
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่: การเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก ตอนที่ 2
Breastfeeding : Best Start of Life (2) วิธีการช่วยเหลือในการจัดท่าให้นมแม่และการเอาหัวนมเข้าปากลูก
ท่าอุ้มที่เหมาะสมและการช่วยให้ทารกอมหัวนมและลานนมได้อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้ลูกดูดและกลืนน้ำนมได้ดี แม่ควรอยู่ในท่าที่ถนัด สะดวก ผ่อนคลาย และทารกอยู่ในท่าที่ปลอดภัยและสามารถดูดนมแม่ได้อย่างดี ควรสนับสนุนแม่ให้มีความมั่นใจในความสามารถของตนเองที่จะให้นมลูกในท่าที่เหมาะสมกับสภาวะของแม่และลูกอยู่ในท่าที่สามารถอมหัวนมและดูดนมแม่ได้ถูกต้อง โดยบุคลากรไม่ควรไปรบกวนการให้นมของแม่โดยไม่จำเป็น ก่อนให้ความช่วยเหลือต้องสังเกตและประเมินว่าแม่ให้นมลูกอย่างไรหรือมีปัญหาอะไรก่อน อย่ารีบร้อนจับต้องแม่โดยไม่จำเป็น จะให้ความช่วยเหลือโดยใช้ “Hand off” technique เป็นการใช้ตุ๊กตาสาธิตให้ดูก่อนเพื่อแม่จะเข้าใจปัญหา สังเกตวิธีการปฏิบัติ และบอกจุดสำคัญที่แม่ควรปฏิบัติ จะทำให้แม่สามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง ถ้ามีปัญหาที่แม่ทำไม่ได้จึงจะเข้าช่วยโดยตรง
ท่าของแม่ในการให้นมลูก มีหลายท่า ทั้งท่านั่งและท่านอน ดังนี้
1. ท่าลูกนอนขวางตัก (cradle hold) เป็นท่าอุ้มลูกไว้บนตัก ตะแคงตัวลูกเข้าหาตัวแม่ แขนและมือประคองลูกไว้ ให้ศีรษะอยู่สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย ท้ายทอยลูกอยู่บนแขนของแม่ คอของลูกไม่บิดคว่ำ หรือแอ่นหงาย มืออีกข้างประคองเต้านมไว้
2. ท่าลูกนอนขวางตักแบบประยุกต์ (modified / cross cradle hold) ท่านี้คล้ายท่าแรก แต่เปลี่ยนมือและแขนข้างที่อุ้มลูกมาจับเต้านม ส่วนอีกด้านหนึ่งประคองต้นคอ ท้ายทอยและหลังของลูกแทน ท่านี้จะช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของศีรษะเด็กได้ดี เหมาะสำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือทารกที่มีปัญหาในการดูดนม
3. ท่าฟุตบอล (clutch hold หรือ football hold) อุ้มลูกกอดกระชับกับสีข้างแม่ ในท่ากึ่งตะแคงกึ่งนอนหงาย ขาไปทางด้านหลังของแม่ มือแม่จับที่ต้นคอและท้ายทอยของลูก ส่วนมืออีกข้างหนึ่ง จับประคองเต้านมไว้ ท่านี้เหมาะสำหรับแม่ที่ผ่าคลอดทางหน้าท้อง เต้านมใหญ่ ทารกน้ำหนักน้อย ลูกแฝด เป็นต้น
4. ท่านอน (side lying position) ท่านี้แม่กับลูกนอนตะแคงเข้าหากัน แม่นอนศีรษะสูงเล็กน้อย ลำตัวไม่งอโค้ง แขนของแม่โอบหลังลูกให้ชิดลำตัวแม่อาจใช้หมอนหรือผ้าม้วนหนุนหลังทารกแทนแขนของแม่ได้ ปากของทารกอยู่ระดับเดียวกันกับหัวนมแม่ โดยใช้มืออีกข้างประคองเต้านม ซึ่งท่านี้ เป็นท่าที่เหมาะสำหรับแม่ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ต้องการพักผ่อน และให้นมตอนกลางคืน การให้นมแม่ในท่านอน แม่อาจเปลี่ยนท่าให้ลูกดูดนมอีกข้างหนึ่งได้โดยไม่ต้องลุกขึ้น
![]() แม่ควรฝึกให้นมลูกในท่าต่างๆ ทั้งในท่านั่งและท่านอน โดยเลือกใช้ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม ท่าที่แม่เลือกให้นมลูกควรเป็นท่าที่แม่ถนัด สะดวก และเอาลูกเข้าอมหัวนมได้ดี ท่าอุ้มที่ต่างกันจะนำน้ำนมออกจากตำแหน่งของเต้านมที่ต่างกัน แต่ละตำแหน่งจะมีน้ำนมออกได้เท่ากันถ้าลูกอมหัวนมและดูดได้อย่างถูกต้อง
วิธีการจับเต้านม
ท่าจับเต้านมที่ถูกต้องคือนิ้วของแม่จะต้องอยู่เหนือขอบนอกของลานนม เพื่อให้ลูกอมหัวนมได้ถึงลานนมหัวนมต้องพุ่งออกอยู่แนวตรง หรือเฉียงต่ำลงเล็กน้อย นิ้วหัวแม่มือไม่ควรกดให้หัวนมกระดกขึ้น เพราะจะทำให้หัวนมแตกได้ การจับเต้านมโดยใช้ใช้ 4 นิ้วพยุงเต้านมด้านล่าง นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านบน เรียกว่า “C” hold แม่จะใช้ท่า “C” hold เมื่ออุ้มลูกอยู่ในท่านอนตะแคงหันหน้าเข้าหาเต้านมแม่ ไม่ควรใช้วิธีการจับเต้านมโดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางคีบ เรียกว่า Scissor hold หรือ “V” hold เพราะช่องว่างระหว่างนิ้วแคบ นิ้วจะขวางบริเวณลานนม ทำให้ทารกอมหัวนมได้ไม่ลึกพอ และนิ้วอาจจะไปกดบริเวณท่อน้ำนม ทำให้น้ำนมไหลไม่ดี จะใช้ท่า” V” hold ในกรณีที่คุณแม่มือใหญ่และเต้านมเล็ก แต่ต้องมั่นใจว่านิ้วทุกนิ้วของแม่อยู่นอกขอบลานนม มีอีกท่าหนึ่งคือ “U” hold มักใช้จับเต้านมเมื่อแม่อุ้มลูกให้นมในท่าฟุตบอล
![]() ท่า “C” hold
ท่าของลูก
ไม่ว่าแม่จะอุ้มลูกในท่าใดก็ตาม ลูกจะต้องอยู่ในท่าที่สบายและสามารถดูดนมแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดท่าลูก มีหลักสำคัญ 4 ประการคือ
การจัดท่าแม่และลูกไม่ถูกต้องจะทำให้ลูกดูดนมแม่ได้ไม่กระชับ ลึกไม่ถึงลานนม อาจทำให้หัวนมแม่เจ็บ และลูกดูดนมแม่ได้น้อย นอกจากการจัดท่าแม่และลูกแล้ว การเอาลูกเข้าเต้าเพื่อดูดนมแม่ ให้ลึกถึงลานนม หรือการอมหัวนม(Latch-on) อย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้น จะช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระยะแรก เช่น ปัญหาหัวนมแตก เต้านมคัด เต้านมอักเสบ น้ำนมไม่เพียงพอ ลูกไม่ดูดนม เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะนำไปสู่การหย่านมแม่ก่อนเวลาอันควรได้
วิธีการช่วยให้ลูกอมหัวนมแม่อย่างถูกต้อง มีดังนี้
![]() แสดงการช่วยให้ลูกอมหัวนมแม่
ลักษณะการอมหัวนมแม่ที่ถูกต้องของลูก มี 4 ประการ ดังนี้
ถ้าลูกอมหัวนมแม่ได้ถูกต้อง จะดูดนมได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้น้ำนมปริมาณมาก อาการที่แสดงว่าดูดน้ำนมได้ดี คือ ในระยะแรกลูกจะดูดเร็ว หลังจากนั้นจะดูดช้า ลึก แรง จะเห็นเต้านมส่วนที่เหนือปากลูกกระเพื่อม และกล้ามเนื้อขากรรไกรของลูกขยับ อาจได้ยินเสียงกลืนนม และแก้มป่องเป็นต้น เมื่อลูกอิ่มจะคายหัวนมออกเอง ถ้าอมหัวนมแม่ได้ไม่ถูกต้องจะสังเกตได้จากทารกจะดูดนมเร็วๆ ตลอดเวลา มีเสียงดังขณะดูดนม แก้มจะบุ๋มลงไป แม่จะเจ็บหัวนม และหัวนมจะถูกรีดแบนหลังการดูดนม ผลที่เกิดขึ้นจากการที่ทารกอมหัวนมแม่ได้ไม่ถูกต้องจะดูดนมได้ไม่ดีทำให้ทารกได้นมไม่พอ ปัสสาวะน้อยสีเข้ม น้ำหนักไม่ขึ้น ดูดนมบ่อยแต่ไม่ค่อยพอใจเพราะได้น้ำนมน้อย ส่วนแม่จะมีปัญหาน้ำนมน้อย หัวนมเจ็บ/เป็นแผล เต้านมคัด ท่อน้ำนมอุดตัน เต้านมอักเสบ และเป็นฝีจากการที่น้ำนมไหลออกได้ไม่ดี เป็นต้น
ความแตกต่างระหว่างการดูดนมแม่และการดูดนมขวด
การดูดนมแม่ ทารกจะต้องอ้าปากกว้างเพื่องับหัวนมและลานนมเข้าไปอยู่ในปาก เหงือกงับลงบนลานนม ลิ้นรองรับอยู่ใต้ลานนม กดหัวนมและลานนมแนบกับเพดานปาก หัวนมแม่ที่สัมผัสบริเวณเพดานปากของลูกจะกระตุ้นให้ลูกเริ่มดูดนม เหงือกจะขยับขึ้นลง และลิ้นจะรีดน้ำนมจากท่อน้ำนมเข้าสู่ปาก
การดูดนมขวด จะง่ายกว่าการดูดนมจากเต้านมแม่ ทารกจะอ้าปากไม่กว้าง จะใช้เหงือกกัดหัวนมยางหรืออาจใช้ลิ้นอุดรูที่จุกยางเพื่อให้น้ำนมไหลช้าลง ทำให้ติดนิสัยกระดกลิ้นไว้ด้านในของปาก และไม่แลบลิ้นออกมาเวลาดูด การให้ทารกดูดนมจากขวดจะทำให้เกิดภาวะสับสนหัวนม และไม่ยอมดูดนมแม่ได้ เนื่องจากกลไกการดูดนมขวดจะแตกต่างจากการดูดนมแม่
ข้อปฏิบัติในการให้นมแม่
ถ้าทารกยังไม่สามารถดูดนมแม่ได้ภายใน 4-6 ชั่วโมงให้แม่บีบ colostrum ป้อนให้ทารกโดยใช้ syringe ช้อน หรือถ้วย หรือใช้เช็ดทำความสะอาดภายในปากของทารกเพื่อให้ได้ประโยชน์จาก colostrum ควรอธิบายให้แม่ทราบว่าในระยะแรกปริมาณน้ำนมจะยังไม่มากแต่มีคุณค่าสูง เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของทารก
มีข้อแนะนำเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่น่าสนใจ 10 ประการ (10 Commandments of Breastfeeding) เพื่อป้องกันความล้มเหลวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้
ที่มา: http://www.alternamoms.com/nursing.html
เทคนิคต่างๆ เหล่านี้ ล้วนแล้วมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทารกควรได้กินนมแม่อย่างเดียวโดยไม่ต้องให้น้ำหรืออาหารอื่นในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต และหลังจากนั้นจึงให้กินนมแม่ร่วมกับอาหารตามวัยจนถึง 2 ปีหรือนานกว่านั้น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถือเป็นช่วงโอกาสทองของชีวิตลูก ที่จะได้รับสารอาหารครบถ้วนในการพัฒนาสมอง ช่วยให้มีสุขภาพแข็งแรง และได้สัมผัสกับความรัก ความอบอุ่นจากแม่ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของชีวิตในอนาคตของลูก
ที่มา: http://on.fb.me/1EkhA7o |
ความรู้เรื่องนมแม่