ReadyPlanet.com


เปิดเคล็ดลับการปรับพฤติกรรมพร้อมเสริมด้วย กิจกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้น


 

อาการ ลูก อยู่ ไม่ นิ่ง ซุกซน วอกแวก ไม่ค่อยมีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมการทำงานได้นาน ๆ พ่อแม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกได้ด้วยการช่วยเหลือ ให้ความรักและกำลังใจ พร้อมเสริมด้วยกิจกรรมที่เหมาะสำหรับเด็กสมาธิสั้นที่ช่วยฝึกให้มีใจจดจ่อทำหากิจกรรมให้ลูกทำที่บ้านสไตล์ไมโลได้นานมากขึ้นและทำสำเร็จสมวัย ซึ่งเคล็ดลับในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและ กิจกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้น มีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้


เคล็ดลับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

  1. สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้เงียบสงบ ลดเสียงทีวี เสียงเพลงที่เอะอะอึกทึก และจัดบ้านให้โล่ง ๆ มีของน้อยชิ้น เพราะเด็กสมาธิสั้นจะถูกกระตุ้นได้ง่ายจากสิ่งรอบข้าง โดยเฉพาะเสียงดังหรือมีบรรยากาศแออัดวุ่นวาย

  2. ฝึกให้ลูกทำกิจกรรมทีละอย่าง ไม่ควรดูทีวีขณะกินข้าว ทำการบ้าน และยามเล่นของเล่น เพื่อให้เด็กได้มีสมาธิจดจ่อในการทำงานแต่ละอย่างให้สำเร็จ

  3. ไม่ว่ากล่าวหรือใช้คำพูดตำหนิลูกรุนแรงเมื่อลูกซุกซน หลงลืม หรือไม่สามารถทำงานให้เสร็จได้ แต่ควรศึกษาทำความเข้าใจและยอมรับในปัญหาของลูก เพราะคำพูดตำหนิว่ากล่าวรุนแรง อารมณ์โมโห และความเครียดของพ่อแม่นั้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถกระตุ้นอาการสมาธิสั้นของลูกให้รุนแรงมากขึ้น

  4. เมื่อต้องการสั่งให้ลูกทำอะไรหรือต้องการมอบหมายงานให้ลูกทำอะไร ควรนั่งลงด้านหน้าลูกแล้วบอกให้ลูกหยุดทำกิจกรรมอื่นก่อน พูดกับลูกพร้อมมองตา สังเกตว่าลูกกำลังตั้งใจฟังและเข้าใจหรือไม่ ควรใช้คำพูดให้สั้น เข้าใจง่าย กระชับ ไม่พูดยาว ๆ หรืออธิบายวนไปวกมาเพราะเด็กจะงงได้ง่าย


กิจกรรมเล่นกับลูกที่เหมาะสมสำหรับเด็กสมาธิสั้น

  1. กิจกรรมนอกห้องเรียนฝึกฝนสมาธิ  

กิจกรรมสำหรับเด็กสมาธิสั้น ควรเป็นกิจกรรมที่ฝึกการใช้สมาธิเป็นหลัก เช่น การเล่นดนตรี การต่อบล็อกไม้ การเล่นโยนบอลลงตะกร้า การร้อยลูกปัด เกมจับผิดรูปภาพ เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการวางแผน เล่นตามกฎกติกา หรือเล่นตามแนวทางและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ จึงจะสามารถเล่นให้สำเร็จลุล่วงลงได้

  1. กิจกรรมศิลปะสร้างจินตนาการและสมาธิ

กิจกรรมศิลปะไม่ได้เจาะจงเฉพาะการวาดรูปและระบายสีเท่านั้น แต่รวมถึงการปั้นแป้งโดว์ การตัดกระดาษปะติดรูปภาพ หรือการทาสีรูปหล่อปูนปาสเตอร์ การสร้างสรรค์งานศิลปะตามจินตนาการนอกจากจะช่วย ฝึก สมาธิ สำหรับ เด็ก แล้วยังเป็นการเสริมสร้างจินตนาการอย่างอิสระด้วย

  1. กิจกรรมกีฬาเสริมสมาธิและการควบคุมร่างกาย

ขอแนะนำให้เลือกเล่นกีฬาที่ต้องใช้สายตาประสานกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย เพื่อช่วยฝึกการควบคุมร่างกาย การใช้สายตาจากการกะระยะ และการใช้สมาธิจดจ่อในการเล่น เช่น ปิงปอง เทนนิส โบว์ลิ่ง แบดมินตัน กอล์ฟ เป็นต้น


การ ฝึก สมาธิ สำหรับ เด็ก สามารถเริ่มต้นได้จากที่บ้าน จากความรักของพ่อแม่และผู้เลี้ยงดู ขอเพียงมองให้เป็นการเล่นสนุกร่วมกันและเป็นกิจกรรมสร้างความอบอุ่นประจำสุดสัปดาห์สำหรับคนในครอบครัว นานวันขึ้นพฤติกรรมอาการ ลูก อยู่ ไม่ นิ่ง จะค่อย ๆ ดีขึ้น แต่ถ้าหากอาการสมาธิสั้นของลูกรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และกระทบความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างมากขึ้น ขอแนะนำให้พาลูกเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการและหาวิธีการรักษาที่เหมาะสม 



ผู้ตั้งกระทู้ waanbotan (verntogo-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2022-10-09 23:39:27 IP : 134.236.162.138


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล