ReadyPlanet.com


ขั้นตอนการรับการรักษาภาวะมีบุตรยาก


 

“ครอบครัว” โดยทั่วไปจะสมบูรณ์ได้ก็ประกอบไปด้วย พ่อ แม่ ลูก แต่คู่สามีภรรยาหลายคู่ต้องประสบปัญหาภาวะมีบุตรยากทำให้ต้องผิดหวังกับความตั้งใจในการมีบุตร แต่ด้วยความก้าวหน้าของวิทยาการทางด้านการแพทย์ในปัจจุบัน เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการช่วยการเจริญพันธุ์ และทำให้หลายคู่ประสบผลสำเร็จมาแล้ว

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นผู้มีบุตรยาก
คู่สามีภรรยาที่มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอเฉลี่ย 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยไม่ได้คุมกำเนิด เป็นระยะเวลา 1 ปี แล้วยังไม่ตั้งครรภ์

ขั้นตอนการรับการรักษา

  • การให้คำแนะนำในการรักษา

แพทย์จะซักประวัติประจำเดือน ประวัติการแต่งงานและการมีบุตร การมีเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิด ประวัติส่วนตัวบางอย่าง เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ เป็นต้น
ในการมารับบริการครั้งแรกควรมาพร้อมกันทั้งสามีและภรรยาเพื่อรับคำปรึกษาและหาสาเหตุการมีบุตรยากจากทั้งสองฝ่าย (กรณีเคยรับการรักษามาก่อน ควรนำผลการตรวจมาด้วย เช่น อัลตราซาวด์ การฉีดสีเอ็กซเรย์ท่อนำไข่ เพื่อแพทย์จะทำการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง)

  • การตรวจหาสาเหตุในฝ่ายชายและฝ่ายหญิง

ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะได้รับการตรวจร่างกาย, ตรวจเลือดเพื่อประเมินว่าคู่สมรสมีโรคหรือภาวะบางอย่างที่มีอันตรายหรือเป็นข้อห้ามในการตั้งครรภ์หรือไม่ ได้แก่ กรุ๊ปเลือด (Blood group), ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC), เชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBs Ag), ภูมิต้านทานไวรัสตับอักเสบบี (Anti HBs), ซิฟิลิส (VDRL), ภูมิไวรัสเอดส์ (Anti HIV) ภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน (Rubella เฉพาะฝ่ายหญิง)
ฝ่ายชายจะได้รับการตรวจอสุจิ ถ้าพบว่ามีความผิดปกติจะได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาระดับฮอร์โมนในร่างกายเพิ่มเติม (FSH, LH, Testosterone, Prolactin)
ฝ่ายหญิงจะได้รับการตรวจดูระดับฮอร์โมนเพศ (FSH, LH, Prolactin, Progesterone, Estradiol) ในช่วงต่างๆ ของรอบเดือน ตรวจมูกปากมดลูก ตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดดูขนาดของไข่, ฉีดสีเอ็กซเรย์ท่อนำไข่ (Hysterosalpingogram)
แพทย์จะตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุว่า มีปัญหาท่อนำไข่ รังไข่ มดลูก หรือเชื้ออสุจิไม่แข็งแรง จากนั้นรักษาตามสาเหตุ การเลือกวิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับเหตุผลความจำเป็นและสภาพของผู้รับบริการทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง
เมื่อทราบถึงสาเหตุและได้ผ่านการตรวจวินิจฉัยอย่างถูกวิธีแล้ว แพทย์จะเลือกใช้แนวทางการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการเจริญพันธุ์ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ทั้งนี้ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละรายด้วย ได้แก่

  • การกระตุ้นรังไข่และการผสมเทียม (Intrauterine Insemination: IUI) การฉีดเชื้ออสุจิที่แข็งแรงผ่านเข้าสู่โพรงมดลูกในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมกับการปฏิสนธิ (ช่วงเวลาไข่ตก) วิธีนี้จะทำในกรณีที่ฝ่ายหญิงไม่มีปัญหาเรื่องท่อนำไข่อุดตัน นอกจากนี้ในกรณีอื่น เช่น ปัญหาบางส่วนที่ปากมดลูก, ภาวะฮอร์โมนรังไข่ทำงานผิดปกติ หรือยังไม่ประสบความสำเร็จโดยวิธีธรรมชาติหรือนับช่วงวันไข่ตก และเป็นวิธีรักษาอีกทางเลือกหนึ่งในกรณีที่ฝ่ายชายมีปัญหาเรื่องความสมบูรณ์ของเชื้อ หรือมีปัญหาด้านการหลั่งเชื้อ
  • กิฟท์ (Gamete Intra Fallopian Transfer: GIFT) คือ การนำเซลล์สืบพันธุ์ (เซลล์ไข่และเซลล์อสุจิ) ไปใส่ที่ท่อนำไข่ เริ่มจากการนำไข่ออกมาก่อน หลังจากนั้นจึงนำไข่กับเชื้อฉีดเข้าท่อนำไข่ผ่านการผ่าตัดส่องกล้อง ให้ไข่กับเชื้อผสมกันบริเวณท่อนำไข่ ถ้าเชื้อสมบูรณ์ดีจะเกิดการปฏิสนธิ จากนั้นตัวอ่อนจึงค่อยๆ เคลื่อนมาฝังตัวที่โพรงมดลูกเพื่อเกิดการตั้งครรภ์ต่อไป การทำ GIFT ถือเป็นการรักษาภาวะการมีบุตรยากในยุคแรกๆ ข้อดีคือเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จค่อนข้างสูง แต่ข้อเสียคือต้องมีการผ่าตัด
  • ซิฟท์ (Zygote Intra Fallopian Transfer: ZIFT) วิธีการคล้ายกับการทำ GIFT แต่จะทำการปฏิสนธิภายนอกร่างกายจนเจริญเป็นตัวอ่อนระยะ 1 เซลล์ ที่เราเรียกว่า Zygote แล้วจึงทำการผ่าตัดส่องกล้องเช่นเดียวกับวิธีการ GIFT เพื่อใส่ตัวอ่อนที่เป็น Zygote เข้าไปในท่อนำไข่เช่นกัน วิธีนี้เหมาะสำหรับคู่สมรสที่ฝ่ายหญิงมีท่อนำไข่ปกติอย่างน้อย 1 ข้าง
  • เท็ท (Tubal Embryo Transfer: TET) คือ การเลี้ยงไข่ที่ปฏิสนธิแล้วต่ออีก 1 วัน ให้มีการแบ่งเซลล์ก่อน อาจเป็นระยะ 2-4 หรือ 6 เซลล์ หรือที่เรียกว่า “ตัวอ่อน” แล้วจึงใส่กลับเข้าไปที่ท่อนำไข่ ZIFT และ TET ต่างจาก GIFT  คือรอให้มีการปฏิสนธิกัน แล้วจึงใส่กลับสู่โพรงมดลูก
  • ไอวีเอฟ (In Vitro Fertilization with Embryo Transfer: IVF-ET) หรือเด็กหลอดแก้ว คือ การปฏิสนธินอกร่างกาย โดยการใช้ฮอร์โมนกระตุ้นรังไข่ให้ได้ไข่หลายๆ ใบ เมื่อไข่สุกเต็มที่แล้ว จะทำการเจาะเก็บไข่ออกมา นำไข่มาผสมกับเชื้ออสุจิในห้องปฏิบัติการ และทำการเพาะเลี้ยงให้เกิดการปฏิสนธิ จากนั้นเซลล์จะแบ่งตัวตามระยะต่างๆ เมื่อได้ตัวอ่อนที่แข็งแรงในระยะเวลาที่เหมาะสมแล้ว จึงย้ายตัวอ่อนเข้าไปฝังตัวในโพรงมดลูก ทั้งนี้โอกาสสำเร็จต้องขึ้นอยู่กับสภาพของเชื้ออสุจิและไข่ วิธีนี้จะทำในรายที่ท่อนำไข่เสียไปแล้ว เช่น ท่อนำไข่อุดตัน เป็นต้น

กระบวนทำเด็กหลอดแก้วด้วยการใช้ฮอร์โมนช่วยกระตุ้นให้ได้ไข่หลายๆ ใบ มาผสมกับเชื้อด้านนอกได้ตัวอ่อนหลายๆ ตัว ทำให้มีโอกาสได้ตัวอ่อนมาก เช่น ได้ตัวอ่อน 4 ตัว เลือกตัวที่แข็งแรงที่สุดย้ายมาฝังตัว ตัวอ่อนที่เหลือยังสามารถนำไปแช่แข็ง กรณีที่ตัวอ่อนตัวแรกที่นำไปฝังตัวไม่ติด ยังสามารถนำตัวอ่อนที่เก็บไว้มาใช้ได้ ช่วยเพิ่มอัตราการประสบความสำเร็จได้ และทำให้ประหยัดไม่ต้องทำการกระตุ้นรังไข่บ่อยๆ อีกด้วย

  • อิ๊กซี่ (Intra Cytoplasmic Sperm Injection: ICSI) คือ การช่วยปฏิสนธินอกร่างกายในระหว่างกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว ภายหลังจากทำการเจาะไข่ออกมาแล้ว จะใช้เข็มแก้วที่มีขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่าเส้นผมดึงเซลล์อสุจิ 1 เซลล์แล้วฉีดเข้าไปในไข่เพื่อช่วยการปฏิสนธิโดยตรง
  • พีจีดี (Pre-implantation Genetic Diagnosis: PGD) คือ การตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมก่อนการย้ายตัวอ่อน โดยนำเซลล์ตัวอ่อนมาเจาะเปลือกออกเล็กน้อยแล้วดึงเซลล์ที่อยู่ภายใน 1 - 2 เซลล์ออกมาตรวจ เพื่อตรวจสอบ "หน่วยพันธุกรรม" ที่จำเป็นรวมทั้งโครโมโซมเพศด้วย วิธีนี้นอกจากจะใช้วินิจฉัยความผิดปกติของโรคทางพันธุกรรมแล้ว ยังทำให้ทราบเพศของ "ตัวอ่อน" ได้อีกด้วย
  • การให้ความยินยอมรับการรักษา

เมื่อตัดสินใจเข้ารับการรักษา ทางโรงพยาบาลจะให้คู่สมรสลงนามยินยอมรับการรักษา หากมีข้อบ่งชี้ที่จะต้องรับการรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์

 

   
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2734-0000
 

“ครอบครัว” โดยทั่วไปจะสมบูรณ์ได้ก็ประกอบไปด้วย พ่อ แม่ ลูก แต่คู่สามีภรรยาหลายคู่ต้องประสบปัญหาภาวะมีบุตรยากทำให้ต้องผิดหวังกับความตั้งใจในการมีบุตร แต่ด้วยความก้าวหน้าของวิทยาการทางด้านการแพทย์ในปัจจุบัน เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการช่วยการเจริญพันธุ์ และทำให้หลายคู่ประสบผลสำเร็จมาแล้ว

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นผู้มีบุตรยาก
คู่สามีภรรยาที่มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอเฉลี่ย 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยไม่ได้คุมกำเนิด เป็นระยะเวลา 1 ปี แล้วยังไม่ตั้งครรภ์

ขั้นตอนการรับการรักษา

•การให้คำแนะนำในการรักษา
แพทย์จะซักประวัติประจำเดือน ประวัติการแต่งงานและการมีบุตร การมีเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิด ประวัติส่วนตัวบางอย่าง เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ เป็นต้น
ในการมารับบริการครั้งแรกควรมาพร้อมกันทั้งสามีและภรรยาเพื่อรับคำปรึกษาและหาสาเหตุการมีบุตรยากจากทั้งสองฝ่าย (กรณีเคยรับการรักษามาก่อน ควรนำผลการตรวจมาด้วย เช่น อัลตราซาวด์ การฉีดสีเอ็กซเรย์ท่อนำไข่ เพื่อแพทย์จะทำการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง)

•การตรวจหาสาเหตุในฝ่ายชายและฝ่ายหญิง
ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะได้รับการตรวจร่างกาย, ตรวจเลือดเพื่อประเมินว่าคู่สมรสมีโรคหรือภาวะบางอย่างที่มีอันตรายหรือเป็นข้อห้ามในการตั้งครรภ์หรือไม่ ได้แก่ กรุ๊ปเลือด (Blood group), ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC), เชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBs Ag), ภูมิต้านทานไวรัสตับอักเสบบี (Anti HBs), ซิฟิลิส (VDRL), ภูมิไวรัสเอดส์ (Anti HIV) ภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน (Rubella เฉพาะฝ่ายหญิง)
ฝ่ายชายจะได้รับการตรวจอสุจิ ถ้าพบว่ามีความผิดปกติจะได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาระดับฮอร์โมนในร่างกายเพิ่มเติม (FSH, LH, Testosterone, Prolactin)
ฝ่ายหญิงจะได้รับการตรวจดูระดับฮอร์โมนเพศ (FSH, LH, Prolactin, Progesterone, Estradiol) ในช่วงต่างๆ ของรอบเดือน ตรวจมูกปากมดลูก ตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดดูขนาดของไข่, ฉีดสีเอ็กซเรย์ท่อนำไข่ (Hysterosalpingogram)
แพทย์จะตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุว่า มีปัญหาท่อนำไข่ รังไข่ มดลูก หรือเชื้ออสุจิไม่แข็งแรง จากนั้นรักษาตามสาเหตุ การเลือกวิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับเหตุผลความจำเป็นและสภาพของผู้รับบริการทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง
เมื่อทราบถึงสาเหตุและได้ผ่านการตรวจวินิจฉัยอย่างถูกวิธีแล้ว แพทย์จะเลือกใช้แนวทางการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการเจริญพันธุ์ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ทั้งนี้ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละรายด้วย ได้แก่

•การกระตุ้นรังไข่และการผสมเทียม (Intrauterine Insemination: IUI) การฉีดเชื้ออสุจิที่แข็งแรงผ่านเข้าสู่โพรงมดลูกในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมกับการปฏิสนธิ (ช่วงเวลาไข่ตก) วิธีนี้จะทำในกรณีที่ฝ่ายหญิงไม่มีปัญหาเรื่องท่อนำไข่อุดตัน นอกจากนี้ในกรณีอื่น เช่น ปัญหาบางส่วนที่ปากมดลูก, ภาวะฮอร์โมนรังไข่ทำงานผิดปกติ หรือยังไม่ประสบความสำเร็จโดยวิธีธรรมชาติหรือนับช่วงวันไข่ตก และเป็นวิธีรักษาอีกทางเลือกหนึ่งในกรณีที่ฝ่ายชายมีปัญหาเรื่องความสมบูรณ์ของเชื้อ หรือมีปัญหาด้านการหลั่งเชื้อ
•กิฟท์ (Gamete Intra Fallopian Transfer: GIFT) คือ การนำเซลล์สืบพันธุ์ (เซลล์ไข่และเซลล์อสุจิ) ไปใส่ที่ท่อนำไข่ เริ่มจากการนำไข่ออกมาก่อน หลังจากนั้นจึงนำไข่กับเชื้อฉีดเข้าท่อนำไข่ผ่านการผ่าตัดส่องกล้อง ให้ไข่กับเชื้อผสมกันบริเวณท่อนำไข่ ถ้าเชื้อสมบูรณ์ดีจะเกิดการปฏิสนธิ จากนั้นตัวอ่อนจึงค่อยๆ เคลื่อนมาฝังตัวที่โพรงมดลูกเพื่อเกิดการตั้งครรภ์ต่อไป การทำ GIFT ถือเป็นการรักษาภาวะการมีบุตรยากในยุคแรกๆ ข้อดีคือเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จค่อนข้างสูง แต่ข้อเสียคือต้องมีการผ่าตัด
•ซิฟท์ (Zygote Intra Fallopian Transfer: ZIFT) วิธีการคล้ายกับการทำ GIFT แต่จะทำการปฏิสนธิภายนอกร่างกายจนเจริญเป็นตัวอ่อนระยะ 1 เซลล์ ที่เราเรียกว่า Zygote แล้วจึงทำการผ่าตัดส่องกล้องเช่นเดียวกับวิธีการ GIFT เพื่อใส่ตัวอ่อนที่เป็น Zygote เข้าไปในท่อนำไข่เช่นกัน วิธีนี้เหมาะสำหรับคู่สมรสที่ฝ่ายหญิงมีท่อนำไข่ปกติอย่างน้อย 1 ข้าง
•เท็ท (Tubal Embryo Transfer: TET) คือ การเลี้ยงไข่ที่ปฏิสนธิแล้วต่ออีก 1 วัน ให้มีการแบ่งเซลล์ก่อน อาจเป็นระยะ 2-4 หรือ 6 เซลล์ หรือที่เรียกว่า “ตัวอ่อน” แล้วจึงใส่กลับเข้าไปที่ท่อนำไข่ ZIFT และ TET ต่างจาก GIFT  คือรอให้มีการปฏิสนธิกัน แล้วจึงใส่กลับสู่โพรงมดลูก
•ไอวีเอฟ (In Vitro Fertilization with Embryo Transfer: IVF-ET) หรือเด็กหลอดแก้ว คือ การปฏิสนธินอกร่างกาย โดยการใช้ฮอร์โมนกระตุ้นรังไข่ให้ได้ไข่หลายๆ ใบ เมื่อไข่สุกเต็มที่แล้ว จะทำการเจาะเก็บไข่ออกมา นำไข่มาผสมกับเชื้ออสุจิในห้องปฏิบัติการ และทำการเพาะเลี้ยงให้เกิดการปฏิสนธิ จากนั้นเซลล์จะแบ่งตัวตามระยะต่างๆ เมื่อได้ตัวอ่อนที่แข็งแรงในระยะเวลาที่เหมาะสมแล้ว จึงย้ายตัวอ่อนเข้าไปฝังตัวในโพรงมดลูก ทั้งนี้โอกาสสำเร็จต้องขึ้นอยู่กับสภาพของเชื้ออสุจิและไข่ วิธีนี้จะทำในรายที่ท่อนำไข่เสียไปแล้ว เช่น ท่อนำไข่อุดตัน เป็นต้น
กระบวนทำเด็กหลอดแก้วด้วยการใช้ฮอร์โมนช่วยกระตุ้นให้ได้ไข่หลายๆ ใบ มาผสมกับเชื้อด้านนอกได้ตัวอ่อนหลายๆ ตัว ทำให้มีโอกาสได้ตัวอ่อนมาก เช่น ได้ตัวอ่อน 4 ตัว เลือกตัวที่แข็งแรงที่สุดย้ายมาฝังตัว ตัวอ่อนที่เหลือยังสามารถนำไปแช่แข็ง กรณีที่ตัวอ่อนตัวแรกที่นำไปฝังตัวไม่ติด ยังสามารถนำตัวอ่อนที่เก็บไว้มาใช้ได้ ช่วยเพิ่มอัตราการประสบความสำเร็จได้ และทำให้ประหยัดไม่ต้องทำการกระตุ้นรังไข่บ่อยๆ อีกด้วย

•อิ๊กซี่ (Intra Cytoplasmic Sperm Injection: ICSI) คือ การช่วยปฏิสนธินอกร่างกายในระหว่างกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว ภายหลังจากทำการเจาะไข่ออกมาแล้ว จะใช้เข็มแก้วที่มีขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่าเส้นผมดึงเซลล์อสุจิ 1 เซลล์แล้วฉีดเข้าไปในไข่เพื่อช่วยการปฏิสนธิโดยตรง
•พีจีดี (Pre-implantation Genetic Diagnosis: PGD) คือ การตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมก่อนการย้ายตัวอ่อน โดยนำเซลล์ตัวอ่อนมาเจาะเปลือกออกเล็กน้อยแล้วดึงเซลล์ที่อยู่ภายใน 1 - 2 เซลล์ออกมาตรวจ เพื่อตรวจสอบ "หน่วยพันธุกรรม" ที่จำเป็นรวมทั้งโครโมโซมเพศด้วย วิธีนี้นอกจากจะใช้วินิจฉัยความผิดปกติของโรคทางพันธุกรรมแล้ว ยังทำให้ทราบเพศของ "ตัวอ่อน" ได้อีกด้วย

•การให้ความยินยอมรับการรักษา
เมื่อตัดสินใจเข้ารับการรักษา ทางโรงพยาบาลจะให้คู่สมรสลงนามยินยอมรับการรักษา หากมีข้อบ่งชี้ที่จะต้องรับการรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์

 
 
   
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2734-0000 
 ที่มา http://www.vejthani.com/web-thailand/Health-Magazine/Art-new-child.php



ผู้ตั้งกระทู้ emayly (emayly-at-ymail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2010-07-19 15:14:36 IP : 124.122.247.18


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3157480)

ขอโทษนะค่ะ ข้อมูลมันซ้ำกันกะอันบนค่ะ มันแก้ไขไม่ได้ด้วย

ผู้แสดงความคิดเห็น emayly วันที่ตอบ 2010-07-19 15:17:27 IP : 124.122.247.18



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล