ReadyPlanet.com


ชี้ปัจจัยที่เป็นต้นเหตุของ ลูกโมโหร้าย และพ่อแม่ควรมีวิธีรับมืออย่างไรเมื่อลูกมีพฤติกรรมโมโหร้าย


 

คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังกังวลกับพฤติกรรม ลูกโมโหร้าย หรืออารมณ์รุนแรง เพราะอาจจะส่งผลร้ายต่อทั้งตัวเอง หรือคนอื่นๆ รอบตัวได้ด้วย วันนี้เรามาดูเหตุผลที่ทำไมเด็กๆ โมโหร้าย มีอารมณ์รุนแรง และวิธีการรับมือเพื่อแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกในวัยเด็กให้ดีขึ้นก่อนที่จะกลายเป็นนิสัยติดตัวไปในวัยผู้ใหญ่


ปัจจัยที่เป็นต้นเหตุของการโมโหร้าย

  1. ปัจจัยทางด้านสมอง

ต้นเหตุนี้อาจจะเป็นสิ่งที่คุณพ่อ คุณแม่ ไม่สามารถสอนลูกได้เอง เพราะเป็นปัจจัยภายในย่างโครงสร้างทางสมองและระดับสารเคมีในระบบประสาทมีผลต่อพื้นอารมณ์ของเด็ก โรคประจำตัวทางสมองบางชนิด เช่น โรคสมาธิสั้น โรคลมชัก โรคเนื้องอกในสมอง ก็มีผลต่อพัฒนาการในทางสมองและการเจริญเติบโตทางสติปัญญาที่มีผลต่อการควบคุมตนเองและความแปรปรวนของอารมณ์เช่นกัน

  1. ปัจจัยทางด้านจิตใจ

การเลี้ยงดูของพ่อแม่หรือผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมีผลต่อบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยของเด็ก รวมถึงความรักความเอาใจใส่ของพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูมีผลต่อความมั่นคงด้านอารมณ์และความสามารถในการอดทนรอคอยของลูก หากตามใจเกินไปเด็กๆ ก็อาจจะเอาใจตัวเอง และไม่ยอมทำตามคนอื่นสอน

  1. ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่างความรุนแรงจากสื่อ เช่น ทีวี เกม หรือสื่อออนไลน์ต่าง ๆ รวมถึงพฤติกรรมก้าวร้าวโมโหร้ายของผู้เลี้ยงดูและความรุนแรงในครอบครัวคือต้นแบบเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเรียนรู้เลียนแบบพฤติกรรมจากสิ่งที่เห็นและจากผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดจนค่อย ๆ กลายเป็น เด็กก้าวร้าว โดยอัตโนมัติ


รับมืออย่างไรกับพฤติกรรมโมโหร้ายของลูกได้อย่างไร

  1. ทำให้ลูกสงบสติอารมณ์ก่อนการว่ากล่าวตักเตือน 

เมื่อ ลูก อารมณ์ รุนแรง โมโหร้าย หรือมีพฤติกรรมทำร้ายสิ่งของและคนอื่น พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูควรจับตัวลูกแล้วโอบกอดอย่างสงบและอ่อนโยนเพื่อหยุดการกระทำของลูกทันที อย่าเพิ่งลงโทษหรือว่ากล่าว

  1. หาสาเหตุหรือเหตุการณ์ที่เป็นตัวกระตุ้นให้ลูกโมโหร้ายมีอารมณ์รุนแรง

หลังจากนั้นเรามาหาสาเหตุกันว่าทำไม เด็กถึงเกิดอาการก้าวร้าว โมโหร้าย โดยให้สอบถามพูดคุยกับลูกเมื่ออารมณ์ของลูกสงบลงแล้ว ว่าเหตุการณ์นั้นทำให้ลูกรู้สึกอย่างไร ลูกคิดอย่างไรต่อเหตุการณนั้น และลูกแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวโมโหร้ายนั้นเพราะอะไร ลูกต้องการจะสื่ออะไรกับพ่อแม่ เช่น ต้องการเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ อึดอัด หรือกำลังถูกคุกคามจากคนอื่น เป็นต้น

  1. เข้าใจและชี้แนะวิธีแก้ไข

เมื่อทราบสาเหตุที่เป็นต้นเหตุของอารมณ์ก้าวร้าวรุนแรงของลูกแล้วให้ตักเตือนลูกในพฤติกรรมที่ไม่ดีของลูกแทนการตำหนิรุนแรงในตัวลูกที่อาจก่อให้เกิดปมด้อย เช่น ควรพูดว่า “แม่ไม่ชอบที่ลูกร้องกรีดและขว้างปาสิ่งของ” แทนการพูดว่า “เด็กดื้อ เด็กนิสัยไม่ดี เด็กก้าวร้าว” และพ่อแม่ควรชวนลูกพูดคุยชี้แนะหาวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมให้แก่ลูกเมื่อลูกรู้สึกโกรธ รู้สึกโมโห เช่น ลูกสามารถขอเวลานอกเพื่อจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้ด้วยการพูดว่า “หนูเริ่มรู้สึกโกรธแล้ว ขอหนูอยู่คนเดียวสักพักนะคะ” “หนูรู้สึกอึดอัดและโมโหมาก ขอหนูออกไปจากที่ตรงนี้นะคะ” เป็นต้น

  1. ชื่นชมให้กำลังใจ

เมื่อพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูมองเห็นว่าลูกกำลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองในทางดีทีขึ้น การชื่นชมและให้กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ จะทำให้เด็กรู้สึกดี


การสอนลูก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของ ลูกโมโหร้าย ต้องใช้ความเข้าใจ การยอมรับ และความใจเย็นจากพ่อแม่ผู้เลี้ยงดู การเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กได้เรียนรู้ในความสงบนิ่ง ความอดทน ความใจเย็นของผู้ใหญ่ในการเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ก็เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้เด็กได้เรียนรู้ เลียนแบบ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโมโหร้าย และรู้จักวิธีการควบคุมอารมณ์ของตนให้ดีขึ้นเช่นกัน ดูวิธีสอนลูก เพิ่มเติม https://www.milo.co.th/blog/วิธีสอนลูกให้เข้มแข็งด้วย-resilience-ผ่านกีฬา



ผู้ตั้งกระทู้ ว่านโบตั๋น :: วันที่ลงประกาศ 2022-09-11 13:33:55 IP : 134.236.150.231


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล