ReadyPlanet.com
ardo calypso
dot
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : ข้อควรปฎิบัติ
dot
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 1
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 2
bulletวิธีเลือกกุมารแพทย์ให้ลูก
bulletก่อนคลอด
bulletสิ่งที่ต้องทำเมื่ออยู่ ร.พ.
bulletหลังคลอด
bulletท่าในการให้นม
bulletBreast Crawl
bulletความคาดหวังของลูกน้อย
bulletบันทึกการให้นมลูก
bulletวิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง
bulletสัมผัสรักระหว่างแม่ลูก
bulletโรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
bulletแบบสอบถาม
dot
ปัญหาเรื่อง นมแม่
dot
bulletวิธีแก้ปัญหานมไม่พอ
bullet"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ
bulletนมพอหรือไม่
bulletเมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)
bulletอาหารเพิ่มน้ำนม
bulletวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม
bulletWorkshop เพิ่มน้ำนม (new)
bulletยาประสระน้ำนม
bulletDomperidone (Motilium)
bulletยาเพิ่มน้ำนม Motilium
bulletคำเตือนสำหรับการใช้ยา Domperidone
bulletน้ำหนักตัวเพิ่มช้า
bulletน้ำหนักตัวน้อย
bulletเจ็บหน้าอก หัวนมแตก
bulletการบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม
bulletลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า
bulletตัวเหลือง
bulletสารพันปัญหา
บริจาคนมแม่
dot
เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
dot
bullet20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน
bulletมาทำ stock น้ำนม กันเถอะ
bulletวิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
bulletจะให้ลูกกินอะไรเมื่อแม่ไปทำงาน
bulletวิธีเก็บรักษานมแม่
bulletต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?
bulletโปรแกรมคำนวณนมแม่
bulletยาคุมกำเนิด
dot
คุณแม่นักปั๊ม
dot
bulletการปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม
bulletปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
bulletข้อคิดก่อนซื้อ ที่ปั๊มนม
bulletเพิ่มน้ำนมภายใน 14 วันแรก
bulletเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
bulletซื้อเครื่องปั๊มที่ไหนดี
bulletปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี
bulletเรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
bulletถุงเก็บน้ำนมแม่
dot
กลเม็ดเคล็ดลับ
dot
bulletวิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new)
bulletบีบด้วยมือ vs ปั๊มด้วยเครื่อง
bullet10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี
bulletนอนให้นม...สบายมากๆ เลย
bulletอุปกรณ์เสริม ช่วยแม่ให้นมลูก
bulletมุมให้นมแม่
bulletวิธีพาสเจอร์ไรซ์นมแม่
dot
ปัญหาที่พบไม่บ่อย
dot
bulletลิ้นติด (Tongue Tie)
bulletเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่
bulletต้องการถามปัญหาอื่นๆ
bulletทำไมทารกร้องไห้โยเย
dot
หนังสือแนะนำ
dot
bulletขอรับหนังสือนมแม่ฟรี
bulletการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletสร้างชีวิตมหัศจรรย์ด้วยน้ำนมแม่
bulletนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก
bullet เคล็ดลับ...แม่มือใหม่ "นมแม่"
bulletเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletพัฒนาสมองด้วยนมแม่...
bulletGuide to Breastfeeding
dot
แหล่งข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่
dot
bulletคลินิกนมแม่ทั่วประเทศ
bulletนมแม่ แน่ที่สุด
bulletศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
bulletคลีนิครัก
bulletศริริราชออนไลน์
bulletสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
bulletwww.breastfeeding.com
bulletPromom
bulletรักลูก
bulletLa Leche League
bullet4woman
bulletMother & Child Health
bulletWABA
bulletBreastfeedingonline
bulletDr. Sears
bulletbreastfeedingbasics
bulletwebboard
bulletkellymom
bulletDr. Jack Newman
bulletInfact
bulletgotbreastpump
bulletNew Beginnings
bulletโครงการสายใยรัก
bulletศูนย์ข้อมูล สสส
bulletUNICEF
bulletbreastfeedingmadesimple
bullethm4hb
bulletLactation Narration
bulletNormalFed
dot
Brainfeeding
dot
bulletเก็บมาฝาก
bulletIf we don't care, who will?
bullet๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา
bulletสัมภาษณ์ ดร. อาจอง ชุมสาย ฯ
bulletคนดีของพ่อ
bulletเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้รู้
bulletคุยกับประภาส
dot
Sponsor Link
dot
bulletbfdcenter
bulletร้านนมแม่
bulletศูนย์รวมฟิล์มทุกชนิด
bulletV-Kool
bulletSuvarnabhumi Airport Hostel
bulletBussaba Bangkok Boutique Hotel Suvarnabhumi Airport
bulletbeing-mom
bulletมีลูกยาก
bulletSite Map
ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี whisper
unimom allegro
ardo calypso
Ardo Carum
bulletนมแม่


ร้านนมแม่-เครื่องปั๊มนม


รวมปัญหาเกี่ยวกับหัวนม

อาการเจ็บหัวนม

 

การให้นมแม่ไม่ควรเจ็บปวด  ความเจ็บปวดอาจเกิดขึ้นในช่วงแรกแต่จะค่อยๆหายเจ็บทีละน้อยและหายเจ็บในที่สุด  การงับหัวนมที่ผิดวิธีและท่าอุ้มให้นมที่ผิดเป็นสาเหตุหลักของอาการเจ็บหัวนม เนื่องจากเด็กอาจงับลานนมได้ไม่ลึกพอจึงดูดเพียงบริเวณหัวนมซึ่งทำให้เจ็บ  ถ้าคุณมีอาการเจ็บหัวนม คุณมักเลื่อนเวลาให้นมออกไปและนี่เองเป็นสาเหตุของอาการเต้าคัดตึงและนำไปสู่อาการท่อน้ำนมอุดตัน  ถ้าลูกดูดนมอย่างถูกวิธีและดูดอย่างมีประสิทธิภาพ ลูกจะดูดได้นานเท่าที่ลูกต้องการโดยที่คุณไม่รู้สึกเจ็บ

 

ข้อควรจำ: ถ้าลูกดูดนมแล้วคุณรู้สึกเจ็บให้เอาลูกออกจากเต้าก่อนแล้วเริ่มใหม่ ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญหากยังรู้สึกเจ็บ

 

วิธีแก้ไข:

·         ตรวจสอบท่าอุ้มให้นมและท่างับหัวนมขณะดูดนมของลูก  เพื่อลดความเจ็บปวด ควรให้ลูกอ้าปากกว้างและให้งับลานนมให้มากที่สุดที่จะทำได้ คุณควรรู้สึกดีขึ้นทันทีเมื่อจัดท่าของลูกได้ถูกต้อง ดู BreastfeedingKnowHow สำหรับข้อมูลเรื่อง ท่าดูดนมที่ถูกวิธี (correct latch) และ ท่าอุ้มให้นม (Positioning the Baby at the Breast)

·         อย่าเลื่อนเวลาให้นมออกไป พยายามผ่อยคลายเพื่อให้กลไกน้ำนมพุ่ง (Let down Reflex) เกิดได้ง่ายขึ้น  คุณควรบีบนมออกเล็กน้อยก่อนเพื่อให้เต้านิ่มลงและลูกจะดูดได้ง่ายขึ้น

·         หากรู้สึกเจ็บหัวนมมาก ควรเปลี่ยนท่าให้นมในแต่ละครั้งที่ให้นม เพื่อลดการกดทับหัวนมที่ตำแหน่งเดิม

·         หลังให้นมเสร็จ บีบน้ำนมออกเล็กน้อยและนำมาทาเบาๆบริเวณหัวนม  เนื่องจากน้ำนมแม่มีคุณสมบัติในการรักษาตามธรรมชาติและทำให้ผิวลื่น  หลังจากให้นมเสร็จ พยายามผึ่งหัวนมให้แห้งก่อน หรือสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้ายนุ่มๆ

·         การสวมแผ่นรองให้นม (nipple shield) ระหว่างการให้นมไม่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บหัวนม  จริงๆแล้วมันทำให้เจ็บหัวนมนานขึ้นไปอีกเพราะทำให้ลูกยากลำบากในการเรียนรู้ที่จะไม่ใช้ nipple shield

·         หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อชั้นในหรือเสื้อผ้าที่รัดเกินไปซึ่งจะไปกดทับบริเวณหัวนม

·         เปลี่ยนแผ่นรองซับน้ำนมบ่อยๆเพื่อไม่ให้เต้านมชื้นเกินไป

·         หลีกเลี่ยงการใช้สบู่หรือครีมที่มีตัวยาสมานแผลหรือสารเคมีอื่นๆบริเวณหัวนม หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่าต้องล้างหรือเช็ดออกก่อนให้นม  การล้างเต้านมและหัวนมนั้นใช้น้ำสะอาดก็เพียงพอแล้ว

·         ใช้ลาโนลีนบริสุทธิ์ถูเบาๆบริเวณหัวนมหลังให้นมลูกเพื่อบรรเทาอาการเจ็บ

·         พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบหมู่ และดื่มน้ำมากๆจะช่วยในกระบวนการรักษา  หากมีอาการปวดมาก อาจปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาแก้ปวดที่ไม่มีส่วนผสมของแอสไพริน

·         หากมีอาการเจ็บหัวนมเป็นเวลานาน หรือมีการเจ็บหัวนมเฉียบพลันหลังจากให้นมมานานหลายสัปดาห์และที่ไม่เคยมีอาการมาก่อน คุณอาจติดเชื้อรา สัญณาณที่บ่งชี้ว่าติดเชื้อราคือมีอาการคัน ผิวแตกและแห้ง หรือมีผิวสีชมพู การติดเชื้ออาจเกิดจากเชื้อราในปากของลูกมาสัมผัสโดนหัวนม  การติดเชื้ออาจมีลักษณะเป็นจุดสีขาวเล็กๆบริเวณกระพุ้งแก้ม เหงือก หรือลิ้น มันอาจมีลักษณะเหมือนผื่นผ้าอ้อมและไม่สามารถรักษาให้หายโดยใช้ยาทาผื่นผ้าอ้อม หากคุณมีอาการเหล่านี้และคิดว่าคุณติดโรคเชื้อราในช่องปาก ให้ไปพบแพทย์ของคุณหรือกุมารแพทย์ หรือ ที่ปรึกษาด้านการให้นม (Lactation consultant) เพื่อรักษา

 

สิ่งสำคัญ : ถ้าคุณยังมีอาการเจ็บหัวนมหลังจากพยายามทำตามคำแนะนำต่างๆแล้ว คุณควรไปพบผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการอบรมด้านการให้นมแม่โดยเฉพาะ เช่น Lactation consultant หรือ Peer Counselor (สำหรับประเทศไทย ให้ไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นมแม่ที่ศูนย์นมแม่หรือคลีนิคนมแม่)

 

 

อาการเต้านมคัด

 

เป็นเรื่องปกติที่เต้านมแม่จะใหญ่ขึ้น หนักขึ้นและบวมเมื่อมีการสร้างน้ำนมมากขึ้นในวันที่ 2-6 หลังคลอด  ซึ่งการสร้างน้ำนมที่เพิ่มขึ้นนี้อาจทำให้เกิดเต้านมคัด เต้านมจะแข็งขึ้นและมีอาการปวด บวม ร้อน เต้านมมีสีแดงขึ้น  บางครั้งอาจมีไข้ต่ำๆ และอาจทำให้สับสนกับโรคติดเชื้อที่เต้านม อาการคัดเต้านมเป็นผลจากร่างกายสร้างน้ำนมมากขึ้นมักเกิดขึ้นวันที่ 3-4 หลังคลอดบุตร ซึ่งทำให้การไหลเวียนโลหิตช้า  เมื่อเลือดและน้ำเหลืองเคลื่อนผ่านเต้านม ของเหลวจากเส้นเลือดเหล่านี้มีการซึมผ่านบริเวณเนื้อเยื่อเต้านมทำให้เกิดการคั่งบริเวณเต้านม ต่อไปนี้อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการคัดเต้านม

 

·         การดูดนมที่ผิดวิธีและท่าอุ้มให้นมที่ผิดวิธี

·         การพยายามจำกัดเวลาให้นมและการให้นมไม่บ่อยเท่าที่ควร

·         การให้อาหารเสริมอื่นโดยใช้ขวดนมเช่น น้ำ น้ำผลไม้ นมผสม หรือนมแม่

·         การใช้จุกหลอกบ่อยเกินไป

·         การเปลี่ยนเวลาให้นมเพื่อกลับไปทำงาน

·         ตัวลูกเองมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดูดนมเช่น นอนหลับตลอดคืน หรือดูดนมในบางช่วงของวันถี่ขึ้นแต่ไปดูดน้อยลงในเวลาอื่น

·         เด็กบางคนมีแรงดูดน้อย ซึ่งทำให้ไม่สามารถดูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

·         แม่มีความอ่อนเพลีย มีความเครียด หรือภาวะโลหิตจาง

·         เต้านมสร้างน้ำนมมากเกินไป

·         หัวนมเป็นแผล

·         ความผิดปกติของเต้านม

 

อาการเต้านมคัดอาจนำไปสู่ภาวะท่อน้ำนมอุดตันหรือเต้านมอักเสบ ดังนั้นควรพยายามป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น หากปฏิบัติได้ถูกต้องอาการควรหายไปภายใน 1-2 วัน

 

วิธีแก้ไข:

·         ลดอาการเต้าคัดโดยให้ลูกดูดอย่างถูกวิธีและการอุ้มให้นมให้ถูกท่า ให้ลูกดูดบ่อยๆและนานเท่าที่ลูกต้องการ ในช่วงแรกเมื่อน้ำนมมาเต็มเต้าพยายามปลุกลูกให้ดูดนมทุก 2-3 ชั่วโมง การให้ลูกดูดนมจากเต้าช่วยให้นมไหลได้ดีและระบายนมออกจากเต้าซึ่งทำให้เต้านมไม่เต็มจนเกินไป

·         หลีกเลี่ยงการใช้ขวดนมเสริมการให้นม หรือใช้จุกหลอกบ่อยเกินไป

·         ก่อนให้ลูกดูดนม พยายามบีบนมด้วยมือหรือปั๊มนมออกก่อนเล็กน้อยเพื่อให้เต้านม ลานนมและหัวนมนิ่มลง หรือนวดเต้านมให้ร้อนขึ้น

·         ความเย็นอาจช่วยบรรเทาอาการปวด  แม่บางคนใช้ใบกะหล่ำปลีช่วยบรรเทาอาการเต้าคัด ถึงแม้ประสิทธิภาพของใบกระหล่ำปลีจะยังไม่มีการพิสูจน์ แต่แม่ๆหลายคนคิดว่ากะหล่ำปลีช่วยได้ คุณอาจใช้กะหล่ำที่แช่เย็นหรือที่อุณหภูมิห้อง ตัดให้เป็นช่องสำหรับหัวนม และวางลงบนเต้านมได้เลย โดยสวมไว้ในเสื้อชั้นใน ให้เปลี่ยนใบสดใหม่เมื่อใบเก่าเหี่ยวลง  

·         เมื่อต้องกลับไปทำงาน พยายามปั๊มนมในเวลาเดียวกับที่ลูกเคยดูดนมที่บ้าน

·         พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหานให้ครบหมู่ และดื่มน้ำให้มากพอ

·         สวมเสื้อชั้นในที่พอดี ไม่รัดเกินไป

 

สิ่งสำคัญ : หากมีอาการเต้านมคัดเกิน 2 วัน หลังจากพยายามรักษาด้วยตัวเองแล้ว ให้ปรึกษาที่ปรึกษาด้านการให้นม (Lactation consultant)

 

 

ท่อน้ำนมอุดตันและเต้านมอักเสบ

 

เป็นเรื่องปกติสำหรับผู้หญิงหลายคนที่จะมีอาการท่อน้ำนมอุดตันถ้าเธอเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ท่อน้ำนมอุดตันมีอาการปวดบวมและเป็นก้อนในเต้านม ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการมีไข้หรืออาการอื่น ท่อน้ำนมอุดตันเกิดขึ้นเมื่อน้ำนมไม่ถูกระบายออกและเกิดการอักเสบ จากนั้นแรงดันที่เกิดจากการอุดตัน และเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงจะเกิดการอักเสบ ท่อน้ำนมอุดตันมักเกิดทีละข้าง

 

ภาวะเต้านมอักเสบ (Mastitis) หรืออาการปวดหรือมีก้อนในเต้านมซึ่งจะมีอาการไข้ร่วมด้วย เช่นมีอาการอ่อนแรงและปวด  บางคนอาจมีอาการคลื่นเหียนและอาเจียน บางคนอาจมีน้ำสีเหลืองคล้ายคอลอสตุ้ม ไหลออกมาจากหัวนม หรือเต้านมร้อนขึ้นและมีสีชมพูหรือแดง  ภาวะเต้านมอักเสบสามารถเกิดขึ้นเมื่อมีสมาชิกภายในบ้านเป็นหวัดหรือมีไข้ และที่เหมือนกับท่อน้ำนมอุดตันคือมักจะเกิดขึ้นทีละเต้า ไม่ง่ายนักที่จะแยกความแตกต่างระหว่างท่อน้ำนมอุดตันและภาวะเต้านมอักเสบเนื่องจากทั้ง 2 อย่างมีอาการคล้ายกันและมักดีขึ้นภายใน 24-48 ชั่วโมง

 

วิธีแก้ไข : การรักษาท่อน้ำนมอุดตันและภาวะเต้านมอักเสบคล้ายกันแต่การรักษาเต้านมอักเสบต้องใช้ยาแก้อักเสบร่วมด้วย

 

·         บรรเทาอาการปวดด้วยความร้อนเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตบริเวณที่ปวดโดยใช้แผ่นความร้อนหรือขวดน้ำร้อนขวดเล็กๆ ใบกระหล่ำปลีไม่สามารถช่วยเรื่องท่อน้ำนมอุดตันแต่ช่วยนวดบริเวณที่ปวด ใช้นิ้วนวดเป็นวงกลมและนวดเข้าหาหัวนม

·         ให้ลูกดูดนมข้างที่มีอาการดังกล่าวบ่อยๆ ซึ่งจะช่วยให้หายอุดตันและน้ำนมไหลได้สะดวกขึ้นและช่วยระบายนมที่เต็มเต้า ให้ลูกดูดนมด้านที่เป็นทุก 2 ชั่วโมงทั้งกลางวันและกลางคืนจะช่วยให้หายเร็วขึ้น

·         พักผ่อนให้เพียงพอและนอนยกเท้าให้สูงจะช่วยได้มาก อาการท่อน้ำนมอุดตันและเต้านมอักเสบเป็นสัญญาณแรกที่แสดงว่าแม่ทำงานมากเกินไปและเหนื่อยเกินไป

·         สวมเสื้อชั้นในที่มีขนาดพอดีไม่รัดเกินไป

·         หากคุณไม่ดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงหลังทำตามขั้นตอนดังกล่าวและมีไข้หรือมีอาการแย่ลง ให้ปรึกษาแพทย์เพราะคุณอาจต้องรับประทานยาแก้อักเสบ หรือหากเต้านมอักเสบทั้งสองข้างหรือหากคุณมีหนองหรือเลือดในน้ำนม หรือมีริ้วๆบริเวณที่เป็น หรือมีอาการรุนแรงและเฉียบพลันให้รีบไปพบแพทย์ทันที

·         ถึงแม้ว่าคุณต้องรับประทานยาแก้อักเสบ การยังคงให้ลูกดูดนมระหว่างการรักษาก็เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคุณและลูก ยาแก้อักเสบส่วนใหญ่ไม่มีผลต่อลูกโดยผ่านทางทางน้ำนม

 

 

โรคเชื้อราในปาก(Thrush)

 

โรคเชื้อราที่ปาก (ยีสต์) เป็นโรคเชื้อราที่อาจเกิดที่หัวนมหรือในเต้านมเนื่องจากเชื้อสามารถเจริญเติบโตในน้ำนม การติดเชื้อเกิดจากเชื้อ candida ที่มีปริมาณมากเกินไป โดยปกติเชื้อcandida สามารถพบได้ในร่างกายคนปกติโดยจะถูกควบคุมให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายโดยแบคทีเรียตามธรรมชาติที่อยู่ในร่างกาย  แต่ถ้าความสมดุลของแบคทีเรียตามธรรมชาติเปลี่ยนไป candida สามารถเพิ่มปริมาณมากขึ้นจนทำให้เกิดอาการติดเชื้อได้ ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเชื้อราในปากมีตั้งแต่ ผิวหนังมีความชื้นมากไป หรือหัวนมปวดหรือแตก การรับประทานยาแก้อักเสบ การรับประทานยาคุมกำเนิดหรือสเตียรอยด์ การรับประทานอากหารที่มีปริมาณน้ำตาลมากหรืออาหารที่มียีสต์ การเจ็บป่วยเรื้อรังเช่น การติดเชื้อ HIV โรคเบาหวาน หรือภาวะโลหิตจาง

 

ถ้าคุณเจ็บหัวนมนานหลายวันเกินไปทั้งที่ท่าดูดนมของลูกถูกต้องและท่าอุ้มให้นมถูกต้อง  หรืออยู่ๆคุณก็มีอาการเจ็บหัวนมทันทีจากที่ให้นมลูกมาหลายสัปดาห์และไม่เคยเจ็บมาก่อน   คุณอาจติดโรคเชื้อราในปาก อาการอื่นๆที่แสดงว่าคุณเป็นโรคนี้ ได้แก่ หัวนมเป็นสีชมพู ตกสะเก็ด คัน หรือแตก หรือหัวนมมีสีชมพูเข้ม หัวนมพุพอง คุณอาจมีอาการเจ็บลึกๆในเต้านมระหว่างหรือหลังการให้นม หรือปวดเต้านม

 

การติดเชื้อสามารถก่อตัวในปากของลูกจากการสัมผัสกับหัวนม โดยจะมีลักษณะเป็นจุดขาวบนหรือในกระพุ้งแก้ม เหงือกหรือลิ้น  การติดเชื้ออาจมีลักษณะเหมือนผื่นผ้าอ้อม (จุดเล็กสีแดงรอบๆผื่น) แต่ไม่สามารถใช้รักษาให้หายโดยยารักษาผื่นผ้าอ้อม ทารกหลายคนที่เป็นโรคเชื้อราในปากอาจปฏิเสธการดูดนม หรืออาจมีแก๊สในท้อง หรือมีอารมณ์ฉุนเฉียว

 

วิธีแก้

·         ถ้าคุณหรือลูกคุณมีอาการดังกล่าว ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิฉัยโรค

·         คุณควรใช้ยาทั้งสำหรับรักษาหัวนมและยาสำหรับลูก  ยาสำหรับมารดามักเป็นครีมหรือขื้ผึ้งสำหรับทาหัวนม ยาสำหรับเด็กมักเป็นยาน้ำสำหรับรับประทาน(เพื่อรักษาอาการในช่องปาก) หรือครีมหรือขี้ผึ้งสำหรับรักษาผื่นด้านนอก

·         มียาหลายชนิดที่ใช้กันมานานหลายปีเพื่อรักษาโรคเชื้อราในช่องปาก แต่ปัจจุบัน candida มักจะดื้อยาเหล่านี้ หนึ่งในยาที่เก่าแก่ที่สุดแต่มีประสิทธิภาพในการรักษาโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์คือ herbal gentian violet (ยาป้ายลิ้นสีม่วง)  มันใช้ได้ผลเร็วและไม่แพง คุณสามารถซื้อได้ตามเคาน์เตอร์ขายยาทั่วไป ใช้คอตตันบัตแต้มยาป้ายที่ปากลูก หรือป้ายที่หัวนม  ข้อเสียของยานี้คือเปรอะเปื้อนได้ง่าย ก่อนใช้ควรถอดเสื้อผ้าลูกออกจนถึงผ้าอ้อม ส่วนของคุณก็ถอดส่วนเหนือเอวขึ้นไป  เมื่อกวาดลิ้นลูกเสร็จ ก็ให้ลูกดูดนมวิธีนี้จะทำให้ยามาอยู่บนหัวนมและลานนมได้ ถ้าหัวนมยังมียาไม่มากพอก็ใช้คัตตอนบัดป้ายยามาทาจนทั่ว ทำทุกวันวันละครั้งประมาณ 1 สัปดาห์ ปรึกษากุมารแพทย์หากมีคำถามเกี่ยวกับยานี้

·         ถ้าคุณใช้ยาครั้งแรกแล้วไม่เห็นผลภายใน 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์ของคุณและกุมารแพทย์เพื่อขอใบสั่งยา ฟลูคอนาโซล (Fluconazole), คีโตคอนาโซล (ketoconazole), และ ไอทราคอนาโซล (itraconazole) ซึ่งเป็นยาต้านเชื้อราที่ปลอดภัยสำหรับแม่และเด็ก ฟลูคอนนาโซล (Fluconazole) มักรับประทานในครั้งแรก 400 มิลลิกรัม หลังจากนั้นรับประทานครั้งละ 100 มิลลิกรัมวันละ 2 ครั้งเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ นอกจากรับประทานยาเหล่านี้แล้วคุณอาจต้องปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารเช่น รับประทานกระเทียมมากขึ้น ลดน้ำตาลทรายขาววหรือคาร์โบไฮเดรต รับประทานอาหารที่มีแลคโตบาซิลัส lactobacillus และ primadophilus bifidus ปรึกษาที่ปรึกษาด้านการให้นม ( Lactation Consultant) หรือแพทย์เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดที่จะรักษาโรคนี้

·         โรคนี้อาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการรักษา ที่สำคัญที่สุดต้องไม่พยายามให้เชื้อแพร่ออกไป อย่าเก็บสต็อคนมที่มีเชื้อนี้อยู่ เปลี่ยนแผ่นรองซับน้ำนมบ่อยๆ ล้างหรือซักเสื้อผ้าหรือผ้าเช็ดตัวที่สัมผัสบริเวณที่มีเชื้อด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า 122 องศาฟาเรนไฮต์ (ประมาณ 50องศาเซลเซียส)

·         สวมเสื้อชั้นในสะอาดทุกวัน

·         ล้างมือคุณและล้างมือลูกบ่อยๆ โดยเฉพาะเด็กที่ชอบดูดนิ้ว

·         ต้มจุกหลอก จุกนม และของเล่นที่ลูกเอาเข้าปากโดยต้มเป็นเวลา 20 นาทีทำทุกวันเพื่อฆ่าเชื้อ หลังใช้ไป 1 สัปดาห์ให้ทิ้งจุกและของเล่นเหล่านั้นและซื้อใหม่

·         ต้มอุปกรณ์ปั๊มนมทุกชิ้นที่สัมผัสกับน้ำนมเป็นเวลา 20 นาทีทุกวัน

·         ตรวจสอบสมาชิกในบ้านคนอื่นว่าไม่ได้เป็นโรค หากเป็นให้รีบรักษา

 

อาการปฏิเสธเต้านม (Nursing Strike)

 

Nursing strike คืออาการที่ลูกปฏิเสธเต้านมหลังจากที่ดูดนมเป็นปกติมาเป็นเวลาหลายเดือน การปฏิเสธเต้านมอาจหมายถึงมีบางสิ่งเกิดกับลูกของคุณและลูกพยายามสื่อสารให้คุณรู้ว่ามีสิ่งผิดปกติ ไม่ใช่เด็กทุกคนจะมีปฏิกิยาเดียวกันในสถานะการณ์ที่ต่างกัน บางคนสามารถดูดนมต่อไปได้ บางคนอาจฉุนเฉียวกับเต้านม บางคนอาจปฏิเสธเต้าตลอดไป สาเหตุของการปฏิเสธเต้าได้แก่:

 

·         ปวดฟันเนื่องจากฟันกำลังขึ้น หรือเกิดจากการติดเชื้อราในช่องปาก หรือเจ็บคอจากหวัด

·         หูติดเชื้อ ทำให้เกิดความเจ็บปวดขณะดูดนม

·         ความเจ็บปวดจากท่าให้นมซึ่งอาจเกิดจากการบาดเจ็บบนร่างกายทารกหรือความเจ็บปวดหลังการได้รับฉีดวัคซีน

·         ความสับสนที่ต้องพรากจากแม่เป็นเวลานาน หรือมีการเปลี่ยนแปลงมากในกิจวัตรประจำวัน

·         มีสิ่งอื่นน่าสนใจที่อยู่รอบๆตัว

·         เป็นหวัดคัดจมูกซึ่งทำให้การหายใจลำบากขณะดูดนม

·         ปริมาณน้ำนมที่ลดลงเนื่องจากไปให้นมขวดเพิ่มขึ้น หรือดูดจุกหลอกมากเกินไป

·         ตอบสนองต่อปฏิกิริยาที่แข็งกร้าวของแม่เมื่อแม่ถูกลูกกัด

·         รู้สึกสับสนเมื่อได้ยินคนในครอบครัวโต้แย้งหรือใช้เสียงที่แข็งกร้าวขณะที่ดูดนม

·         ตอบสนองต่อความเครียด ถูกกระตุ้นมากเกินไป ถูกเลื่อนการให้นมเมื่อถึงเวลาอยู่บ่อยๆ

 

ถ้าลูกของคุณปฏิเสธนมแม่ เป็นเรื่องปกติที่คุณจะกังวลและสับสนโดยเฉพาะถ้าลูกไม่มีความสุข ที่สำคัญคือคุณต้องไม่รู้สึกผิดหรือโทษว่าเป็นความผิดคุณ  คุณอาจรู้สึกอึดอัดที่เต้านมของคุณเมื่อมีการสร้างน้ำนมมากขึ้น

 

วิธีแก้ไข :

·         พยายามให้ลูกดูดนมตรงเวลาเพื่อหลีกเลี่ยงอาการเต้านมคัดและท่อน้ำนมอุดตัน

·         พยายามใช้วิธีอื่นในการป้อนนมลูกเป็นการชั่วคราว เช่น ใช้ถ้วย หลอดหยด หรือช้อน ตรวจสอบผ้าอ้อมลูกเพื่อให้แน่ใจว่าลูกได้รับน้ำนมเพียงพอ (5-6 ครั้งต่อวัน)

·         พยายามเสนอเต้าให้ลูกดูด  ถ้าลูกไม่ยอมให้หยุดและลองทำใหม่ทีหลัง ลองทำเมื่อลูกกำลังจะนอนหรือเมื่อลูกง่วงมากๆ

·         พยายามลองท่าให้นมหลายๆท่า

·         พยายามให้ความสนใจลูกเต็มที่และปลอบโยนลูกด้วยการสัมผัสและกอดรัดมากขึ้น

·         พยายามให้นมขณะนั่งบนเก้าอี้โยกในห้องที่เงียบที่ไม่มีสิ่งรบกวน

 

บทความนี้แปลโดย แม่น้องคีย์ ค่ะ อย่าลืมช่วยกันส่งคำขอบคุณไปให้ผู้แปลด้วยนะคะ หรือจะเขียนไปขอคำปรึกษาเกี่ยวกับนมแม่ก็ได้เช่นกันค่ะ

 


ชื่อ :
อีเมล์ :
คำขอบคุณ :



ทุกปัญหา..มีทางแก้

รวมบทความแก้ปัญหานมไม่พอ
ทำไมแม่ที่ให้ลูกดูดเต้าถึงปั๊มนมได้น้อย
น้ำนมไม่พอ...ปัญหายอดนิยม article
ความสำเร็จในการกลับมาให้นมแม่อีกครั้ง article
ทำไมทารกร้องไห้โยเย
ลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า? article
ท่อน้ำนมอุดตัน
ท่อน้ำนมตัน
ก้อนแข็งที่เต้านม-เต้านมอุดตัน
อูยยย... เจ็บหัวนม article
หัวนมแตก ทำอย่างไร article
ลูกของฉันดูดนมไม่เป็น
หย่านมแม่อย่างไรดี article
ลูก 2 เดือน ไม่ค่อยชอบดูดนมแม่ article
ลูกอายุ 20 วัน น้ำนมแห้งไป จะทำอย่างไรดี article
จะทำอย่างไรถ้าแม่ผลิตน้ำนมไม่พอ หรือน้ำหนักตัวลูกไม่เพิ่มตามเกณฑ์? article
ต้องให้นมขวดเสริมหรือเปล่า? article
ควรจะให้ลูกดูดบ่อย(และนาน)แค่ไหน? article
การเตรียมตัวและแก้ไขหัวนมผิดปกติ article
หัวนมบอดหรือหัวนมบุ๋ม ก็ไม่เป็นปัญหา article
จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกได้รับนมพอเพียง? article
ทำไมลูกจึงอยากดูดนมตลอดเวลา? article
เมื่อไรจึงจะเริ่มมีน้ำนม? article
ควรให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวนานเท่าใดกันแน่ 4 หรือ 6 เดือน? article
ขนาดนั้นสำคัญไฉน article
แม่ที่ให้นมลูกควรรับประทานอาหารอะไร? article
เต้านมอักเสบ article
น้ำหนักตัวน้อย และ กราฟแสดงการเจิญเติบโต
เวลาที่แม่ไม่สบาย จะทำให้ลูกติดโรคจากนมแม่หรือไม่
ยาเพิ่มน้ำนม Domperidone
นมแม่ เปลี่ยนสี เปลี่ยนรสได้ จริงรึ article
เคล็ดลับให้นมลูกได้ แม้แม่ต้องไปทำงาน article
เตรียมหัวนมอย่างไรก่อนคลอด article
ลูกไม่ดูดเต้า ถ้าเราปั๊มนมอย่างเดียว นมจะแห้งไหม article
ในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้หรือไม่ article
ทำไมลูกที่กิน นมแม่ จึงไม่ค่อยท้องเสีย article
ทำไม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ได้ article
เคยเห็นเด็กกินนมผสมก็ฉลาดและมีพัฒนาการที่ดี ดูแล้วไม่น่าแตกต่างกับการกิน นมแม่ article