ReadyPlanet.com
ardo calypso
dot
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : ข้อควรปฎิบัติ
dot
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 1
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 2
bulletวิธีเลือกกุมารแพทย์ให้ลูก
bulletก่อนคลอด
bulletสิ่งที่ต้องทำเมื่ออยู่ ร.พ.
bulletหลังคลอด
bulletท่าในการให้นม
bulletBreast Crawl
bulletความคาดหวังของลูกน้อย
bulletบันทึกการให้นมลูก
bulletวิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง
bulletสัมผัสรักระหว่างแม่ลูก
bulletโรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
bulletแบบสอบถาม
dot
ปัญหาเรื่อง นมแม่
dot
bulletวิธีแก้ปัญหานมไม่พอ
bullet"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ
bulletนมพอหรือไม่
bulletเมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)
bulletอาหารเพิ่มน้ำนม
bulletวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม
bulletWorkshop เพิ่มน้ำนม (new)
bulletยาประสระน้ำนม
bulletDomperidone (Motilium)
bulletยาเพิ่มน้ำนม Motilium
bulletคำเตือนสำหรับการใช้ยา Domperidone
bulletน้ำหนักตัวเพิ่มช้า
bulletน้ำหนักตัวน้อย
bulletเจ็บหน้าอก หัวนมแตก
bulletการบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม
bulletลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า
bulletตัวเหลือง
bulletสารพันปัญหา
บริจาคนมแม่
dot
เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
dot
bullet20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน
bulletมาทำ stock น้ำนม กันเถอะ
bulletวิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
bulletจะให้ลูกกินอะไรเมื่อแม่ไปทำงาน
bulletวิธีเก็บรักษานมแม่
bulletต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?
bulletโปรแกรมคำนวณนมแม่
bulletยาคุมกำเนิด
dot
คุณแม่นักปั๊ม
dot
bulletการปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม
bulletปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
bulletข้อคิดก่อนซื้อ ที่ปั๊มนม
bulletเพิ่มน้ำนมภายใน 14 วันแรก
bulletเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
bulletซื้อเครื่องปั๊มที่ไหนดี
bulletปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี
bulletเรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
bulletถุงเก็บน้ำนมแม่
dot
กลเม็ดเคล็ดลับ
dot
bulletวิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new)
bulletบีบด้วยมือ vs ปั๊มด้วยเครื่อง
bullet10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี
bulletนอนให้นม...สบายมากๆ เลย
bulletอุปกรณ์เสริม ช่วยแม่ให้นมลูก
bulletมุมให้นมแม่
bulletวิธีพาสเจอร์ไรซ์นมแม่
dot
ปัญหาที่พบไม่บ่อย
dot
bulletลิ้นติด (Tongue Tie)
bulletเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่
bulletต้องการถามปัญหาอื่นๆ
bulletทำไมทารกร้องไห้โยเย
dot
หนังสือแนะนำ
dot
bulletขอรับหนังสือนมแม่ฟรี
bulletการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletสร้างชีวิตมหัศจรรย์ด้วยน้ำนมแม่
bulletนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก
bullet เคล็ดลับ...แม่มือใหม่ "นมแม่"
bulletเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletพัฒนาสมองด้วยนมแม่...
bulletGuide to Breastfeeding
dot
แหล่งข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่
dot
bulletคลินิกนมแม่ทั่วประเทศ
bulletนมแม่ แน่ที่สุด
bulletศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
bulletคลีนิครัก
bulletศริริราชออนไลน์
bulletสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
bulletwww.breastfeeding.com
bulletPromom
bulletรักลูก
bulletLa Leche League
bullet4woman
bulletMother & Child Health
bulletWABA
bulletBreastfeedingonline
bulletDr. Sears
bulletbreastfeedingbasics
bulletwebboard
bulletkellymom
bulletDr. Jack Newman
bulletInfact
bulletgotbreastpump
bulletNew Beginnings
bulletโครงการสายใยรัก
bulletศูนย์ข้อมูล สสส
bulletUNICEF
bulletbreastfeedingmadesimple
bullethm4hb
bulletLactation Narration
bulletNormalFed
dot
Brainfeeding
dot
bulletเก็บมาฝาก
bulletIf we don't care, who will?
bullet๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา
bulletสัมภาษณ์ ดร. อาจอง ชุมสาย ฯ
bulletคนดีของพ่อ
bulletเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้รู้
bulletคุยกับประภาส
dot
Sponsor Link
dot
bulletbfdcenter
bulletร้านนมแม่
bulletศูนย์รวมฟิล์มทุกชนิด
bulletV-Kool
bulletSuvarnabhumi Airport Hostel
bulletBussaba Bangkok Boutique Hotel Suvarnabhumi Airport
bulletbeing-mom
bulletมีลูกยาก
bulletSite Map
ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี whisper
unimom allegro
ardo calypso
Ardo Carum
bulletนมแม่


ร้านนมแม่-เครื่องปั๊มนม


เมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)

อันนี้สำหรับกรณีของลูกแรกคลอดนะคะ  เมื่อลูกไม่ยอมดูดนมจากเต้านั้น ส่วนใหญ่เป็นเพราะท่าทางการดูดไม่ถูกต้อง ทำให้ดูดแล้วไม่ได้น้ำนม เมื่อไม่ได้น้ำนม ลูกก็จะหงุดหงิดและปฏิเสธเต้าแม่  ซึ่งทำให้ทำให้แม่เข้าใจผิดว่าไม่มีน้ำนม เวลาที่ลูกดูดไม่ถูกต้อง เค้าจะไม่ได้น้ำนมค่ะ  ทั้งๆ ที่แม่มีนมอยู่เต็มเต้า แต่ลูกดูดไม่ออก  เพราะฉะนั้นต้องแก้ด้วยการดูดให้ถูกวิธี  ไม่ใช่แก้ด้วยการเสริมนมขวดนะคะ  การสอนให้ลูกดูดนมให้ถูกต้องควรจะเป็นสิ่งที่โรงพยาบาล "ต้อง" ฝึกให้แม่ทุกคนทำได้ก่อนจะให้กลับบ้านเลยนะคะ  แต่ในความเป็นจริงแล้วมีน้อยเหลือเกินที่จะให้ความใส่ใจกันในเรื่องนี้  อย่าบ่นเลยดีกว่า  เอาเป็นว่า คุณแม่ท่านใดที่มีปัญหาเรื่องลูกไม่ยอมดูดจากเต้า ก็ลองดูได้นะคะ ว่าลูกเราดูดได้ถูกต้องหรือเปล่า

 

 

 

 

อย่าลืมอ่านบทความเรื่อง "สัมผัสรักระหว่างแม่ลูก" ประกอบด้วยค่ะ

เพิ่มเติมบทความของ Dr.Jack เกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งแม่ต่ายกรุณาสละเวลาแปลให้ค่ะ

 

ทำไมทารกถึงปฏิเสธที่จะดูดนม  

มีสาเหตุหลายอย่างที่ทำให้ทารกไม่ยอมดูดนม ส่วนใหญ่แล้วการที่ทารกไม่ยอมดูดนม มักจะเกิดขึ้นจากสาเหตุมากกว่าหนึ่งอย่าง ยกตัวอย่างเช่น ทารกที่มี พังผืดใต้ลิ้น อาจจะยอมดูดนมแม่แต่โดยดีหากไม่มีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่หากทารกได้รับนมขวดตั้งแต่หลังคลอดใหม่ ๆ นมแม่สำหรับเขาแล้วก็อาจจะกลายสภาพจากอะไรที่ "ดีพอใช้" เป็น "ใช้ไม่ได้เลย" ไปได้

ถ้าหัวนมแม่ใหญ่มาก มีลักษณะบุ๋ม หรือบอด จะทำให้การดูดนมทำได้ยากขึ้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้เลย

ทารกบางคนไม่เต็มใจที่จะดูดนม หรือดูดนมได้ไม่ดีเนื่องจากได้รับผลกระทบจากยาที่ได้รับระหว่างการคลอด ในหลายกรณีมีสาเหตุมาจากยาระงับความเจ็บปวด โดยเฉพาะยาแก้ปวด Meperidine (Demerol) ซึ่งจะตกค้างในกระแสเลือดของทารกเป็นเวลานาน และมีผลต่อการดูดนมของทารกอยู่เป็นเวลาหลายวัน แม้แต่มอร์ฟีนที่ให้ในการบล็อคหลังก็อาจมีผลให้ทารกไม่ยอมดูดนมได้ เพราะยาที่ให้ในการบล็อคหลังจะเข้าไปในกระแสเลือดของแม่ และผ่านไปยังทารกก่อนที่จะคลอดออกมา

การใช้เครื่องมือดูดทารกออกมาในการคลอดก็อาจมีผลให้ทารกดูดนมได้ไม่ดี หรือไม่อยากดูดนมได้ ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องใช้เครื่องดูดนี้ในกรณีที่ทารกคลอดครบกำหนดและแข็งแรงดี

 

 

ความผิดปกติของปากก็อาจเป็นสาเหตุให้ทารกไม่ยอมดูดนม การมีเพดานปากโหว่ ไม่ใช่อาการปากแหว่ง เป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกดูดนมได้อย่างยากลำบาก ซึ่งบางครั้งอาการเพดานปากโหว่ก็สังเกตเห็นได้ยาก เพราะเกิดขึ้นกับส่วนที่อยู่ภายในปากของทารก

พังผืดใต้ลิ้น (เนื้อเยื่อสีขาวที่อยู่ใต้ลิ้น) อาจมีผลให้ทารกดูดนมได้ยาก พังผืดนี้ไม่ถือว่าเป็นความผิดปกติ หมอจำนวนมากจึงไม่เชื่อว่ามันกระทบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทั้งที่จริง ๆ แล้วมันมีผล ทารกเรียนรู้การดูดนมแม่ด้วยการดูดจริง หัวนมที่ทำเทียมขึ้นจึงมีส่วนขัดขวางการดูดนมจากเต้าของทารก ถ้าน้ำนมที่ได้รับจากเต้านมแม่ไหลช้า (ดังที่เกิดขึ้นในช่วงสองสามวันแรกหลังการคลอด) ในขณะที่นมที่ได้จากขวดไหลเร็ว ทารกจำนวนมากจะเรียนรู้ความแตกต่างนี้ได้อย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้ทารกปฏิเสธการดูดนมมาจากความเชื่อผิด ๆ ที่ว่า ทารกในช่วงสองสามวันแรกของชีวิตจะต้องดูดนมแม่ทุก 3 ชั่วโมง หรือกี่ชั่วโมงก็แล้วแต่ตามตารางเวลาที่กำหนด เมื่อทารกไม่ดูดนมตามเวลาที่กำหนด เช่น สามชั่วโมงภายหลังการคลอด จึงมักก่อให้เกิดความวิตกกังวลขึ้น และบ่อยครั้งที่มีการบังคับให้ทารกดูดนมทั้งที่ยังไม่พร้อม จึงไม่น่าแปลกใจที่เมื่อถูกบังคับให้ดูดนมแม่เมื่อยังไม่ต้องการหรือยังไม่พร้อม ทารกบางคนจะเกิดอาการเกลียดเต้านมไปเลย  ถ้าความเชื่อผิด ๆ อันนี้ส่งผลให้เกิดความตื่นตระหนกขึ้นว่า "ทารกต้องได้รับอาหาร" ก็อาจมีความพยายามใช้วิธีอื่นในการป้อนทารก (ที่แย่ที่สุดก็คือการใช้ขวดนม) ส่งผลให้สถานการณ์แย่ลง และเป็นจุดเริ่มต้นของวงจรอุบาทว์ในที่สุด

ไม่มีหลักฐานอะไรบ่งชี้ว่าทารกคลอดครบกำหนดที่แข็งแรงจะต้องได้รับอาหารทุก ๆ สามชั่วโมงในช่วงสองถึงสามวันแรกหลังคลอด และก็ไม่มีข้อพิสูจน์อะไรว่าทารกจะมีระดับน้ำตาลต่ำหากไม่ได้รับอาหารทุกสามชั่วโมง (ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นเรื่องของความวิตกกังวลเกินกว่าเหตุที่แพร่หลายอย่างกว้างขวางในการดูแลเด็กแรกเกิด ทั้ง ๆ มันมีที่มาจากความเป็นจริงเพียงแค่บางส่วน และบางครั้งกลับนำไปสู่ปัญหามากกว่าป้องกันปัญหา ซึ่งรวมไปถึงปัญหาที่ทารกจำนวนมากได้รับนมผสมโดยไม่จำเป็น ถูกแยกจากแม่โดยไม่มีเหตุผลสมควร และไม่ยอมดูดนม)

ทารกควรได้อยู่กับแม่ ได้รับการกอดให้ผิวของทารกแนบสัมผัสกับผิวของแม่โดยตรงตลอด 24 ชั่วโมงในหนึ่งวัน การให้ทารกได้อยู่กับแม่โดยผิวหนังแนบสัมผัสกันโดยตรงทันทีหลังจากคลอดออกมา จะช่วยให้ทารกและแม่มีเวลาในการ "ค้นพบ" กันและกัน และป้องกันปัญหาทารกไม่ยอมดูดนมได้เป็นส่วนใหญ่ การให้ผิวหนังของทารกสัมผัสกับผิวของแม่ยังช่วยให้ร่างกายของทารกได้รับความอบอุ่นเหมือนกับการอยู่ภายใต้โคมไฟให้ความร้อนอีกด้วย

การให้ทารกได้อยู่กับแม่เป็นเวลา 5 นาทีไม่ใช่ทางออกของปัญหา ทารกและแม่ควรได้อยู่ด้วยกันจนกว่าทารกจะดูดนมเอง ไม่มีความกดดันใด ๆ ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา ("เราต้องชั่งน้ำหนักเด็ก" "เราต้องให้วิตะมินเคกับเด็ก" หรือขั้นตอนอื่น ๆ เรื่องพวกนี้สามารถรอได้) ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา 1-2 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น

 

แต่ทารกก็ยังไม่ยอมดูดนม 

เอาล่ะ ทีนี้มาถึงคำถามที่ว่าเราควรจะรอกันนานแค่ไหน คำถามนี้ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนตายตัว ถ้าทารกยังไม่แสดงทีท่าว่าอยากจะดูดนมภายใน 12-24 ชั่วโมงหลังคลอด แน่นอนว่าก็น่าจะมีการลองทำอะไรบางอย่าง ส่วนใหญ่ก็เนื่องมาจากเหตุผลที่ว่านโยบายของโรงพยาบาลมักจะให้แม่กลับบ้านได้ภายใน 24-48 ชั่วโมง

 

แล้วมีอะไรบ้างล่ะที่พอจะทำได้

แม่ควรเริ่มบีบน้ำนมของตัวเอง และนำน้ำนมเหลือง (colostrum) ที่บีบได้ จะเป็นนมอย่างเดียวหรือผสมกับน้ำผสมน้ำตาลก็ได้ ป้อนให้แก่ทารก ถ้าให้ดีควรป้อนโดยใช้เทคนิค Finger Feeding (การป้อนโดยใช้นิ้วร่วมกับอุปกรณ์ที่เรียกว่า Lactation Aid  หมายเหตุ : มีผู้ผลิตอุปกรณ์ Finger Feeding ขายอยู่เหมือนกันค่ะ  แต่สำหรับการใช้ระยะสั้นแบบนี้ ใช้ช้อนป้อนก็น่าจะพอแทนได้) 

ถ้ายังบีบน้ำนมเหลืองไม่ค่อยออก (ส่วนใหญ่การใช้มือบีบจะดีกว่าปั๊มในช่วงสองสามวันแรกหลังคลอด) จะใช้น้ำผสมน้ำตาลอย่างเดียวไปก่อนในช่วงสองสามวันแรกก็ได้ ทารกส่วนใหญ่จะเริ่มดูด และหลายคนจะตื่นตัวมากพอที่จะพยายามไปหาเต้านมแม่

ทันทีที่ทารกเริ่มดูดได้ดี ให้หยุดป้อนโดย Finger Feeding และให้ทารกลองดูดนมจากเต้า Finger Feeding เป็นขั้นตอนที่ช่วยเตรียมทารกให้ดูดนมจากเต้า ไม่ใช่วิธีที่มีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่อหลีกเลี่ยงการให้นมขวด ถึงแม้ว่ามันจะช่วยขจัดความจำเป็นในการให้นมขวดไปด้วยในตัวก็ตาม ดังนั้น จึงเป็นเทคนิคที่ถูกนำมาใช้ก่อนการพยายามให้ทารกดูดนมจากเต้า เพื่อช่วยในการเตรียมทารกให้พร้อมก่อนการดูดนมแม่ ดู handout #8 Finger Feeding (ยังไม่ได้แปล)

ก่อนที่แม่และทารกจะได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน ควรจัดให้แม่และลูกได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญอย่างช้าที่สุดไม่เกินภายในวันที่สี่หรือห้าหลังการคลอด ทารกจำนวนมากที่ไม่สามารถดูดนมได้ในช่วงสองถึงสามวันแรกจะสามารถดูดนมได้อย่างดีเมื่อน้ำนมแม่มามากขึ้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นประมาณวันที่สามหรือสี่หลังคลอด การจัดให้มีการให้ความช่วยเหลือในช่วงระหว่างนี้จะช่วยป้องกันความผิดพลาดในการดูดนมของทารกที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อเวลาผ่านไป

การใช้ Nipple Shield  (แผ่นซิลิโคนป้องกันหัวนมแตก หรือใช้ติดเพื่อช่วยสำหรับผู้ที่มีหัวนมบอด) ก่อนที่น้ำนมแม่จะมามาก (วันที่ 4 ถึง 5) เป็นการกระทำที่ผิด  การเริ่มใช้ Nipple Shield ก่อนที่น้ำนมจะมาเป็นการไม่ให้โอกาสได้ทดลองดูว่ามันจำเป็นหรือไม่   นอกจากนี้ หากใช้โดยไม่เหมาะสม (ดังที่ผู้เขียนพบอยู่เป็นประจำ) สามารถทำให้น้ำนมแห้งไปได้อย่างน่าตกใจ

 

ดิฉันกลับจากโรงพยาบาลมาอยู่บ้านแล้ว ลูกไม่ยอมดูดนม ดิฉันจะทำอย่างไรดี

ปัจจัยสำคัญที่สุดเพียงอย่างเดียวที่ส่งผลให้ทารกยอมดูดนมหรือไม่ก็คือ แม่ต้องมีน้ำนมมากเพียงพอ หากแม่มีน้ำนมมากมายเหลือเฟือ ไม่ว่าจะอย่างไรทารกจะยอมดูดนมเองในช่วงอายุ 4-8 สัปดาห์ สิ่งที่พวกเราที่คลีนิคให้คำปรึกษาพยายามจะทำก็คือ การช่วยให้ทารกดูดนมเร็วขึ้น เพื่อจะได้ไม่ต้องรอเป็นเวลานานขนาดนั้น 

ดังนั้น การพยายามให้แม่มีน้ำนมมากพอมีความสำคัญกว่าการหลีกเลี่ยงขวดนม ขวดนมมีส่วนขัดขวางการดูดนมแม่ และหากสามารถใช้วิธีอื่น (เช่นป้อนจากถ้วย) ก็จะดีกว่า แต่ถ้าคุณรู้สึกว่าคุณไม่มีทางเลือก คุณก็ควรจะทำ

ศึกษาท่าทางการให้นมที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรงที่มีประสบการณ์  เมื่อทารกเริ่มดูดนม ให้บีบเต้านมเพื่อให้น้ำนมพุ่งเข้าปาก. และลองให้ดูดจากเต้าที่เขาชอบหรือจากเต้าที่มีน้ำนมมากกว่าก่อน ไม่ควรเริ่มจากเต้าที่ทารกแสดงอาการต่อต้าน

ถ้าทารกยอมอ้าปากอมหัวนม เขาจะเริ่มดูดและกลืนนม

หากทารกไม่ยอมดูดนม อย่าบังคับ นั่นไม่ใช่วิธีที่ได้ผล (ดูเพิ่มเติม ลูกได้นมพอหรือไม่) ทารกอาจจะหัวเสียหรือไม่ก็แสดงอาการหมดเรี่ยวแรงไปเลย อุ้มเขาออกจากอกและเริ่มต้นใหม่ การอุ้มทารกเข้า-ออก เข้า-ออกจากอกหลาย ๆ ครั้งจะดีกว่าการบังคับให้เขาอยู่กับอกเมื่อเขาไม่ยอมดูดนม หากทารกยอมเข้าหาเต้านมแม่และดูดเพียงคำหรือสองคำ นั่นก็คือเขาไม่ยอมดูดนม

ถ้าทารกปฏิเสธเต้านม อย่ายืนกรานให้ดูดให้ได้จนเขาโกรธ ลองใช้เทคนิค Finger Feeding เป็นเวลาตั้งแต่สองสามวินาทีจนถึงหนึ่งหรือสองนาทีแล้วเริ่มต้นใหม่ โดยอาจลองเปลี่ยนไปให้จากเต้าอีกข้างดู เราใช้ Finger Feeding เพื่อเตรียมทารกให้ดูดนมจากเต้า ไม่ใช่เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ขวด ถ้าทารกยังคงไม่ยอมดูดนม ท้ายที่สุดแล้วให้จบมื้อนั้นโดยการป้อนด้วยวิธีอะไรก็ได้ที่ง่ายที่สุดสำหรับคุณ

การใช้ Lactation Aid ในขณะที่ทารกดูดนมจากเต้าอาจจะช่วยได้ แต่มักจะจำเป็นต้องใช้มือเพิ่มมาอีกข้างสำหรับอุปกรณ์   หลังจากคลอดประมาณสองสัปดาห์ สิ่งที่คุณทำในช่วงที่ผ่านมามักจะทำให้ทารกรับรู้ได้แล้วว่า "เรื่องแบบนี้มีวิธีทำได้หลายวิธี ถ้าคุณเคยป้อนโดยวิธี Finger Feeding เพียงอย่างเดียว ในบางกรณีการเปลี่ยนไปป้อนด้วยแก้วหรือขวดอาจจะได้ผล หรือบ่อยครั้งที่การใช้ Nipple Shield จะใช้ได้ผล ถ้าคุณเคยป้อนด้วยขวดเพียงอย่างเดียว การเปลี่ยนไปป้อนโดย Finger Feeding ก็อาจจะได้ผล (การพยายามป้อนนมจากเต้าก็ใช้ได้หากการใช้ Finger Feeding ช้าเกินไป และจบมื้อนั้นโดยการป้อนด้วยแก้วหรือขวด)  

 

จะรักษาและเพิ่มปริมาณน้ำนมได้อย่างไร  

บีบนมออกให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างน้อยที่สุดวันละ 8 ครั้ง ใช้ปั๊มคุณภาพดีปั๊มทีเดียวพร้อมกันทั้งสองข้าง การบีบเต้านมระหว่างปั๊มจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปั๊มและช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนม (อาจต้องใช้มือเพิ่มอีกข้างหนึ่ง แต่แม่อาจตั้งปั๊มให้ไม่ต้องใช้มือถืออุปกรณ์ระหว่างการปั๊มเพื่อจะได้ใช้มือที่ว่างอยู่บีบเต้านมได้). ถ้าทารกไม่ยอมดูดนมภายในวันที่ 4 หรือ 5 ให้รับประทาน Fenugreek และ Blessed Thistle เพื่อเพิ่มน้ำนม การใช้ยา Domperidone ก็อาจช่วยได้  ถ้าจำเป็นต้องใช้ Nipple Shield  อย่าเพิ่งเริ่มใช้อย่างน้อยก็จนกว่าจะมีปริมาณน้ำนมมากพอแล้ว (อย่างน้อยที่สุดก็ 2 สัปดาห์หลังคลอด) และควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญก่อน

อย่าเพิ่งท้อ ถึงแม้ว่าจะมีน้ำนมไม่มากพอทั้งหมดเท่าที่ทารกต้องการ ทารกส่วนมากก็ยังยอมดูดนมแม่อยู่ดี ให้ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ อย่าพยายามแก้ไขด้วยตัวเองคนเดียว

 -------------------------------------------------------------------------------- 

 

แปลจาก Handout #26. When The Baby Refuses to Latch On. January 2005 Written by Jack Newman, MD, FRCPC. © 2005 โดย แม่ต่าย

 

บทความนี้ แม่ต่าย อาสาแปลให้โดยมิได้ร้องขอ หากคุณผู้อ่านทุกท่านอ่านบทความนี้แล้วรู้สึกว่าได้ประโยชน์ ขอความกรุณาส่งคำขอบคุณสั้นๆ ให้ผู้แปลบ้าง เราเชื่อว่าน่าจะเป็นการตอบแทนซึ่งทำให้ผู้รับอิ่มใจไม่น้อยค่ะ

 

 




ชื่อ:
อีเมล์:
*คำขอบคุณ: