
วัคซีน ไอพีดี ![]() ควรจะใช้เงินเพื่อส่งเสริมโภชนาการที่ดีมากกว่าการฉีดวัคซีน กระทรวงสาธารณสุขนิวซีแลนด์ประกาศว่ากำลังพิจารณาบรรจุวัคซีนอีกชนิดหนึ่งเข้าในโปรแกรมการฉีดวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็ก แต่ Immunisation Awareness Society (หรือ IAS ซึ่งเป็นสมาคมที่มุ่งเน้นให้เกิดการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับการก่อภูมิคุ้มกัน) กังวลว่าจะเป็นการใช้เงินงบประมาณจำนวนมหาศาลไปกับวัคซีนซึ่งอาจจะทำให้เกิดผลร้ายต่อสุขภาพมากกว่าช่วยป้องกัน ในขณะที่สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กในนิวซีแลนด์เจ็บป่วยเป็นโรคต่างๆ อย่างเช่น การได้รับสารอาหารที่ไม่เหมาะสม การได้รับควันบุหรี่ การไม่ได้กินนมแม่ กลับไม่ได้รับการพิจารณาแก้ไขอย่างเหมาะสม วัคซีนนิวโมคอคคัล ซึ่งเป็นวัคซีนที่ถูกจัดความสำคัญอันดับต่อไปสำหรับคณะทำงานด้านเทคนิคเกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกัน ประกอบด้วยแบคทีเรียเพียง 7 สายพันธุ์จากจำนวนทั้งหมด 90 สายพันธุ์ ซึ่งผลงานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร The Scientist ในปี 2003 พบว่าการฉีดวัคซีนเพรฟนาร์เป็นการแทนที่การติดเชื้อจากแบคทีเรียนิวโมคอคคัส 7 สายพันธุ์ซึ่งวัคซีนต้านไว้ได้ ด้วยการติดเชื้อจากแบคทีเรียอีก 83 สายพันธุ์ ในกรณีทั่วไปกระทรวงสาธารณสุขจะแนะนำวัคซีนนี้ให้กับเด็กที่มีปัจจัยความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ แต่กลับไม่ยอมบอกว่าปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อมีอะไรบ้าง ผลงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า การสูบบุหรี่ การใช้ยาปฏิชีวนะในอดีต การไม่ได้กินนมแม่ และการไปอยู่ร่วมกันในศูนย์รับเลี้ยงเด็ก คือปัจจัยเสี่ยงทั้งสิ้น “ผลการศึกษาแสดงว่ามีความเกี่ยวข้องระหว่างโรคภัยไข้เจ็บ การที่เด็กไปอยู่ร่วมกันที่ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก และการไม่ได้กินนมแม่ กับความเสี่ยงในการเป็นโรคไอพีดี (IPD หรือ invasive Pnuemococcal Disease) ในเด็ก ความเกี่ยวข้องระหว่างการใช้ยาปฏิชีวนะและการติดเชื้อพีอาร์เอสพี (PRSP หรือ Penicillin Resistant Streptococcus Pneumoniae) ทำให้เราต้องหันมาให้ความสำคัญกับการหลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเกินความจำเป็นในเด็ก” (วารสาร Pediatrics เล่มที่ 103 ลำดับที่ 3 เดือนมีนาคม 1999 หน้า e28) เป็นที่น่าสังเกตว่าปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับลักษณะของการดำเนินชีวิตทั้งสิ้น ซึ่งก็รวมถึงการใช้ยาปฏิชีวนะด้วย การใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นเป็นเรื่องที่มีการพูดกันมากมายในสื่อมวลชน แต่พวกแพทย์ทั้งหลายก็ยังจ่ายยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น และบรรดาพ่อแม่ต่างก็เรียกร้องให้จ่ายยาเหล่านี้แก่ลูกๆ ของพวกเขาอย่างต่อเนื่อง ตามปกติแล้วเด็กและผู้ใหญ่ทั่วไปมีเชื้อแบคทีเรียทั้ง 90 สายพันธุ์นี้อยู่ในจมูกและลำคอ แม้กระทั่งตอนที่ไม่ป่วย และวัคซีนชนิดนี้ก็ไม่ได้ตอบคำถามว่า ทำไมมีเด็กเพียงจำนวนเล็กน้อยเท่านั้นที่เกิดอาการเจ็บป่วยเนื่องจากแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มค่อนข้างสูงว่าเด็กที่ไม่ได้มีปัจจัยเสี่ยงใดๆ ก็ยังเจ็บป่วยเนื่องจากการกินอาหารที่ขาดสารอาหารและขาดวิตามินแร่ธาตุที่เหมาะสม การไม่ได้กินนมแม่เป็นเวลานานตอนที่เป็นทารก และการกินอาหารที่มีน้ำตาลสูงและอาหารแปรรูปต่างๆ มีส่วนเกี่ยวข้องในการเกิดโรคจากเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสและโรคอื่นๆ ในทุกเพศทุกวัยของประชากร ในปี 2000 ดร. แอร์เดม แคนเทอคิน ศาสตราจารย์ด้านโสตศอนาสิกวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์กแสดงความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากวัคซีนนิวโมคอคคัล โดยกล่าวว่า “ผลดีที่การคาดกันเอาไว้ว่าจะได้จากวัคซีนชนิดใหม่นี้เป็นการกล่าวอ้างเกินจริง และความเสี่ยงก็มีอยู่มากมาย” เขาชี้ให้เห็นว่ามีคำถามมากมายเกี่ยวกับแบคทีเรียนิวโมคอคคัสที่ยังไม่ได้รับคำตอบ และสรุปว่า “ด้วยปัจจัยต่างๆ ที่เรายังไม่รู้ การฉีดวัคซีนต้านเชื้อแบคทีเรีย 7 สายพันธุ์ให้กับเด็กแรกเกิด และโอกาสที่จะกำจัดแบคทีเรียทั้ง 7 สายพันธุ์นั้นไปได้ ยังเป็นแค่การทดลองที่ไม่มีการยืนยัน” การวิจัยในภายหลังได้พิสูจน์ว่าความเห็นของเขาถูกต้อง ในขณะที่วัคซีนเพรฟนาร์กำจัดแบคทีเรีย 7 สายพันธุ์ที่กำหนดไปได้ แบคทีเรียสายพันธุ์อื่นๆ กลับเจริญเติบโตงอกงามมากยิ่งขึ้นในจมูกและลำคอของเด็กๆ และรอคอยจังหวะที่จะเกิดการติดเชื้อหรือแพร่กระจายเชื้อไปสู่คนอื่น เป็นที่น่าสังเกตว่าอุบัติการณ์ของการเกิดโรคไอพีดีและโรคไข้กาฬหลังแอ่นในนิวซีแลนด์และประเทศอื่นๆ เพิ่มมากขึ้นหลังจากมีการใช้วัคซีนสำหรับป้องกันโรคไข้สมองอักเสบอันเกิดจากเชื้อฮีโมฟิลัสอินฟลูเอนซาชนิดบี ( Haemophilus influenza, type b) มีงานวิจัยอื่นๆ แสดงว่าเมื่อมีการฉีดวัคซีนเพรฟนาร์พร้อมกับวัคซีนชนิดอื่นๆ ประสิทธิผลของวัคซีนชนิดอื่นๆ จะลดลง ในการทดลอง Phase-2 Randomised Control ระหว่างเดือนสิงหาคม 2000 ถึง มกราคม 2002 พบว่าวัคซีนโรคไข้กาฬหลังแอ่น ซี วัคซีนไข้สมองอักเสบอันเกิดจากเชื้อฮีโมฟิลัสอินฟลูเอนซาชนิดบี และวัคซีนคอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก ได้ผลลดน้อยลง IAS ยังเชื่ออีกด้วยว่ากระทรวงสาธารณสุขหลีกเลี่ยงการเปิดเผยความจริงทั้งหมดในการกล่าวว่าการเพิ่มวัคซีนนิวโมคอคคัลจะทำให้จำนวนครั้งทั้งหมดที่เด็กต้องฉีดวัคซีนก่อนถึงอายุสองปีเท่ากับ 16 ครั้ง ในขณะที่นั่นคือจำนวนครั้งที่เด็กต้องถูกฉีดวัคซีนที่แขนหรือสะโพก แต่จำนวนวัคซีนที่ได้รับจริงๆ จะมากกว่านี้มาก “ในขณะนี้เด็กทารกตั้งแต่แรกเกิดถึงสองปีจะได้รับวัคซีน 25 ชนิดสำหรับป้องกันโรค 11 ชนิด และการเพิ่มวัคซีนเพรฟนาร์จะทำให้เด็กได้รับวัคซีนทั้งหมด 29 ชนิดสำหรับป้องกัน 12 โรคเมื่อเด็กทารกมีอายุ 15 เดือน” เป็นคำกล่าวของ IAS ท้ายที่สุด IAS เชื่อว่างบประมาณราว 5.5 ล้านดอลลาร์ต่อปีจากเงินภาษีของประชาชนที่จะต้องจ่ายเพื่อฉีดวัคซีนเพรฟนาร์ให้กับเด็กทุกคน* ควรจะถูกนำไปใช้เพื่อการกระตุ้นและรณรงค์ให้เลี้ยงทารกด้วยนมแม่จนอายุ 2 ปี และทำให้เด็กทุกคนได้รับอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน และปราศจากอาหารขยะอาหารจานด่วนซึ่งมีน้ำตาลและไขมันสูงเกิน ในขณะเดียวกันบริษัทผู้ผลิตวัคซีนก็กำลังเริงร่ากับจำนวนเงินในธนาคารของพวกเขาที่กำลังเพิ่มขึ้น *คำนวณจากค่าใช้จ่าย 100 ดอลลาร์สำหรับการฉีดวัคซีนเพรฟนาร์ซึ่งระบุว่าต้องมีการฉีดวัคซีนทั้งหมด 4 ครั้ง แปลจากบทความเรื่อง Money Better Spent On Nutrition Than Vaccine |