ReadyPlanet.com
ardo calypso
dot
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : ข้อควรปฎิบัติ
dot
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 1
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 2
bulletวิธีเลือกกุมารแพทย์ให้ลูก
bulletก่อนคลอด
bulletสิ่งที่ต้องทำเมื่ออยู่ ร.พ.
bulletหลังคลอด
bulletท่าในการให้นม
bulletBreast Crawl
bulletความคาดหวังของลูกน้อย
bulletบันทึกการให้นมลูก
bulletวิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง
bulletสัมผัสรักระหว่างแม่ลูก
bulletโรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
bulletแบบสอบถาม
dot
ปัญหาเรื่อง นมแม่
dot
bulletวิธีแก้ปัญหานมไม่พอ
bullet"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ
bulletนมพอหรือไม่
bulletเมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)
bulletอาหารเพิ่มน้ำนม
bulletวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม
bulletWorkshop เพิ่มน้ำนม (new)
bulletยาประสระน้ำนม
bulletDomperidone (Motilium)
bulletยาเพิ่มน้ำนม Motilium
bulletคำเตือนสำหรับการใช้ยา Domperidone
bulletน้ำหนักตัวเพิ่มช้า
bulletน้ำหนักตัวน้อย
bulletเจ็บหน้าอก หัวนมแตก
bulletการบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม
bulletลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า
bulletตัวเหลือง
bulletสารพันปัญหา
บริจาคนมแม่
dot
เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
dot
bullet20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน
bulletมาทำ stock น้ำนม กันเถอะ
bulletวิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
bulletจะให้ลูกกินอะไรเมื่อแม่ไปทำงาน
bulletวิธีเก็บรักษานมแม่
bulletต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?
bulletโปรแกรมคำนวณนมแม่
bulletยาคุมกำเนิด
dot
คุณแม่นักปั๊ม
dot
bulletการปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม
bulletปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
bulletข้อคิดก่อนซื้อ ที่ปั๊มนม
bulletเพิ่มน้ำนมภายใน 14 วันแรก
bulletเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
bulletซื้อเครื่องปั๊มที่ไหนดี
bulletปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี
bulletเรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
bulletถุงเก็บน้ำนมแม่
dot
กลเม็ดเคล็ดลับ
dot
bulletวิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new)
bulletบีบด้วยมือ vs ปั๊มด้วยเครื่อง
bullet10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี
bulletนอนให้นม...สบายมากๆ เลย
bulletอุปกรณ์เสริม ช่วยแม่ให้นมลูก
bulletมุมให้นมแม่
bulletวิธีพาสเจอร์ไรซ์นมแม่
dot
ปัญหาที่พบไม่บ่อย
dot
bulletลิ้นติด (Tongue Tie)
bulletเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่
bulletต้องการถามปัญหาอื่นๆ
bulletทำไมทารกร้องไห้โยเย
dot
หนังสือแนะนำ
dot
bulletขอรับหนังสือนมแม่ฟรี
bulletการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletสร้างชีวิตมหัศจรรย์ด้วยน้ำนมแม่
bulletนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก
bullet เคล็ดลับ...แม่มือใหม่ "นมแม่"
bulletเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletพัฒนาสมองด้วยนมแม่...
bulletGuide to Breastfeeding
dot
แหล่งข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่
dot
bulletคลินิกนมแม่ทั่วประเทศ
bulletนมแม่ แน่ที่สุด
bulletศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
bulletคลีนิครัก
bulletศริริราชออนไลน์
bulletสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
bulletwww.breastfeeding.com
bulletPromom
bulletรักลูก
bulletLa Leche League
bullet4woman
bulletMother & Child Health
bulletWABA
bulletBreastfeedingonline
bulletDr. Sears
bulletbreastfeedingbasics
bulletwebboard
bulletkellymom
bulletDr. Jack Newman
bulletInfact
bulletgotbreastpump
bulletNew Beginnings
bulletโครงการสายใยรัก
bulletศูนย์ข้อมูล สสส
bulletUNICEF
bulletbreastfeedingmadesimple
bullethm4hb
bulletLactation Narration
bulletNormalFed
dot
Brainfeeding
dot
bulletเก็บมาฝาก
bulletIf we don't care, who will?
bullet๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา
bulletสัมภาษณ์ ดร. อาจอง ชุมสาย ฯ
bulletคนดีของพ่อ
bulletเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้รู้
bulletคุยกับประภาส
dot
Sponsor Link
dot
bulletbfdcenter
bulletร้านนมแม่
bulletศูนย์รวมฟิล์มทุกชนิด
bulletV-Kool
bulletSuvarnabhumi Airport Hostel
bulletBussaba Bangkok Boutique Hotel Suvarnabhumi Airport
bulletbeing-mom
bulletมีลูกยาก
bulletSite Map
ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี whisper
unimom allegro
ardo calypso
Ardo Carum
bulletนมแม่


ร้านนมแม่-เครื่องปั๊มนม


ข้อขัดแย้งเรื่องการใช้ Domperidone สำหรับแม่ให้นม

 

บทความโดย พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ https://www.doctorbreastfeeding.com

คุณแม่แฟนเพจหลายท่านแชร์โพสต์จากเพจ RDU มาถามป้าหมอ โดยมีความกังวลว่า ยาดอมเพอริโดนที่คุณแม่หลายท่านกินทุกวัน บางท่านกินมานานหลายเดือนแล้ว เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำนมแม่ หากใช้ขนาดยาตามที่ Dr.Jack Newman ผู้เชี่ยวชาญนมแม่แห่งแคนาดา แนะนำ คือ 2 เม็ดวันละ 4 ครั้ง หรือ 3 เม็ดวันละ 3 ครั้ง ซึ่งเป็นขนาดยาที่งานวิจัยพิสูจน์แล้วว่าได้ผลในการเพิ่มปริมาณน้ำนม ก็จะขัดกับคำแนะนำที่ EMA เตือน คือ

  1. ไม่ให้ใช้สำหรับนอกข้อบ่งชี้รักษาการทำงานผิดปกติของกระเพาะอาหารและลำไส้ และ
  2. ไม่ให้ใช้เกิน 1 เม็ดวันละ 3 ครั้ง และไม่นานเกิน 7 วัน

ในขณะที่ยังไม่มีข้อสรุปจากผู้เกี่ยวข้องกับการพิจารณาเรื่องกฏเกณฑ์การใช้ยาในประเทศไทย คุณเบญได้กรุณาเรียนถาม Dr.Jack Newman ไปว่า เพราะเหตุใด ทาง EMA จึงออกคำแนะนำมาเช่นนี้ เป็นเพราะมีเคสเสียชีวิตจากการใช้ยาตัวนี้เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมจริงหรือ Dr.Jack ได้กรุณาตอบมาว่า ไม่มีเคสดังกล่าวเกิดขึ้นแต่อย่างใด งานวิจัยที่ EMA นำมาอ้างอิงเพื่อออกคำแนะนำดังกล่าว ก็ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับกลุ่มคุณแม่ที่กินยาตัวนี้เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมได้เลย เพราะล้วนแต่เป็นคุณแม่ที่อายุน้อย ไม่มีโรคหัวใจ เคสที่เสียชีวิตล้วนแต่เป็นคนแก่ที่มีโรคประจำตัวทั้งนั้น เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

ส่วนในกลุ่มอายุน้อย พบว่าผู้หญิงมีปัญหาน้อยกว่าผู้ชายด้วยซ้ำไป สรุปว่า ไม่มีเหตุผลที่สมควร ที่ EMA จะแบนการใช้ยาดอมเพอริโดนในผู้ป่วยทั่วไปอายุน้อยกว่า 60 ปีที่ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มีการใช้ยาอื่นที่มีผลกับการดูดซึมของยาดอมเพอริโดน รวมถึงการที่เตือนเรื่องโด๊สยาขนาดสูง ก็ไม่มีหลักฐานที่แข็งแรงพอ เพราะจำนวนเคสน้อยมาก (ในจำนวนที่เสียชีวิต 1304 คน มีประวัติกำลังกินยาตัวนี้อยู่เพียง 10 คน โดยมี 4 คนที่กินโด๊สสูงกว่า 30 มก./วัน) จึงเอามาสรุปไม่ได้ค่ะว่า การกินยาขนาดสูงมีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้สูงอายุเหล่านี้ ขอขอบคุณข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากคุณเบญ BenBen LoveKing

ตอน USA ประกาศ เรื่อง FDA ไม่อนุญาตให้มีการขายยาดอมเพอริโดนใน USA จนทำให้วงการนมแม่ระส่ำระสายไปบ้าง เพราะคนจะรู้สึกว่า ยาดอมเป็นยาอันตรายจริงไหม ทำไม USA ถึงประกาศแบบนั้น ตอนนั้นป้าหมอเฉยๆนะคะ เพราะเค้าเอาเคสคนแก่ ที่มีโรคหัวใจมาฉีดยาดอมเพอริโดนเป็นข้ออ้าง ป้าหมออ่านเหตุผลที่ทางแคนาดายังอนุญาตให้ใช้ยาตัวนี้ได้ โดยทางฝ่าย Dr.Jack มีเหตุผลที่ดีมากกว่าเยอะค่ะ เมื่อเทียบ risk /benefit (ความเสี่ยง/ประโยชน์ที่ได้รับ) เพราะแม่ให้นมไม่มีใครอายุเกิน 60 ปี และส่วนใหญ่ก็ไม่มีโรคหัวใจ หรือความเสี่ยงอะไรที่ทำให้สมดุลเกลือแร่ผิดปกติ พูดถึงสมดุลเกลือแร่ผิดปกติ ไม่ควรใช้ยา แต่ก็แปลกนะคะ เวลาเป็นโรคทางลำไส้ เช่น อาหารเป็นพิษ ก็ต้องมีภาวะเสียสมดุลเกลือแร่อยู่แล้ว แต่ก็ไม่มีปัญหาในการใช้ยาแต่อย่างใด หรือ ถ้าอ้างว่าเพราะใช้ยาช่วงสั้นๆ ก็เลยไม่เป็นอะไร

และเห็นด้วยกับ Dr.Jack และผู้เชี่ยวชาญเรื่องนมแม่ค่ะ ว่า Risk (ความเสี่ยง) ของแม่ลูกคู่หนึ่งที่ไม่ได้ให้นมลูกนั้น มากมายมหาศาลเกินกว่ากลุ่มคนที่ไม่มีความรู้เรื่องนี้จะคาดถึง 

แต่ถ้ามีเคสดังกล่าวเกิดขึ้นจริงๆ เช่น หญิงสาวไม่มีโรคประจำตัว อายุน้อยกว่า 60 ปี เสียชีวิตจากการใช้ยาดอม แม้แต่เพียงเคสเดียวบนโลกนี้ ยาตัวนี้สมควรถูกระงับการใช้จริงๆค่ะ. รวมถึงการใช้ยาตัวนี้โดยไม่มีความจำเป็นจริงๆ เช่น มีน้ำนมเพียงพออยู่แล้ว แต่โลภมาก อยากมีมากกว่านี้อีก ก็เลยใช้ยา อันนี้ก็ไม่ควรใช้เช่นกันค่ะ

ส่วนคำแนะนำที่ว่า ถ้าไม่ได้ใช้ยาดอม ก็ไม่เห็นเดือดร้อนเลย หันไปใช้ยาอื่นก็ได้ น่าจะปลอดภัยกว่า เช่น fenugreek ยาประสระน้ำนม เพราะเหตุผลคือ เป็นสมุนไพร อันนั้นไม่เห็นด้วยค่ะ เพราะคำว่าสมุนไพร หรือ คำว่าเพราะเป็นธรรมชาติ ไม่ได้เป็นตัวรับรองว่า ไม่มีพิษ หรือ ไม่มีโทษ (ยกตัวอย่าง เห็ดพิษ) ยาพวกนี้ ไม่มีการศึกษา ไม่มีการเก็บข้อมูลอย่างจริงจัง ถ้าถามป้าหมอว่าปลอดภัยกว่ายาดอมไหม พูดได้เลยว่าคงไม่ แต่เพราะไม่มีการศึกษา เป็นการบอกต่อๆกันมา ไม่มีการเก็บข้อมูลผลข้างเคียง และติดตามอาการของผู้ใช้อย่างจริงจังและเป็นรูปแบบ และปัจจุบันมียาปลอมระบาดในอินเตอร์เน็ทด้วย อาจเอาอะไรใส่แคปซูลให้กินก็ไม่ทราบได้ ผู้ใช้ก็ต้องระมัดระวังและเสี่ยงกันเอาเอง

สรุปอีกทีค่ะ ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ อย่าใช้ยาอะไรทั้งสิ้น เพราะยาทุกตัวมีความเสี่ยงไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้เพื่อเพิ่มน้ำนมจริงๆ ควรหาวิธีอื่นควบคู่กันไป เช่น การกินอาหารเพิ่มน้ำนม การให้ลูกดูดและปั๊มเพิ่มขึ้น และควรปรึกษาแพทย์ว่าตัวคุณแม่มีความเสี่ยงหรือมีข้อห้ามในการใช้ยาหรือไม่ เช่น อายุเกิน 60 ปี มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ มีการใช้ยาอื่นร่วมด้วย มีภาวะเสียสมดุลเกลือแร่อยู่หรือไม่ และที่สำคัญคือ คุณหมอและคุณแม่ต้องมีข้อมูลว่า การที่แม่ลูกคู่หนึ่งจะไม่ได้ให้นมแม่ มีความเสี่ยงในการเป็นโรค และขาดโอกาสอะไรไปบ้าง และอันตรายของนมวัวมีอะไรบ้าง เช่น เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคภูมิแพ้ โรคเบาหวาน โรคเรื้อรังอีกหลายโรค เพียงแต่โรคพวกนี้ยังไม่ปรากฏตอนนี้ ก็เลยทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการให้นมแม่เท่าที่ควร สุดท้ายแล้ว ก็ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละท่านค่ะ"

เมื่อมีผู้แย้งว่า RDU กล่าวว่า ยาดอมเพอริโดนเป็นยาที่ห้ามใช้ในแม่ให้นมลูก เพราะเอกสารกำกับยาเขียนไว้แบบนั้น ป้าหมอขอชี้แจงดังนี้ค่ะ 

“เรื่อง เอกสารกำกับยา หรือ leaflets โดยปฏิบัติแล้ว ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนมแม่ทั่วโลก ไม่ใคร่ยึดถือ เพราะว่า เขามี reference หรือ แหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้มากกว่า เพราะมีการศึกษาอย่างแท้จริงตั้งแต่วัดระดับยาในเลือดแม่ ในเลือดลูก ระดับยาในน้ำนม ศึกษาถึง การจับตัวของยากับโปรตีน ขนาดของโมเลกุลยา ฯลฯ แล้วจึงสรุปมาเป็น reference สำหรับผู้เกี่ยวข้องกับการให้นมแม่ไว้ใช้อ้างอิง และพบได้บ่อยมาก ที่คำแนะนำในเอกสารกำกับยา จะไม่ตรงกับ breastfeeding reference ซึ่งป้าหมอเข้าใจว่า เอกสารกำกับยาต้องห้ามไว้ก่อน เพราะบางครั้งคนไข้ซื้อยากินเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์ ก็จะไม่รู้ว่าต้องระวังอะไรบ้างเป็นพิเศษ เพราะบ้านเราคนไข้ซื้อยากินเองได้ บริษัทยาเขาก็ต้องป้องกันตัวเองอย่างเต็มที่”

ขออนุญาตยกตัวอย่าง ยา Norfloxacin ซึ่งในเอกสารกำกับยา จะเขียนว่า breast-feeding is not recommended while taking this medicine

Before you take Norfloxacin you should discuss breast-feeding with your doctor or midwife. If you wish to breast-feed you should discuss with your prescriber whether there are any other medicines you could take which would also allow you to breast-feed. You should not stop this medicine without taking advice from your doctor.

แต่ถ้าเช็คจาก 2 แหล่งเช็คเรื่องยาในแม่ให้นมลูก กล่าวว่า 

1. จาก http://toxnet.nlm.nih.gov/cgi-bin/sis/search

Summary of Use during Lactation: 

Fluoroquinolones such as norfloxacin have traditionally not been used in infants because of concern about adverse effects on the infants' developing joints. However, recent studies indicate little risk.[1][2] In addition, the calcium in milk might prevent absorption of the small amounts of fluoroquinolones in milk,[3] but insufficient data exist to prove or disprove this assertion. The serum and milk levels and oral bioavailability of norfloxacin are the lowest of any of the fluoroquniolones, so the risk to the infant should be minimal. Short-term use of norfloxacin is acceptable in nursing mothers.

2.จาก http://e-lactancia.org/search?q=Norfloxacin

level 0 : very low risk,compatible and not risky for breastfeeding or infant

ป้าหมอชอบเว็บ 2. คือ เว็บ e-lactancia.org เพราะง่ายต่อความเข้าใจดีค่ะ และไหนๆแล้ว มีคนสนใจเรื่องนี้มาก มีการแชร์ไปทั่ว และมีคนถามมาที่แฟนเพจป้าหมอ แฟนเพจนมแม่แฮปปี้ แฟนเพจมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย รวมถึงโทรสายตรงไปที่คลินิคนมแม่ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ป้าหมอก็ขออนุญาต ฝากประชาสัมพันธ์ ให้ทุกท่านที่สนใจเรื่อง การใช้ยาในคุณแม่ให้นมลูก ได้ทราบว่า วิธีตรวจสอบเรื่อง การใช้ยาขณะให้นมลูกที่ถูกต้อง สามารถตรวจสอบได้จาก 2 เว็บดังกล่าวข้างต้นได้เลยค่ะ ยาดอมเช็คจาก 2 เว็บนี้ เป็นยาที่ปลอดภัยในการให้นมลูกแน่นอนค่ะ

ขออนุญาตให้ความคิดเห็นว่า คำเตือนเรื่องการใช้ยาในคุณแม่ให้นมลูกในเอกสารกำกับยา เป็นไปเพื่อความปลอดภัยของบริษัทยา มากกว่า ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ สำหรับคุณแม่ให้นมลูกค่ะ อย่างไรก็ดี มีแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้แน่นอนให้ทุกท่านตรวจสอบได้ไม่ยากค่ะ เพียงแค่มีอินเตอร์เน็ทเท่านั้น

และขอยืนยันเหมือนเดิมค่ะ ว่ายามีประโยชน์ก็ไม่น้อย แต่ยาทุกอย่างมีผลข้างเคียงแฝงอยู่เสมอ ดังนั้น อย่าใช้ยาพร่ำเพรื่อถ้าไม่มีข้อบ่งชี้ และ ควรปรึกษาแพทย์ถึงวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยวิธีการอื่นๆที่ถูกต้องเหมาะสม ก่อนที่จะใช้ยาโดยไม่มีความจำเป็น และอาจเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เพราะผู้ใช้ยาอาจไม่ทราบว่าตัวเองมีโรคประจำตัวอะไรซ่อนเร้นอยู่หรือไม่

และป้าหมอขอขอบคุณแอดมินที่ให้ข้อมูลให้ป้าหมอฟังแล้วสบายใจขึ้น เพราะตอนแรกคิดว่า ที่ EMA ออกมตินี้มา เป็นเพราะมีเคสมีปัญหาเกิดขึ้นแล้วหรือนี่ เพราะข้อมูลเรื่องยามันเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆตลอดเวลา ยกตัวอย่าง ยา PPA ใช้มาหลายสิบปีผสมในยาแก้หวัดหลายสูตร ก็เพิ่งถูกถอนออกไป เพราะเพิ่มความเสี่ยงในการมีเลือดออกในสมอง

แต่คุณแอดมินบอกว่า เป็นการลงมติจาก EMA แบบไม่เป็นเอกฉันท์ ใช้วิธีโหวตเสียงข้างมาก สำหรับการออกมติครั้งนี้ ซึ่งคนที่โหวตไม่ให้ผ่าน น่าจะตั้งอยู่บนความคิดพื้นฐานว่า อะไรที่เสี่ยงแม้แต่นิดเดียว ถึงแม้ว่ายังไม่มีคนที่เสียชีวิตจากการกินยาดอมเพอริโดน ก็อย่าไปยุ่งกับมันเลยจะดีกว่าไหม ไม่อยากให้มีเคสเกิดขึ้นจริงแล้วค่อยแก้ไข กลัวว่าจะสายเกินไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ยังมีคนที่โหวตให้ผ่าน (แต่แพ้คะแนนเสียง) น่าจะเป็นคนที่คิดว่า นมแม่เป็น Preventive medicine ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมากมายทั้งในแม่และลูก ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของทารกทั่วโลก มีงานวิจัยที่บอกว่ายาดอมสามารถใช้เพิ่มปริมาณน้ำนม และ มีผลข้างเคียงที่ต่ำ และ หากมีการใช้อยู่ภาย ใต้คำแนะนำจากแพทย์ ก็น่าจะปลอดภัย ก็เลยโหวตให้ผ่าน ทีนี้ก็ต้องมาลุ้นคณะกรรมการของเมืองไทยกันอีกทีค่ะ ว่าจะโหวตกันอย่างไร โอมเพี้ยง

สุดท้ายนี้ คุณแม่ให้นมทุกท่านคะ อย่าซื้อยาดอมมากินเพื่อเพิ่มน้ำนมเองนะคะ แต่ควรปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการเพิ่มน้ำนมอย่างยั่งยืน ตามแนวทางที่ถูกต้อง และหากจำเป็นต้องใช้ยาจริงๆแล้ว ขอให้แพทย์เป็นผู้แนะนำ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของตัวเองและลูกน้อยค่ะ

 

 

 




ป้าหมอเล่าเรื่องนมแม่

พ่อเลี้ยงลูกแทนแม่ น่ารักดีค่ะ
ลูกไม่กินเนื้อสัตว์ ลูกกินยาก ทำอย่างไรดี
ภาวะชักจากไข้สูงในเด็ก
ลูกเป็นหวัดเรื้อรังเกิดจากอะไร
สมู้ทตี้นมแม่แสนอร่อย
คุณพ่อสนับสนุนนมแม่อีกครอบครัวหนึ่งค่ะ
คุณพ่อสนับสนุนนมแม่ ป้าหมอกดไลค์ให้เลยค่ะ
ทำไมจึงมีนมผงสำหรับแม่ให้นม
วิธีแก้ปัญหาลูกอมข้าว ลูกกินช้า ลูกกินแต่ขนม ที่ถูกต้องไม่ใช่ให้นมผงนะคะ
จะทราบได้อย่างไรว่าลูกมีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์
ลูกกินยายาก ป้อนยาลูกอย่างไรดี
แรงบันดาลใจที่สร้างสรรค์ หรือ ทำลายตัวเอง
โทษของการแจกตัวอย่างนมผงจากบุคลากรทางการแพทย์ อีกตัวอย่างหนึ่งค่ะ
บุคลากรทางการแพทย์ที่แจกนมผงตัวอย่าง ทำไปเพื่ออะไร
เคยเสริมนมผง แต่กลายเป็นนมแม่ล้วน ทำได้อย่างไร
ลูกดูดเต้า จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกได้น้ำนมพอ
เรื่องซึ้งๆก่อนนอน อ่านแล้วจะคิดถึงแม่ค่ะ
ทำไมทารกจึงมีเต้านมโตและมีน้ำนมไหล
ทำไมทารกแรกเกิดนอนกลางวัน ตื่นกลางคืน
ตรงกับชีวิตของคุณแม่ท่านใดบ้างคะ?
ลูกไม่กินเต้า ทำอย่างไรดี
เด็กที่ไม่กินนมผง ป้าหมอเลิฟๆค่ะ
วิธีเลือกรองเท้าคู่แรกให้ลูก
ยาดอมเพอริโดน
คุณพ่อคือคนสำคัญที่ช่วยให้คุณแม่ให้นมแม่ได้สำเร็จ
ลูกคนโตได้กินนมแม่ด้วย เมื่อแม่คลอดน้อง"
20 ข้อที่แม่ควรสอนลูกสาว
รายละเอียดงาน "รวมใจแม่อาสา"
ลูกตัวเหลืองเพราะกินนมแม่จริงหรือ
ลูกเสี่ยงภูมแพ้ ถ้าตอนท้องคุณแม่โด๊ปอาหารกลุ่มเสี่ยง
การดูแลเมื่อลูกเป็นไข้
ลูกใครป่วยบ่อยๆ หรือ นอนกรน ลองหยุดนมวัวดูนะคะ
แม่ทำงานนอกบ้านก็ให้นมแม่ได้นานเกือบ 7 ปีค่ะ
20 ข้อที่แม่ควรสอนลูกชาย
กินนมแม่กลางคืน ไม่ทำให้ฟันผุเพิ่มขึ้นจากเดิมค่ะ
กอริลล่าให้นมลูกนาน 6 ปี แล้วลูกคนควรนานกี่ปี
คุณลอร่า คนดีๆที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง
รายการผู้หญิงถึงผู้หญิงชี้แจงเรื่องนมแม่
ตัวอย่างการละเมิดกฏเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดและโฆษณานมผง
แม่กินนมวัวนมผง ไม่ได้ทำให้นมแม่มีปริมาณหรือคุณภาพเพิ่มขึ้นนะคะ
ลูกในครรภ์ตัวเล็ก คุณแม่ควรโด๊ปนมและไข่หรือไม่
หญิงตั้งครรภ์ควรดื่มนมอะไรดี
ประกาศเรียกคืนนมผง
กระดูกข้อศอกเคลื่อนในเด็ก
ทายกันเล่นๆค่ะ ว่าเด็กในภาพนี้อยู่ในช่วงอายุประมาณเท่าไร
สถานที่ 12 แห่งที่ลูกได้รับเชื้อโรค
รายการผู้หญิงถึงผู้หญิงพูดถึงนมแม่
ให้นมแม่ช่วยประหยัดเวลา
ประโยชน์ของนมแม่ที่มีต่อลูก
คำสัญญาจากแม่
ให้นมลูก นมโตไม่เท่ากัน ทำอย่างไรดี ????
ทำอย่างไรในกรณีที่มีผู้ดูแลเพียงคนเดียว (single parenting)
ประโยชน์ของรถเข็นเด็ก (stroller) และ #เป้ใส่เด็กสะพายด้านหลัง (backpack)
#การกู้น้ำนมกลับคืน หรือ #การทำให้แม่ผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้น ทำได้อย่างไร
คุณแม่ท้องให้นมแม่ได้ค่ะ ถ้าหาก...
10 วิธีเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกรัก
ลูกติดแม่มากเกินไป ควรหย่านมแม่ดีไหม
คำถามจากคุณแม่ เรื่องแล็คโต๊สต้องกินตลอดชีวิตจริงหรือไม่
ปั๊มนมให้ได้เยอะๆ ต้องปั๊มบ่อยๆและตื่นมาปั๊มตี 3
13 คุณประโยชน์ที่น่าทึ่งของนมแม่
4 ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับทารก
กินนมแม่กลางคืน ไม่ทำให้ฟันผุเพิ่มขึ้นค่ะ
7 โรคในผู้ใหญ่ที่ป้องกันได้ด้วยนมแม่
ลูกไม่กินนมวัว จะตัวเตี้ยไหมคะ
ข้อควรปฏิบัติเมื่อต้องพาลูกหาหมอ
อุ้มลูกบ่อยๆ ทำให้ติดมือจริงหรือ
เรื่องเล่าจากคุณแม่
โรงพยาบาลไม่สนับสนุนนมแม่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คุณแม่ผลิตน้ำนมได้น้อย
สูบบุหรี่นอกบ้านเป็นอันตรายต่อลูกน้อยไหม
#ปัญหาเด็กแพ้นมวัว ทำให้ #ถ่ายเป็นมูกเลือดเรื้อรัง"
ไม่มีนมสต๊อก แต่ลูกดูดตลอด จะมีพอให้ลูกกินจนโตหรือไม่
ลูกมีปัญหาท้องผูก ทำอย่างไรดี
ไม่ได้อยู่กับลูกทุกวัน ก็เลี้ยงด้วยนมแม่ได้ค่ะ
วิธีทำให้การฉีดวัคซีนเป็นเรื่องง่าย
รถเข็น เป้อุ้มเด็ก
วิธีป้องกันลูกไม่ให้ติดขวดนม แล้วจะไม่ยอมดูดเต้า
ความรู้สึกของแม่คนหนึ่งที่ให้นมลูก
หกความรู้สึกผิดที่เกิดขึ้นในคุณแม่มือใหม่
ท่าดูดนมแม่แบบต่างๆ
ลูกตัวเหลืองต้องเสริมนมผง และหยุดนมแม่จริงหรือ?
6 กลยุทธ์การฝึกเป็นคุณพ่อมือใหม่
ความรู้เรื่องนมแม่แบบผิดๆ
สายจูงเด็ก ควรใช้ดีหรือไม่ดีกันแน่
กินนมแม่นาน ทำให้เป็นลูกแหง่จริงหรือ
อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากการได้รับโปรตีนบางชนิดในนมวัว
ข้อมูลเปรียบเทียบ นมแม่ เครื่องดื่มชูกำลังผสมคาเฟอีน และนมผง
วันนี้คุณแสดงความรักต่อพ่อแม่แล้วหรือยัง
ลูกไม่ชอบกินนม จะตัวเตี้ยไหมคะ
ถึงมีลูกแฝดก็ให้นมแม่สำเร็จได้นะคะ
ลูกนอนกรนและป่วยบ่อยเพราะแพ้นมวัว
การดูแลเมื่อลูกเป็นหวัด
อาเจียนบ่อยๆเพราะแพ้อาหาร
ลูกเป็นโคลิค งอแงเลี้ยงยาก ทำอย่างไรดีคะ
ลูกกินนมแม่มีปัญหาซีด ทำอย่างไรดี
ลูกพูดช้าเพราะอะไร
ลูกไม่กินข้าว กินแต่นม ทำอย่างไรดีคะ
เด็กอ้วน เป็นอันตรายนะคะ
ยันต์ป้องกัน มารนมแม่
สาเหตุการร้องไห้ของลูก



[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (154138)

 ท้องผูก กินยาตัวไหนได้บ้างคะ พอดีให้นมลูกอยู่คะ ตอนนี้เพิ่งคลอดได้ 20 วันเองค่ะ ผ่าคลอดคะ และสามารถกินน้ำลูกพรุนรึป่าวคะ ถ่ายยากมากๆเลยคะ ทั้งๆที่ก็กินน้ำเยอะแล้ว

ผู้แสดงความคิดเห็น ออย วันที่ตอบ 2014-08-24 10:17:24 IP : 1.10.217.103



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล