ReadyPlanet.com
ardo calypso
dot
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : ข้อควรปฎิบัติ
dot
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 1
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 2
bulletวิธีเลือกกุมารแพทย์ให้ลูก
bulletก่อนคลอด
bulletสิ่งที่ต้องทำเมื่ออยู่ ร.พ.
bulletหลังคลอด
bulletท่าในการให้นม
bulletBreast Crawl
bulletความคาดหวังของลูกน้อย
bulletบันทึกการให้นมลูก
bulletวิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง
bulletสัมผัสรักระหว่างแม่ลูก
bulletโรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
bulletแบบสอบถาม
dot
ปัญหาเรื่อง นมแม่
dot
bulletวิธีแก้ปัญหานมไม่พอ
bullet"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ
bulletนมพอหรือไม่
bulletเมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)
bulletอาหารเพิ่มน้ำนม
bulletวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม
bulletWorkshop เพิ่มน้ำนม (new)
bulletยาประสระน้ำนม
bulletDomperidone (Motilium)
bulletยาเพิ่มน้ำนม Motilium
bulletคำเตือนสำหรับการใช้ยา Domperidone
bulletน้ำหนักตัวเพิ่มช้า
bulletน้ำหนักตัวน้อย
bulletเจ็บหน้าอก หัวนมแตก
bulletการบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม
bulletลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า
bulletตัวเหลือง
bulletสารพันปัญหา
บริจาคนมแม่
dot
เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
dot
bullet20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน
bulletมาทำ stock น้ำนม กันเถอะ
bulletวิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
bulletจะให้ลูกกินอะไรเมื่อแม่ไปทำงาน
bulletวิธีเก็บรักษานมแม่
bulletต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?
bulletโปรแกรมคำนวณนมแม่
bulletยาคุมกำเนิด
dot
คุณแม่นักปั๊ม
dot
bulletการปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม
bulletปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
bulletข้อคิดก่อนซื้อ ที่ปั๊มนม
bulletเพิ่มน้ำนมภายใน 14 วันแรก
bulletเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
bulletซื้อเครื่องปั๊มที่ไหนดี
bulletปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี
bulletเรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
bulletถุงเก็บน้ำนมแม่
dot
กลเม็ดเคล็ดลับ
dot
bulletวิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new)
bulletบีบด้วยมือ vs ปั๊มด้วยเครื่อง
bullet10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี
bulletนอนให้นม...สบายมากๆ เลย
bulletอุปกรณ์เสริม ช่วยแม่ให้นมลูก
bulletมุมให้นมแม่
bulletวิธีพาสเจอร์ไรซ์นมแม่
dot
ปัญหาที่พบไม่บ่อย
dot
bulletลิ้นติด (Tongue Tie)
bulletเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่
bulletต้องการถามปัญหาอื่นๆ
bulletทำไมทารกร้องไห้โยเย
dot
หนังสือแนะนำ
dot
bulletขอรับหนังสือนมแม่ฟรี
bulletการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletสร้างชีวิตมหัศจรรย์ด้วยน้ำนมแม่
bulletนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก
bullet เคล็ดลับ...แม่มือใหม่ "นมแม่"
bulletเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletพัฒนาสมองด้วยนมแม่...
bulletGuide to Breastfeeding
dot
แหล่งข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่
dot
bulletคลินิกนมแม่ทั่วประเทศ
bulletนมแม่ แน่ที่สุด
bulletศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
bulletคลีนิครัก
bulletศริริราชออนไลน์
bulletสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
bulletwww.breastfeeding.com
bulletPromom
bulletรักลูก
bulletLa Leche League
bullet4woman
bulletMother & Child Health
bulletWABA
bulletBreastfeedingonline
bulletDr. Sears
bulletbreastfeedingbasics
bulletwebboard
bulletkellymom
bulletDr. Jack Newman
bulletInfact
bulletgotbreastpump
bulletNew Beginnings
bulletโครงการสายใยรัก
bulletศูนย์ข้อมูล สสส
bulletUNICEF
bulletbreastfeedingmadesimple
bullethm4hb
bulletLactation Narration
bulletNormalFed
dot
Brainfeeding
dot
bulletเก็บมาฝาก
bulletIf we don't care, who will?
bullet๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา
bulletสัมภาษณ์ ดร. อาจอง ชุมสาย ฯ
bulletคนดีของพ่อ
bulletเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้รู้
bulletคุยกับประภาส
dot
Sponsor Link
dot
bulletbfdcenter
bulletร้านนมแม่
bulletศูนย์รวมฟิล์มทุกชนิด
bulletV-Kool
bulletSuvarnabhumi Airport Hostel
bulletBussaba Bangkok Boutique Hotel Suvarnabhumi Airport
bulletbeing-mom
bulletมีลูกยาก
bulletSite Map
ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี whisper
unimom allegro
ardo calypso
Ardo Carum
bulletนมแม่


ร้านนมแม่-เครื่องปั๊มนม


ยาเพิ่มน้ำนม Domperidone

เริ่มใช้ดอมเพอริโดน (Domperidone)

 

บทนำ

 

ดอมเพอริโดน (Domperidone หรือ Motilium) เป็นยาซึ่งมีผลข้างเคียงช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการเพิ่มปริมาณฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) ที่ต่อมใต้สมองผลิตขึ้น โปรแลคตินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นให้เซลล์ในเต้านมของแม่ผลิตน้ำนม ดอมเพอริโดนมีส่วนช่วยเพิ่มฮอร์โมนโปรแลคตินทางอ้อม โดยเข้าไปขัดขวางกระบวนการทำงานของโดพามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารที่มีผลยับยั้งการผลิตโปรแลคตินของต่อมใต้สมอง

โดยทั่วไปดอมเพอริโดนถูกนำไปใช้รักษาอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ไม่ใช่เพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะนำไปใช้ไม่ได้ เพียงแค่ผู้ผลิตยาไม่ได้รับรองการนำไปใช้เพื่อผลในการสร้างน้ำนมเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มีผลการศึกษาหลายแห่งที่สนับสนุนว่ามันช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม และเป็นยาที่มีความปลอดภัยเพียงพอ ในอดีตมันเคยถูกนำไปใช้กับทารกซึ่งอาเจียนและน้ำหนักลด แต่เคยถูกแทนที่โดยยาซิสสาไพรด์ (Cisapride หรือ Prepulsid) อยู่พักหนึ่ง (ซิสสาไพรด์ถูกยกเลิกการใช้ไป เนื่องจากมันอาจก่อให้เกิดปัญหากับหัวใจของผู้ใช้อย่างรุนแรง)

ดอมเพอริโดนไม่ใช่ยาตระกูลเดียวกันกับซิสสาไพรด์ ยาอีกตัวหนึ่งซึ่งมีมานานกว่าคือเมโทโคลพาไมด์ (Metoclopramide หรือ Maxeran หรือ Reglan) ก็เป็นยาที่รู้จักกันว่ามีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม แต่เป็นยาที่มักก่อให้เกิดผลข้างเคียง ซึ่งทำให้การนำไปใช้กับแม่ที่ให้นมลูกไม่เป็นที่ยอมรับ (เหนื่อยล้า หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า) ดอมเพอริโดนมีผลข้างเคียงน้อยกว่ามากเนื่องจากปริมาณยาที่เข้าสู่สมองไม่มาก (ยาไม่ซึมผ่านแนวกั้นสมอง Blood-brain Barrier)

ในเดือนมิถุนายน ปี 2004 องค์การอาหารและยาของสหรัฐ (FDA) ออกประกาศเตือนการใช้ดอมเพอริโดน ว่าอาจมีผลข้างเคียงต่อหัวใจ ทั้ง ๆ ที่ผลข้างเคียงนี้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อเป็นการให้ยาเข้าสู่เส้นเลือดแก่ผู้ป่วยหนักเท่านั้น ตลอดหลายปีที่ผ่านมาซึ่ง ผู้เขียน (Dr.Jack Newman) ได้จ่ายดอมเพอริโดนให้แก่แม่ซึ่งให้นมลูก ไม่เคยพบว่ามีผลข้างเคียงต่อหัวใจซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าเกิดจากดอมเพอริโดน

อีกประการหนึ่ง องค์การอาหารและยาของสหรัฐไม่ได้มีอำนาจการควบคุมนอกอาณาเขตสหรัฐ แม้กระทั่งในสหรัฐเอง การผลิตยาให้คนไข้เฉพาะบุคคล (Compounding Pharmacies) ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์การอาหารและยาสหรัฐ ก็ยังคงให้ดอมเพอริโดนแก่ผู้ป่วยอยู่ ผู้อ่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเอกสารเรื่องดอมเพอริโดนขององค์การอาหารและยาสหรัฐ

เมื่อไรจึงควรใช้ดอมเพอริโดน

ไม่ควรใช้ดอมเพอริโดนเป็นทางออกแรกสุดเมื่อมีปัญหาในการให้นมลูก ดอมเพอริโดนไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาทุกเรื่อง จึงควรนำไปใช้ควบคู่กับการปรับแก้ปัจจัยซึ่งอาจส่งผลให้น้ำนมไม่เพียงพออื่น ๆ ไปด้วย

แล้วมีอะไรบ้างล่ะที่ควรทำไปพร้อม ๆ กัน

  1. สัมผัสลูกให้มากที่สุด ทั้งระหว่างการให้นมและเวลาอื่น ๆ (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง สัมผัสรักระหว่างแม่-ลูก)
  2. ปรับท่าในการให้นมให้ถูกต้อง เพื่อให้ทารกดูกน้ำนมจากเต้าได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ บางครั้งแค่การปรับท่าทางให้ถูกต้องก็อาจจะช่วยแก้ปัญหาทั้งหมดได้แล้ว
  3. ใช้การนวดกระตุ้นเต้านมเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมที่ทารกได้รับ (อ่านเพิ่มได้ใน การบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม)
  4. ถ้าคุณให้นมแม่อย่างเดียวโดยไม่ได้ให้นมผงเพิ่ม ลองปั๊มนมหลังมื้อนมดู การบีบน้ำนมนมด้วยมือซัก 2-3 นาทีหลังมื้อนมอาจช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมได้เป็นอย่างดี คุณแม่บางคนอาจเลือกใช้ปั๊มขนาดใหญ่ที่ใช้ตามโรงพยาบาลปั๊มนมต่ออีก 10-15 นาทีหลังมื้อนมก็ได้ แต่วิธีนี้อาจได้ผลดีเฉพาะกับแค่บางคนเท่านั้น ทำเท่าที่คุณพอจะทำได้โดยไม่ต้องฝืน เพราะถ้าแม่ต้องเหนื่อยมากกับการปั๊ม ร่างกายก็คงไม่สามารถจะผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นไม่จำเป็นต้องปั๊มนมถ้าหากว่ามันจะเป็นภาระกับคุณมากเกินไป
  5. แก้ปัญหาการดูดนมของทารก เลิกใช้จุกนมปลอม (อ่านเพิ่มได้ใน ให้นมเสริมอย่างถูกวิธี)

 

การใช้ดอมเพอริโดนเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนม

ดอมเพอริโดนช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมได้ดีภายใต้สถานการณ์ต่อไปนี้

  • แม่ซึ่งปั๊มนมให้ทารกที่ป่วยหรือคลอดก่อนกำหนดซึ่งอยู่ในโรงพยาบาล มักประสบปัญหาปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้ลดลงเมื่อทารกคลอดมาได้ 4-5 สัปดาห์ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ (ไม่ได้ให้ทารกดูดกระตุ้นทันทีหลังคลอด ทารกไม่ได้อยู่กับแม่ และอื่น ๆ) ดอมเพอริโดนมักใช้ได้ผลในการช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้ให้กลับเข้าสู่ระดับปกติ หรือเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
  • เมื่อแม่มีปริมาณน้ำนมลดลงซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ยาคุมกำเนิด ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาคุมกำเนิดซึ่งมีส่วนประกอบของเอสโตรเจน หรือห่วงอนามัยเพื่อการคุมกำเนิดชนิดที่มีโปรเจสเตอโรน (ชื่อทางการค้า Mirena) ระหว่างที่ยังให้นมลูก

ดอมเพอริโดนยังใช้ได้ผล ถึงแม้จะไม่มากเท่ากับสองกรณีข้างต้นเมื่อ

  • แม่ซึ่งปั๊มนมให้ลูกที่ป่วยหรือคลอดก่อนกำหนด แต่ยังปั๊มได้ไม่เพียงพอสำหรับความต้องการของลูก
  • แม่ที่รับบุตรบุญธรรมและให้นมแม่ และกำลังพยายามเพิ่มปริมาณน้ำนม
  • แม่ที่กำลังพยายามเลิกให้นมผง

 

ผลข้างเคียงจากการใช้ดอมเพอริโดน

 

ดอมเพอริโดนก็เช่นเดียวกับยาทุกชนิดคืออาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ได้ (ข้อมูลในตำรามักระบุผลข้างเคียงทุกอย่างที่เคยมีผู้รายงานไว้ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นจากยาที่ใช้หรือไม่ก็ได้) ไม่มียาอะไรในโลกที่ปลอดภัย 100% แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียน ผลข้างเคียงของดอมเพอริโดนนอกเหนือจากการเพิ่มปริมาณน้ำนมนั้นพบได้น้อยมาก ผลข้างเคียงซึ่งคุณแม่ที่เคยได้รับยานี้รายงานไว้ (ซึ่งพบน้อยมาก ๆ) ได้แก่

  • อาการปวดหัว ซึ่งมักจะหายไปเองภายใน 2-3 วันหลังลดปริมาณยาที่ใช้ลง (อาการนี้น่าจะเป็นผลข้างเคียงที่พบมากที่สุด)
  • อาการปวดเกร็งท้อง
  • ปากแห้ง
  • รอบประจำเดือนเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่วนใหญ่มักพบว่าประจำเดือนขาดหายไป แต่ก็เป็นไปได้ว่าอาจมีอาการประจำเดือนมาผิดปกติ อย่างไรก็ตามการให้นมแม่ก็มักจะมีผลยับยั้งไม่ให้มีประจำเดือนเป็นเวลาหลายเดือนอยู่แล้ว
  • เคยมีรายงานจากคุณแม่ซึ่งได้รับดอมเพอริโดนเป็นเวลานาน โดยส่วนใหญ่มากกว่า 1 ปี ว่ามีอาการวิตกกังวล นอนไม่หลับ ไม่อยากรับประทานอาหาร ภายหลังหยุดใช้ยาอย่างกระทันหัน

ปริมาณยาซึ่งเข้าสู่น้ำนมแม่มีน้อยมาก ทำให้ทารกไม่น่าจะได้รับผลข้างเคียงจากยานี้ ไม่เคยมีรายงานจากคุณแม่ที่เราให้คำปรึกษาว่าทารกมีอาการซึ่งน่าจะเกิดจากผลข้างเคียงของดอมเพอริโดน ปริมาณยาที่ได้รับผ่านทางน้ำนมเป็นเปอร์เซ็นต์น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณยาที่คุณหมอสั่งจ่ายเมื่อทารกมีอาการอาเจียน และดอมเพอริโดนเป็นยาที่ใช้กันบ่อยในการรักษาอาการสำรอกอาหารของทารกด้วย

การใช้ดอมเพอริโดนมีผลอะไรในระยะยาวหรือไม่

มีรายงานจากผู้ผลิตถึงผลการทดลองใช้ดอมเพอริโดนในหนูทดลองต่อเนื่องกันนาน ๆ ว่าส่งผลให้จำนวนหนูที่เป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น แต่ยังระบุด้วยว่าไม่มีรายงานผลข้างเคียงดังกล่าวในมนุษย์ อย่างไรก็ตาม การศึกษาผลกระทบของยามักทำโดยให้ยาแก่สัตว์ทดลองในปริมาณสูงต่อเนื่องเกือบทั้งช่วงหรือตลอดชีวิตของมัน นอกจากนี้

มีผลการศึกษาว่าการที่ผู้หญิงไม่ให้นมแม่เพิ่มโอกาสของการเป็นมะเร็งเต้านม แต่ในทางตรงกันข้าม โอกาสการเป็นมะเร็งเต้านมจะลดลงตามระยะเวลาการให้นมแม่ ยิ่งไปกว่านั้น ในแคนาดายังมีการใช้ดอมเพอริโดนเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมมามากกว่า 20 ปีแล้ว

การใช้ดอมเพอริโดน

โดยทั่วไปเราเริ่มจากการให้ดอมเพอริโดนปริมาณ 30 มิลลิกรัม (ยา 10 มิลลิกรัม 3 เม็ด) 3 ครั้งต่อวัน ในบางกรณีอาจให้ได้มากถึง 40 มิลลิกรัม 4 ครั้งต่อวัน ผู้ผลิตยามักระบุให้รับประทานดอมเพอริโดนก่อนอาหารเป็นเวลา 30 นาที แต่กรณีนี้เป็นการใช้ยาเพื่อรักษาปัญหาระบบย่อยอาหาร

อย่างไรก็ดี ร่างกายจะดูดซึมดอมเพอริโดนในดีกว่าเวลาท้องว่าง คุณสามารถรับประทานยาได้ทุก ๆ 8 ชั่วโมงเมื่อไรก็ได้ตามแต่จะสะดวก (ไม่จำเป็นต้องตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อรับประทานยา มันไม่ช่วยให้เกิดความแตกต่างอะไรมากมายนัก) คุณแม่ส่วนใหญ่ได้รับดอมเพอริโดนเป็นเวลา 3-8 สัปดาห์ แต่บางคนก็อาจต้องใช้นานกว่านั้น หรือบางคนอาจไม่สามารถรักษาปริมาณน้ำนมเอาไว้ได้เลยเมื่อหยุดยา

ผู้ที่ให้นมแก่บุตรบุญธรรมอาจจำเป็นต้องได้รับยาเป็นเวลานานกว่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารก็มักได้รับดอมเพอริโดนเป็นเวลานานหลาย ๆ ปีเช่นกัน

หลังเริ่มใช้ดอมเพอริโดน อาจต้องใช้เวลา 3 หรือ 4 วันจึงจะเห็นผล แต่คุณแม่บางคนก็อาจเห็นผลภายใน 24 ชั่วโมง และอาจต้องใช้เวลานาน 2-3 สัปดาห์จึงจะเห็นผลสูงสุด อย่างไรก็ตาม คุณแม่บางคนอาจจะสังเกตเห็นผลของมันหลังใช้ยามากกว่า 4 สัปดาห์ไปแล้ว จึงควรทดลองใช้ดอมเพอริโดนอย่างน้อย 4 สัปดาห์ หรือทางที่ดีก็ 6 สัปดาห์ก่อนจึงจะสามารถสรุปได้ว่ามันใช้ได้ผลหรือไม่

 

หยุดใช้ดอมเพอริโดน (Domperidone)

สามารถใช้ดอมเพอริโดนได้เป็นระยะเวลานานแค่ไหน

เมื่อมีการจ่ายดอมเพอริโดนให้ทารกเพื่อรักษาอาการป่วย (เนื่องจากตอนนี้ซิสสาไพรด์ – Cisapride ถูกนำออกจากตลาดไปแล้ว ดอมเพอริโดนจึงถูกนำมาใช้อีกครั้ง) มักมีการให้ยาแก่ทารกเป็นเวลาหลายเดือนหรือนานกว่านั้น และเนื่องจากปริมาณยาซึ่งเข้าสู่น้ำนมแม่น้อยมาก จึงไม่มีข้อควรกังวลหากแม่จะใช้ดอมเพอริโดนเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมเป็นระยะเวลานานหลายเดือน

จากประสบการณ์ของผู้เขียน พบผลข้างเคียงของดอมเพอริโดนน้อยมาก และถึงพบก็มักจะเป็นอาการเพียงเล็กน้อย ประสบการณ์จากการใช้ยานี้ทั่วโลกมานานกว่าสองทศวรรษก็พบผลข้างเคียงระยะยาวน้อยมากเช่นกัน คุณแม่ที่มาหาเราบางคนซึ่งให้นมแก่บุตรบุญธรรมที่รับมาเลี้ยงได้รับยานี้เป็นระยะเวลานานถึง 18 เดือนโดยไม่พบผลข้างเคียงใด ๆ และดังที่เคยกล่าวมาแล้วในหัวข้อ “เริ่มใช้ดอมเพอริโดน” ผู้ป่วยซึ่งใช้ดอมเพอริโดนรักษาอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารอาจได้รับยานี้เป็นเวลานานหลายปี เราหวังเช่นกันว่าคุณจะไม่ต้องใช้ยานี้เป็นเวลานานนัก แต่ถ้าจำเป็นและมันช่วยคุณได้ คุณก็ควรจะทานยานี้อย่างต่อเนื่อง

นานแค่ไหนการใช้ดอมเพอริโดนจึงจะเห็นผล

ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ในกรณีที่แม่เคยมีน้ำนมมากแต่ลดลงเนื่องจากเหตุผลบางอย่าง (เช่นรับประทานยาคุมกำเนิด) การใช้ดอมเพอริโดนมักได้ผลอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่แล้วคุณแม่จะสังเกตเห็นความแตกต่างภายใน 1-2 วัน (ทารกก็จะรู้สึกได้เช่นเดียวกัน) แต่ก็อาจไม่เป็นเช่นนี้เสมอไป หลายครั้งที่ต้องใช้เวลา 1 สัปดาห์หรือมากกว่านั้นจึงจะสังเกตเห็นผล ในบางกรณี เราพบว่าคุณแม่บางคนเริ่มมีปริมาณน้ำนมเพิ่มมากขึ้นหลังได้รับยาเป็นเวลา 1 เดือนขึ้นไป ดังนั้น เรามักแนะนำให้คุณแม่รับประทานดอมเพอริโดนเป็นเวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ก่อนจะสรุปว่ามันได้ผลหรือไม่

ผู้เขียนเชื่อว่าดอมเพอริโดนใช้ได้ผลดีเมื่อใช้หลังจากคุณแม่คลอดบุตรแล้ว 2-3 สัปดาห์ (ส่วนใหญ่แล้วคือประมาณ 4 สัปดาห์) ตรงนี้ยังไม่มีข้อพิสูจน์ชัดเจนนอกจากที่มีความเป็นไปได้ในทางทฤษฎี ดังนั้น เราจึงมักรอจนกว่าทารกจะมีอายุอย่างน้อย 3 สัปดาห์ก่อนจึงเริ่มจ่ายยานี้ให้แก่คุณแม่ เนื่องจากเหตุผลหลักคือเราไม่ต้องการให้คุณแม่หมดกำลังใจเมื่อไม่เห็นปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าคุณตระหนักถึงเหตุผลตรงนี้แล้ว การใช้ดอมเพอริโดนก่อนทารกอายุ 3-4 สัปดาห์ก็เป็นอะไรที่น่าทดลอง เพราะบางครั้งการใช้ยาแต่เนิ่น ๆ ก็ได้ผลดี

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าควรใช้ดอมเพอริโดนนานแค่ไหน

 

โดยทั่วไปเราจะให้คุณแม่ลองใช้ยาเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์และประเมินผลดู ผลลัพธ์อาจเป็นไปได้หลายอย่าง

  • ปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นมากจนไม่ต้องให้นมผสมแก่ทารกอีกต่อไป หรือคุณแม่สามารถหยุดให้นมผสมได้โดยที่ทารกยังมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ดี
  • ปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นจนอยู่ในระดับที่คุณแม่พอใจ ยกตัวอย่างเช่น คุณแม่อาจยังต้องให้นมผสมบ้าง แต่ทารกก็ไม่แสดงอาการหงุดหงิดเวลาดูดนมแม่อีกต่อไป
  • ปริมาณน้ำนมไม่เพิ่มหรือเพิ่มน้อยมาก การใช้ยาต่ออีกระยะหรือเพิ่มปริมาณยาขึ้นอาจช่วยได้

ในกรณีแรก (หรือในบางกรณีอื่น) เราอาจแนะนำให้คุณแม่ลองเลิกใช้ดอมเพอริโดนดูโดยวิธีต่อไปนี้

  1. เมื่อคุณพร้อมจะเลิกใช้ดอมเพอริโดน ลดยาลง 1 เม็ดก่อน คือแทนที่จะทานยาวันละ 9 เม็ด ให้ลดลงเหลือวันละ 8 เม็ด
  2. รอ 4-5 วันหรือ 1 สัปดาห์ก็ได้ ถ้าปริมาณน้ำนมยังไม่เปลี่ยนแปลง ลดยาลงอีก 1 เม็ด
  3. รออีก 4-5 วัน ถ้าปริมาณน้ำนมยังไม่เปลี่ยนแปลง ลดยาลงอีก 1 เม็ด
  4. ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าคุณจะเลิกทานยาไปในที่สุด ตราบใดที่ปริมาณน้ำนมไม่ลดลงหรือลดลงไม่มาก และทารกยังมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ดี
  • อย่างไรก็ตาม ถ้าปริมาณน้ำนมลดลงมาก กลับไปใช้ยาปริมาณที่เคยได้ผลกับคุณมาแล้ว และใช้ต่อไปโดยไม่ลดยาลงเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • ถ้าคุณยังต้องการเลิกใช้ดอมเพอริโดน หลังใช้ยาปริมาณเดิมเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ลดยาลงวันละ 1 เม็ดเหมือนขั้นตอนข้างต้น คุณแม่บางคนซึ่งทดลองหยุดใช้ยาแล้วไม่ประสบความสำเร็จในครั้งแรก สามารถทำได้สำเร็จในครั้งที่ 2 หรือ 3
  • คุณอาจจำเป็นต้องใช้ยาปริมาณหนึ่งเพื่อรักษาปริมาณน้ำนม แต่การทำตามขั้นตอนที่ 1-4 นี้จะช่วยให้คุณหาปริมาณยาขั้นต่ำที่ให้ผลดีสำหรับคุณได้

ถ้าคุณใช้ดอมเพอริโดนครบ 2 สัปดาห์แล้วปริมาณน้ำนมยังไม่เพิ่มมากถึงระดับที่ต้องการ ควรลองใช้ยาต่อเนื่องไปอีกช่วงหนึ่ง หากคุณใช้ยาไปแล้วระหว่าง 2-6 สัปดาห์แล้วปริมาณน้ำนมยังไม่มากพออีก อาจต้องพิจารณาว่าควรใช้ยาต่อไปอีกหรือไม่ ถ้าคุณให้นมผสมอยู่ด้วย และการใช้ยาช่วยให้คุณลดปริมาณนมผสมจากวันละ 400 มล. เป็น 300 มล. (14 ออนซ์เป็น 10 ออนซ์) คุ้มหรือไม่ที่จะยังคงใช้ยาต่อไป สำหรับผู้เขียนคิดว่าคุ้ม แต่ตรงนี้ขึ้นอยู่กับตัวคุณเองที่จะเป็นคนตอบ

ถ้าคุณคิดว่าคุ้ม ให้ทานดอมเพอริโดนต่อ แต่ให้ลดปริมาณยาลงตามขั้นตอนข้างบนจนเหลือระดับที่เหมาะสมสำหรับคุณที่จะรักษาปริมาณน้ำนมเอาไว้ ถ้าคุณคิดว่าไม่คุ้ม ลองลดปริมาณยาตามขั้นตอนข้างบนดู ซึ่งถ้าคุณพบว่ามันไม่ทำให้ปริมาณน้ำนมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมก็ให้หยุดยา แต่ถ้าปริมาณน้ำนมคุณลดลงอย่างมากระหว่างที่คุณลดปริมาณยาลง บางทีดอมเพอริโดนอาจมีส่วนช่วยเพิ่มน้ำนมให้คุณมากกว่าที่คุณคิดก็ได้ (จำไว้ว่าเมื่อทารกอายุมากขึ้น น้ำหนักมากขึ้น แทนที่จะต้องการนมเพิ่มเพียง 400 มล. (14 ออนซ์) เท่าเดิม เขาอาจจะต้องการนมเพิ่มขึ้นเป็น 20 ออนซ์เพื่อให้น้ำหนักยังคงอยู่ในเกณฑ์ก็ได้ ซึ่งในกรณีนี้จะเห็นว่าดอมเพอริโดนช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมได้พอสมควรทีเดียว)

พึงระลึกไว้ว่า ก่อนใช้ดอมเพอริโดน ต้องแก้ปัญหาการให้นมที่สาเหตุอื่นให้เร็วที่สุดก่อน หมายความว่า

  • ให้นมด้วยท่าที่ถูกต้อง แค่นี้ก็อาจช่วยให้เด็กได้รับน้ำนมมากเพียงพอแล้วก็ได้
  • ใช้การนวดกระตุ้นเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมที่ทารกได้รับ
  • ให้นมข้างหนึ่งให้หมดก่อนจึงให้อีกข้าง
  • ถ้าทารกยังไม่อิ่ม สลับไปให้นมอีกข้างเมื่อน้ำนมไม่มีแล้วแม้จะนวดกระตุ้นช่วย
  • สลับให้นมไปมาทั้งสองข้างตราบเท่าที่ทารกยังได้รับน้ำนมมากพอ
  • ดูคำแนะนำเพิ่มเติมใน  Protocol to Manage Breastmilk Intake.

Written and revised (under other names) by Jack Newman, MD, FRCPC, 1995-2005
Revised by Jack Newman MD, FRCPC, IBCLC and Edith Kernerman, IBCLC, 2008, 2009
 

http://www.nbcionline.org

 

ช่วยกันขอบคุณ แม่ต่าย ผู้แปลบทความนี้ได้โดยกรอกแบบฟอร์มข้างล่างค่ะ



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




ทุกปัญหา..มีทางแก้

รวมบทความแก้ปัญหานมไม่พอ
ทำไมแม่ที่ให้ลูกดูดเต้าถึงปั๊มนมได้น้อย
น้ำนมไม่พอ...ปัญหายอดนิยม article
ความสำเร็จในการกลับมาให้นมแม่อีกครั้ง article
ทำไมทารกร้องไห้โยเย
ลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า? article
ท่อน้ำนมอุดตัน
ท่อน้ำนมตัน
ก้อนแข็งที่เต้านม-เต้านมอุดตัน
รวมปัญหาเกี่ยวกับหัวนม
อูยยย... เจ็บหัวนม article
หัวนมแตก ทำอย่างไร article
ลูกของฉันดูดนมไม่เป็น
หย่านมแม่อย่างไรดี article
ลูก 2 เดือน ไม่ค่อยชอบดูดนมแม่ article
ลูกอายุ 20 วัน น้ำนมแห้งไป จะทำอย่างไรดี article
จะทำอย่างไรถ้าแม่ผลิตน้ำนมไม่พอ หรือน้ำหนักตัวลูกไม่เพิ่มตามเกณฑ์? article
ต้องให้นมขวดเสริมหรือเปล่า? article
ควรจะให้ลูกดูดบ่อย(และนาน)แค่ไหน? article
การเตรียมตัวและแก้ไขหัวนมผิดปกติ article
หัวนมบอดหรือหัวนมบุ๋ม ก็ไม่เป็นปัญหา article
จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกได้รับนมพอเพียง? article
ทำไมลูกจึงอยากดูดนมตลอดเวลา? article
เมื่อไรจึงจะเริ่มมีน้ำนม? article
ควรให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวนานเท่าใดกันแน่ 4 หรือ 6 เดือน? article
ขนาดนั้นสำคัญไฉน article
แม่ที่ให้นมลูกควรรับประทานอาหารอะไร? article
เต้านมอักเสบ article
น้ำหนักตัวน้อย และ กราฟแสดงการเจิญเติบโต
เวลาที่แม่ไม่สบาย จะทำให้ลูกติดโรคจากนมแม่หรือไม่
นมแม่ เปลี่ยนสี เปลี่ยนรสได้ จริงรึ article
เคล็ดลับให้นมลูกได้ แม้แม่ต้องไปทำงาน article
เตรียมหัวนมอย่างไรก่อนคลอด article
ลูกไม่ดูดเต้า ถ้าเราปั๊มนมอย่างเดียว นมจะแห้งไหม article
ในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้หรือไม่ article
ทำไมลูกที่กิน นมแม่ จึงไม่ค่อยท้องเสีย article
ทำไม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ได้ article
เคยเห็นเด็กกินนมผสมก็ฉลาดและมีพัฒนาการที่ดี ดูแล้วไม่น่าแตกต่างกับการกิน นมแม่ article