ReadyPlanet.com


บาดทะยัก โรคอันตรายที่รักษาและป้องกันได้ด้วยวัคซีนบาดทะยัก


 

บาดทะยัก โรคอันตรายที่รักษาและป้องกันได้ด้วยวัคซีนบาดทะยัก


เมื่อพูดถึงโรค บาดทะยัก เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงนึกถึงโรคที่เกิดจากการโดนของมีคมบาดและเกิดการติดเชื้อจนกลายเป็นอาการของโรคขึ้น ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเจ้าโรคนี้กันว่ามันอันตรายกับร่างกายอย่างไร และเราจะมีวิธีไหนบ้างในการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อบาดทะยัก


โรคบาดทะยักเกิดจากอะไร

โรคบาดทะยัก คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียม เตตานิ (Clostridium Tetani) แพร่กระจายในรูปของสปอร์ พบได้ตามดินและสิ่งสกปรกรวมไปถึงในมูลสัตว์ เพราะแบคทีเรียตัวนี้เจริญเติบโตได้ดีในที่ไม่มีออกซิเจน ที่สำคัญยังทนต่อความร้อนสูงและมีชีวิตอยู่ได้นานในทุกสภาพแวดล้อม เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็วและก่อให้เกิดอาการของโรคได้


การติดเชื้อบาดทะยัก

การติดเชื้อหรือรับเอาแบคทีเรียคลอสตริเดียม เตตานิเข้าสู่ร่างกายนั้นส่วนใหญ่เกิดผ่านแผล โดยเมื่อเกิดแผลทั้งจากการหกล้ม มีดบาด ตะปูตำหรือของมีคมที่ขึ้นสนิมบาด จะเสี่ยงต่อการรับเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ตามดินหรือตามของมีคมต่าง ๆ โดยเฉพาะแผลลึก ๆ จะยิ่งเสี่ยงเพราะบริเวณแผลจะมีปริมาณออกซิเจนน้อยเชื้อจะแพร่ได้รวดเร็ว เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะสร้างสารพิษชนิดเตตาโนสปาสมิน (Tetanospasmin) เข้าทำลายกล้ามเนื้อและระบบประสาท ทั้งยังสามารถลุกลามไปถึงไขสันหลังและก้านสมองได้


อาการแสดงของโรคบาดทะยัก

หลังจากที่ได้รับเชื้อในระยะฟักตัวไปแล้ว 3 – 21 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการของโรค โดยเริ่มจากการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง ขากรรไกรแข็งอ้าปากไม่ได้ คอเกร็ง หลังเกร็ง เกิดการหายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติจนส่งผลให้เสียชีวิตจากหัวใจวายได้


การป้องกันโรคบาดทะยักด้วยวัคซีน

ปัจจุบันโรคบาดทะยักสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีด วัคซีน บาดทะยัก ชนิด alum-adsorbed tetanus toxoid โดยต้องฉีด 3 เข็ม จึงจะทำให้เกิดภูมิต้านทานต่อโรคได้เต็มที่ ซึ่งเข็มแรกกับเข็มที่สองห่างกัน 1 เดือน ส่วนเข็มที่สามจะฉีด 6 เดือนหลังจากฉีดเข็มที่สอง และควรฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันทุก ๆ 10 ปี ส่วนในเด็กจะมีวัคซีนพื้นฐานสำหรับป้องกันทั้งโรคคอตีบ ไอกรนและบาดทะยักอยู่แล้วตามกำหนดการให้วัคซีน ซึ่งสามารถปรึกษาและขอรับบริการได้ที่โรงพยาบาลหรู คลินิก international hospital ที่ได้มาตรฐานทุกแห่ง อย่างเช่น โรงพยาบาล medpark


หลีกเลี่ยงการเกิดแผลคือวิธีป้องกันที่ดีที่สุด

โรค บาดทะยัก มักเกิดการติดเชื้อบริเวณตำแหน่งที่เกิดแผล ดังนั้นการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดแผลจึงเป็นการดูแลตัวเองอีกทางหนึ่ง แต่เมื่อเกิดบาดแผลขึ้นให้รีบล้างน้ำสะอาดอย่างน้อย 10 -15 นาที เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ ทายาฆ่าเชื้อระวังไม่ให้แผลอักเสบ และหากไม่มั่นใจว่าวัคซีนที่เคยฉีดยังมีประสิทธิภาพอยู่หรือไม่ ควรมาพบแพทย์ ตรวจร่างกายและรับ วัคซีน บาดทะยัก ต่อไป


[url=https://www.picz.in.th/image/DHywER][img]https://sv1.picz.in.th/images/2021/03/28/DHywER.md.jpg[/img][/url]

ที่มาข้อมูล



ผู้ตั้งกระทู้ unyana (unyana-dot-mah-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2021-06-21 22:40:24 IP : 171.98.31.47


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล