ReadyPlanet.com


คุณภาพการนอนของทารกน้อยลูกรัก


 คุณภาพการนอนของทารกน้อยลูกรัก

เจ้าตัวเล็กของคุณแม่นอนหลับได้ทั้งวัน ทั้งคืนตื่นมาแป๊บเดียว ดูดนมแม่เสร็จก็นอนหลับต่ออีกแล้ว เมื่อตอนที่นอนอยู่ในครรภ์คุณแม่ ทารกจะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอน นั่นก็เพื่อสร้างเซลล์ และอวัยวะต่างๆ ให้มีความแข็งแรง สมบูรณ์ และเมื่อเข้าสู่เดือนที่ 5 ของการตั้งครรภ์ ทารกจะไม่นอนหลับนิ่งๆ เพียงอย่างเดียวแล้วค่ะ แต่จะมีปฏิกิริยาตอบสนอง นั่นก็คือ “การดิ้น” ทารกเริ่มที่จะตื่นขึ้นมาบ้างแล้วละค่ะ หลังจากเดือนที่ 5 ไปแล้วทารกก็เริ่มมีการหลับ และตื่นเป็นช่วงๆ ค่ะ

 

การนอนในเด็กทารก

 

เป็นเรื่องสำคัญสำหรับพัฒนาการของทารก ในขณะที่ทารกนอนหลับนั้นจะมีหลายอย่างเกิดขึ้น และเสร็จสมบูรณ์ในระหว่างที่เด็กทารกกำลังนอนหลับ เช่น การเจริญเติบโตของสมองและร่างกาย หรือแม้กระทั่งการเตรียมตัว เพื่อเรียนรู้ในวันต่อมา การจดจำและการให้ความสนใจ

 

 

หลังจาก ที่เจ้าตัวเล็กคลอดออกมาจากในครรภ์อุ่นๆ ของคุณแม่ ในช่วงสัปดาห์แรก ลูกจะนอนถึง 16.6 ชั่วโมง/วัน หรือต่อ 24 ชั่วโมง ซึ่งในจำนวนชั่วโมงนี้ เป็นการนอนสั้นๆ ถึง 18 ครั้ง พอทารกอายุครบ 1 เดือน ช่วงเวลาการนอนก็จะลดลงไปประมาณสองชั่วโมง เหลือประมาณ 14.7 ชั่วโมงต่อวัน และจะงีบตอนกลางวัน 2 ครั้ง คือ ช่วงสายๆ และในช่วงบ่าย พอผ่านไปได้สัก 2-3 เดือน การนอนก็จะลดลงไปเหลือ 14 ชั่วโมง เมื่อทารกอายุครบ 6 เดือน การงีบในตอนกลางวัน ก็จะเริ่มมีรูปแบบมากขึ้น และเมื่อครบหนึ่งขวบ เจ้าตัวน้อยก็ต้องการนอนเพียง 13 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น (รวมกลางวัน กลางคืน) หลังจากนั้น ชั่วโมงการนอนจะลดลงไปเรื่อยๆ ตามวัยของลูก จนกระทั่งถึง 5 ขวบ ลูกก็จะนอนแค่ 12 ชั่วโมง/วัน และต่อมาก็ลดลงเหลือ 8-9 ชั่วโมง/วัน

 

 

ชั่วโมงการนอน ที่ลดลงของทารกจะเป็นในช่วงการนอนตอนกลางวัน ส่วนในช่วงการนอนกลางคืนจะยาวนานขึ้น นั่นก็เพราะเด็กทารก เริ่มแยกความแตกต่างระหว่างกลางวัน และกลางคืนได้แล้ว ซึ่งเราจะเริ่มเห็นได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่สาม ที่ทารกน้อยเริ่มนอนกลางคืนยาวขึ้นถึง 72 เปอร์เซ็นต์ และใช้เวลางีบระหว่างวันประมาณ 54 เปอร์เซ็นต์ของช่วงเวลากลางวัน และเมื่อถึงหกเดือน เวลางีบตอนกลางวันก็ลดลงมาเหลือเพียง 28 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น(แบ่งเป็นการงีบสองครั้ง) เด็กบางคนอาจนอน 2 ชั่วโมงในตอนสาย และอีก 2 ชั่วโมงกว่าๆ ในตอนบ่าย ซึ่งชั่วโมงการงีบในตอนกลางวันก็จะขึ้นอยู่กับหลายสิ่งหลายอย่างในช่วงเริ่มแรก และจะสร้างรูปแบบกลายเป็นความเคยชินหรือรูปแบบประจำ เช่น เด็กบางคนไม่ค่อยยอมงีบในตอนเช้า แต่มานอนยาวในตอนบ่าย เนื่องจากไม่ง่วงในช่วงเช้า พอตกบ่ายก็เหน็ดเหนื่อยหมดพลัง รวมกับความที่ง่วงที่สะสมในตอนเช้า ก็เลยทำให้งีบยาวในช่วงบ่าย เมื่อครบหนึ่งขวบ ลูกก็จะไม่ยอมงีบในช่วงเช้า หรือช่วงสายอีกแล้ว การนอนในช่วงสายจะค่อยๆ หายไป คงเหลือเพียงการงีบในตอนบ่ายวันละครั้งเท่านั้น แต่การนอนในตอนกลางคืนก็จะยาวนานหลับลึกขึ้น

 

แหล่งที่มา http://firstyear.pregnancysquare.com/sleep/1/

 



ผู้ตั้งกระทู้ น้องจู๊บจู๊บ (maibok-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2013-10-08 16:15:49 IP : 202.176.89.51


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล