกการให้นมลูก article
นมแม่ ช่วยป้องกัน โรคติดเชื้อ ไอพีดี article
บีบน้ำนมด้วยมือ article
13 เม.ย. 49 เปิดใจ webmother article
ถุงรับขวัญ article
สงครามน้ำนม ตอนที่ 2 หมอจบอะไรมา
ถ้าย้อนเวลากลับไปได้
เข้าเว็บนี้ครั้งแรก article



[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (24106)

ลูกดิฉันก็ร้องค่ะ ร้องตั้งแต่สองทุ่มยันเที่ยงคืนครึ่งค่ะ ระหว่างที่ร้องก็ให้ลูกอมหัวนมเราตลอด อมและดูดจนครึ่งช.ม. ก็สลับข้างกัน เขาก็ร้องไห้ไปอมหัวนมไปและดูดไป ร้องจนประมาณเที่ยงคืนครึ่งก็เริ่มเงียบแล้วก็หลับในเวลาต่อมา(เพราะเหนื่อย) ร้องทุกวันจนอายุหนึ่งเดือนก็รู้ว่าเขาหิวมากและรำคาญที่น้ำนมเราไหลช้า ที่รู้เพราะว่าบางคืนชงนมผงให้ดูดบ้างตอนประมาณสามทุ่ม ลูกได้ดูดนมผงปุ๊ปก็เริ่มเงียบ คืนไหนดูดนมแม่ก็ร้องจนถึงเทียงคืนครึ่งแล้วหลับ แต่ตลอดหนึ่งเดือนแรกให้ดูดนมผงแค่แปดครั้งเท่านั้นเพราะก็อยากให้ลูกดูดนมแม่มากกว่าทนฟังลูกร้องไห้ไปเรื่อยๆ จนครบสามเดือนเขาก็ร้องน้อยลงค่ะและน้ำนมดิฉันก็ไหลมากขึ้นเรื่อยๆค่ะเพราะลูกดูดกระตุ้นทุกวันก็จะไหลเยอะเองค่ะ  ขอบอกว่าคุณแม่คนอื่นอย่าท้อค่ะทนฟังลูกร้องไห้ไปเถอะค่ะ ให้เขาได้น้ำนมแม่เป็นดีที่สุดค่ะ แต่ก็เหนื่อยเอาการอยู่ค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น เชอรี่ (dawwadee-at-gamail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-02-19 15:25:59


ความคิดเห็นที่ 2 (33670)

ได้อ่านบทความด้านบนแล้ว ทำให้มีแรงฮึดสู้ที่จะเลี้ยงนมแม่อีกครั้งค่ะ ตอนนี้ตั้งครรภ์คนที่สองได้ห้าเดือนแล้ว

เพราะตอนคลอดลูกคนแรกนั้น สัปดาห์แรกไม่มีนมให้ลูกกินเลย มีแค่น้ำสีเหลืองไม่กี่หยด กว่าน้ำนมจะไหลเต็มที่ใช้เวลาเกือบสัปดาห์(รู้สึกว่านานมากๆ) แต่ทางโรงพยาบาลที่คลอด ห้ามเด็ดขาด ห้ามให้เห็นขวดนม ขวดน้ำ หรือว่าป้อนอาหารใดๆให้ลูก เวลานั้นทำอะไรไม่ถูกเลยค่ะ ลูกร้องไห้ไม่หยุดเลย หาสาเหตุไม่ได้ หรือ อาจจะเป็นเพราะหิว ง่วง ร้อน หนาว กลัว ปวดท้อง รำคาญ หรือสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ ตอนนั้นรู้สึกท้อมาก ถึงมากที่สุด ไม่มีแม้แต่คนช่วยดูแล(เป็นเวลาญาติห้ามเยี่ยม)ไม่มีคนคอยเปลี่ยนอุ้ม ตอนนั้นทั้งเจ็บแผลคลอด ไม่ว่าจะเดิน นั่ง ก็ลำบากไปหมด(ท่านใดเคยคลอดลูกเองมาแล้วน่าจะรู้ดี) ไหนจะต้องทนอุ้ม ไหนจะต้องทนฟังเสียงร้อง ในใจตอนนั้นคิดว่า ทำไมการมีลูกคนนึงมันลำบากขนาดนี้ จะไม่ขอมีอีกแล้ว มันเป็นช่วงเวลาวิกฤตจริงๆ ฟังลูกร้องไห้ จนตัวเองร้องไห้ตามลูกด้วย แต่ไม่นานก็ผ่านได้ด้วยดี หลังจากที่กลับจากโรงพยาบาลแล้ว น้ำนมก็ยังไม่มานะค่ะ ด้วยความตั้งใจแน่วแน่ว่าจะเลี้ยงด้วยนมแม่ จึงพยายามกินน้ำร้อน กินอาหารบำรุง ทำใจให้สบาย ใช้นมผสมเสริมบ้างในบางครั้ง แล้วจากนั้นน้ำนมแม่ก็มีเพียงพอให้ลูกน้อยกิน เวลาให้นมลูกเป็นความรู้สึกที่อบอุ่น อยากบอกไม่ถูกเลยค่ะ ถึงแม้ว่าบางครั้งจะเหนื่อยสายตัวแทบขาดก็ตาม

ผู้แสดงความคิดเห็น แม่น้องปาย (pay_saapor-at-yahoo-dot-co-dot-th)วันที่ตอบ 2009-03-10 20:43:34


ความคิดเห็นที่ 3 (87818)

โอไม่อยากบอกหัวข้อนี้โดนใจสุดๆ แม้มันจะผ่านมาปีกับสองเดือนแล้วก็ตาม อ่านแล้วก็ให้นึกย้อนถึงตัวเองตอนคลอดลูก เหมือนมากๆ กลับจากร.พ. นมแม่ยังมาไม่มาก ตอนนั้นทั้งเหนื่อย ทั้งเจ็บแผล พยายามให้ลูกกินนมตัวเองตลอดที่เค้าร้อง ปล้ำกันอยู่อย่างงั้นตลอดคืน ตอนเช้าลูกร้องไห้จ้าอีก คุณยายทนฟังเสียงร้องไม่ไหว บอกชงนมให้กินเถอะ เราก็เหนื่อย สามีก็เหนื่อยเค้าก็ไม่ค่อยได้นอนหรอก ก็เลยจำต้องชง (พอดีคลอดร.พ.เอกชน เลยได้นมผงมาฟรี ใจไม่อยากใช้เลย แต่ก็ไม่รู้ทำงัย เข้าเต้ายังงัยลูกก็ไม่กิน) พอลูกได้กินเริ่มติดใจขวด การเอาเข้าเต้าครั้งที่สอง สาม และต่อไปเรื่อยๆ ยิ่งลำบาก เพราะเค้าไม่เอาแล้ว ประกอบกับพยาบาลที่ร.พ.เคยบอกเราว่าหัวนมเราสั้น ยิ่งทำให้เราท้อใจและคิดว่านี่คือสาเหตุที่ลูกไม่กินนม เพราะหลังจากนั้น ที่ให้ลูกกินนม นมจากเต้าก็ไหลมากขึ้นเรื่อย ใช้ปั้มเอาให้ลูกกิน (มันน่าเหนื่อยไหมล่ะ แทนที่ลูกจะกินจากเต้าเราต้องมานั่ง ล้าง นึ่ง ที่ปั้ม ใส่ขวดแล้วให้ลูกกิน แต่ทำงัยได้ลูกไม่ยอมกิน ตอนนั้นเซ็งสุดๆ ทั้งที่น่าจะได้นอนพักผ่อนบ้าง ต้องมานั่งทำกิจกรรมเหล่านี้) ขนาดปั้มนะ ช่วงแรกๆ นมเป็นลูกมะพร้าว แข็ง คัดมาก พยายามให้ลูกกิน ลูกก็ยังขืนตัว ร้องโกรธ เสียงดัง จนคุณยายซื่งผ่านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาสี่คนยังอ่อนใจ บอกให้ชงนมให้กินเถอะ เราก็ปั้มไปเรื่อย นมคัดเมื่อไหร่ก็ปั้ม ช่วงเดือนแรกนี่ชงนมผงให้ลูกกิน นมตัวเองไหลเยิ้ม จนต้องเปลี่ยนเสื้อนอนตลอด ร้องไห้ที่ลูกไม่ยอมกินนม ก็ไม่รู้ตั้งกี่ที หาวิธีสารพัด บางทีก็ฟรุคลูกยอมดูดบ้าง พอจะให้อีกมื้อถัดไป ก็ร้อง (อ่อจะบอกตอนนั้นถึงลูกไม่ได้กินจากเต้า แต่เราก็บำรุงน้ำนมต่างๆ กินน้ำขิง โจ๊กใส่ขิง มันต้มขิง กินแต่ของร้อนๆ คือเผื่อฟรุ๊คว่าซักวันลูกจะกิน ส่วนปั้มนมก็วันละ 2-3 ครั้งปั้มสดให้กิน (เพราะตู้เย็นบ้านแม่มีขนาดเล็กมาก ทำสต็อกน้ำนมไม่ได้) ลูกก็เลยกินนมผง นมแม่ (ด้วยขวดนับแต่นั้น)

หลังจากอยู่เดือนกับแม่ของตัวเองได้เดือนกว่าๆก็ขนของย้ายกลับไปที่บ้านสามี แต่ด้วยความไม่ยอมแพ้ ก็ยังคงปลุกปล้ำลูกให้กินจากเต้ามาเรื่อย จนบางมื้อลูกก็ยอมกิน เราก็ดีใจมากถึงมากที่สุด แต่บางครั้งจะให้มื้อต่อไป ก็ยังคงโดนต่อต้าน หน้าแดง ก็ต้องชงนมผงให้กิน ทำอยู่อย่างนั้น บางทีก็ว่าจะเลิกแล้ว แต่ก็พยายามและอดทน (ด้วยความเชื่อนมแม่ดี ประหยัด ลูกแข็งแรง) จนลูกยอมกินทุกมื้อ ถึงขั้นติดนมแม่ (ชงขวดให้กินกับไม่ยอมกิน) ช่วงที่ลูกได้กินนมแม่ทุกมื้อคือช่วงที่ลูกกำลังจะเข้าสู่เดือน 3 เดือนแล้ว อาจเป็นโชคดีมั้งที่เราไม่ต้องกลับไปทำงาน อยู่บ้านเลี้ยงเค้า ถ้าเราต้องกลับไปทำงาน การให้นมแม่คงไม่สำเร็จ และทุกครั้งที่เค้าดูดนมจากเต้าเราส่วนใหญ่เค้าจะหลับ ซึ่งหน้าตาเค้ามีความสุขมากๆ เราเองก็สุขตามไปด้วย คิดว่าลูกคนที่สองก็คงไม่ยากเท่านี้แล้วแหละ ขอให้คุณแม่ทุกคนอดทนและสู้ต่อไปนะคะ ถ้าเจอเหตุการณ์แบบนี้  ตอนนี้เป็นเวลาเที่ยงคืนแล้วคงต้องไปนอน อยากเขียนความคิดเห็นนี้ เพราะอยากแชร์ประสบการณ์ตัวเองมากๆ ค่ะ อยากให้ลูกทุกคนได้ดื่มนมแม่จริงๆ เพราะลูกแข็งแรงจริงๆนะคะ ตอนนี้ลูกอายุ 13 เดือนแล้วเป็นหวัด 2 ครั้ง (แต่ละครั้งที่เป็นก็ไม่ได้กวนการนอนของพ่อแม่แต่อย่างใดค่ะ เพียงแต่ลูกร้องกลางดึกเพราะจะกินนมเท่านั้น (อันนี้ยังเป็นปัญหาอยู่ค่ะ แต่เริ่มชินเพราะเป็นนิสัยเค้าไปแล้วค่ะ)

 

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ประสบการณ์นมแม่ที่ไม่เคยลืม (a_orawee-at-sanook-dot-com)วันที่ตอบ 2009-05-16 23:52:54


ความคิดเห็นที่ 4 (89858)

ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ที่พยายามให้นมลูกทุกท่านเลยค่ะ  ตัวเองไม่เคยนึกเลยว่าการเริ่มต้นให้นมแม่จะเป็นเรื่องที่ยากขนาดนี้ พอดีมีลูกแฝดค่ะ คลอดก่อนกำหนดประมาณ 5 สัปดาห์ ทาง ร.พ. เลยเก็บตัวเด็กไว้ดูอาการหนึ่งวันก่อนจะเอามาให้เราเลี้ยงเอง แล้วก็ให้กินนมขวดไปหลายมื้อ ทีนี้เด็กๆก็เริ่มติดจุกนม และปฏิเสธนมแม่ (คงจะดูดยากกว่า) ต้องบังคับกันทุกมื้อ จนกระทั่งวันที่ 10 พี่พยาบาลเห็นแม่ทรมานและต่อสู้กับจุกนมมาหลายวันแล้ว เลยบอกว่าถ้าจะให้เด็กกินนมแม่ ก็ไม่ต้องไปเอานมขวดแล้วนะคะ (ที่ห้องเด็กอ่อน) หักดิบไปเลย ไม่ตายหรอกค่ะ แฝดน้องให้ความร่วมมือดูดนมแม่ค่อนข้างดี แต่แฝดพี่ดื้อมากทีเดียวไม่ยอมดูดเท่าไหร่เลย แล้วก็หิวหลับๆตื่นๆร้องๆ ทั้งวัน มื้อที่ทรมานใจแม่ทีสุดคือมื้อ 1 ทุ่มที่แม่ไม่รู้จะให้นมท่าไหนแล้ว หมดแรงจริงๆ เลยนอนตะแคงให้นม แฝดพี่โวยวายร้องไห้อาละวาดอยู่เกือบชั่วโมง (ร้องไม่หยุดเลยจริงๆ) จนยอมดูดนมแม่ในที่สุด เฮ้ออออ......   เหนื่อยสาหัสจริงๆค่ะ

อย่าไปฟังผู้หวังดีที่บอก "ให้เด็กกินนมขวดไปเถอะ" มากนักเลยค่ะ รู้นะคะว่าหวังดี แต่พอพูดขึ้นมาแล้วแม่จะเสียกำลังใจมากน่ะค่ะ เพราะแค่ปล้ำกับลูกก็เหนื่อยแทบแย่อยู่แล้ว พอมาเจอข้อเสนอง่ายๆที่ทำให้ลูกเลิกร้องและหลับได้เนี่ย...... มันก็หมดแรงจะยื้อกับลูกเหมือนกันนะคะ.....

หลังจากค้นพบท่านอนตะแคงให้นม ชีวิตแม่ (และลูกๆ) ก็เริ่มดีขึ้น แต่ต้องระวังเรื่องการทับจมูกลูกมากๆๆๆ เลยนะคะ เพราะถ้าเขาเล็กมากจะไม่มีแรงพลิกตัวหนีเราค่ะ

ลูกแฝดสองคนทำให้เรากลายเป็นแม่วัวไปโดยไม่รู้ตัว น้ำนมที่มาพอที่จะเลี้ยงเด็กทั้งสองคนโดยไม่ต้องพึ่งนมผงเสริมจนเขาอายุประมาณ 4 เดือนครึ่ง (ถึงเริ่มเสริมนมผงวันละมื้อค่ะ)  ไม่น่าเชื่อว่าธรรมชาติจะมีหลัก demand / supply ที่ดีขนาดนี้ (แต่ถ้าเป็นแฝดสามก็คงไม่ไหวเหมือนกันมั้งคะ!)  บางทีให้นมลูกพร้อมๆ กัน 2 คน (ท่า football) แล้วปวดหลังแทบขาดใจ คอเด็กๆ ก็อ่อนเหลือเกิน ต้องพยุงคอจนมือเกร็งไปหมด ทรมานจริงๆ แต่ก็พยายามทนค่ะ

ขอ fast forward มาถึงปัจจุบัน ตอนนี้เด็กๆ อายุ 2 ขวบครึ่งแล้วค่ะ เจ้าแฝดพี่ (ตัวแสบที่เคยอาละวาดหนักๆ ไม่ยอมกินนมแม่ตอนอายุ 10 วันน่ะค่ะ) กลับไม่ยอมเลิกนมแม่เอาซะนี่!   ต้องเจรจาต่อรองกันทุกคืน..... กลางดึกบางทีก็ตื่นมาขอกินนมแม่อีก (แม่ก็ไม่ค่อยมีนมเหลือให้ทานแล้วค่ะ ทำงานมา 2 ปีแล้วนี่คะ ปั๊มนมตอนกลางวันจนเขาอายุ 1 ขวบ 3 เดือน แล้วก็เลิกปั๊มแล้วค่ะ)  ทำยังไงให้เขาเลิกกินนมแม่ดีเนี่ย ?!?  ลูกๆ ก็แข็งแรงสมวัยค่ะ ไม่ค่อยป่วยไข้เท่าไหร่  ขนาดเป็นโรต้าไวรัสยังถ่ายวันละครั้งสองครั้งเอง ไม่มีอาเจียนด้วย ก็แปลกดีเหมือนกันค่ะ!

ผู้แสดงความคิดเห็น แม่น้องโอเอ วันที่ตอบ 2009-05-21 15:40:02


ความคิดเห็นที่ 5 (104770)

เป็นเหมือนกันค่ะ คลอดที่รพ.เอกชนที่ไม่สนับสนุนนมแม่ แล้วเราก็ตั้งใจว่าจะให้นมแม่ พอคลอดเค้าก็เอาตัวเด็กไปเลี้ยงจนหกโมงเย็นของอีกวัน(คลอด3ทุ่มวันเสาร์ เจอลูกอีกทีเกือบหกโมงเย็นวันอาทิตย์ ทั้งๆที่คลอดธรรมชาติ เพราะรอแม่อีกคนที่ผ่าคลอดฟื้นมาอบรมก่อน)ถึงจะได้ให้ลูกดูดนม แต่...ลูกไม่ยอมดูดค่ะ เพราะกินนมขวดมาอิ่มแล้ว และก็จะกินแต่นมขวดอีก เราก็กังวัลนิดๆ แต่คิดว่าคงไม่เป็นไรกลับบ้านไปก็คงยอมดูด แต่..แต่..ไม่ยอมดูดค๊าาาา จะเอาแต่จุกนมขวด สงสัยคิดมั๊งว่าเป็นหัวนมแม่ ทำอย่างไรก็ไม่ดูด เลยต้องยอมให้ดูดขวดไปก่อน เพราะร้องบ้านแตก หน้าดำหน้าแดง ฮือๆๆ สงสารลูกค่ะ ตอนนี้กลายเป็นปัญหาระดับชาติแล้ว ทำไงดี ก็เลยมาหาในเน็ตเจอเว็บนมแม่แล้วค่ะ พยายามอ่านทุกกระทู้ เค้าว่าอย่างนั้นอย่างนี้ๆๆๆๆ ก็ทำทุกอย่างเลยค่ะ ใครแนะนำอะไรก็ทำ แต่ ทำไม๊มันไม่ได้ผลละคะ กลายเป็นโรคซึมเศร้า เบบี้บลู พยายามให้ดูด ขืนตัวยังไงก็ไม่ดูด แม่ดิฉัน แม่สามี ยายสามี ถึงกลับยอมแพ้ เพราะเค้าไม่เคยเจอแบบนี้ แต่ยังดีที่สามีเค้าไปซื้อที่ปั๊มนมมาค่ะ เลยได้ปั๊มนมน้ำเหลืองผสมใส่นมผงชงให้ลูกดูดไปก่อน ก็ยังดี จากนั้นก็คิดว่า ไม่ดูดเต้า ก็ปั๊มให้ดูดละกัน ยังไงก็ได้กินนมแม่ใช่มั๊ยคะ ทีนี้ก็เริ่มหาอาหารเพิ่มนมแม่ กินน้ำขิงต้มแทนน้ำไปเลย ผัดขิงใส่หมู ใส่ไก่ ฯลฯ ทั้งๆที่เกลียดขิง แกงเลียงหัวปลี กินทุกอย่าง แต่นมไม่พอให้ทานหรอกค่ะ แต่ถึงยังไงก็ได้กินแม่บ้างก็ยังดี ไปเจอบทความในเว็บนี้ เค้าว่ามีวิธีช่วยให้ดูดนมแม่ คือมีตัวช่วยดูด เป็นแบบสายยางยาวๆ เอาต่อขวดนมแล้วลากมาที่หัวนมให้ลูกดูดค่ะ แต่แถวบ้านไม่มีขาย ต้องไปซื้อกทม.แถวรพ.ศิริราช ตอนนั้นก็เกือบ 2 เดือนแล้วที่ปั๊มนมแม่สลับให้กินนมขวด กลุ้มใจมากจนฝันว่า ลูกบอกว่ารอให้หนู 2 เดือนเต็มก่อนหนูถึงจะดูดนมแม่นะคะ....พอตื่นมาน้ำตาไหลเลยค่ะ จากนั้น ลองพยายามให้ดูดตอนเค้าอารมณ์ดี เล่นๆอยู่ก็เปิดเต้านมให้ดู บอกนี้นมแม่นะ หนูจะดูดมั๊ยลูกๆ สักพัก เค้าก็ลองเลีย แล้วก็อมค่ะ แล้วก็เริ่มดูด โห น้ำตาไหลเลยค่ะ มันเป็นอย่างนี้นี่เองความรู้สึกของการให้ลูกดูดนม ทั้งๆที่ทำแบบนี้ตลอด 2 เดือน จนวันที่ 2 ธ.ค.51 เค้าก็ยอมดูด ทีนี้ดูดทั้งวันเลยค่ะ มีความสุขมาก ทั้งๆที่เกือบหมดหวังแล้ว จนตอนนี้เกือบ 11 เดือนแล้วยังทานนแม่สลับนมผงบ้างค่ะ (ไปทำงานก็ปั๊มมาให้ทาน แช่เต็มตู้แช่แข็งเลย)ก่อนนอนถ้าไม่ได้ดูดนมแม่เค้าจะนอนไม่หลับ ที่เล่ามายืดยาวก็อยากจะให้คุณแม่ที่กำลังจะหมดหวัง อย่าท้อนะคะ ถ้าตั้งใจจะให้นมแม่แล้ว อย่าไปใส่ใจกับวิธีการค่ะ เค้าไม่ดูดเราก็ปั๊มให้กินได้ การให้ลูกดูดจากเต้าไม่ได้ หรือลูกไม่ยอมดูดไม่ใช่เรื่องผิดหรอกค่ะ มันจะทำให้คุณเสียกำลังใจเปล่าๆ พยายามลองดูนะคะ ตอนเล่นกับเค้า ตอนเค้าอารมณ์ดี ลองเปิดเต้าให้เค้าลองดูด ทำไปเรื่อยๆทุกๆวัน เค้าก็จะชินและลองดูดในที่สุดค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น คุณแม่น้องเรน วันที่ตอบ 2009-08-13 22:08:32


ความคิดเห็นที่ 6 (105270)

ขอแสดงความนับถือคุณแม่ที่ลงความเห็นกระทู้นี้นะคะ อ่อานแล้วซึ้งเลยค่ะ เราเองเคยคิดว่าจะพยายามให้ลูกกินนมผง เพราะอยากจะทำงานให้เต็มที่ จะได้ฝากคนอื่นเลี้ยงบ้าง แต่พอมาอ่านกระทู้นี้ถึงได้ตอบตัวเองได้ว่าเรามีความสุขแค่ไหนที่ได้อยู่กับลูก ถึงแม้ว่าจะเหนื่อยมากทั้งกายและเหนื่อใจเพราะฟังคนอื่น แต่วันนี้ต้องขอบคุณและคิดว่าตัวเองโชคดีที่คลอด โรงพยาบาลขอนแก่น(รัฐบาล) ส่งเสริมนมแม่ ตอนที่ผ่าคลอดแล้วนมยังไม่มาเราก็ให้ลูกดูดจนเจ็บหัวนมไปหมดแล้ว ปวดหลัง ปวดไหล่ เจ็บแผลผ่าอีก ลูกสาวก็ร้องดังมากๆ พยาบาลให้เราใช้สลิงดูดนมผง แล้วหยอดที่มุมปากลูกตอนที่เค้ากำลังดูดนมเราอยู่ เท่านี้ก็เป็นการกระตุ้นนมแม่แล้วลูกก็อิ่มไปด้วย คุณแม่ทัง้หลายลองดูนะคะ แต่หัวนมเราก็สั้นมากๆ เค้าเลยส่งไปคลินิกนมแม่ พี่นวลพยาบาลก็สอนวิธีจับหัวนมบีบเข้าหากัน แล้วยัดเข้าปากลูกในจังหวะที่เค้าอ้าปากจะงับนม มันตลก สนุก เพลียมาก แล้วก็ทุลักทุเลดีค่ะ สุดท้ายน้ำนมก็ยอมไหล หัวนมเราก็นิ่มขึ้น การเข้าเต้าก็เลยง่ายขึ้น น้ำนมมาเยอะเลยค่ะ ตอนอาบน้ำเสร็จบางวันหยดเป็นทางเลย ตอนนี้เลยคิดว่าให้นมแม่ไปเรื่อยๆ แล้วค่อยเริ่มป้อนกล้วยป้อนข้าว ข้ามเสต็บขวดนมไปเลย แต่ตอนนี้ลูกสาว 3เดือนครึ่งไม่ยอมกินน้ำ ทำหน้าตาเป็นของแสลงไปเลยค่ะ ต้องพยายามต่อไป

ผู้แสดงความคิดเห็น แม่น้องไอซ์ (korawan_j-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2009-09-09 15:10:45


ความคิดเห็นที่ 7 (106137)

เรื่องลูกร้องไห้ แล้วไม่รู้วิธีจัดการ เป็นความกังวลของดิฉันและสามีก่อนกลับจากโรงพยาบาล เพราะเวลาอยู่ที่ร.พ. พอลูกร้องแล้วทำยังไงก็ไม่หยุด เราก็โทรตามคุณพยาบาล ให้มารับกลับไปดูแล เราก็มองหน้ากันแล้วก็คุยกันว่ากลับบ้านแล้วจะทำยังไง ดิฉันก็เลยตอบว่า ก็ต้องทำให้ได้ และแล้วจากวันนั้นที่ลูกคลอด 16 ม.ค.2552 จนถึงตอนนี้ก็ 9 เดือนกว่าแล้ว ผ่านไปเร็วมาก ดิฉันยังจำได้ว่าลูกร้องตลอด(เกือบทั้งวัน) ที่หยุดร้องเพราะเหนื่อยแล้วหลับไป ตื่นมาก็ร้องต่อ เราก็ เอ้าร้อง ดูดเต้า ทั้งวัน ทั้งคืน เรียกว่าตลอด 1 เดือน อยู่ในสภาพที่ดูไม่จืด นอกจากนั้น หลังจากออกจากร.พ. ประมาณสัปดาห์ ก็กลับไปหาหมอ เพราะลูกตัวเหลือง หมอให้ส่องไฟ ก่อนกลับ แต่พอรับกลับไป มาเช็คใหม่ ก็ยังเหลืองอยู่ ก็ต้องส่องไฟอีก และพอหาหมอก็ต้องชั่งน้ำหนักลูก ปรากฎว่าน้ำหนักลด หมอบอกว่าสงสัยนมแม่ไม่พอ พอกลับไปก็ให้นมผสมในบางมื้อ(เวลาที่ลูกดูดนมแม่แล้ว 20-30 นาทีแล้วยังร้องไห้) ทำอยู่อย่างนี้ประมาณ 2 เดือน ตลอด 2 เดือน ยัยหนูก็ร้องสลับนอนทั้งวัน ทั้งคืน จนเพื่อนบ้านบอกว่าสงสัยจะเป็นโคลิก (ไม่ใช่ เพราะโคลิกร้องเป็นเวลาเดิมทุกวัน แต่ยัยหนู ร้องไม่เป็นเวลาทุกวัน) ปรากฎว่า เกิดเหตุการณ์ยัยหนูเลือกดูดนมแม่ คือ เขาเริ่มปฏิเสธนมขวดที่เป็นนมผสมในช่วงแรก แต่นมแม่ใส่ขวดยังดูด จากนั้นอีก 1 สัปดาห์ นมแม่ใส่ขวดก็ไม่ดูด จะดูดเต้าเท่านั้น และจากวันนั้นถึงวันนี้ เราซึ่งคิดว่า นมน้อย คงเลี้ยงนมแม่ได้แค่ 3-4 เดือน ก็ดูดมา 9 เดือนกว่าแล้ว เพราะฉะนั้น เรื่องลูกร้อง มันก็เป็นสิ่งที่พ่อ แม่ ต้องพยายามหาวิธีจัดการ พยายามหาทางควบคุมสถานการณ์ให้ได้ และถ้าแม่เป็นผู้ที่เลี้ยงลูกเอง (มีคนอื่นเป็นผู้ช่วยบ้าง แต่คนที่ลูกอยู่ด้วยมากสุดคือแม่) ดิฉันมั่นใจว่า แม่จะควบคุมสถานการณ์ที่ลูกร้องไห้ได้ ดิฉันใช้เวลาเกือบ 3 เดือน ถึงจะเข้าใจลูก และควบคุมสถานการณ์ได้ (หมายถึงเวลาลูกร้องไห้ แล้วเรารู้ว่าเขาต้องการอะไร หรือสามารถจัดการให้เขาหยุดร้องได้)

 

ผู้แสดงความคิดเห็น จันทนา (acfinco-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2009-11-05 21:02:18


ความคิดเห็นที่ 8 (145348)

เป็นกระทู้ที่โดนใจมากๆๆๆๆๆๆ

กระทู้นี้ถึงจะผ่านมาเป็นปี แต่ความเก๋ายังคงอยู่.......

ดิฉันคลอดลูกน้อยที่ รพ.ของรัฐแห่งหนึ่ง ด้วยความที่มีโรคประจำตัวเยอะ เจอความร้อนไม่ได้เมื่อผ่าคลอด (ฉุกเฉิน) เรียบร้อยแล้วจึงขอย้ายไปอยู่ห้องพิเศษเนื่องจากห้องธรรมดามันร้อนถ้าร้อนแล้วดิฉันจะเป็นเริ่มขึ้นทันที ผ่านมาได้สัก 4 ชั่วโมง จึงได้เห็นหน้าลูก นมมื้อแรกไม่มีปัญหา พอวันที่ 2 ลูกน้อยเริ่มทานนมมากขึ้น เพราะน้องตัวใหญ่เกิดมา 4 โล กว่าแน่ น้ำนมไม่พอ ไม่ไหล ทั้งบีบทั้งเอาน้ำร้อนประคบ ไม่ได้ผล แจ้งพยาบาล เค้าก็มาบีบหัวนมเราแล้วบอกว่ามีนม แล้วมาว่าว่าให้นมลูกไม่เป็น (ก็ไม่เป็นจริง ๆ ลูกคนแรก) แต่มันออกน้อยค่ะ ลูกร้องไม่หยุด บอกพยาบาลก็ไม่ผลเนื่องจากไม่ใช่ตึกหลังคลอดโดยตรง ผ่านไปอย่างทุลักทุเล จึงตัดสินใจให้เพื่อนซื้อยาประสระน้ำนมมาให้ พยาบาลเห็นก็ดุและไม่ให้ทาน ดิฉันขอนมเสริมจาก รพ.แต่ไม่ได้ ทาง รพ.ให้ทานนมแม่ วันนี้เป็นวันที่ 3 แล้วนะ ที่ลูกดูดนมแล้วน้ำนมไม่ออก สุดท้ายเจ้าตัวน้อยตัวเหลืองค่ะ ต้องส่องไฟต่ออีก 3 วัน ดิฉันก็ไม่มีน้ำนมให้ลูกทานอีกเลย ทุกวันนี้ดิฉันจะสะเทือนใจและร้องไห้ทุกครั้งที่เห็นลูกคนอื่นได้ทานนมแม่

ผู้แสดงความคิดเห็น ฉัตรกมล วันที่ตอบ 2010-11-13 22:24:36



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล