ReadyPlanet.com
ardo calypso
dot
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : ข้อควรปฎิบัติ
dot
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 1
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 2
bulletวิธีเลือกกุมารแพทย์ให้ลูก
bulletก่อนคลอด
bulletสิ่งที่ต้องทำเมื่ออยู่ ร.พ.
bulletหลังคลอด
bulletท่าในการให้นม
bulletBreast Crawl
bulletความคาดหวังของลูกน้อย
bulletบันทึกการให้นมลูก
bulletวิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง
bulletสัมผัสรักระหว่างแม่ลูก
bulletโรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
bulletแบบสอบถาม
dot
ปัญหาเรื่อง นมแม่
dot
bulletวิธีแก้ปัญหานมไม่พอ
bullet"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ
bulletนมพอหรือไม่
bulletเมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)
bulletอาหารเพิ่มน้ำนม
bulletวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม
bulletWorkshop เพิ่มน้ำนม (new)
bulletยาประสระน้ำนม
bulletDomperidone (Motilium)
bulletยาเพิ่มน้ำนม Motilium
bulletคำเตือนสำหรับการใช้ยา Domperidone
bulletน้ำหนักตัวเพิ่มช้า
bulletน้ำหนักตัวน้อย
bulletเจ็บหน้าอก หัวนมแตก
bulletการบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม
bulletลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า
bulletตัวเหลือง
bulletสารพันปัญหา
บริจาคนมแม่
dot
เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
dot
bullet20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน
bulletมาทำ stock น้ำนม กันเถอะ
bulletวิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
bulletจะให้ลูกกินอะไรเมื่อแม่ไปทำงาน
bulletวิธีเก็บรักษานมแม่
bulletต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?
bulletโปรแกรมคำนวณนมแม่
bulletยาคุมกำเนิด
dot
คุณแม่นักปั๊ม
dot
bulletการปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม
bulletปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
bulletข้อคิดก่อนซื้อ ที่ปั๊มนม
bulletเพิ่มน้ำนมภายใน 14 วันแรก
bulletเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
bulletซื้อเครื่องปั๊มที่ไหนดี
bulletปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี
bulletเรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
bulletถุงเก็บน้ำนมแม่
dot
กลเม็ดเคล็ดลับ
dot
bulletวิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new)
bulletบีบด้วยมือ vs ปั๊มด้วยเครื่อง
bullet10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี
bulletนอนให้นม...สบายมากๆ เลย
bulletอุปกรณ์เสริม ช่วยแม่ให้นมลูก
bulletมุมให้นมแม่
bulletวิธีพาสเจอร์ไรซ์นมแม่
dot
ปัญหาที่พบไม่บ่อย
dot
bulletลิ้นติด (Tongue Tie)
bulletเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่
bulletต้องการถามปัญหาอื่นๆ
bulletทำไมทารกร้องไห้โยเย
dot
หนังสือแนะนำ
dot
bulletขอรับหนังสือนมแม่ฟรี
bulletการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletสร้างชีวิตมหัศจรรย์ด้วยน้ำนมแม่
bulletนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก
bullet เคล็ดลับ...แม่มือใหม่ "นมแม่"
bulletเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletพัฒนาสมองด้วยนมแม่...
bulletGuide to Breastfeeding
dot
แหล่งข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่
dot
bulletคลินิกนมแม่ทั่วประเทศ
bulletนมแม่ แน่ที่สุด
bulletศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
bulletคลีนิครัก
bulletศริริราชออนไลน์
bulletสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
bulletwww.breastfeeding.com
bulletPromom
bulletรักลูก
bulletLa Leche League
bullet4woman
bulletMother & Child Health
bulletWABA
bulletBreastfeedingonline
bulletDr. Sears
bulletbreastfeedingbasics
bulletwebboard
bulletkellymom
bulletDr. Jack Newman
bulletInfact
bulletgotbreastpump
bulletNew Beginnings
bulletโครงการสายใยรัก
bulletศูนย์ข้อมูล สสส
bulletUNICEF
bulletbreastfeedingmadesimple
bullethm4hb
bulletLactation Narration
bulletNormalFed
dot
Brainfeeding
dot
bulletเก็บมาฝาก
bulletIf we don't care, who will?
bullet๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา
bulletสัมภาษณ์ ดร. อาจอง ชุมสาย ฯ
bulletคนดีของพ่อ
bulletเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้รู้
bulletคุยกับประภาส
dot
Sponsor Link
dot
bulletbfdcenter
bulletร้านนมแม่
bulletศูนย์รวมฟิล์มทุกชนิด
bulletV-Kool
bulletSuvarnabhumi Airport Hostel
bulletBussaba Bangkok Boutique Hotel Suvarnabhumi Airport
bulletbeing-mom
bulletมีลูกยาก
bulletSite Map
ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี whisper
unimom allegro
ardo calypso
Ardo Carum
bulletนมแม่


ร้านนมแม่-เครื่องปั๊มนม


การบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม

 

การบีบหน้าอก (Breast Compression)

จุดประสงค์ของการบีบหน้าอก คือ เพื่อให้น้ำนมยังคงไหลต่อไปเมื่อทารกหยุดดูดนมด้วยตัวเอง (ซึ่งจะดูดแบบ “อ้าปากกว้าง – หยุด – ปิดปาก”) และช่วยทำให้ทารกยังสามารถกินนมได้ต่อไป การบีบหน้าอกเป็นการเลียนแบบกลไกการหลั่งน้ำนม (letdown reflect) และช่วยกระตุ้นให้เกิดกลไกการหลั่งน้ำนมตามธรรมชาติ การบีบหน้าอกจะมีประโยชน์ในกรณีต่อไปนี้

1. ทารกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นน้อย
2. ทารกมีอาการโคลิก
3. ต้องให้นมถี่ๆ หรือใช้เวลาให้นมนาน
4. คุณแม่มีอาการเจ็บหัวนม
5. ท่อน้ำนมอุดตัน
6. กระตุ้นให้ทารกที่มักจะผล็อยหลับไปอย่างรวดเร็วได้กินนมต่อไปอย่างต่อเนื่อง แทนที่จะดูดนมเฉยๆ (โดยไม่ได้กินนม)

ถ้าการให้นมเป็นไปได้ด้วยดี คุณแม่ก็ไม่จำเป็นต้องใช้การบีบหน้าอกช่วย ในกรณีที่ทุกอย่างเป็นไปด้วยดี คุณแม่ควรจะให้ทารกกินนมจากเต้านมข้างแรก “ให้หมด” ก่อน และถ้าทารกยังต้องการกินนมต่อ จึงให้เขากินนมจากเต้านมอีกข้างหนึ่ง
 ทีนี้คุณแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกกินนมเสร็จแล้ว? ถ้าเมื่อไรที่เขาไม่ได้กินนมจากอกแม่ (คือไม่ได้ดูดแบบ “อ้าปากกว้าง – หยุด – ปิดปาก”) แสดงว่าลูกกินนมเสร็จแล้ว

การบีบหน้าอกจะให้ผลค่อนข้างดีในช่วงวันแรกๆ ในการช่วยทำให้ทารกได้รับนมน้ำเหลือง (colostrum) มากขึ้น ทารกไม่จำเป็นต้องได้รับนมน้ำเหลืองเยอะแยะมากมาย แต่ก็ควรจะต้องได้รับในปริมาณหนึ่ง  การที่ลูกสามารถงับหัวนมได้ดีและการบีบหน้าอกจะช่วยให้เขาได้รับนมน้ำเหลือง

ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่คุณแม่ควรรู้:

1. ทารกที่งับหัวนมแม่ได้สนิทดีจะกินนมได้ง่ายกว่าทารกที่ไม่สามารถงับหัวนมได้ดี ทารกที่ไม่สามารถงับหัวนมได้สนิทดีจะได้กินนมก็ต่อเมื่อน้ำนมไหลเร็ว ดังนั้นการที่การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของคุณแม่และทารกส่วนใหญ่ยังไม่มีปัญหา ทั้งๆ ที่ ทารกไม่สามารถงับหัวนมได้สนิทดี เป็นเพราะคุณแม่ส่วนใหญ่สามารถผลิตน้ำนมได้เป็นจำนวนมาก

2. ในช่วงอายุ 3-6 สัปดาห์แรก ทารกจำนวนมากมักจะผล็อยหลับอยู่ที่อกแม่เมื่อน้ำนมไหลช้าลง ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเขากินนมได้มากพอแล้วเสมอไป หลังจากช่วงอายุนี้ไปแล้ว บางคนอาจจะผละออกจากหน้าอกแม่เมื่อน้ำนมไหลช้าลง แต่ทารกบางคนก็ผละออกจากหน้าอกแม่ตั้งแต่อายุน้อยกว่านี้ บางคนผละออกตั้งแต่ช่วงวันแรกๆ

3. น่าเสียดายที่ทารกจำนวนมากงับหัวนมได้ไม่สนิทดี ถ้าปริมาณน้ำนมแม่มีมากมายอุดมสมบูรณ์ ทารกก็มักจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ดี แต่คุณแม่ก็ต้องทนรับความลำบาก เช่น มีอาการเจ็บหัวนม การที่ลูกมีอาการโคลิก และ/หรือต้องให้ทารกจะอยู่ที่อกแม่ตลอดเวลา (แต่ได้กินนมแค่บางชั่วขณะของเวลาทั้งหมด)

การบีบหน้าอก จะทำให้น้ำนมไหลต่อไปเมื่อทารกไม่ได้กินนมจากอกแม่ (แต่แค่ดูดๆ ที่ปลายหัวนม) และยังทำให้ทารก

1. ได้กินนมมากขึ้น

2. ได้กินนมที่มีปริมาณไขมันสูงกว่ามากขึ้น

การบีบหน้าอก – วิธีปฏิบัติ

1. อุ้มทารกด้วยแขนข้างหนึ่ง

2. จับเต้านมด้วยมืออีกข้างหนึ่ง นิ้วหัวแม่มืออยู่ที่ด้านหนึ่งของเต้านม (นิ้วหัวแม่มืออยู่ที่ด้านบนของเต้านม จะง่ายที่สุด) และนิ้วอื่นๆ อยู่ที่ด้านตรงกันข้าม โดยให้นิ้วมืออยู่ค่อนข้างห่างจากหัวนม

3. สังเกตการกินนมของทารก (ดูวิดีโอที่ www.thebirthden.com/Newman.html) แต่ไม่จำเป็นต้องหมกมุ่นที่จะสังเกตการดูดให้ได้ทุกครั้ง ทารกจะกินนมได้เยอะ เมื่อเขากินนมด้วยการดูดแบบ “อ้าปากกว้าง – หยุด – ปิดปาก”

4. เมื่อทารกเริ่มตอดหรืออมหัวนม และไม่ได้กินนมด้วยการดูดแบบ“อ้าปากกว้าง – หยุด – ปิดปาก” อีกต่อไป ให้เริ่มบีบหน้าอก อย่าคลึงนิ้วตามเต้านมไปหาทารก แค่บีบเฉยๆ แต่อย่าบีบแรงจนรู้สึกเจ็บ และพยายามอย่าทำให้บริเวณ areola (เต้านมบริเวณที่ใกล้กับปากของทารก) เปลี่ยนรูปร่างไป การบีบหน้าอกควรจะทำให้ทารกเริ่มกินนมด้วยการดูดแบบ “อ้าปากกว้าง – หยุด – ปิดปาก” อีกครั้ง ใช้การบีบหน้าอกช่วยเวลาที่ทารกทำท่าดูดแต่ไม่ได้กินนม!

5. ใช้แรงบีบไปเรื่อยๆ จนกระทั่งทารกไม่ยอมกินนมอีกต่อไปถึงแม้คุณแม่จะบีบหน้าอกช่วยแล้ว จากนั้นจึงคลายแรงบีบ โดยมากทารกมักจะหยุดดูดอย่างสิ้นเชิงเมื่อคุณแม่คลายแรงบีบ แต่จะเริ่มดูดอีกหลังจากที่น้ำนมกลับมาไหลอีกครั้ง ถ้าทารกไม่หยุดดูดตอนที่คุณแม่คลายแรงบีบ ให้รอสักครู่ก่อนจะเริ่มบีบหน้าอกอีกครั้ง

6. เหตุผลที่ต้องคลายแรงบีบก็เพื่อให้คุณแม่ได้พักมือ และได้ปล่อยให้น้ำนมเริ่มไหลให้ทารกอีกครั้ง ถ้าหากทารกหยุดดูดตอนที่คุณแม่คลายแรงบีบ เขาจะเริ่มดูดอีกครั้งหลังจากได้ลิ้มรสน้ำนม

7. เมื่อทารกเริ่มดูดอีกครั้ง เขาอาจเริ่มกลับมากินนม (โดยดูดแบบ “อ้าปากกว้าง – หยุด – ปิดปาก”) ถ้าเขายังไม่กินนม ให้เริ่มบีบหน้าอกตามขั้นตอนข้างบนซ้ำอีก

8. ทำต่อเนื่องที่เต้านมข้างแรกต่อไป จนกระทั่งทารกไม่กินนมอีกแล้วแม้จะบีบหน้าอกช่วย คุณแม่ควรปล่อยให้ทารกอยู่ที่เต้านมข้างนั้นต่อไปอีกสักครู่หนึ่ง เพราะบางทีคุณแม่ก็อาจจะมีกลไกการหลังน้ำนมอีกครั้ง และทารกก็อาจจะกินนมโดยการดูดเองได้ แต่ถ้าทารกไม่กินนมอีกต่อไป คุณแม่ก็ควรยอมให้เขาผละออกจากหน้าอก หรือดึงเขาออกจากหน้าอก

9. ถ้าทารกยังต้องการกินนมอีก ให้เขากินนมจากเต้านมอีกข้างหนึ่ง และทำซ้ำตามขั้นตอนข้างบน

10. ถ้าคุณแม่ไม่มีอาการเจ็บหัวนม คุณแม่ก็อาจจะให้ทารกกินนมสลับกลับไปกลับมาในลักษณะเช่นนี้หลายๆ ครั้ง

11. พยายามปรับปรุงแก้ไขวิธีการงับหัวนมของทารกให้ดีขึ้น

12. จำไว้ว่า ใช้การบีบหน้าอกช่วย เมื่อทารกทำท่าดูด แต่ไม่ได้ กินนม

 จากประสบการณ์ของเรา วิธีบีบหน้าอกข้างบนใช้การได้ค่อนข้างดี แต่ถ้าคุณแม่มีวิธีอื่นซึ่งทำให้ทารกดูดนมแบบ “อ้าปากกว้าง – หยุด – ปิดปาก” ต่อไปได้เรื่อยๆ ก็น่าจะใช้วิธีซึ่งเหมาะสมกับทั้งคุณแม่และทารกแทน ตราบใดที่คุณแม่ไม่ได้ทำให้หน้าอกเจ็บเพราะการบีบและทารกได้กินนม (ด้วยการดูดแบบ “อ้าปากกว้าง – หยุด – ปิดปาก”) การบีบหน้าอกแบบนั้นเป็นวิธีการก็ใช้ได้ดี

 คุณแม่อาจจะไม่จำเป็นต้องบีบหน้าอกเช่นนี้เสมอไปหรือตลอดไป เมื่อการให้ลูกกินนมจากอกแม่เริ่มพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น คุณแม่ก็จะสามารถปล่อยไปตามธรรมชาติ ดูวิดีโอแสดงการงับหัวนมอย่างถูกวิธี วิธีดูว่าทารกได้กินนมหรือไม่ และวิธีการบีบหน้าอก ได้ที่ Video Clips

แผ่นพับที่ 15 – การบีบหน้าอก (ตุลาคม 2549)
แปลและเรียบเรียงโดย นิจวรรณ ตั้งวิรุฬห์
จาก Handout #15.  Breast Compression. Revised January 2005
Written by Jack Newman, MD, FRCPC. © 2005

บทความนี้แปลโดยคุณนิจวรรณ ตั้งวิรุฬห์ ซึ่งสละเวลาส่วนตัวทำให้โดยมิได้รับค่าตอบแทนใดๆ หากคุณผู้อ่านทุกท่านอ่านบทความนี้แล้วรู้สึกว่าได้ประโยชน์ ขอความกรุณาส่งคำขอบคุณสั้นๆ ให้ผู้แปลบ้าง เราเชื่อว่าน่าจะเป็นการตอบแทนซึ่งทำให้ผู้รับอิ่มใจไม่น้อยค่ะ
 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด