ReadyPlanet.com
ardo calypso
dot
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : ข้อควรปฎิบัติ
dot
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 1
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 2
bulletวิธีเลือกกุมารแพทย์ให้ลูก
bulletก่อนคลอด
bulletสิ่งที่ต้องทำเมื่ออยู่ ร.พ.
bulletหลังคลอด
bulletท่าในการให้นม
bulletBreast Crawl
bulletความคาดหวังของลูกน้อย
bulletบันทึกการให้นมลูก
bulletวิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง
bulletสัมผัสรักระหว่างแม่ลูก
bulletโรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
bulletแบบสอบถาม
dot
ปัญหาเรื่อง นมแม่
dot
bulletวิธีแก้ปัญหานมไม่พอ
bullet"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ
bulletนมพอหรือไม่
bulletเมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)
bulletอาหารเพิ่มน้ำนม
bulletวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม
bulletWorkshop เพิ่มน้ำนม (new)
bulletยาประสระน้ำนม
bulletDomperidone (Motilium)
bulletยาเพิ่มน้ำนม Motilium
bulletคำเตือนสำหรับการใช้ยา Domperidone
bulletน้ำหนักตัวเพิ่มช้า
bulletน้ำหนักตัวน้อย
bulletเจ็บหน้าอก หัวนมแตก
bulletการบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม
bulletลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า
bulletตัวเหลือง
bulletสารพันปัญหา
บริจาคนมแม่
dot
เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
dot
bullet20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน
bulletมาทำ stock น้ำนม กันเถอะ
bulletวิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
bulletจะให้ลูกกินอะไรเมื่อแม่ไปทำงาน
bulletวิธีเก็บรักษานมแม่
bulletต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?
bulletโปรแกรมคำนวณนมแม่
bulletยาคุมกำเนิด
dot
คุณแม่นักปั๊ม
dot
bulletการปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม
bulletปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
bulletข้อคิดก่อนซื้อ ที่ปั๊มนม
bulletเพิ่มน้ำนมภายใน 14 วันแรก
bulletเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
bulletซื้อเครื่องปั๊มที่ไหนดี
bulletปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี
bulletเรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
bulletถุงเก็บน้ำนมแม่
dot
กลเม็ดเคล็ดลับ
dot
bulletวิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new)
bulletบีบด้วยมือ vs ปั๊มด้วยเครื่อง
bullet10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี
bulletนอนให้นม...สบายมากๆ เลย
bulletอุปกรณ์เสริม ช่วยแม่ให้นมลูก
bulletมุมให้นมแม่
bulletวิธีพาสเจอร์ไรซ์นมแม่
dot
ปัญหาที่พบไม่บ่อย
dot
bulletลิ้นติด (Tongue Tie)
bulletเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่
bulletต้องการถามปัญหาอื่นๆ
bulletทำไมทารกร้องไห้โยเย
dot
หนังสือแนะนำ
dot
bulletขอรับหนังสือนมแม่ฟรี
bulletการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletสร้างชีวิตมหัศจรรย์ด้วยน้ำนมแม่
bulletนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก
bullet เคล็ดลับ...แม่มือใหม่ "นมแม่"
bulletเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletพัฒนาสมองด้วยนมแม่...
bulletGuide to Breastfeeding
dot
แหล่งข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่
dot
bulletคลินิกนมแม่ทั่วประเทศ
bulletนมแม่ แน่ที่สุด
bulletศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
bulletคลีนิครัก
bulletศริริราชออนไลน์
bulletสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
bulletwww.breastfeeding.com
bulletPromom
bulletรักลูก
bulletLa Leche League
bullet4woman
bulletMother & Child Health
bulletWABA
bulletBreastfeedingonline
bulletDr. Sears
bulletbreastfeedingbasics
bulletwebboard
bulletkellymom
bulletDr. Jack Newman
bulletInfact
bulletgotbreastpump
bulletNew Beginnings
bulletโครงการสายใยรัก
bulletศูนย์ข้อมูล สสส
bulletUNICEF
bulletbreastfeedingmadesimple
bullethm4hb
bulletLactation Narration
bulletNormalFed
dot
Brainfeeding
dot
bulletเก็บมาฝาก
bulletIf we don't care, who will?
bullet๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา
bulletสัมภาษณ์ ดร. อาจอง ชุมสาย ฯ
bulletคนดีของพ่อ
bulletเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้รู้
bulletคุยกับประภาส
dot
Sponsor Link
dot
bulletbfdcenter
bulletร้านนมแม่
bulletศูนย์รวมฟิล์มทุกชนิด
bulletV-Kool
bulletSuvarnabhumi Airport Hostel
bulletBussaba Bangkok Boutique Hotel Suvarnabhumi Airport
bulletbeing-mom
bulletมีลูกยาก
bulletSite Map
ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี whisper
unimom allegro
ardo calypso
Ardo Carum
bulletนมแม่


ร้านนมแม่-เครื่องปั๊มนม


ต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?

ทารกต้องการน้ำนมปริมาณมากน้อยเพียงใด     

แม่ ๆ หลายคนสงสัยว่าจะต้องเตรียมน้ำนมแม่ไว้ปริมาณเท่าไร เวลาที่ไม่สามารถอยู่ให้นมลูกได้ด้วยตนเอง
 

ในเด็กทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่ล้วน ๆ ปริมาณน้ำนมที่เด็กได้รับจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังคลอด จากนั้นจะค่อนข้างคงที่ในช่วงอายุระหว่าง 1-6 เดือน (ถึงแม้ว่าในช่วง Growth Spurt เด็กจะต้องการน้ำนมปริมาณมากเป็นพิเศษก็ตาม) การวิจัยเกี่ยวกับนมแม่ในปัจจุบันไม่พบว่าในช่วงอายุระหว่าง 1-6 เดือน ปริมาณน้ำนมแม่ที่ทารกได้รับมีการเปลี่ยนแปลงตามอายุหรือน้ำหนักของทารก หลังจาก 6 เดือน ปริมาณน้ำนมแม่ที่ทารกต้องการจะคงที่และค่อย ๆ ลดลงหลังจากผ่านไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งจะนานแค่ไหนขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารเสริมที่เด็กได้รับ
 

ผลการวิจัยบอกเราว่าทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวจะต้องการน้ำนมเฉลี่ยวันละ 25 ออนซ์ (750 มิลลิลิตร) ในช่วงอายุ 1-6 เดือน ทารกแต่ละคนต้องการน้ำนมปริมาณไม่เท่ากัน แต่โดยทั่วไปแล้วจะอยู่ในช่วงระหว่าง 19-30 ออนซ์ต่อวัน (570-900 มิลลิลิตรต่อวัน)

 

 เราสามารถใช้วิธีต่อไปนี้ในการประมาณการปริมาณน้ำนมที่ทารกต้องการในแต่ละมื้อได้ 

  • ประมาณจำนวนมื้อนมที่ทารกต้องการในแต่ละวัน (24 ชั่วโมง)
  • จากนั้นใช้ปริมาณน้ำนม 25 ออนซ์หารด้วยจำนวนมื้อนม
  • ตัวเลขที่ได้เป็นค่าประมาณน้ำนมแม่ที่ทารกต้องการในแต่ละมื้อนม

ตัวอย่าง : ถ้าทารกดูดนมเฉลี่ยประมาณวันละ 8 ครั้ง คุณอาจเดาว่าทารกน่าจะต้องการน้ำนมประมาณมื้อละ 3 ออนซ์ช่วงที่แม่ไม่อยู่ (25/8 = 3.1)
 
หมายเหตุ : ทารกที่อายุน้อยกว่า 1 เดือนหรือทารกที่ได้รับอาหารเสริมแล้วจะต้องการน้ำนมปริมาณน้อยกว่านี้  
 

แล้วถ้าลูกได้รับอาหารเสริมแล้วล่ะ ?

ช่วงอายุ 6 เดือนถึง 1 ปี (ระหว่างที่ปริมาณอาหารเสริมที่ทารกได้รับค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้น) ปริมาณน้ำนมที่ทารกได้รับอาจจะเริ่มลดน้อยลง แต่น้ำนมแม่ควรจะยังคงเป็นแหล่งอาหารหลักของทารกตลอดช่วงขวบปีแรก เนื่องจากปริมาณอาหารเสริมที่ทารกได้รับแตกต่างกันมากในช่วง 6 เดือนนี้ ทำให้ปริมาณน้ำนมที่ทารกต้องการแตกต่างกันด้วยเช่นกัน ในงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าทารกต้องการนมวันละ 30 ออนซ์ (875 มิลลิลิตรต่อวัน คิดเป็นสัดส่วน 93% ของอาหารที่ทารกได้รับทั้งหมด) เมื่ออายุได้ 7 เดือน และลดลงเหลือ 19 ออนซ์ (550 มิลลิลิตรต่อวัน คิดเป็นสัดส่วน 50% ของพลังงานที่ได้รับทั้งหมด) ในช่วงอายุ 11-16 เดือน
 
ในงานวิจัยซึ่งมีการวัดปริมาณน้ำนมแม่ที่ทารกอายุระหว่าง 12-24 เดือนต้องการพบว่า ทารกต้องการน้ำนมเฉลี่ยประมาณ 14-19 ออนซ์ต่อวัน (400-550 มิลลิลิตรต่อวัน) และในช่วงอายุ 24-36 เดือน ปริมาณน้ำนมเฉลี่ยลดลงเหลือ 10-12 ออนซ์ต่อวัน (300-360 มิลลิลิตรต่อวัน)  
 
 
จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกได้รับน้ำนมมากหรือน้อยเกินไปหรือไม่ ?
 

ระลึกไว้เสมอว่าปริมาณน้ำนมที่ทารกได้รับในแต่ละมื้อจะต่างกันออกไป เหมือน ๆ กับที่ปริมาณอาหารและน้ำที่ผู้ใหญ่ได้รับแตกต่างกันในช่วงวัน ทารกอาจจะดูดนมปริมาณไม่เท่ากันในแต่ละมื้อ ให้ดูที่ความต้องการของทารกเป็นหลัก ไม่ใช่คอยพยายามกระตุ้นให้เขาดูดนมจนหมดขวดทุกครั้งไป

 

ถ้าทารกดูดนมมากกว่าปริมาณกว่าค่าเฉลี่ยมาก ๆ อาจเป็นไปได้ว่าทารกได้รับการป้อนนมปริมาณมากเกินไปช่วงที่คุณไม่อยู่ ปัจจัยที่อาจมีผลให้ทารกได้รับน้ำนมมากเกินไปได้แก่

  • น้ำนมจากขวดไหลเร็วเกินไป พยายามใช้จุกนมที่ให้น้ำนมไหลช้าที่สุดเท่าที่ทารกจะยอมรับได้
  • การใช้ขวดนมเป็นเครื่องปลอบให้ทารกสงบ พี่เลี้ยงบางคนให้นมขวดแก่ทารกทุกครั้งที่ได้ยินเสียงร้อง คุณควรประมาณการปริมาณน้ำนมที่ทารกต้องการด้วยวิธีที่กล่าวมาข้างต้น และเริ่มให้จากปริมาณนั้น ถ้าทารกยังแสดงอาการอยากดูดนมต่อ ให้พี่เลี้ยงลองปลอบด้วยวิธีอื่นเช่น อุ้มเดิน โยก หรือกอด ดูก่อน ถ้าไม่ได้ผล จึงค่อยให้นมเพิ่มอีกหนึ่งหรือสองออนซ์
  • ความต้องการดูดของทารก ทารกทุกรายชอบดูด และอาจจะอยากดูดมากขึ้นไปอีกเมื่อแม่ไม่อยู่ (การดูดเป็นวิธีที่ทารกใช้ปลอบตัวเอง) เวลาดูดนมจากเต้าของแม่ ทารกสามารถควบคุมปริมาณน้ำนมที่ไหลได้ และทำให้ได้รับน้ำนมไม่มากเวลาที่เขาแค่ต้องการจะดูดโดยที่ไม่หิว ในขณะที่เวลาดูดนมขวด ทารกจะได้รับน้ำนมปริมาณมากตลอดเวลาที่เขาดูด ถ้าทารกดูดนมแม่จากขวดเป็นจำนวนมากเวลาคุณไม่อยู่ อาจลองให้ทารกดูดนิ้วมือ หัวแม่มือ หรือใช้จุกหลอกแทน เพื่อตอบสนองความต้องการดูดของเขา
  • ถ้าลองทุกวิธีข้างต้นแล้วคุณก็ยังไม่สามารถปั๊มนมได้มากพอเท่าที่ลูกต้องการ ให้อ่านหัวข้อ วิธีเพิ่มปริมาณน้ำนม 
  • ถ้าทารกดูดนมน้อยกว่าค่าเฉลี่ยมาก ๆ ล่ะก็ อาจเป็นไปได้ว่าเขาอาจเปลี่ยนพฤติกรรมไปดูดนมกลางคืนแทน โดยระหว่างวัน เขาจะดูดนมเพียงแค่พอประทังความหิว และรอจนกว่าแม่จะกลับมาเพื่อดูดชดเชย ทารกมักจะดูดนมบ่อยและนานขึ้นเมื่อแม่กลับมา แม่ ๆ หลายคนสนับสนุนให้ลูกเป็นแบบนี้ เพื่อจะได้ไม่ต้องปั๊มน้ำนมปริมาณมากนัก พฤติกรรมเช่นนี้เป็นเรื่องปกติที่พบกันเสมอ โดยเฉพาะในทารกที่เพิ่งเริ่มหัดดูดนมจากขวด

ถ้าลูกของคุณหันมาดูดนมกลางคืนแทน คุณอาจทดลองใช้เทคนิคเหล่านี้ดู 
  • อดทนเข้าไว้ อย่าไปเครียดหรือวิตกกังวล คิดซะว่ามันเป็นเรื่องที่ดี – ลูกชอบคุณมากกว่าขวดเชียวนะ 
  • ใส่น้ำนมปริมาณน้อย ๆ ในแต่ละขวดเพื่อจะได้ไม่ต้องเททิ้งมากนัก 
  • ถ้าเป็นห่วงว่าลูกจะได้รับน้ำนมน้อยเกินไปช่วงที่คุณไม่อยู่ ลองนึกดูว่าทารกบางคนนอนหลับยาวรวดเดียว 8 ชั่วโมงตอนกลางคืนโดยไม่มีปัญหาว่าเขาจะได้รับนมไม่พอ ให้คอยดูว่าเขาฉี่ปริมาณมากพอและน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์ เพื่อให้แน่ใจว่าเขาได้รับน้ำนมเพียงพอ 
  • ให้แน่ใจว่าทารกมีโอกาสได้ดูดนมจากเต้ามากพอเวลาที่คุณอยู่ด้วย  

วิธีอื่น ๆ ในการประมาณการปริมาณน้ำนมที่ทารกต้องการ

มีวิธีประมาณการปริมาณน้ำนมที่ทารกต้องการโดยคำนวณจากน้ำหนักและอายุของทารกอีกหลายวิธี แต่จากผลการวิจัยพบว่าหลังจากผ่านช่วงสัปดาห์แรก ๆ ไป วิธีเหล่านี้มักให้ค่าที่สูงเกินกว่าปริมาณที่ทารกต้องการจริง ทารกที่เลี้ยงด้วยน้ำนมแม่มักจะต้องการน้ำนมน้อยกว่าค่าที่ประมาณด้วยวิธีเหล่านี้ ผลการวิจัยล่าสุดบอกเราว่าปริมาณน้ำนมที่ทารกต้องการค่อนข้างคงที่หลังจากเดือนแรก และไม่เพิ่มขึ้นตามอายุหรือน้ำหนักมากนัก ซึ่งเป็นการยืนยันข้อสังเกตที่แม่ ๆ และผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทั้งหลายค้นพบจากประสบการณ์ตรงมาก่อนหน้านี้แล้ว
 
แปลจาก How much expressed milk will my baby need? By Kelly Bonyata, BS, IBCLC โดย แม่ต่าย 
 
อย่าลืมว่า คำขอบคุณเล็กๆ น้อยจากผู้อ่าน เป็นกำลังใจอย่างดีให้ผู้แปลนะคะ
 

 

 

 

ชื่อ :  *
email :
คำขอบคุณ :  *