
Domperidone (Motilium) การใช้ยากระตุ้นน้ำนม Domperidone ในคลินิกนมแม่
ข้อบ่งชี้ในการใช้ยา Domperidone กระตุ้นน้ำนมในคลินิกนมแม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เชียงใหม่
แนวทางการช่วยเหลือ แนะนำและการให้ยากระตุ้นน้ำนม Domperidone
ขั้นตอนการลดการใช้ยา 12.1 หลังจากน้ำนมหลั่งมาดี ให้ค่อยๆ ลดยาลง 1 เม็ด ใน 1 วัน ทุก 4-5 วัน จนกว่าจะลดยาลงจนหมด โดยสามารถรักษาปริมาณน้ำนมไว้ได้ ไม่ลดลง ในแม่ที่ทำงานนอกบ้านสามารถวัดได้จากปริมาณน้ำนมที่บี บเก็ บได้ ในแม่ที่ให้ลูกดูดนมได้ตลอดจะทราบว่ าน้ำนมมาเพียงพอโดยลูกดู ดนมได้อิ่ม ไม่ หงุดหงิด ไม่ต้องใช้นมผสมเสริมอีก 12.2 ถ้าหากปริมาณน้ำนมแม่กลับลดลง ให้กลับมาเพิ่มยาอีกครั้งละ 1 เม็ด จนปริมาณน้ำนมเพิ่ม คงที่ได้ 2 สัปดาห์แล้ว จึงเริ่มต้นลดยาตามข้อที่ 12.1 สาเหตุที่มาปรึกษา/ขอรับบริการที่คลินิก ของแม่ที่ได้รับยากระตุ้นน้ำนมทั้งหมด จำนวน 32 ราย (พศ. 2547 - พศ. 2548) น้ำนมแม่หลั่งน้อยเนื่องจากได้รับนมแม่ร่วมกับนมผสมตั้งแต่แรกคลอด 15 ราย - คลอดจากรพ.อื่น จำนวน 12 ราย โดยมีสาเหตุต่างๆ เช่น เตรียมทำงานนอกบ้าน ลูกไม่สบาย ลูกพิการ - แม่คิดว่าน้ำนมแม่ไม่พอ หลังจากออกจากโรงพยาบาลไปแล้ว 3 ราย จึงให้นมผสมเสริม จนน้ำนมแม่น้อยลง ส่วนในรายที่ไม่ประสบผลสำเร็จทั้งหมด 16 ราย มี 6 ราย ที่ยาก เกิดปัญหามาก่อนนาน ต้องใช้เวลาในการแก้ไข ทำให้แม่ท้อและเลิกกินยา (รวมลูกปากแหว่ง เพดานโหว่ 1 ราย) แม่ที่มีลูกเกิดก่อนกำหนด 2 ราย แม่ทำงานนอกบ้าน 3 ราย แม่มีเลือดกำเดาไหลหลังได้ยาจึงเลิกกินยา 1 ราย ขาดการสนับสนุนจากครอบครัว 1 ราย และขาดการติดต่อ 3 ราย
การให้การปรึกษาทางยาโดยเภสัชกร จากการให้การปรึกษาและสอบถามผู้รับบริการทุกครั้งที่จ่ายยา มีเพียง 1 รายที่พบว่ามีอาการข้างเคียง ได้แก่ท้องเสีย แต่ไม่มากจนต้องหยุดยา อาการข้างเคียงอื่นๆ ไม่พบทั้งในแม่และลูก ส่วนอาการเลือดกำเดาที่พบในแม่ 1 ราย ตามกลไกการออกฤทธิ์ของยาไม่น่าจะเกี่ยวข้อง อาจจะต้องใช้เกณฑ์การประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากยาประกอบการพิจารณาถ้าเกิดขึ้นบ่อย
กรณีตัวอย่างแม่น้ำนมหลั่งน้อยและใช้ domperidone กระตุ้นน้ำนม คุณพรทิพย์ อายุ 35 ปี การศึกษาปริ ญญาตรี อาชีพพนักงานธนาคาร ฝากครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาลเอกชน คลอดลูกครบกำหนด เพศชาย น้ำหนักแรกเกิด 3,545 กรัม ขณะอยู่โรงพยาบาลได้นมผสม ร่วมกับให้ลูกดูดนมแม่ กลับไปบ้านตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงให้ลูกดูดนมแม่อย่างเดียว 3 สัปดาห์หลังคลอด ลูกร้องกวนตลอด แม่คิดว่าน้ำนมแม่ไม่พอเพียง ประกอบกับจะต้องเตรียมตัวไปทำงาน จึงตัดสินใจให้นมผสมร่วมด้วย
เริ่มจากแนวทางการทำให้น้ำนมแม่หลั่งมากขึ้น(relactation) โดยไม่ได้ใช้ยากระตุ้น และให้แม่บีบน้ำนมด้วยมือวันละ4ครั้ง นานครั้งละ20-30นาที ช่วงเวลา8.00น,12.00น,16.00นและ21.00น. บันทึกปริมาณน้ำนมที่บีบได้เฉลี่ยครั้งละ 4-5 ซีซี ในวันแรกๆ และเพิ่มขึ้น ได้ครั้งละ 20-30 ซีซี ได้ทั้งหมดรวม 115 ซีซี ในวันที่ 6 ซึ่งไม่เพียงพอ จึงวางแผนร่วมกันกับแม่ ครอบครัวและกุมารแพทย์ ในการรับประทานยากระตุ้นน้ำนม Domperidone (10 มก) ทางปาก ครั้งละ 2 เม็ด วันละ 4 เวลา หลังอาหารและก่อนนอน
ขั้นตอนการให้คำปรึกษาการได้รับยากระตุ้นน้ำนม Domperidone 1. อธิบายวิธีการรับประทานยา การสังเกตอาการข้างเคียงของยา เช่น อาการปวดศีรษะ ปวดท้อง ปากแห้ง ผื่นคัน กระหายน้ำ เมื่อกลับไปทำงาน คุณพรทิพย์นำลูกไปเลี้ยงที่สถานเลี้ยงเด็กใกล้ที่ทำงาน และให้ลูกดูดนมแม่ทุกครั้ง ก่อนไปทำงาน เวลาเที่ยงเดินไปให้ลูกดูดนมแม่ทุกวัน และบีบน้ำนมที่ทำงานวันละ 2-3 ครั้ง เพื่อให้พี่เลี้ยงป้อนนมแม่ด้วยขวดนม ถ้าไม่พอจึงให้นมผสมเสริม หลังเลิกงานคุณพรทิพย์ให้ลูกดูดนมแม่ทันที หลังจากนั้น ให้ลูกดูดนมแม่ตอนกลางคืน และบีบน้ำนมอีก 1-2 ครั้ง ช่วงเวลาประมาณ 23 น.และ 05 น. เมื่อลูกหลับนาน และเต้านมคัด คุณพรทิพย์เริ่มรู้สึกว่าน้ำนมมามากขึ้นภายใน 3 วัน และสามารถเก็บน้ำนมให้ ลูกได้มากขึ ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งพี่เลี้ยงเด็กสามารถป้อนนมแม่อย่างเดียวได้ภายใน 1 เดือนหลังรับยากระตุ้น
ขั้นตอนการลดยา ได้วางแผนร่วมกับคุณพรทิพย์และครอบครัวตามแนวทางการลดยาของคลินิก เมื่อน้ำนมแม่มามาก หลังให้ยา 28 วัน โดยลดยาลงครั้งละ 1 เม็ด เริ่มมื้อก่อนนอน และค่อยๆลดลงทีละ 1-2 เม็ด เนื่องจากมีน้ำนมมามากตลอด บีบน้ำนมแม่ได้ถึงวันละ 350-370 ซีซีทุกวัน นอกเหนือจากการที่ลูกดูดนมแม่จากเต้าโดยตรง คุณพรทิพย์จึงมีความมั่นใจ ลดยาครั้งละ 2 เม็ด จนลดยาได้ทั้งหมดในเวลา 12 วัน
ข้อสังเกตของคุณพรทิพย์ สังเกตว่านอกจากยาที่ช่วยกระตุ้นน้ำนมอย่างชัดเจนแล้ว เมื่อได้รับประทานอาหารที่เป็นสมุนไพรด้วย เช่น กระเพรา หรือใบโหระพา แกงปลี หรือดื่มน้ำอุ่นๆ มีส่วนช่วยทำให้รู้สึกเต้านมคัดตึง และมีน้ำนมหลั่งมากขึ้น สรุป
ชื่อสามัญ Generic name: Domperidone
กลไกการออกฤทธิ์และข้อบ่งใช้ Domperidone ออกฤทธิ์ เป็น peripheral dopamine antagonist โดยไปขัดขวางที่ pheripheral dopamine receptors บนผนังลำไส้และที่ศูนย์ควบคุมการคลื่นไส้ที่ brain stem ข้อบ่งใช้โดยทั่วไปใช้เป็นยาแก้ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ท้องเฟ้อ เนื่องจาก Domperidone ออกฤทธิ์ต้านการทำงานของ dopamine ซึ่ง dopamine มีฤทธิ์ในการลดการหลั่งของฮอร์โมนโปรแลคติน เมื่อการทำงานของ dopamine ลดลงจากยา เกิดผลข้างเคียงของยาคือ ทำให้ระดับฮอร์ โมนโปรแลคตินในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งโปรแลค ตินเป็นฮอร์โมน ในการกระตุ้นเซลล์ต่อมน้ำนมในการสร้างน้ำนม ทำให้มีการนำ มาใช้เป็นยากระตุ้นการสร้างน้ำนม
ข้อมูลทางเภสัชจลศาสตร์ ยาดูดซึมได้ดีโดยระบบทางเดินอาหารและลำไส้ มีน้ำหนักโมเลกุลมากจับกับโปรตีนในกระแสเลือด มากกว่า 93% ผ่านBlood brain barrier ได้น้อยมาก
ผลข้างเคียงของยา 1. เพิ่มปริมาณน้ำนม นับว่าDomperidone มีผลข้างเคียงน้อย และพบผื่นแพ้น้อยมาก ยังไม่พบรายงานผลข้างเคียงต่อลูก และยังไม่พบผลข้างเคียงระยะยาวในคน ถ้าเปรียบเทียบผลข้างเคียงกับยากระตุ้นการสร้างน้ำนมที่ใช้เดิมคือ Metoclopamide (Plasil) พบว่า Metoclopamide มีผลข้างเคียงมากกว่า เพราะสามารถผ่าน Blood brain barrier ได้มากกว่า Domperidone ผลข้างเคียงอื่นๆของ Metoclopamide ที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนเพลีย กระวนกระวาย ซึมเศร้า
a. ระดับความปลอดภัยในการใช้ยาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จัดเป็นยาที่ปลอดภัย ปริมาณยาที่ผ่านไปในน้ำนมมี ประมาณ 1 ใน 4 ของปริมาณยาที่อยู่ ในกระแสเลือด (Milk- Plasma Ratio= 0.25) มีปริมาณในน้ำนม 2.6 ไมโครกรัมต่อลิตร ภายหลังกินยา 10 มก. 1.75 –3 ชั่วโมง (Medication and Mother Milk,2002)
การศึกษาถึงประสิทธิภาพของ Domperidone ในการกระตุ้นการสร้างน้ำนม Brown T.Fernandes A, et al. ศึกษาแบบ Randomized Controlled Trial พบว่าการใช้ Domperidone 10 มก. ทำให้มีระดับโปรแลคตินเพิ่มขึ้้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ Da Silva OP,KnoppertDC et.al ศึ กษาแบบ Randomized.double-blind,placebo-controlled trial ในแม่ที่คลอดก่อนกำหนดและผลิตน้ำนมได้น้อย 16 คน พบว่ากลุ่มที่ได้รับ Domperidone 10 มก. วันละ 3 ครั้ง มีปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับ 112.8 – 162.2 ซีซีต่อวัน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยา ซึ่งผลิตน้ำนมได้เพียง 48.2-56.1 ซีซีต่อวัน โดยไม่พบผลข้างเคียงของยาต่อทั้งทารกและแม่ตลอดการทดลอง Hernandez,Jr. 2002 ศึกษาแบบ Randomized ในแม่ที่คลอดลูกก่อนกำหนด 40 คนเปรียบเทียบผลของการใช้ ยากระตุ้นการสร้างน้ำนม Metoclopamide , Domperidone และ Malunggay leaves ในการเพิ่มปริมาณน้ำนม พบว่า Domperidone สามารถเพิ่มปริมาณน้ำนมได้มากที่สุด ในวันที่ 7 และ 14 ตามด้วย Metoclopamide, Malungggay leaves และกลุ่มควบคุ ม ตามลำดั บ โดยไม่พบผลข้ างเคียงใดๆ ต่อทั้งทารกและแม่ตลอดการทดลอง
b. ขนาดยาที่ใช้ในการกระตุ้นการสร้างน้ำนมและระยะเวลาที่ใช้ Academy of Breastfeeding Medicine แนะนำให้ใช้ยาขนาด 10 - 20 มก. 3-4 ครั้งต่อวัน เป็น เวลา 3 – 8 สัปดาห์ ภายหลังกินยาจะเห็นผลการกระตุ้นการสร้างน้ำนม ใน 3-4 วัน บางรายเห็นผลภายใน 24 ชั่วโมง บางรายจะเห็นผลสูงสุดใน 2-3 สัปดาห์ Dr.Jack Newman ผู้เชี่ยวชาญการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของแคนาดา ใช้ Domperidone แก่ผู้รับบริการมากกว่า 500 รายในการกระตุ้นการสร้างน้ำนม ในขนาดตั้งแต่ 20 มก. – 40 มก. วันละ 4 ครั้ง ภายใต้การติดตามประเมินผลทางคลินิกและการดู แลอย่างใกล้ชิด ซึ่งได้ผลเป็นอย่างดีโดยปราศจากผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อทั้งทารกและแม่ ถึงแม้จะไม่มีการศึกษาโดยการใช้กลุ่มควบคุมก็ตาม ล่าสุดในปี คศ 2005 Dr.Jack Newman แนะนำเริ่มต้นด้วยขนาดยาครั้งละ 30 มก. วันละ 3 ครั้ง ยกเว้นในบางรายให้ในขนาด สูงสุดถึงครั้งละ 40 มก. วันละ 4 ครั้ง โดยทั่วไปใช้เวลา ประมาณ 3-8 สัปดาห์ ในการรักษาระดับปริมาณน้ำนมไว้ แต่บางรายอาจใช้ เวลานานกว่านี้ Dr. Jack Newman เคยให้นานถึง 18 เดือน โดยไม่พบปัญหาผลข้างเคียง
c. ข้อควรพิจารณาในการใช้ยากระตุ้นน้ำนม โดยทั่วไป จะไม่เลือกใช้ยากระตุ้นการสร้างน้ำนมเป็นลำดับแรกในการแก้ไขปัญหาปริมาณน้ำนมไม่เพียงพอ จะใช้ยากระตุ้นก็ต่อเมื่อ การแก้ไขโดยวิธีปกติไม่ได้ผล เช่น การจัดท่าดูดนมที่ถูกต้อง การนวดประคบเต้านม การใช้เทคนิคการผ่อนคลายต่างๆ เพื่ อให้แม่คลายเครียดและลดความวิตกกังกังวล เช่น ให้แม่หายใจเข้าออกลึกๆ ฟังเพลงที่ชอบขณะให้ลูกดูดนม หรือขณะบีบน้ำนม การนวดหลัง งดการดูดนมจากขวด เพื่อให้ลูกดูดกระตุ้นการสร้างน้ำนมได้เต็มที่ ถ้าจะเลือกใช้ยา Domperidone แม่ต้องไม่มีประวัติแพ้ยา Domperidone ในกรณีที่น้ำนมแม่แห้งหลังคลอดหลังจากเคยมีน้ำนมมาก่อน การจะกระตุ้นให้มีน้ำนมมากขึ้นอีกครั้ง สามารถพิจารณาใช้ Domperidone ควบคู่กับอาหารผักสมุนไพรพื้นบ้าน เช่น หัวปลี ขนุน ฟักทอง กะเพรา นำมาทำอาหารเช่น แกงเลียง นอกจากนี้ต้องควบคู่กับการให้ลูกดูดนมถูกวิธี กระตุ้นให้ลูกดูดนมบ่อยๆ หรือในกรณีที่ลูกยังดูดไม่ได้ หรือไม่เต็มที่ให้ใช้ วิธี บีบน้ำนม หรือใช้เครื่องปั้มน้ำนมช่วยเพื่อเป็นการกระตุ้นเต้านมแม่ ให้มีการสร้างน้ำนมตลอดในช่วงเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
1. Brown T.,Fernandes A., Grant L., Hutsul J., & McCoshen, J.(2000). Effect of parity on prolactin response to metoclopamide and domperidone: Implicationss for the enhancement of lactation.Journal of the Society of Gynecological Investigation,7(1),65-69. [CrossRef] 2. Committee on Drugs.American Academy of Pedriatrics.The transferof drugs and other chemicals into human milk.Pedriatrics 2001;108(3):776-789. 3. da Silva OP,Knoppert DC,Angelini MM,Forret PA.Effect of Domperidone on milk production in mothers of premature newborns:a randomized,double-blind,placebo-controlled trial.CMAJ.2001 Jan 9;164(1):17-21.[CrosRef] 4. Drug Facts and Comparisons.St Louis,Mo:Facts and Comparisons,2004. 5. Gabay MP.Galactogogues:medications that induce lactation.J Hu Lact.2002 Aug;18 (3)274-9. 6. Hale TW.Medication and Mothers’ Milk.10th ed. Amarillo,TX: Pharmasoft;2002:230-231. 7. Handout #19a. Domperidone. January 2005 Written by Jack Newman, MD, FRCPC. www.breastfeedingonline.com/domperidone.shtml. 8. Hernandes,Jr. A Comparative Study on the Efficacy of the Different Galactogogues among Mothers with Lactational Insuficiency. Abstact presented at the November 2002,section on breastfeeding education program,University of Santo TomasHospital, Manila,Philippines,2002. 9. Petraglia F,De Leo V,Sardelli Set al. Doperidone in defective and insufficient lactation.Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol.1985 May;19(5):281-7. 10. The Academy Of Breastfeeding Medicine :ABM Protocols , Protocol #9: Use of galactogogues in initiating or augmenting maternal milk supply http://www.bfmed.org/protocol/galactogogues.pdf จากเอกสารประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 1 |