ReadyPlanet.com


อาการโคลิค ปัญหาหนักอกที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรีบรักษา


 

เมื่อทารกเข้าถึงวัยช่วง 1 เดือน หากมีอาการร้องไห้อย่างไม่มีสาเหตุ ร้องไห้อย่างต่อเนื่องหลายชั่วโมงละก็อาจจะสงสัยว่าเข้าข่ายอาการโคลิคหรือไม่ เพราะถึงแม้ว่าอาการร้องไห้ไม่หยุดจะหายไปเองเมื่อลูกน้อยอายุได้ 3-4 เดือน แต่การที่ต้องทนเห็น ลูกร้องไม่มีสาเหตุเป็นเวลาต่อเนื่องหลายชั่วโมงทุก ๆ วัน นอกจากจะทำให้คุณพ่อคุณแม่ไม่สบายใจแล้ว ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกน้อยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ไม่ว่าจะเป็น การเจริญเติบโตของร่างกาย การเจริญเติบโตของเซลล์สมอง พัฒนาการทางด้านเรียนรู้ พัฒนาการด้านการเข้าสังคม อีกด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อเห็นว่าลูกกำลังมี อาการโคลิค แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ควรหาทางการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

 

หากเห็นว่า ทารกร้องไห้ สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำมากที่สุดคือรีบเข้าไปปลอบโดยทันที เพราะหากปล่อบให้เด็กร้องไห้เป็นเวลานาน ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนคอร์ติโซลหรือฮอร์โมนความเครียดออกมาสะสมเป็นจำนวนมาก ทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย รวมทั้งยังเข้าขัดขวางการสร้างเซลล์สมองเซลล์ใหม่อีกด้วย นอกจากนั้นการที่ลูกต้องใช้แรงในการส่งเสียงร้องไห้มากกว่าปกติ จะทำให้ลูกรู้สึกเหนื่อย ไม่สบายตัว หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นมีอาการชัก มีไข้สูง ท้องเสีย หรือหมดสติได้ อันตรายต่อร่างกายของทารกเป็นอย่างมาก

 

สำหรับการปลอบโยนทารกที่กำลังร้องไห้อยู่นั้น แนะนำว่าให้คุณพ่อคุณแม่ทำการห่อตัว ทารกร้องไห้ ด้วยผ้าขนหนูแล้วอุ้มในท่าคว่ำเข้าไปหาตัว โดยให้ตัวของลูกแนบกับอกเพื่อเป็นการเพิ่มความอบอุ่น จากนั้นค่อย ๆ โยกตัวเบา ๆ เพื่อให้หนูน้อยรู้สึกเพลิดเพลินและผ่อนคลายมากขึ้น แต่ถ้าทำไปสักพักแล้วยังไม่มีทีท่าว่าอาการร้องไห้จะทุเลาลง อาจจะลองอุ้มลูกพาเดินเปลี่ยนบรรยากาศ เปิดเพลงเบาๆ กล่อมลูกน้อย

 

อย่างไรก็ตามหากลูกแสดงอาการผิดปกติมากกว่าทุกครั้ง เช่น แผดเสียงร้องไห้แหลมดังหรือนานกว่าปกติ ไม่ยอมกินนมแม่ การเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ตัวเขียว ปากซีด มีไข้ขึ้นสูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียส อาเจียน อุจจาระไม่ออกหรืออุจจาระเป็นเลือด อาจจะอันตรายถึงชีวิตได้ เพราะฉะนั้นควรพาลูกไปพบแพทย์โดยทันที ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการรักษาที่ได้ผลดีหลายวิธี โดยเฉพาะการรักษาด้วยจุลินทรีย์โปรไบโอติคที่ทั้งปลอดภัยและมีประสิทธิภาพการรักษาดีเยี่ยม หมดปัญหา ลูกร้องไห้ไม่มีสาเหตุ และทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกเบาใจ ไม่ต้องคอยวิตกกังวลทุกครั้งเวลาลูกร้องไห้ และหมดห่วงเรื่องพัฒนาการของลูกรักอีกด้วย



ผู้ตั้งกระทู้ อัญณา :: วันที่ลงประกาศ 2020-03-18 11:07:12 IP : 159.192.216.27


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล