ReadyPlanet.com


อาการโคลิค...บ่งบอกอะไรบ้าง?


 

อาการโคลิค...บ่งบอกอะไรบ้าง?

ในวันที่ลูกน้อยลืมตาดูโลก การส่งเสียงร้องคือสัญญาณที่บ่งบอกว่าได้เขามีสุขภาพปกติดี รวมถึงการที่ ทารกร้องไห้ ถือเป็นการสื่อสารถึงความต้องการและความรู้สึกของตนเองที่ไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นคำพูดได้ เด็กร้องไห้ เกิดจากปัจจัยหลายประการ เช่น หิวนม ผ้าอ้อมเปียกแฉะ ต้องการให้อุ้ม หรืออาจจะมีอาการเจ็บปวด พ่อแม่ทุกคนจึงควรให้ความใส่ใจและสังเกตเสียงร้องของลูกน้อยว่าผิดปกติจากการร้องไห้ทั่ว ๆ ไปของเด็กหรือไม่ เช่น

 

  • ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ แบบทันทีทันใด ซึ่งเป็นการร้องไห้โดยที่ไม่มีอาการเจ็บป่วยมาก่อน 

  • ลูกร้องไม่หยุด สำหรับเด็กบางคนการร้องไห้งอแงถือเป็นเรื่องปกติ แต่ลูกน้อยของคุณร้องไห้เป็นเวลานานซึ่งอาจจะถึง 2 – 3 ชั่วโมงต่อเนื่อง และต้องคอยสังเกตด้วยว่าเป็นเวลาเดิม ๆ ซ้ำ ๆ กัน หรือไม่ ถ้าใช่...อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึง อาการโคลิค ได้

  • ลูกน้อยแสดงอาการหน้าแดง กำมือแน่น ขณะร้องไห้ รวมถึงเปล่งเสียงร้องด้วยเสียงแหลมและดัง

 

หากลูกน้อยของคุณมีอาการดังกล่าวอาจเป็นไปได้ว่า ทารกร้องไห้ เพราะมีสาเหตุมาจากอาการโคลิค ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้กับทารกที่มีอายุตั้งแต่ 3 สัปดาห์และจะหายไปเองเมื่ออายุ 3 เดือน แต่ในเด็กบางคนอาจจะนานถึง 5-6 เดือน แต่แม้ว่าโคลิคจะไม่ใช่โรค แต่เป็นเพียงอาการที่เกิดขึ้นชั่วคราวที่จะหายได้เอง พ่อแม่ก็ไม่ควรจะละเลยที่จะใส่ใจในการร้องไห้ของลูกเพราะอาการโคลิคสามารถบ่งบอกถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา เช่น

 

ท้องอืดท้องเฟ้อ 

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ ลูกร้องไม่หยุด คือ การไม่สบายตัวของลูกน้อยจากการมีลมในกระเพาะอาหารในปริมาณที่มากเกินที่ร่างกายจะรับได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรหาวิธีผ่อนคลายให้ลูกน้อยสบายตัวมากขึ้น ด้วยการทำให้ลูกเรอด้วยการอุ้มพาดบ่าและแนะนำว่าหลังลูกทานนมเรียบร้อยแล้ว ควรจับลูกเรอทุกครั้ง แล้วคอยสังเกตว่าลูกน้อยมีอาการงอแงลดลงหรือไม่ 

 

เกิดสภาวะทางอารมณ์ที่รุนแรง

สิ่งแวดล้อมรอบกายลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นแสงไฟ เสียงรบกวนจากภายนอก เสียงสัตว์เลี้ยง ฯลฯ ล้วนเป็นสิ่งกระตุ้นอารมณ์ที่อาจทำให้ลูกน้อยไม่สบอารมณ์และร้องไห้โยเย ซึ่งเป็นอาการหนึ่งของ อาการโคลิค ได้ ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่ปล่อยไว้ในระยะยาวอาจส่งผลให้ลูกน้อยกลายเป็นเด็กหงุดหงิดง่าย สมาธิสั้น หรือมีปัญหาทางด้านสภาวะทางอารมณ์หรืออารมณ์รุนแรงได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ จึงควรลดสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ให้น้อยลงโดยการสังเกตว่าในสภาวะแวดล้อมใดที่กระตุ้นต่อมร้องไห้ของลูกน้อยแล้วพยายามหลีกเลี่ยง เน้นการปลอบโยน และร้องเพลงกล่อม สร้างความอบอุ่นปลอดภัย

 

แม้ว่าการที่ลูกร้องไห้ไม่หยุดจะเป็นสภาวะที่สร้างความกังวลและความตึงเครียดให้กับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ แต่สิ่งเหล่านั้นไม่ได้ยากเกินความสามารถและพลังแห่งความรักคุณพ่อคุณแม่ที่จะช่วยปลอบโยนให้ลูกน้อยหยุดร้องไห้ได้ แต่หากลองหาทางแก้ปัญหาด้วยตนเองแล้วลูกน้อยไม่ดีขึ้น แนะนำให้ไปพบกุมารแพทย์เพื่อหาสาเหตุอื่น ๆ ต่อไป




ผู้ตั้งกระทู้ alice (alice-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2020-01-10 11:33:38 IP : 124.122.192.152


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล