ReadyPlanet.com
ardo calypso
dot
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : ข้อควรปฎิบัติ
dot
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 1
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 2
bulletวิธีเลือกกุมารแพทย์ให้ลูก
bulletก่อนคลอด
bulletสิ่งที่ต้องทำเมื่ออยู่ ร.พ.
bulletหลังคลอด
bulletท่าในการให้นม
bulletBreast Crawl
bulletความคาดหวังของลูกน้อย
bulletบันทึกการให้นมลูก
bulletวิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง
bulletสัมผัสรักระหว่างแม่ลูก
bulletโรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
bulletแบบสอบถาม
dot
ปัญหาเรื่อง นมแม่
dot
bulletวิธีแก้ปัญหานมไม่พอ
bullet"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ
bulletนมพอหรือไม่
bulletเมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)
bulletอาหารเพิ่มน้ำนม
bulletวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม
bulletWorkshop เพิ่มน้ำนม (new)
bulletยาประสระน้ำนม
bulletDomperidone (Motilium)
bulletยาเพิ่มน้ำนม Motilium
bulletคำเตือนสำหรับการใช้ยา Domperidone
bulletน้ำหนักตัวเพิ่มช้า
bulletน้ำหนักตัวน้อย
bulletเจ็บหน้าอก หัวนมแตก
bulletการบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม
bulletลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า
bulletตัวเหลือง
bulletสารพันปัญหา
บริจาคนมแม่
dot
เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
dot
bullet20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน
bulletมาทำ stock น้ำนม กันเถอะ
bulletวิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
bulletจะให้ลูกกินอะไรเมื่อแม่ไปทำงาน
bulletวิธีเก็บรักษานมแม่
bulletต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?
bulletโปรแกรมคำนวณนมแม่
bulletยาคุมกำเนิด
dot
คุณแม่นักปั๊ม
dot
bulletการปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม
bulletปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
bulletข้อคิดก่อนซื้อ ที่ปั๊มนม
bulletเพิ่มน้ำนมภายใน 14 วันแรก
bulletเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
bulletซื้อเครื่องปั๊มที่ไหนดี
bulletปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี
bulletเรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
bulletถุงเก็บน้ำนมแม่
dot
กลเม็ดเคล็ดลับ
dot
bulletวิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new)
bulletบีบด้วยมือ vs ปั๊มด้วยเครื่อง
bullet10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี
bulletนอนให้นม...สบายมากๆ เลย
bulletอุปกรณ์เสริม ช่วยแม่ให้นมลูก
bulletมุมให้นมแม่
bulletวิธีพาสเจอร์ไรซ์นมแม่
dot
ปัญหาที่พบไม่บ่อย
dot
bulletลิ้นติด (Tongue Tie)
bulletเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่
bulletต้องการถามปัญหาอื่นๆ
bulletทำไมทารกร้องไห้โยเย
dot
หนังสือแนะนำ
dot
bulletขอรับหนังสือนมแม่ฟรี
bulletการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletสร้างชีวิตมหัศจรรย์ด้วยน้ำนมแม่
bulletนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก
bullet เคล็ดลับ...แม่มือใหม่ "นมแม่"
bulletเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletพัฒนาสมองด้วยนมแม่...
bulletGuide to Breastfeeding
dot
แหล่งข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่
dot
bulletคลินิกนมแม่ทั่วประเทศ
bulletนมแม่ แน่ที่สุด
bulletศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
bulletคลีนิครัก
bulletศริริราชออนไลน์
bulletสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
bulletwww.breastfeeding.com
bulletPromom
bulletรักลูก
bulletLa Leche League
bullet4woman
bulletMother & Child Health
bulletWABA
bulletBreastfeedingonline
bulletDr. Sears
bulletbreastfeedingbasics
bulletwebboard
bulletkellymom
bulletDr. Jack Newman
bulletInfact
bulletgotbreastpump
bulletNew Beginnings
bulletโครงการสายใยรัก
bulletศูนย์ข้อมูล สสส
bulletUNICEF
bulletbreastfeedingmadesimple
bullethm4hb
bulletLactation Narration
bulletNormalFed
dot
Brainfeeding
dot
bulletเก็บมาฝาก
bulletIf we don't care, who will?
bullet๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา
bulletสัมภาษณ์ ดร. อาจอง ชุมสาย ฯ
bulletคนดีของพ่อ
bulletเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้รู้
bulletคุยกับประภาส
dot
Sponsor Link
dot
bulletbfdcenter
bulletร้านนมแม่
bulletศูนย์รวมฟิล์มทุกชนิด
bulletV-Kool
bulletSuvarnabhumi Airport Hostel
bulletBussaba Bangkok Boutique Hotel Suvarnabhumi Airport
bulletbeing-mom
bulletมีลูกยาก
bulletSite Map
ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี whisper
unimom allegro
ardo calypso
Ardo Carum
bulletนมแม่


ร้านนมแม่-เครื่องปั๊มนม


น้ำหนักตัวเพิ่มช้า

 

บทนำ

 

บางครั้งทารกที่ดูดนมจากอกแม่เพียงอย่างเดียวและน้ำหนักเพิ่มได้ดีในช่วงเดือนแรกๆ เริ่มจะน้ำหนักเพิ่มขึ้นไม่มากหลังจาก 2-4 เดือน นี่อาจเป็นเรื่องปกติ เพราะทารกที่กินนมแม่จะไม่โตตามกราฟแสดงการเจริญเติบโตของเด็กกินนมผสม มันอาจดูเหมือนทารกที่กินนมแม่โตช้าเกินไป แต่ความเป็นจริงคือ ทารกที่กินนมผสมโตเร็วเกินไปต่างหาก

 

การให้ลูกดูดนมจากอกแม่ คือวิธีให้อาหารแก่ทารกและเด็กอ่อนซึ่งเป็นวิธีปกติ เป็นไปตามธรรมชาติและความเหมาะสมทางกายภาพ การใช้ทารกที่กินนมผสมเป็นแม่แบบของความปกติเป็นเรื่องไม่สมเหตุสมผล และจะยังนำไปสู่ความเข้าใจผิดในการแนะนำคุณแม่เกี่ยวกับการให้อาหารและการเจริญเติบโตของทารกอีกด้วย

 

ในบางกรณี ความเจ็บป่วยอาจจะทำให้ทารกน้ำหนักเพิ่มขึ้นช้ากว่าที่ควรจะเป็น แต่การให้ทารกกินนมผสมเพิ่มเติมจากการให้กินนมแม่ไม่ได้ช่วยให้เขาหายป่วย และทารกอาจจะสูญเสียข้อดีทั้งหลายที่จะได้จากการดูดนมจากอกแม่เพียงอย่างเดียวอีกด้วย คุณแม่ควรจะดูออกว่าทารกได้รับนมเพียงพอหรือไม่ (ดูข้างล่าง) ถ้าทารกได้รับนมไม่พอ ส่วนใหญ่ไม่ใช่เพราะเขาไม่สบาย แต่มักจะเกิดจากนมแม่มีปริมาณลดลง สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด เวลาที่ทารกน้ำหนักตัวเพิ่มช้ามากจนผิดปกติหลังจาก 2-3 สัปดาห์หรือ 2-3 เดือนแรก คือ น้ำนมแม่มีปริมาณลดลง

 

ทำไมน้ำนมจึงมีปริมาณลดลงได้

 

1. คุณแม่อาจอยู่ระหว่างกินยาคุมกำเนิด ถ้าคุณแม่กินยาคุมกำเนิด ให้หยุดกิน นอกเหนือจากการกินยาคุมกำเนิด ยังมีวิธีการอื่นที่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้

 

2. คุณแม่กำลังตั้งครรภ์

 

3. คุณแม่พยายามยืดช่วงเวลาระหว่างการให้นมแต่ละครั้งให้ห่างออกไป หรือพยายามจะ “หัด” ลูกให้นอนหลับตลอดคืน ถ้านี่เป็นสาเหตุ คุณแม่ควรให้ทารกกินนมเมื่อเขาหิว หรือเมื่อเขาเริ่มดูดนิ้วมือตัวเอง

 

4. คุณแม่ใช้ขวดนมบ่อยขึ้น แม้กระทั่งตอนที่ยังมีน้ำนมมากอยู่ การใช้ขวดบ่อยๆ ก็จะทำให้ทารกไม่งับหัวนมให้สนิทดีเวลาที่เขาคาดหวังว่าน้ำนมจะไหลเร็ว ถึงแม้คุณแม่จะให้กินนมขวดที่ใส่นมแม่เพียงอย่างเดียวก็ตาม เมื่อน้ำนมไหลช้าลงทารกจะผละออกจากอกแม่ ทำให้เขาใช้เวลาอยู่ที่อกแม่น้อยลง และปริมาณน้ำนมก็จะยิ่งลดลงไปอีก

 

5. บางครั้งอาการ “ช็อค” ทางอารมณ์ ก็จะทำให้ปริมาณน้ำนมลดลงได้เหมือนกัน

 

6. บางครั้งการป่วยก็อาจทำให้น้ำนมลดลง โดยเฉพาะโรคที่ทำให้เกิดอาการไข้ รวมทั้งโรคติดเชื้อที่หัวนม แต่โชคดีที่การเจ็บป่วยที่เกิดกับคุณแม่ส่วนใหญ่มักจะไม่ทำให้ปริมาณน้ำนมลดลง

 

7. คุณแม่อาจจะทำงานมากเกินไป คุณไม่จำเป็นต้องเป็นยอดคุณแม่ ให้คนอื่นช่วยทำงานบ้าน พยายามนอนหลับพักผ่อนเวลาที่ลูกหลับ และให้ทารกดูดนมตอนที่คุณแม่หลับ

 

8. ยาบางชนิดอาจทำให้น้ำนมลดลง เช่น ยาแก้แพ้บางชนิด (เช่น เบ็นดรีล) ยาลดน้ำมูกบางชนิด (เช่น ซูดาเฟ็ด)

 

9. คุณแม่ให้ทารกกินนมแค่ข้างเดียวในการกินนมแต่ละครั้ง เพราะอยากให้ทารกได้รับนมส่วนหลัง (hindmilk) ซึ่งมีไขมันสูง แต่อย่าลืมว่าถ้าทารกดูดนมไม่ถูกวิธี เขาก็จะไม่ได้กินนมเลย และถ้าเขาไม่ได้นมเลย เขาก็จะไม่มีทางได้นมส่วนหลังเช่นกัน ควรให้ทารกกินนมให้หมดข้างหนึ่งก่อน และถ้าเขายังต้องการกินต่อก็ควรให้เขากินอีกข้างหนึ่งต่อด้วย

 

10. อาจเกิดจากหลายสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นร่วมกัน

 

11. บางครั้งน้ำนมจะลดลงโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน (โดยเฉพาะช่วงประมาณ 3 เดือน) แต่โดยทั่วไปแล้วคุณจะน่าจะสามารถหาสาเหตุได้จากย่อหน้าถัดไป

 

อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำนมลดปริมาณลง ต้องมีคำขยายความเพิ่มเติม ในช่วงสัปดาห์แรกๆ ทารกมักจะผล็อยหลับเวลาที่น้ำนมไหลช้าลง (การที่น้ำนมไหลช้ามักจะเกิดเร็วขึ้นถ้าทารกไม่สามารถงับหัวนมได้สนิทดี เพราะทารกจะได้กินน้ำนมจากกลไกการหลั่งน้ำนม หรือการที่น้ำนมพุ่งออกมาเองเท่านั้น : Milk Ejection Reflex หรือ Let down reflex) ทารกจะดูดนมสลับกับนอนหลับ โดยไม่ได้รับน้ำนมเยอะๆ ในช่วงนี้ แต่คุณแม่อาจจะยังมีกลไกการหลั่งน้ำนม (หรือการที่น้ำนมพุ่งออกมาเอง) เป็นครั้งคราว ซึ่งจะทำให้ทารกได้กินนมมากขึ้น ตอนที่คุณแม่มีน้ำนมมาก น้ำหนักตัวของทารกจะเพิ่มขึ้นตามปกติ แต่เขามักจะใช้เวลาอยู่ที่อกแม่นานทั้งๆ ที่คุณแม่มีน้ำนมมาก

 

แต่เมื่ออายุได้ประมาณ 6-8 สัปดาห์หรือน้อยกว่านั้น  ทารกหลายๆ คนก็เริ่มจะผละออกจากอกแม่เวลาที่น้ำนมไหลช้าลง โดยมากหลังจากเริ่มกินนมได้ไม่กี่นาที ลักษณะเช่นนี้มักจะเกิดในทารกที่เริ่มกินนมจากขวดตั้งแต่เนิ่นๆ แต่ก็อาจเกิดในทารกที่ไม่ได้กินนมจากขวดเลยได้ด้วยเช่นกัน ส่วนมากคุณแม่ก็มักจะเปลี่ยนให้ทารกไปดูดนมจากอกอีกข้างหนึ่ง แต่ทารกก็จะผละจากอกแม่อีกเหมือนเดิม เขาอาจจะยังรู้สึกหิวอยู่ แต่ก็จะไม่ยอมกินนมจากเต้านมและดูดนิ้วมือตัวเองแทน แล้วเขาก็จะไม่ได้น้ำนมที่หลั่งออกมาเองซึ่งเขาควรจะได้กินถ้าเขายังคงอยู่ที่หน้าอกแม่ด้วย

 

ดังนั้นทารกจะกินนมได้น้อยลง และปริมาณน้ำนมของคุณแม่ก็จะลดลงเพราะทารกดูดน้อยลง แล้วน้ำนมก็จะไหลช้าลงแม้แต่ในช่วงแรกของการกินนม (เพราะมีน้ำนมอยู่น้อย) นี่คงพอจะทำให้คุณแม่เข้าใจได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป แต่บางทีสิ่งที่เกิดขึ้นก็อาจจะไม่ได้เป็นแบบที่ว่านี้เสมอไป ทารกหลายคนมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ดีทั้งที่ใช้เวลาอยู่ที่หน้าอกแม่ไม่นาน พวกเขาอาจจะผละออกจากอกแม่และดูดนิ้วตัวเองเพราะเขายังอยากดูดอยู่ แต่ถ้าน้ำหนักตัวของเขาเพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสม คุณแม่ก็ไม่จำเป็นต้องวิตกกังวล

 

วิธีป้องกันในกรณีสุดท้ายนี้ คือ ทำให้ทารกงับหัวนมได้สนิทดีตั้งแต่ครั้งแรกๆ ที่ให้เขากินนม แต่บางทีคุณแม่หลายๆ คนก็ได้รับการบอกเล่าว่าทารกงับหัวนมได้สนิทดี ทั้งที่ไม่ใช่ การงับหัวนมให้สนิทดีขึ้นช่วยแก้ปัญหาได้ แม้กระทั่งหลังจากเวลาผ่านไปนานแล้ว นอกจากนี้การบีบหน้าอกมักจะทำให้ทารกยังคงได้กินนมต่อไป (ดู วิธีการในการเพิ่มปริมาณการกินนมของทารก)

 

บางครั้งยาดอมเพอริโดนจะทำให้น้ำนมเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ห้ามใช้ยานี้ถ้าคุณกำลังตั้งครรภ์ (ดูแผ่นพับเรื่องยาดอมเพอริโดน)

 

คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าทารกได้กินนมเวลาที่เขาอยู่ที่อกแม่

 

ในขณะที่เด็กทารกกินนมได้ (ไม่ใช่แค่เพราะเขามีเต้านมอยู่ในปากและทำท่าดูด) คุณจะต้องเห็นว่าหลังจากที่เขาอ้าปากและดูดนมได้ปริมาณมากพอ จะต้องมีการหยุดเคลื่อนไหวตรงปลายคางก่อนที่เขาจะปิดปาก ดังนั้นการดูดนม 1 ครั้ง คือ อ้าปากกว้าง --> หยุด --> ปิดปาก ถ้าคุณต้องการจะสาธิตการดูดแบบนี้ด้วยตัวเอง ให้ลองเอานิ้วชี้ใส่ปากตัวเอง และดูดนิ้วเหมือนกับดูดน้ำจากหลอดกาแฟ ขณะที่คุณดูดเข้าไป คางของคุณจะลดต่ำลงและค้างอยู่ในตำแหน่งนั้นไปเรื่อยๆ เมื่อคุณหยุดดูด คางของคุณจะกลับมาที่ตำแหน่งเดิม ถ้าคุณสังเกตเห็นการหยุดเคลื่อนไหวแบบนี้ที่บริเวณคางของลูก นั่นหมายความว่า ลูกของคุณดูดนมได้จนเต็มปากของเขาในการดูดแต่ละครั้ง

ยิ่งมีการหยุดเคลื่อนไหวนานเท่าไร ทารกก็ยิ่งดูดนมได้มากเท่านั้น เมื่อคุณเข้าใจการดูดนมที่มีการหยุดเคลื่อนไหวของคางแบบที่ว่านี้แล้ว คุณก็ไม่จำเป็นต้องใส่ใจกับคำแนะนำไร้สาระต่างๆ ที่บอกต่อๆ กันมาเกี่ยวกับการให้ลูกกินนมแม่  เช่น ต้องให้ลูกดูดนมจากเต้านมข้างละ 20 นาที ทารกที่ดูดนมในลักษณะนี้ (มีการหยุดเคลื่อนไหวคาง) อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 20 นาที อาจจะไม่ยอมดูดนมอีกข้างหนึ่งเลยด้วยซ้ำ ในขณะที่เด็กทารกที่อมหรือตอดหัวนมอยู่ 20 ชั่วโมง (โดยไม่ได้กินนม) ก็จะยังรู้สึกหิวอยู่หลังจากแม่ให้นมเสร็จแล้ว

 

คุณสามารถดูวิดีโอที่ เว็บไซต์ ซึ่งมีวิดีโอแสดงการงับหัวนมอย่างถูกวิธี วิธีดูว่าทารกได้กินนมหรือไม่ และวิธีการบีบหน้าอกช่วยทารกดูดนม

 

แผ่นพับที่ 25 - น้ำหนักตัวเพิ่มช้าลงหลังจาก 2-3 เดือนแรก (ตุลาคม 2549)

แปลและเรียบเรียงโดย นิจวรรณ ตั้งวิรุฬห์

จาก Handout #25: Slow Weight Gain After the First Few Months. January 2005

Written by Jack Newman, MD, FRCPC. © 2005

 

แผ่นพับนี้สามารถคัดลอกและนำไปแจกจ่ายได้โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากผู้เขียน/ผู้แปล โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่นำไปใช้ในทางที่จะละเมิดหลักเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับการทำการตลาดของนมผสมและสารทดแทนนมแม่

 

บทความนี้แปลโดยคุณนิจวรรณ ตั้งวิรุฬห์ ซึ่งสละเวลาส่วนตัวทำให้โดยมิได้รับค่าตอบแทนใดๆ หากคุณผู้อ่านทุกท่านอ่านบทความนี้แล้วรู้สึกว่าได้ประโยชน์ ขอความกรุณาส่งคำขอบคุณสั้นๆ ให้ผู้แปลบ้าง เราเชื่อว่าน่าจะเป็นการตอบแทนซึ่งทำให้ผู้รับอิ่มใจไม่น้อยค่ะ

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด