
ก่อนคลอด
เมื่อคุณตัดสินใจแล้วว่าจะเลี้ยงลูกด้วย นมแม่ ขอให้ตั้งใจอย่างแน่วแน่และมั่นคง ขอให้ระลึกอยู่เสมอว่า “คุณกำลังจะให้ของขวัญที่พิเศษสุดแก่ลูกน้อย ซึ่งมีคุณเพียงคนเดียวเท่านั้นที่จะมอบให้ได้ หากคุณพลาดโอกาสนี้ไป คุณอาจจะรู้สึกเสียใจทุกครั้ง เมื่อหวนคิดถึงมัน” สิ่งที่คุณควรจะรู้ก่อนเริ่มต้นก็คือ ธรรมชาติสร้างมาให้ แม่ทุกคน มีน้ำนมให้ลูกกินเป็นอาหาร การมีน้ำนมเพียงพอสำหรับลูกโดยไม่ต้องใช้นมผสมนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ธรรมชาติสร้างมา ไม่ใช่ “โชคดีที่มีน้ำนม” อย่างที่หลายๆ คน เคยพูดให้คุณได้ยิน การจะเลี้ยงลูกด้วย นมแม่ เป็นทักษะที่ต้องอาศัยการเรียนรู้ เหมือนการเรียนการทำอาหาร ต้องอาศัยความอดทนและการฝึกฝน ในระหว่างที่คุณและลูกกำลังเรียนรู้อยู่นั้น คุณอาจมีความรู้สึกยากลำบากและเหน็ดเหนื่อยบ้างในบางครั้ง แต่ทุกอย่างจะดีขึ้นเรื่อยๆ ในบางสถานการณ์ อาจต้องใช้เวลามากกว่าปกติ อย่างการคลอดก่อนกำหนด หรือผ่าตัดคลอด หรือทารกมีอาการผิดปกติ ถ้ามีปัญหาใดๆ อย่ารีรอที่จะขอความช่วยเหลือ จงจำไว้ว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นั้นจะง่ายขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป ไม่ใช่ยากขึ้น นี่เป็นการลงทุนเพื่อสุขภาพทั้งของคุณและลูกน้อย ประหยัดเงินทั้งค่านมและค่ารักษาพยาบาล และเหนือสิ่งอื่นใด เป็นการสร้างสัมพันธภาพซึ่งยาวนานตลอดชีวิตของคุณและลูกน้อย ในระหว่างตั้งครรภ์ สิ่งที่คุณควรจะเตรียมตัวก็ คือ 1. หาความรู้ให้มากที่สุดเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วย นมแม่ เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ ว่าที่คุณแม่และว่าที่คุณพ่อเกือบทุกคนเตรียมตัวและหาความรู้อย่างเต็มที่กับการเตรียมตัวสำหรับการคลอด ซึ่งเป็นกระบวนการที่กินเวลาแค่ไม่กี่ชั่วโมงแล้วก็จบ ในขณะที่การเลี้ยงลูกด้วย นมแม่ ซึ่งยาวนานหลายเดือนหรือเป็นปี กลับมีการเตรียมตัวและหาข้อมูลกันน้อยมาก น่าเสียดายที่หน่วยงานของรัฐไม่ให้การสนับสนุนและส่งเสริม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ให้มากกว่านี้ ทำให้เรามีแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้น้อยมากๆ เมื่อเทียบกับต่างประเทศ แต่กระนั้นก็ยังมีแหล่งข้อมูลดีๆ ที่เป็นที่พึ่งได้อย่าง กลุ่มนมแม่, ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย,คลีนิคนมแม่ หนังสือเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยิ่งมีน้อยมาก และหาไม่ค่อยได้ตามร้านหนังสือทั่วไป จากการสำรวจล่าสุด มีดังนี้ 2.หาคนคอยสนับสนุนและช่วยเหลือ บุคคลสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบความสำเร็จก็คือ สามี รองลงมาก็คือ คุณยาย คุณย่า และคนในครอบครัว พยายามทำความเข้าใจกับคนในครอบครัวให้ชัดเจนถึงความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ บอกให้ทุกคนทราบถึงข้อมูลต่างๆ ที่คุณได้ศึกษามาเป็นอย่างดีถึงประโยชน์ของนมแม่ เพราะคุณต้องการกำลังใจอย่างมากสำหรับการนี้ ความขัดแย้งทางความคิดในบางครอบครัวอาจเป็นอุปสรรคที่สำคัญสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 3.เลือกกุมารแพทย์ที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยทั่วไป โรงพยาบาลของรัฐจะมีนโยบายส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่แล้ว โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองว่า เป็น โรงพยาบาล สายสัมพันธ์แม่-ลูก จะมีแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกและ UNICEF สำหรับโรงพยาบาลเอกชน คุณอาจสอบถามได้จากเพื่อนฝูงหรือ พยาบาลว่ากุมารแพทย์ท่านใดสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ถ้าไม่แน่ใจลองสังเกตจาก 4. การตรวจ และเตรียมเต้านม ตรวจดูขนาดและรูปร่างของเต้านมและหัวนม เพื่อค้นหาความผิดปกติ เช่น มีก้อนเนื้องอกหรือถุงน้ำซึ่งอาจจะต้องให้การรักษาหัวนมสั้น แบนบุ๋ม โดยทั่วไปหัวนมจะยาวประมาณ 0.5–1ซม.ถ้าสั้นกว่านี้ลูกอาจจะดูดนมลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าผิวหนังที่ลานหัวนมตึงแข็งจับดึงหยุ่นไม่ได้ โคนหัวนมหนาใหญ่ด้วย จะยิ่งดูดลำบาก แต่ถ้าลานหัวนมยืดหยุ่นดีแม้หัวนมสั้น จะสามารถดูดได้ไม่ยาก ความผิดปกติที่เกิดขึ้นควรปรึกษาแพทย์ที่ฝากครรภ์หรือหน่วยฝากครรภ์ของโรงพยาบาล เพื่อจะได้แก้ไข เสียแต่เนิ่นๆ เพื่อจะช่วย ให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความราบรื่นมากขึ้น ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ช่วยแก้ไขปัญหาหัวนมบอดวางจำหน่ายหลายยี่ห้อ ตามห้างสรรพสินค้า เช่น ปั๊มหัวนมบอด, นิปเปล็ด, ปทุมแก้ว หรือฝาครอบบริหารหัวนม ***ขนาดของเต้านมไม่สัมพันธ์กับการสร้างน้ำนม คุณแม่บางท่านอาจกังวลใจว่าเต้านมมีขนาดเล็กทั้งนี้เป็นเพราะ ปริมาณไขมันในเต้านมมีน้อย แต่ส่วนที่สร้างน้ำนม คือ ต่อมและท่อน้ำนมซึ่งคุณแม่ทุกคนจะมีปริมาณเท่ากัน ฉะนั้นขนาดของเต้านมไม่มีผลต่อความสามารถในการสร้างน้ำนมให้ลูก*** Related Link : เตรียมหัวนมอย่างไร ก่อนคลอด
|