Workshop เพิ่มน้ำนม (new) ก่อนที่จะมาแก้ปัญหาเรื่องนมไม่พอนั้น ขอให้กลับไปอ่านเรื่อง “นมแม่ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ” กันให้เข้าใจก่อนนะคะ แล้วค่อยมาเริ่มต้นแก้ปัญหากัน อ่านจบแล้วก็เริ่มกันเลยค่ะ สำหรับคนที่รู้สึกว่าตัวเองมีปัญหานมน้อย หรือไม่พอนั้น ขอให้แยกประเภทตัวเองก่อนนะคะ
แบบนี้ปัญหาส่วนใหญ่จะอยู่ที่ความไม่มั่นใจของแม่มากกว่า กังวลว่านมจะไม่พอ กลัวว่าลูกจะไม่อิ่ม หรือ อาจจะเกิดจากแรงกดดันของคนรอบข้าง ทำให้ต้องเพิ่มนมผสมทั้งๆ ที่ไม่จำเป็นเลย (อ่านเพิ่มเติม : ทำไมถึงเข้าใจว่านมไม่พอ)
วิธีแก้ก็คือ ขอให้งดนมผสมแบบหักดิบ ไปเลยนะคะ แบบว่าตื่นเช้าขึ้นมาก็ตั้งใจเลยว่าวันนี้ทั้งวัน เราจะไม่ให้นมผสมลูก ลูกร้องเมื่อไหร่ให้ดูดเต้าอย่างเดียว ก่อนจะเริ่มดีเดย์ ก็อาจจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมหน่อย พยายามพักผ่อนให้มากๆ ลูกหลับ แม่ก็หลับด้วย ทานอาหารให้เต็มที่ ทานน้ำให้เพียงพอ (เพียงพอ ไม่ได้หมายความว่ามากที่สุดเท่าที่จะทำได้นะคะ เคยเห็นมีคนแนะนำว่าต้องวันละ 3-5 ลิตร ไม่ต้องขนาดนั้นค่ะ มากไปก็กลายเป็นปัสสาวะแทน เพียงพอก็คือ ไม่รู้สึกกระหายน้ำ และปัสสาวะเป็นสีเหลืองค่อนข้างใส ไม่ขุ่นเข้ม)
สองสามวันแรกที่งดให้นมผสมลูก อาจจะรู้สึกว่าลูกกินถี่ขึ้นบ้าง ขอให้พยายามอดทน ให้ดูดไปเรื่อยๆ ภายในหนึ่งสัปดาห์ ทุกอย่างจะเข้าที่ ร่างกายจะปรับการผลิตน้ำนมมากขึ้นได้เพียงพอตามความต้องการของลูกเอง เมื่องดนมผสมได้เด็ดขาดแล้ว ก็เริ่มกระบวนการปั๊มเพื่อเก็บเป็นสต็อคเผื่อไว้ไปทำงานได้ อ่านวิธีทำสต็อคได้ ที่นี่
กรณีนี้ต้องย้ำว่า ลูกต้องไม่มีปัญหาในการดูดนมแม่จริงๆ นะคะ หมายความว่า ลูกชอบดูด ท่าทางมีความสุขเป็นส่วนใหญ่เวลาที่ดูดนมแม่ ไม่ร้องโมโหเวลาดูดนมแม่ ถ้าเป็นลักษณะฝืนให้ลูกดูด เพราะมีคนแนะนำว่าต้องพยายามให้ดูดก่อน แล้วตามด้วยนมผสม แต่ลูกไม่ค่อยจะชอบดูดเท่าไหร่ ให้ข้ามไปดูข้อถัดไปเลยนะคะ
วิธีแก้ปัญหาลักษณะนี้ก็คือ ให้ตรวจสอบปริมาณนมผสมที่เสริมให้ลูกในแต่ละวันให้ได้ตัวเลขที่ถูกต้องก่อน ต้องจดบันทึกจริงๆ เลยว่าครั้งที่ 1 กินกี่ออนซ์ ครั้งที่ 2-3-4 กี่ออนซ์ รวมแล้วในรอบ 24 ชั่วโมงได้รับนมผสมไปทั้งหมดกี่ออนซ์ ข้อควรระวังคือ ต้องบันทึกเฉพาะปริมาณที่ลูกกินจริงๆ ไม่ใช่ปริมาณที่ชง เพราะบางครั้งเราชงเผื่อ แล้วลูกกินไม่หมด อย่างเช่นชง 3 ออนซ์ ลูกกินไป 2.5 ออนซ์ เหลือ 0.5 ออนซ์ แบบนี้จดแค่ 2.5 ออนซ์เท่านั้นค่ะ (ถ้าเป็นไปได้อาจจะใช้วัดเป็น cc หรือ ml แทนก็ได้ เพราะหน่วยจะย่อยกว่า)
เมื่อได้ตัวเลขนมผสมที่แท้จริงแล้ว ให้เริ่มกำหนดเป้าหมายในการเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่ ด้วยการค่อยๆ ลดปริมาณนมผสมในแต่ละวันลง ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันลูกกินนมผสมเสริมอยู่ 10 ออนซ์ต่อวัน ก็ให้เริ่มลดลง 1 ออนซ์ทุกสองวัน โดยการกำหนดดังนี้
ลดลงไปเรื่อยๆ จนไม่ต้องใช้นมผสมอีกต่อไป ถ้าสองวันรู้สึกว่ามันทรมานเกินไป ก็อาจจะทุกสามวันก็ได้ ถ้าเรากำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน และปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ร่างกายจะค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำนมได้ตามความต้องการในที่สุด โปรดระลึกไว้ว่า ที่ผ่านมานั้น ร่างกายเราไม่สามารถผลิตน้ำนมได้เพียงพอ ก็เพราะเราเริ่มต้นไม่ถูกต้อง และแทรกแซงกระบวนการผลิตน้ำนมด้วยนมผสม ทุกหนึ่งออนซ์ที่เราเพิ่มนมผสมให้ลูก ก็หมายถึงร่างกายได้รับสัญญาณว่ามีความต้องการลดลง ทำให้ผลิตน้ำนมน้อยลงจนไม่พอ เมื่อเราเริ่มลดนมผสม ลูกก็จะต้องพยายามดูดจากแม่ให้ได้มากขึ้น เมื่อน้ำนมถูกดูดออกไปมากขึ้น ร่างกายก็จะผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นเอง
ก่อนหน้านี้จะแนะนำให้พยายามให้ลูกดูดนมแม่บ่อยๆ เพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนม แต่ในทางปฏิบัติจริงแล้ว พบว่าส่วนใหญ่มักไม่ค่อยได้ผลในการที่จะเพิ่มน้ำนมด้วยการพยายามให้ลูกดูดบ่อยๆ ในกรณีนี้ เนื่องจากผู้ที่มีปัญหาลักษณะนี้ มักจะถูกรุมเร้าด้วยปัญหาอื่นๆ อีกหลายทาง ทุกครั้งที่พยายามให้ลูกดูด ลูกก็จะร้องงอแง โมโห เวลาลูกร้อง แม่ก็เครียด ร้อยละร้อยของกรณีแบบนี้ มักจะมีคนรอบข้างช่วยซ้ำเติมด้วยแรงกดดันให้แม่รู้สึกแย่หนักเข้าไปอีก
พี่ป้าน้าอา ปู่ย่าตายาย มักไม่เข้าใจว่า ทำไมถึงต้องพยายามให้กินนมแม่ ทั้งๆ ที่แม่ก็ (ดูเหมือน) ไม่มีน้ำนม คือ ไม่รู้ว่าที่เหมือนนมไม่พอนั้น เป็นเพราะปฏิบัติตัวไม่ถูก และไม่เข้าใจว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นเป็นอย่างไร พอหลานร้องก็สั่งให้ชงนมทันที หลายๆ บ้าน ทะเลาะกันใหญ่โต คนที่รับบทหนัก คือ แม่ค่ะ ทั้งเครียด ทั้งเสียใจ น้อยใจ รู้สึกผิด โทษตัวเอง ท้อถอย อยากร้องไห้ทุกครั้งที่ป้อนนมลูกเลยทีเดียว พอแนะนำให้พยายามให้ลูกดูด ก็มักจะยอมแพ้กลับไปหานมผสมเหมือนเดิมทุกที
เอาใหม่นะคะ สำหรับกรณีแบบนี้ ถ้าลูกไม่ยอมดูด ก็หยุดไปเล
ยค่ะ ไม่ต้องสนใจ ปล่อยให้เขาชงนมผสมเลี้ยงกันไปก่อน เปลี่ยนแผนเลยนะคะ กลับมาหาตัวช่วยด้วยการใช้เครื่องปั๊มนมกระตุ้นแทนค่ะ
การใช้เครื่องปั๊มนมกระตุ้นนั้น มีเงื่อนไขสำคัญคือ เครื่องปั๊มนมที่จะใช้นั้น เป็นปั๊มไฟฟ้าแบบปั๊มคู่ ได้มาตรฐานเครื่องมือแพทย์
การกระตุ้นการสร้างน้ำนมนั้น ไม่ว่าจะด้วยวิธีให้ลูกดูดบ่อยๆ หรือใช้เครื่องปั๊มนั้น ขอให้เข้าใจว่า เป็นไปไม่ได้ที่น้ำนมจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างที่ใจต้องการภายในวันสองวัน ยิ่งน้ำนมหายไปมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งใช้เวลานานเท่านั้นในการกระตุ้นเพื่อให้มันกลับมาใหม่ กว่าจะมีน้ำนมกลับมาเต็มที่ใหม่ อาจใช้เวลาเป็นเดือนก็ได้
ดังนั้นในการปั๊มกระตุ้นวันแรกๆ นั้น อาจจะมีน้ำนมออกน้อยมาก ไม่กี่หยด หรืออาจจะไม่มีน้ำนมออกมาเลยในบางครั้ง ก็จำเป็นต้องปั๊มต่อไป ที่เราเรียกว่าปั๊มลมนั่นเอง เวลาที่เราปั๊มลมแบบนี้ แนะนำให้ดูทีวีเพลินๆ อย่าไปนั่งเฝ้าว่ามันจะออกมั้ย ทำไมไม่ออกนะ เพราะจะทำให้เครียดมากขึ้น ควรจะผ่อนคลายให้รู้สึกสบายใจ คิดเสียว่าไม่เป็นไร ได้แค่ไหนก็แค่นั้น ดีกว่าไม่ได้พยายามทำอะไรเลย เรามีหน้าที่ปั๊มตามตารางก็ทำไป
การปั๊มให้ได้ 8 ครั้ง (อาจจะมากถึง 12 ครั้งก็ได้) ต่อวันนั้น จะทุก 3 ชม. ก็ได้ หรือในช่วงกลางคืนที่เรานอน อาจจะห่างกัน 4 ชม. สองครั้ง แล้วก็มีกลางวันสองครั้งที่ห่างกัน 2 ชม. ก็ได้ ขอให้ยึดที่จำนวนครั้งต่อวันเป็นหลัก คือต้องปั๊มให้ครบ 8 ครั้งในรอบ 24 ชม.นั่นเอง เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ถ้าเราขาดวินัย เช่น วันนี้ปั๊มได้ 8 ครั้ง พรุ่งนี้ 5 ครั้ง อีกวันไม่อยากปั๊มแล้ว แล้วก็กลับมาปั๊มใหม่ แบบนี้จะไม่มีทางสำเร็จได้เลย ขอย้ำว่า ต้อง 8 ครั้งอย่างน้อย มากกว่าไม่เป็นไร แต่น้อยกว่าไม่ได้
การปั๊มในแต่ละครั้ง จะต้องจดบันทึกไว้ทุกครั้งว่า ปั๊มตอนกี่โมง ได้ปริมาณเท่าไหร่ รวมทั้งวันได้เท่าไหร่ จดไว้ทุกวันเพื่อเปรียบเทียบปริมาณและดูแนวโน้มว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นหรือไม่ (ดาวน์โหลดตารางบันทึก pumping table.xls)
น้ำนมที่ปั๊มได้นั้น นำไปใส่ขวดให้ลูกกินได้เลย ถ้ามีน้อยก็รวมไปกับนมผสมได้ ถ้ามีมากพอสำหรับหนึ่งมื้อก็ให้เต็มมื้อไป ไม่ต้องเก็บไว้เลยนะคะ เก็บไว้เฉพาะตัวเลขที่ปั๊มได้ในแต่ละวันก็พอ
โดยปกติแล้วถ้าทำได้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ภายในสิบวัน ปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้จากวันแรกเปรียบเทียบกับวันที่สิบ จะต้องเห็นว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้น ภายในหนึ่งเดือนน่าจะตัดสินใจได้แล้วว่า เรามาถูกทางหรือไม่
วิธีการปั๊มน้ำนมเพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนม โดยใช้เครื่องปั๊มนมอย่างเดียวโดยไม่ให้ลูกดูดนั้น ได้ความคิดมาจาก เรื่องของคุณนุ้ย
ค่ะ เวลานั้นลูกคุณนุ้ยใกล้สามเดือนแล้ว นมไม่พอให้ลูก ต้องใช้นมผสมช่วย ตอนนั้นก็พยายามแนะให้คุณนุ้ยให้ลูกดูดด้วย แต่คุณนุ้ยก็ยืนยันว่าไม่เอา จะปั๊มอย่างเดียว ภายในหนึ่งเดือน คุณนุ้ยก็ทำได้สำเร็จ คือ ปั๊มได้ปริมาณมากพอ โดยที่ไม่ต้องใช้นมผสมช่วย และยังเหลือไปแบ่งให้คนอื่นได้อีก ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ก็เคยไม่พอมาก่อน
ตอนที่รู้ว่าคุณนุ้ยทำได้ก็แปลกใจ เพราะไม่คิดว่าจะขยันปั๊มได้ขนาดนั้น แต่ภายหลังก็ปิ๊งว่า ที่คุณนุ้ยน่าจะทำได้ง่าย เพราะไม่ต้องเครียดกับภาวะลูกร้อง ไม่ยอมดูด ไม่ต้องฝืน ไม่ต้องบังคับกัน ไม่ต้องรับแรงกดดันใดๆจากคนรอบข้าง ไม่ต้องเครียด ไม่ต้องกังวล แค่ตั้งหน้าตั้งตาปั๊มตามตาราง เมื่อไม่เครียด ใจก็สบาย ปั๊มกระตุ้นไปเรื่อยๆ นมก็มาเอง
เมื่อเราสามารถปั๊มนมได้ปริมาณเพียงพอสำหรับลูกโดยไม่ต้องใช้นมผสมแล้ว เราค่อยมาพิจารณาว่า เราจะหัดให้ลูกดูดจากเต้าไหม หรือจะปั๊มต่อไปโดยไม่ต้องให้ลูกดูดดี อันนี้ก็แล้วแต่ความพอใจของแต่ละครอบครัว แต่โดยส่วนตัวแล้วก็ยังยืนยันว่า ประสบการณ์ในการให้ลูกดูดนมจากอกนั้น เป็นเรื่องที่แม่ทุกคนไม่ควรพลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลูกพ้นขวบไปแล้ว แววตาอ้อนวอน รอยยิ้มทั้งปากและตาที่ส่งให้แม่เวลาที่ได้ดูดนมอย่างมีความสุขนั้น เป็นสิ่งที่พิเศษสุดสำหรับแม่ทุกคนจริงๆ อาจจะเป็นตรงนี้ก็ได้ ที่ทำให้การหย่านมเป็นเรื่องยากอย่างที่มักได้ยินคำขู่กัน
แต่อยากจะบอกว่า เมื่อเรามีน้ำนมแล้วนั้น การฝึกให้ลูกหันกลับมาดูดนมแม่ใหม่นั้น ไม่ใช่เรื่องยากแล้วค่ะ เพราะธรรมชาติเค้ามักจะมีความสุขเวลาดูดอยู่แล้ว หลังจากที่เขาดูดนมแม่จากขวดไปแล้ว เขาจะอิ่มและไม่งอแงแล้ว ก็ลองให้ดูดจากเต้าตาม หัดให้คุ้นไปเรื่อยๆ อ้อมกอดและสัมผัสจะช่วยให้เขาคุ้นเคยได้ไม่ยาก ลองดูค่ะ
หลายคนอาจจะยังสงสัยว่า จะเป็นไปได้หรือ ที่เราจะเพิ่มน้ำนมด้วยการใช้เครื่องปั๊มกระตุ้น ขอบอกว่าวิธีการนี้เป็นวิธีการที่ใช้กันแพร่หลายมากในต่างประเทศ คนที่ไม่ได้คลอดลูกเอง แต่รับเด็กเป็นลูกบุญธรรมก็ใช้วิธีนี้ในการสร้างน้ำนมเพื่อที่จะได้สามารถเลี้ยงลูกบุญธรรมด้วยนมตัวเองได้ แต่ในบ้านเรานั้น ยังมีผู้ไม่รู้อีกมาก ทำให้แนะนำกันผิดๆ อีกทั้งประสบการณ์ของคนที่ให้คำแนะนำบางครั้งก็มีจำกัด คือ ไม่เคยใช้เครื่องดีๆ ใช้แต่เครื่องคุณภาพต่ำ ปั๊มน้ำนมไม่ได้ ก็เลยเหมารวมไปว่าใช้เครื่องปั๊มนมนั้นสู้ให้ลูกดูดไม่ได้ สู้บีบด้วยมือไม่ได้
ทารกเป็นเครื่องกระตุ้นการสร้างน้ำนมที่ดีที่สุดก็ต่อเมื่อทารกนั้นดูดนมได้อย่างถูกวิธี ดูดแล้วได้น้ำนม แต่สำหรับทารกที่ดูดนมไม่เป็น โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับขวดตั้งแต่แรกคลอดนั้น จะช่วยกระตุ้นได้น้อย เพราะจะดูดแล้วไม่ได้น้ำนม เมื่อไม่มีน้ำนมออกมา ร่างกายก็ไม่ได้รับการกระตุ้นนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม เครื่องปั๊มนมคุณภาพดีที่ว่านั้น ราคาเริ่มตั้งแต่หลายพันไปจนหลายหมื่น ดังนั้น สำหรับผู้ที่มีความกังวลในเรื่องของค่าใช้จ่าย อาจจะพิจารณาใช้วิธีการเช่าแทน ค่าใช้จ่ายสำหรับการเช่าเครื่องปั๊มนมประเภทนี้ รวมค่าเช่าและอุปกรณ์จะอยู่ที่ประมาณ 2-3 พันบาทต่อเดือน ก็พอๆ กับค่านมผสมหนึ่งเดือนนั่นเอง เวลาหนึ่งเดือนนั้นเพียงพอแน่นอนสำหรับเป็นข้อมูลในการติดใจว่า เราจะเดินหน้าไปในทางใด
สรุปเพื่อไม่ให้หลงประเด็นในการแก้ปัญหานะคะ คือ เลือกให้ได้ว่าเราอยู่ในกลุ่มไหน สำหรับกลุ่มข้อ 1 ข้อ 2 ที่ลูกไม่มีปัญหาในการดูดนมแม่นั้น ให้ยึดที่ลูกเป็นเครื่องกระตุ้นการสร้างน้ำนมก่อนอื่น ไม่ต้องวุ่นวายกับการใช้เครื่องปั๊ม จนกว่านมจะมาเต็มที่ เลิกนมผสมได้เด็ดขาด แล้วค่อยไปเริ่มปั๊มเพื่อสร้างสต็อค
ส่วนข้อ 3 ที่ลูกไม่ดูดนั้น ก็ยังไม่ต้องพยายามฝืนให้ดูด (เพื่อลดความเครียดของแม่) ให้ใช้เครื่องปั๊มกระตุ้นให้เต็มที่ จนนมมีปริมาณมากเพียงพอจนแม่มั่นใจ แล้วค่อยกลับไปฝึกให้ลูกดูดจากเต้าแทน
ในช่วงระหว่างพยายามที่จะเพิ่มน้ำนมนี้ อาจจะกิน ยาประสระน้ำนม หรือ Motilium
เพื่อเป็นตัวช่วยด้วยก็ได้ค่ะ (อย่าลืมคลิกอ่านข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อประกอบการตัดสินใจด้วยนะคะ)
ปิดท้ายสำหรับ workshop นี้ก็คือ ขอให้ทุกท่านตั้งใจอย่างแน่วแน่ และซื่อสัตย์กับตนเอง อย่าหลอกตนเอง ถ้าทำเต็มที่แล้วไม่สำเร็จ อย่างน้อย เราก็ไม่ต้องรู้สึกผิดกับตัวเองอีกต่อไปว่าไม่ได้พยายามเต็มที่ หลายคนที่โทรมาปรึกษา มักจะตอบว่า เข้าใจหมดแล้ว อ่านหมดแล้ว ทำหมดแล้วทุกอย่างที่บอกในเว็บ แต่ก็ไม่สำเร็จ พอคุยไปคุยมาก็จะจับได้ว่า มักไม่ได้ทำจริง อย่างที่พูด ได้แต่บ่น ได้แต่รอปาฏิหาริย์ ชอบแบบง่ายๆ เร็วๆ แบบนี้ก็ไม่รู้จะช่วยยังไงค่ะ อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหานมไม่พอได้ ที่นี่ ถามกันมาเยอะว่า ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี วันนี้มีคำตอบจริงๆ ไม่เฟค เพราะลองจริง ใช้จริง คุณแม่เคยใช้ Pureen กับ Youha มาก่อน เจ็บ และปั๊มได้น้อย วันนี้ได้มาลอง Unimom กับ Rumble Tuff Breeze รู้เลย ชัดเลยว่ารุ่นไหนเหมาะ ต้องการทดลองใช้ฟรี หรือ สอบถามข้อมูล คลิก https://m.me/nommaeshop website: https://www.nommaecenter.com ปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลือกเครื่องปั๊มนมกับโค้ชนมแม่มืออาชีพ คลิก https://fb.me/coachnommae Line@: http://bit.ly/atNMC |