
The International Code of Marketing of Breastmilk Substitutes ![]() A.เหตุใดจึงต้องคุ้มครอง“การให้นมแม่”?
ตั้งแต่ดั้งเดิมทารกกินนมแม่ซึ่งมีทั้งสารอาหารและภูมิคุ้มกันครบถ้วน การให้นมแม่เป็นวิถีธรรมชาติปกติในการเลี้ยงทารก มีบางกรณีที่พบได้น้อยมากเท่านั้นที่ผู้หญิงไม่สามารถในนมแม่แก่ลูกได้ หรือลูกรับนมแม่ไม่ได้จึงมีการคิดค้นนมผสมขึ้นเป็นครั้งแรกในปีค.ศ.1867 เพื่อใช้ในสถานการณ์ที่พบน้อยเหล่านี้
แต่เมื่อเวลาผ่านไปบริษัทนมผสมไม่พอใจเพียงแค่ตลาดกลุ่มเล็กๆเท่านั้น และเริ่มส่งเสริมให้ทารกใช้ผลิตภัณฑ์ของเขาให้มากขึ้นโดยอ้างว่าเป็นนมที่“ทดแทนนมแม่ได้อย่างเชื่อถือได้และปลอดภัย“ โดยการโฆษณาอย่างต่อเนื่องบริษัทนม นำโดย Nestle ทำให้ผู้หญิงเชื่อมั่นว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทดีเท่ากับนมแม่หรือยิ่งกว่านั้นมีการเสริมโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ให้เหนือกว่านมแม่ ดังนั้นจึงทำให้เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์ที่จริงๆแล้วแทบจะไม่มีความจำเป็นต้องใช้
ช่วงปี 1950-1960 การให้นมผสมเป็นวิถีปกติในยุโรปและอเมริกา และได้เป็นแบบอย่างการเลี้ยงทารกให้กับเอเซียอาฟริกาและลาตินอเมริกาที่ซึ่งมีอัตราการเกิดสูง จึงเป็นตลาดต่อไปที่จะทำกำไรได้ไม่ว่าบริษัทนมผสมจะพูดว่าอย่างไรนมผสมไม่มีทางคล้ายหรือใกล้เคียงนมแม่ นมแม่คือสารที่มีชีวิตซับซ้อนและมีความเฉพาะเจาะจงที่จะตอบสนองความต้องการทุกอย่างของทารก ผู้วิจัยยังคงค้นพบคุณสมบัติและความลึกลับของน้ำนมแม่และมหัศจรรย์ใจว่าแท้จริงแล้วพวกเขายังมีความรู้เรื่องศักยภาพของนมแม่น้อยเหลือเกิน
ผู้ผลิตอาหารเด็กได้พยายามมาเป็นเวลามากกว่าศตวรรษ เพื่อที่จะย่อยน้ำนมแม่ลงไปจนถึงระดับส่วนประกอบแต่ละชนิดและแล้วก็สร้างขึ้นใหม่เป็นนม“ทดแทน” แต่ก็ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะทำเทียมเลียนแบบนมแม่ ดังนั้นจึงต้องทำการตลาดเพื่อสร้างภาพความคล้ายหรือเหนือกว่านมแม่ ทำไมบริษัทนมผสมจึงพยายามประกอบสารขึ้นมาใหม่ทั้งๆที่ในธรรมชาติก็มีสารนั้นมากมายอยู่แล้ว เพราะเขาตระหนักตั้งแต่ต้นแล้วว่าหากสร้างความต้องการและการพึ่งพิงสารนั้นได้จะทำกำไรได้อย่างมหาศาลนั่นเอง
การจะให้ผู้คนยอมรับนมผสมซึ่งจริงๆด้อยกว่านมแม่มากได้นั้น ผู้ผลิตต้องเปลี่ยนมุมมองการเลี้ยงดูเด็กเสียใหม่ โดยสร้างภาพความทันสมัยและความเหนือกว่าในแง่วิทยาศาสตร์ให้เกิดขึ้นในใจของผู้ให้บริการสาธารณสุขและพ่อแม่ บริษัทต้องการให้ระบบบริการสุขภาพยกสถานะของผลิตภัณฑ์ซึ่งสุดท้ายแล้วเสี่ยงต่อสุขภาพของทารกและมีส่วนต่อการตายของทารกนับล้านคนทั่วโลก
ก่อนปี1980ไม่ค่อยมีทางโฆษณาโดยตรงต่อสาธารณชนในอเมริกาเหนือ ดังนั้นบริษัทนมผสมจึงพุ่งเป้าไปที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและระบบสาธารณสุข เริ่มตั้งแต่ตอนต้นของศตวรรษที่20 หมอได้รับการบอกเล่าว่านมผสมคือความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ล่าสุด เพื่อให้ระบบสาธารณสุขสนับสนุนเป้าหมายการตลาดของบริษัทจึงมีโฆษณานมผสมในวารสารการแพทย์ให้รายละเอียดอ้างถึงความเหนือชั้นของนมผสม
นอกจากนี้บริษัทที่แข่งขันกันจะตกลงกับโรงพยาบาลหรือคลินิกเพื่อขอสิทธิ์แจกตัวอย่างนมผสมฟรีแก่แม่หลังคลอด ข้อตกลงเหล่านี ้มักมาพร้อมกับเงิน“ของขวัญ”ซึ่งบางรายมากถึงล้านดอลล่าร์ด้วยเหตุดังกล่าวการให้อาหารทารกจึงกลับกลายเป็นการชั่งตวงวัดและ”การสั่งการรักษา” การให้นมแม่แปรเปลี่ยนจากพฤติกรรมปกติธรรมดาเป็นขบวนการที่ยุ่งยากลำบากและล้าสมัย
ในที่สุดชุมชนการแพทย์จึงมีความเห็นแตกแยกกันฝ่ายหนึ่งต้องการได้รับการสนับสนุนทางการเงิน และผลประโยชน์จากบริษัทนมผสมต่อไป แต่อีกฝ่ายเห็นว่ากิจกรรมเหล่านั้นเป็นผลร้ายต่อสุขภาพทารก ผลกระทบต่อระบบสุขภาพกำลังค่อยๆได้รับการเยียวยาแก้ไข เพราะผู้ให้บริการสุขภาพโรงพยาบาลและคลินิก เริ่มเห็นความ สำคัญของการสนับสนุนการให้นมแม่และต้องเริ่มรุกในการปกป้องนมแม่จากการแทรกแซงทางการค้า
เมื่อตลาดนมผสมเติบโตขึ้น ผลกระทบด้านลบของนมผสมต่อสุขภาพของทารกเริ่มเห็นได้ชัดเจนขึ้น ในสถานการณ์ที่จำเป็นด้านการแพทย์ การใช้นมผสมสามารถช่วยชีวิตเด็กได้ แต่การให้โดยไม่จำเป็นทำให้ ทารกเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพร้ายแรงหลายประการ ทารกในชุมชนยากจนยิ่งเสี่ยงมาก ค่าหุงต้มและการขาดแคลนน้ำสะอาดเพื่อเตรียมนมผสมทำให้ผลิตภัณฑ์มีการปนเปื้อน อัตราตายด้วยโรคท้องร่วงในทารกที่ไม่ได้กินนมแม่สูงกว่าทารกที่กินนมแม่16-25เท่า
ด้วยรายได้ที่ต่ำทำให้ไม่มีเงินซื้อนมผสมจำนวนเพียงพอ เด็กในครอบครัวยากจนจึงมักจะได้กินนมผสมที่เจือจางหรือไม่ได้กินเลย โดยการโฆษณาอย่างดุเดือดและหลอกลวง Nestleและบริษัทนมผสมอื่นๆโน้มน้าวให้แม่หลายล้านคนในประเทศที่ยากจนหันมาใช้นมขวด เมื่อนมขวดเริ่มแพร่หลายผลที่ตามมาก็แพร่หลายด้วย “โรคที่เกิดจากการโฆษณา” ภาวะทุโภชนาการและความตาย
เมื่อถึงทศวรรษที่1970ชุมชนสากลตระหนักว่าพวกเรากำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตทางสุขภาพ หลังจากการประชุมร่วมกันในปี1979โดยผู้แทนจากWHO unicef และผู้ให้บริการทางสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องได้แนะนำให้ร่าง “code” เพื่อควบคุมการตลาดของผลิตภัณฑ์ทดแทนนมแม่
เพื่อเป็นการตอบสนอง World Health Assembly ของ WHO ได้ยอมรับ The International Code of Marketing of Breast-milk Substitutes เพื่อตั้งกฎควบคุมการตลาดนมผสมที่ไม่รับผิดชอบและก่อให้เกิดอันตราย
ขณะที่หลายประเทศได้นำInternational Code มาใช้มากขึ้นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องยังคงไม่เคารพข้อตกลง ในปี1994 WHO รายงานว่าทุกๆปีทารกประมาณ 1.5 ล้านคน เสียชีวิตเพราะไม่ได้กินนมแม่ ขณะที่อีก หลายล้านเป็นโรคขาดอาหารและโรคอื่นๆ ผลเสียจาการกินนมผสมโดยไม่จำเป็นมีเหมือนกันทั่วโลก ในทวีปอเมริกาเหนือ ทารกที่กินนมผสมมีโอกาสเสี่ยงทางสุขภาพและพัฒนาการมากอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งผลระยะสั้นคือโรคติดเชื้อและผลระยะยาวคือ ภาวะโรคเรื้อรัง ผู้ที่อยู่ในชุมชนยากจนใน Canada และ America มีโอกาสเสี่ยงเหล่านี้รุนแรงขึ้น
ทารกที่กินนมผสมมีโอกาสเสี่ยงสูงขึ้นที่จะเกิดโรคเบาหวาน,Cancer,การติดเชื้อที่หู และทางเดินหายใจ, การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร, asthma, โรคภูมิแพ้ และโรคอ้วน ทารกที่ไม่ได้กินนมแม่มีคะแนนintelligence test ต่ำกว่า และมีแนวโน้มจะมีปัญหาในโรงเรียน การศึกษาโดยChenและRogan of Epidemiology Branch of the National Institute of Health รายงานว่าการใช้นมผสมทำให้ทารกอายุ1-12เดือนเสียชีวิตปีละ720 ราย ในCanadaก็น่าจะมีจำนวนสัดส่วนใกล้เคียงกัน
B.ปกป้องการให้นมแม่โดย ”marketing code”
เมื่อพบกับปัญหาอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดต่ำลง และวิกฤตการตายของทารกในประเทศที่ยากจน ชุมชนสากลจึงแสวงหาคำตอบเพื่อปกป้องสุขภาพของเด็กและทารก WHO และ unicef เล็งเห็นว่าการโฆษณานมผสมนั่นเองที่เป็นสาเหตุ ดังนั้นผลสรุปจาก Joint meeting on Infant and Young Child Feeding ทำให้มีการยอมรับ the International Code of Marketing of Breast-Milk Substitutes ที่ World Health Assembly ครั้งที่ 34 ในปี1981 โดยสมาชิก 118 จาก 119 ประเทศออกเสียงสนับสนุน เสียงคัดค้านเพียงหนึ่งเดียวมาจาก USA ด้วยเกรงว่า International Code อาจมีผลกระทบต่อกำไรโดยรวม Canadaถึงแม้จะสนับสนุนInternational Codeในระดับสากลแต่ก็ยังไม่ได้นำข้อตกลงหลายข้อมาแปรเปลี่ยนเป็นกฎของประเทศ
ตั้งแต่เริ่มใช้ International Code ประเทศสมาชิกต้องรายงานการนำไปใช้และแนะนำข้อแก้ไขใหม่ๆ เพื ่อปกป้องการให้นมแม่ ดังนั้นทุกปีค.ศ.ที่ลงท้ายด้วยเลขคี่ Assembly จะมีการผ่านร่างข้อแก้ไขเพื่อปิดช่องโหว่ทางการตลาด และกระตุ้นให้รัฐบาลภาคระบบสุขภาพและอุตสาหกรรมรักษาสัญญาที ่ให้ไว้ภายใต้ International Code มีความตั้งใจที่จะให้ International Code และข้อแก้ไขอื่นๆที่ตามมาเป็น “minimum requirement” เพื่อปกป้อง healthy practice ที่เกี่ยวข้องกับการให้อาหารทารกและเด็กเล็ก ชื่อ International code ก็บ่งอยู่แล้วว่า ไม่ได้ใช้เฉพาะประเทศที่ยากจนอย่างที่บริษัทนมผสมมักจะอ้างกัน แต่ใช้กับทุกประเทศและทุกแห่ง การปกป้องการให้นมแม่มีความสำคัญต่อแม่และทารกทุกคน
เพื่อให้Codeได้ผลทุกส่วนที่เกี่ยวข้องต้องทำงานอย่างขยันขันแข็ง เพื่อผลักดันให้มีการนำไปใช้ โดยรัฐบาลต้องเป็นผู้นำนำCode มาเป็นนโยบายอย่างเป็นทางการของรัฐบาล หรือผ่านเป็นร่างกฎหมายหรือข้อตกลงและต้องมีการบังคับใช้ด้วย ณ ปี 2004 มากกว่า 27 ประเทศได้ผ่าน Code เป็นกฎหมาย , 33ประเทศมีหลายบทใน Code เป็นกฎหมาย,18 ประเทศมีนโยบายหรือมาตรการแบบสมัครใจ และ33ประเทศกำลังร่างข้อตกลงและรอความเห็นชอบขั้นสุดท้าย การนำ code ไปใช้อย่างจริงจังยังคงเป็นเป้าหมายของพ่อแม่ผู้ให้บริการสุขภาพ และประชาชนใน Canada และ USA
C.การตลาดของการให้นมผสมแข่งกับการให้นมแม่อย่างไร?
บริษัทนมผสมแข่งกับการให้นมแม่โดยตรง เพราะถ้าแม่ยังคงให้นมแม่อยู่เธอก็จะไม่ซื้อนมผสมบริษัทนมผสมใช้เงินนับล้านบาทต่อปีโหมการโฆษณาที่สะท้อนภาพของการให้นมแม่ ว่าไม่เหมาะเท่ากับการให้นมผสม ความสำเร็จของการโฆษณาขึ้นกับการฝังรากความเชื่อลงไปในหัวใจของผู้บริบาลสุขภาพ ผู้กุมนโยบายพ่อแม่และสาธารณชนว่านมผสมปลอดภัย,ทันสมัยและล้ำหน้าทางวิทยาศาสตร์มากกว่า
การได้รับความสนับสนุนจากระบบสุขภาพยังคงเป็นทางที่ได้ผลดีที่สุดสำหรับบริษัทนมผสม ที่จะส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ของพวกเขา ในทวีป อเมริกาเหนือ บริษัท Mead Johnson, Wyeth, Ross Laboratories เจาะตลาดได้มากโดยการทำสัญญาเฉพาะกับทางโรงพยาบาล บริษัทเหล่านี้ประมาณว่า 93% ของแม่จะยังคงซื้อนมผสมที่ได้รับแจกตอนกลับบ้าน
เมื่อNestleบุกตลาดทวีปอเมริกาเหนือในปี1980 บริษัทฝ่าเข้าในระบบสุขภาพไม่สะดวก จึงทำการตลาดโดยตรงกับพ่อแม่และสาธารณชน ลงโฆษณาในนิตยสารเกี่ยวกับการดูแลเด็ก,สนับสนุนการแสดงของพ่อแม่,ส่งตัวอย่างนมผสมฟรีถึงบ้าน,นอกจากนี้ยังคงหามิตรจากบุคลากรทางการแพทย์โดยให้เงินสนับสนุนวารสารทางการแพทย์,การวิจัยและให้ของขวัญ การที่ระบบสุขภาพรับการสนับสนุนจากบริษัทเหล่านี้ทำให้ความเชื่อถือที่สาธารณชนเคยมีต่อสถาบันสุขภาพถดถอยลงเพราะไม่เป็น “อิสระจากอิทธิพลของการโฆษณา” อีกต่อไปแล้ว
การที่แพทย์ พยาบาลหรือโภชนากร มอบตัวอย่างนมผสมฟรี แจกบทความที่สนับสนุนนมผสมให้แก่แม่ตั้งครรภ์ หรือหลังคลอด การยอมรับการสนับสนุนการจัดประชุมวิชาการหรือการให้บริการต่างๆในคลินิกเป็นเครื่องบ่อนทำลายจริยธรรมและศักยภาพของสถาบัน เพราะสาธารณชนคาดหวังว่าสถาบันสุขภาพจะทำงานเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม เมื่อระบบสุขภาพเริ่มรู้ตัวว่ามีความขัดแย้งกันเรื่องผลประโยชน์ระหว่างสุขภาพของทารกและบทบาทของตนในการเพิ่มการให้นมผสม จึงมีความก้าวหน้าในการนำ International Code และ Ten Steps of WHO/UNICEF Baby-Friendly Hospital Initiatives มาใช้ และแนะนำระยะเวลาที่ควรให้ นมแม่เพียงอย่างเดียว
ในระยะหลังผู้ผลิตนมผสมเริ่มกล่าวอ้างสรรพคุณทางโภชนาการและสุขภาพของผลิตภัณฑ์ เพราะเหตุว่าอิทธิพลของกลุ่มนี้ในระบบสุขภาพเริ่มคลอนแคลน จึงยิ่งมีความจำเป็นต้องหาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาสนับ สนุน ความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตามเครื่องมือด้านการตลาดแบบนี้จะยิ่งกัดกร่อนความน่าเชื่อถือของอุตสาหกรรมนี้และของสถาบันสุขภาพที่ยังเกี่ยวข้องกับการทำการตลาดเช่นนี้
ข้อกล่าวอ้างเช่น “สายตาดีขึ้น” และ “พัฒนาการด้านสติปัญญาดีกว่า” ไม่มีรากฐานทางวิทยาศาสตร์ และทำให้พ่อแม่เข้าใจผิดว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้เท่าเทียม หรือดีกว่าน้ำนมแม่ ประเทศสมาชิกของ WHO พิจารณา International Code เป็นครั้งแรกเมื่อ1981 เมื่อกิจกรรมด้านการตลาดมีวิวัฒนาการไปและมีความพยายามหาทางเลี่ยงข้อตกลงใน code จึงจำเป็นต้องปรับปรุงและปิดช่องโหว่เพื่อปกป้องการให้นมแม่และสุขภาพของทารกและเด็กเล็กต่อเนื่องต่อไป
โดย Elisabeth Sterken ที่มา : บทความประกอบการบรรยายของวิทยากร
การประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 1 (14-16 ธ.ค. 48) |