ReadyPlanet.com
ardo calypso
dot
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : ข้อควรปฎิบัติ
dot
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 1
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 2
bulletวิธีเลือกกุมารแพทย์ให้ลูก
bulletก่อนคลอด
bulletสิ่งที่ต้องทำเมื่ออยู่ ร.พ.
bulletหลังคลอด
bulletท่าในการให้นม
bulletBreast Crawl
bulletความคาดหวังของลูกน้อย
bulletบันทึกการให้นมลูก
bulletวิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง
bulletสัมผัสรักระหว่างแม่ลูก
bulletโรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
bulletแบบสอบถาม
dot
ปัญหาเรื่อง นมแม่
dot
bulletวิธีแก้ปัญหานมไม่พอ
bullet"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ
bulletนมพอหรือไม่
bulletเมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)
bulletอาหารเพิ่มน้ำนม
bulletวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม
bulletWorkshop เพิ่มน้ำนม (new)
bulletยาประสระน้ำนม
bulletDomperidone (Motilium)
bulletยาเพิ่มน้ำนม Motilium
bulletคำเตือนสำหรับการใช้ยา Domperidone
bulletน้ำหนักตัวเพิ่มช้า
bulletน้ำหนักตัวน้อย
bulletเจ็บหน้าอก หัวนมแตก
bulletการบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม
bulletลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า
bulletตัวเหลือง
bulletสารพันปัญหา
บริจาคนมแม่
dot
เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
dot
bullet20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน
bulletมาทำ stock น้ำนม กันเถอะ
bulletวิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
bulletจะให้ลูกกินอะไรเมื่อแม่ไปทำงาน
bulletวิธีเก็บรักษานมแม่
bulletต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?
bulletโปรแกรมคำนวณนมแม่
bulletยาคุมกำเนิด
dot
คุณแม่นักปั๊ม
dot
bulletการปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม
bulletปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
bulletข้อคิดก่อนซื้อ ที่ปั๊มนม
bulletเพิ่มน้ำนมภายใน 14 วันแรก
bulletเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
bulletซื้อเครื่องปั๊มที่ไหนดี
bulletปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี
bulletเรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
bulletถุงเก็บน้ำนมแม่
dot
กลเม็ดเคล็ดลับ
dot
bulletวิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new)
bulletบีบด้วยมือ vs ปั๊มด้วยเครื่อง
bullet10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี
bulletนอนให้นม...สบายมากๆ เลย
bulletอุปกรณ์เสริม ช่วยแม่ให้นมลูก
bulletมุมให้นมแม่
bulletวิธีพาสเจอร์ไรซ์นมแม่
dot
ปัญหาที่พบไม่บ่อย
dot
bulletลิ้นติด (Tongue Tie)
bulletเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่
bulletต้องการถามปัญหาอื่นๆ
bulletทำไมทารกร้องไห้โยเย
dot
หนังสือแนะนำ
dot
bulletขอรับหนังสือนมแม่ฟรี
bulletการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletสร้างชีวิตมหัศจรรย์ด้วยน้ำนมแม่
bulletนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก
bullet เคล็ดลับ...แม่มือใหม่ "นมแม่"
bulletเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletพัฒนาสมองด้วยนมแม่...
bulletGuide to Breastfeeding
dot
แหล่งข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่
dot
bulletคลินิกนมแม่ทั่วประเทศ
bulletนมแม่ แน่ที่สุด
bulletศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
bulletคลีนิครัก
bulletศริริราชออนไลน์
bulletสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
bulletwww.breastfeeding.com
bulletPromom
bulletรักลูก
bulletLa Leche League
bullet4woman
bulletMother & Child Health
bulletWABA
bulletBreastfeedingonline
bulletDr. Sears
bulletbreastfeedingbasics
bulletwebboard
bulletkellymom
bulletDr. Jack Newman
bulletInfact
bulletgotbreastpump
bulletNew Beginnings
bulletโครงการสายใยรัก
bulletศูนย์ข้อมูล สสส
bulletUNICEF
bulletbreastfeedingmadesimple
bullethm4hb
bulletLactation Narration
bulletNormalFed
dot
Brainfeeding
dot
bulletเก็บมาฝาก
bulletIf we don't care, who will?
bullet๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา
bulletสัมภาษณ์ ดร. อาจอง ชุมสาย ฯ
bulletคนดีของพ่อ
bulletเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้รู้
bulletคุยกับประภาส
dot
Sponsor Link
dot
bulletbfdcenter
bulletร้านนมแม่
bulletศูนย์รวมฟิล์มทุกชนิด
bulletV-Kool
bulletSuvarnabhumi Airport Hostel
bulletBussaba Bangkok Boutique Hotel Suvarnabhumi Airport
bulletbeing-mom
bulletมีลูกยาก
bulletSite Map
ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี whisper
unimom allegro
ardo calypso
Ardo Carum
bulletนมแม่


ร้านนมแม่-เครื่องปั๊มนม


น้ำหนักตัวน้อย และ กราฟแสดงการเจิญเติบโต
by Nitchawan Tangwiroon 
 
หนึ่งในเรื่องที่คุณแม่ให้ลูกกินนมแม่เป็นกังวลใจอย่างมาก โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ คือ ลูกได้กินนมมากพอหรือเปล่า ลูกน้ำหนักตัวน้อยเกินไปหรือเปล่า ความกังวลใจนี้เกิดขึ้นเพราะคนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับปริมาณน้ำนมที่ทารกต้องการและน้ำหนักปกติของทารก
 
ปริมาณน้ำนมที่ทารกต้องการในแต่ละช่วงเวลา สามารถดูรายละเอียดได้ในหัวข้อ “ปริมาณน้ำนมที่ทารกต้องการ"
 
ส่วนเรื่องน้ำหนักปกติของทารก สิ่งแรกที่พ่อแม่ต้องเข้าใจ คือ มันเป็นเรื่องปกติที่น้ำหนักตัวของทารกจะลดลงหลังจากคลอด เวลาที่ทารกน้ำหนักตัวลดลงต่ำสุดจะอยู่ประมาณวันที่ 3 หลังคลอด ซึ่งจะเป็นเวลาประมาณเดียวกับที่แม่เริ่มจะมีน้ำนม
 
มีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อเวลาที่แม่เริ่มมีน้ำนม เช่น วิธีการคลอด (คลอดธรรมชาติหรือผ่าตัดคลอด) เวลาที่ทารกได้ดูดนมแม่ครั้งแรก ทารกกับแม่ได้อยู่ด้วยกันหรือแยกกันอยู่ ความถี่ในการให้ทารกดูดกระตุ้น ฯลฯ
 
เมื่อคุณแม่เริ่มมีน้ำนมและสามารถให้ทารกกินนมแม่ได้ ทารกที่คลอดตามกำหนด มีสุขภาพปกติ และสามารถกินนมได้ดีควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากประมาณวันที่ 3 เป็นต้นไป และควรมีน้ำหนักกลับมาเท่ากับน้ำหนักตัวตอนแรกเกิดภายใน 7-10 วัน
 
ถ้าทารกน้ำหนักไม่เพิ่มหรือเพิ่มช้ามาก ๆ แสดงว่าน่าจะมีความผิดปกติเกี่ยวกับการให้ทารกกินนมแม่ แพทย์หรือพยาบาลไม่ควรแนะนำให้นมผสมกับทารก แต่ควรตรวจสอบอย่างละเอียดว่าปัญหาเกิดจากการสร้างน้ำนมของแม่หรือความสามารถในการกินนมของทารก
 
ถ้าพบว่าปัญหาเกิดจากการสร้างน้ำนมของแม่ การให้แม่และทารกได้สัมผัสกันแบบเนื้อแนบเนื้อ การนวดเต้านม การให้ลูกดูดกระตุ้นบ่อย ๆ จะช่วยแก้ปัญหาได้ ถ้าหากพบว่าปัญหาเกิดจากความสามารถในการกินนมของทารก การใช้ช้อนป้อนทารกด้วยโคลอสตรัมก็จะช่วยแก้ปัญหาได้ และคุณแม่ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านนมแม่เพื่อเรียนรู้เทคนิคในการเอาทารกเข้าเต้าและวิธีสังเกตว่าทารกกินนมได้หรือไม่
 
น้ำหนักแรกเกิด
 
ในระหว่างที่อยู่ในโรงพยาบาล การที่ทารกน้ำหนักลดลงมักจะเป็นเรื่องใหญ่ และบ่อยครั้งกลายเป็นสาเหตุทำให้ทารกต้องกินนมผสมโดยไม่จำเป็น
 
โรงพยาบาลส่วนใหญ่ใช้ตัวเลข 7% ของน้ำหนักแรกเกิด เป็นเกณฑ์ที่แสดงว่าทารกอาจจะมีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัว แต่ในช่วงที่ผ่านมามีงานวิจัยที่แสดงว่าปริมาณน้ำเกลือที่แม่ได้รับก่อนคลอดมีผลต่อน้ำหนักตัวแรกเกิดและน้ำหนักที่ลดลงของทารก
 
น้ำเกลือที่แม่ได้รับก่อนคลอด โดยเฉพาะในช่วง 2 ชั่วโมงก่อนคลอด ส่วนหนึ่งจะส่งผ่านไปยังทารก ทารกจึงมีของเหลวส่วนเกินในร่างกายและมีน้ำหนักแรกเกิดสูงขึ้น เมื่อร่างกายทารกค่อย ๆ กำจัดของเหลวส่วนเกินออกไป จึงดูเหมือนว่าน้ำหนักตัวลดลงไปมากเมื่อเทียบกับน้ำหนักแรกเกิด
 
ข้อสรุปจากการวิจัยจึงแนะนำว่าควรรอเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อให้ทารกกำจัดของเหลวส่วนเกินออกไปก่อน แล้วใช้น้ำหนักหลังคลอด 24 ชั่วโมงเป็นเกณฑ์ในการคำนวนเปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักของทารกที่ลดลงหลังคลอด
 
กราฟแสดงการเติบโต
 
หลังจากที่ออกจากโรงพยาบาลแล้ว ถ้าแม่สามารถให้ลูกกินนมแม่ได้ดี ทารกควรจะน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 5-7 ออนซ์ต่อสัปดาห์ในช่วง 3 เดือนแรก (เกือบ ๆ 1 ออนซ์ต่อวัน) ในระหว่าง 3-12 เดือนอัตราการเพิ่มน้ำหนักตัวจะลดลง ซึ่งเป็นเรื่องปกติเนื่องจากทารกจะเริ่มมีการเคลื่อนไหวร่างกายและใช้พลังงานมากขึ้น
 
โดยเฉลี่ยทารกที่กินนมแม่จะมีน้ำหนักตัวเป็น 2 เท่าของน้ำหนักแรกเกิดเมื่อมีอายุ 5-6 เดือน และเมื่อมีอายุ 1 ขวบจะหนักประมาณ 2.5 เท่าของน้ำหนักแรกเกิด
 
เวลาพ่อแม่พาทารกไปพบแพทย์ แพทย์จะบันทึกน้ำหนักตัวของทารกลงบนกราฟแสดงการเติบโต (Growth Chart) แต่กราฟแสดงการเติบโตก็มักจะสร้างความสับสนและกังวลใจให้กับพ่อแม่เป็นอย่างมาก เพราะพ่อแม่ (รวมทั้งหมอบางคน) ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับกราฟแสดงการเติบโตและพัฒนาการที่เหมาะสมของทารก โดยเฉพาะทารกที่กินนมแม่ล้วน ๆ
 
สิ่งแรกที่พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับกราฟแสดงการเติบโต คือ กราฟแสดงการเติบโตเป็นการเปรียบเทียบ “น้ำหนัก” ของลูกของคุณกับเด็กคนอื่น ๆ แต่ไม่ได้เปรียบเทียบ “ความมีสุขภาพดี”
 
เมื่อเราบันทึกน้ำหนักของลูกลงบนกราฟแสดงการเติบโต เรากำลังเปรียบเทียบน้ำหนักของลูกเรากับน้ำหนักของทารกคนอื่น ๆ ที่อายุเท่ากันและเพศเดียวกัน เช่น ถ้าเราใช้กราฟน้ำหนักตัวที่อายุต่าง ๆ ขององค์การอนามัยโลก และพบว่าน้ำหนักของลูกอยู่บนเส้นที่ 25% นั่นหมายความว่า ตามหลักสถิติมีทารก 25 คนใน 100 คน ที่น้ำหนักน้อยกว่าลูกของเรา และขณะเดียวกันก็มีทารกอีก 75 คนที่น้ำหนักตัวมากกว่าลูกของเรา
 
แต่เนื่องจากกราฟแสดงการเติบโตไม่ใช่ตัวบ่งชี้สุขภาพของทารก ทารกที่น้ำหนักตัวอยู่บนเส้นเปอร์เซ็นต์ที่ 97% ไม่ได้มีร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพดีกว่าทารกที่น้ำหนักอยู่บนเส้นที่ 3%
 
ทารกที่สุขภาพดีก็เหมือนกับผู้ใหญ่ที่สุขภาพดี คือ แต่ละคนสามารถจะมีน้ำหนักและส่วนสูงที่แตกต่างกันไปแต่ก็ยังแข็งแรงและมีสุขภาพดีได้เหมือนกัน ทารกที่อยู่ที่เส้น 3% ก็สามารถมีสุขภาพดีเหมือนกับเด็กที่อยู่ที่เส้น 97%
 
นอกจากนี้พ่อแม่ยังต้องเข้าใจด้วยว่า กราฟแสดงการเติบโตไม่ใช่การสอบ จึงไม่มีคะแนนเป้าหมายที่พ่อแม่จะต้องพยายามทำให้ได้ เส้นกราฟที่ 50% ไม่ใช่น้ำหนักมาตรฐานของทารก เส้นที่ 50% แค่แสดงว่า ตามสถิติแล้วมีเด็กครึ่งหนึ่งที่มีน้ำหนักตัวเท่านั้นหรือน้อยกว่า และมีเด็กอีกครึ่งหนึ่งที่น้ำหนักตัวมากกว่านั้น
 
ดังนั้นแพทย์ไม่ควรแนะนำให้พ่อแม่ให้นมผสมเสริมเพียงเพราะทารกมีน้ำหนักอยู่บนเส้น 3% แล้วก็ไม่ควรแนะนำให้ลดการให้นมเพราะทารกมีน้ำหนักอยู่บนเส้น 97%

กราฟแสดงการเติบโตของทารกกินนมแม่กับทารกกินนมผสม
สิ่งที่แม่ที่ให้ลูกกินนมแม่จำนวนมากมักจะเจอเวลาพาลูกไปพบแพทย์ คือ แพทย์ทักว่าน้ำหนักตัวลูกน้อยเกินไป ทั้งที่ลูกมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานสำหรับทารกที่กินนมแม่
 
ปัญหานี้เกิดจาการที่แพทย์บางส่วนไม่คุ้นเคยกับอัตราการเพิ่มน้ำหนักตัวของเด็กที่กินนมแม่ แพทย์บางคนยังอาศัยข้อมูลจากกราฟแสดงการเติบโตฉบับเก่าซึ่งเก็บสถิติจากเด็กที่กินนมผสม และอาจไม่ได้พิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อน้ำหนักตัวของทารก
 
ในช่วง 2-3 เดือนแรก ทารกที่กินนมแม่ล้วน ๆ และมีสุขภาพดี จะโตเร็วกว่าทารกที่กินนมผสม แต่ในช่วง 3-12 เดือนเด็กกินนมแม่จะโตช้ากว่าเด็กกินนมผสม
 
กราฟแสดงการเติบโตที่ทำขึ้นก่อนปีค.ศ. 2006 ใช้ข้อมูลจากทารกที่ไม่ได้กินนมแม่ล้วน ๆ ในช่วง 6 เดือนแรก (หมายถึงทารกที่กินนมผสม และทารกที่เริ่มกินอาหารเสริมก่อนอายุ 6 เดือน) ในปีค.ศ. 2006 องค์การอนามัยโลกได้เผยแพร่กราฟแสดงการเติบโตฉบับแก้ไข ซึ่งใช้ข้อมูลจากทารกที่กินนมแม่
 
องค์การอนามัยโลกแนะนำให้แพทย์ใช้กราฟนี้ในการเฝ้าติดตามการเติบโตของทารก เพื่อไม่ให้แพทย์ประเมินผิดพลาดว่าทารกมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ หรือมีภาวะเลี้ยงไม่โต (Fail to Thrive)
 
ถ้าแพทย์ไม่ได้ใช้กราฟแสดงการเติบโตฉบับแก้ไข แล้วเห็นน้ำหนักของทารกตกลงจากเส้นกราฟ อาจสรุปผิดพลาดว่าทารกมีน้ำหนักตัวน้อยเกินไป และแนะนำให้ทารกกินนมผสมเสริมหรืออาหารเสริม หรือกระทั่งให้หยุดให้ทารกกินนมแม่ไปเลย
 
คุณแม่บางคนที่มั่นใจว่าลูกตัวเองมีสุขภาพดี มีการเติบโตและพัฒนาการสมวัย จะไม่ทำตามคำแนะนำที่ไม่เหมาะสมเหล่านี้ แต่คุณแม่บางคน โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ ก็อาจจะสูญเสียความมั่นใจ เชื่อคำแนะนำผิด ๆ ของแพทย์ ทำให้ทารกต้องกินนมผสมโดยไม่จำเป็น หรือสูญเสียโอกาสการกินนมแม่ไปเลย
 
ปัจจัยอื่น ๆ
 
กราฟแสดงการเติบโตเป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยคัดกรองความผิดปกติ แต่ไม่ใช่เครื่องมือวิเคราะห์ความผิดปกติ เวลาดูกราฟแสดงการเติบโต เราควรจะดูรูปแบบและแนวโน้มของกราฟมากกว่าดูจุดแต่ละจุด ทารกควรมีน้ำหนักเพิ่มในรูปแบบการเพิ่มที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ แต่ถึงแม้การเพิ่มน้ำหนักของทารกไม่เป็นตามรูปแบบที่คาดว่าจะต้องเป็น ไม่ได้หมายความว่าจะทารกมีความผิดปกติเสมอไป
 
การใช้กราฟการติบโตต้องพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ขนาดและะลักษณะรูปร่างของพ่อแม่เอง ลักษณะการเจริญเติบโตของพ่อแม่ตอนเป็นทารก รูปร่างและลักษณะการเจริญเติบโตของทารกอื่นที่เป็นพี่น้องหรือญาติ เนื่องจากกรรมพันธุ์มีผลอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของทารก
 
ถ้าแพทย์สงสัยว่าจะมีความผิดปกติเกี่ยวกับการเติบโตของทารก ควรทำการตรวจสอบเพิ่มเติม องค์การอนามัยโลกมีกราฟหลายประเภทเกี่ยวกับการเติบโตของทารก กราฟความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักและส่วนสูงหรือดัชนีมวลกายของทารกที่ช่วงอายุต่าง ๆ สามารถแสดงให้เห็นภาพการเติบโตของทารกได้ถูกต้องกว่ากราฟแสดงน้ำหนัก
 
นอกจากนี้ กราฟแสดงการเติบโตและน้ำหนักตัว เป็นเพียงหนึ่งในตัวชี้วัดการเจริญเติบโตของทารก ไม่ควรจะนำมาพิจารณาเดี่ยว ๆ การประเมินและติดตามการเติบโตและพัฒนาการของทารกควรมองภาพรวม
 
แพทย์และพ่อแม่จะต้องจำไว้ว่า “ควร ดูทารก มากกว่า ดูตาชั่ง” ถ้าทารกตื่นตัวดี มีความสุขและร่าเริงดี กินนมได้ดี ขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะตามปกติ มีพัฒนาการอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับอายุ ตัวหนักเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตัวโตขึ้นเรื่อย ๆ ก็ไม่มีเหตุผลที่พ่อแม่จะต้องกังวล 



ทุกปัญหา..มีทางแก้

รวมบทความแก้ปัญหานมไม่พอ
ทำไมแม่ที่ให้ลูกดูดเต้าถึงปั๊มนมได้น้อย
น้ำนมไม่พอ...ปัญหายอดนิยม article
ความสำเร็จในการกลับมาให้นมแม่อีกครั้ง article
ทำไมทารกร้องไห้โยเย
ลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า? article
ท่อน้ำนมอุดตัน
ท่อน้ำนมตัน
ก้อนแข็งที่เต้านม-เต้านมอุดตัน
รวมปัญหาเกี่ยวกับหัวนม
อูยยย... เจ็บหัวนม article
หัวนมแตก ทำอย่างไร article
ลูกของฉันดูดนมไม่เป็น
หย่านมแม่อย่างไรดี article
ลูก 2 เดือน ไม่ค่อยชอบดูดนมแม่ article
ลูกอายุ 20 วัน น้ำนมแห้งไป จะทำอย่างไรดี article
จะทำอย่างไรถ้าแม่ผลิตน้ำนมไม่พอ หรือน้ำหนักตัวลูกไม่เพิ่มตามเกณฑ์? article
ต้องให้นมขวดเสริมหรือเปล่า? article
ควรจะให้ลูกดูดบ่อย(และนาน)แค่ไหน? article
การเตรียมตัวและแก้ไขหัวนมผิดปกติ article
หัวนมบอดหรือหัวนมบุ๋ม ก็ไม่เป็นปัญหา article
จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกได้รับนมพอเพียง? article
ทำไมลูกจึงอยากดูดนมตลอดเวลา? article
เมื่อไรจึงจะเริ่มมีน้ำนม? article
ควรให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวนานเท่าใดกันแน่ 4 หรือ 6 เดือน? article
ขนาดนั้นสำคัญไฉน article
แม่ที่ให้นมลูกควรรับประทานอาหารอะไร? article
เต้านมอักเสบ article
เวลาที่แม่ไม่สบาย จะทำให้ลูกติดโรคจากนมแม่หรือไม่
ยาเพิ่มน้ำนม Domperidone
นมแม่ เปลี่ยนสี เปลี่ยนรสได้ จริงรึ article
เคล็ดลับให้นมลูกได้ แม้แม่ต้องไปทำงาน article
เตรียมหัวนมอย่างไรก่อนคลอด article
ลูกไม่ดูดเต้า ถ้าเราปั๊มนมอย่างเดียว นมจะแห้งไหม article
ในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้หรือไม่ article
ทำไมลูกที่กิน นมแม่ จึงไม่ค่อยท้องเสีย article
ทำไม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ได้ article
เคยเห็นเด็กกินนมผสมก็ฉลาดและมีพัฒนาการที่ดี ดูแล้วไม่น่าแตกต่างกับการกิน นมแม่ article