ReadyPlanet.com
ardo calypso
dot
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : ข้อควรปฎิบัติ
dot
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 1
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 2
bulletวิธีเลือกกุมารแพทย์ให้ลูก
bulletก่อนคลอด
bulletสิ่งที่ต้องทำเมื่ออยู่ ร.พ.
bulletหลังคลอด
bulletท่าในการให้นม
bulletBreast Crawl
bulletความคาดหวังของลูกน้อย
bulletบันทึกการให้นมลูก
bulletวิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง
bulletสัมผัสรักระหว่างแม่ลูก
bulletโรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
bulletแบบสอบถาม
dot
ปัญหาเรื่อง นมแม่
dot
bulletวิธีแก้ปัญหานมไม่พอ
bullet"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ
bulletนมพอหรือไม่
bulletเมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)
bulletอาหารเพิ่มน้ำนม
bulletวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม
bulletWorkshop เพิ่มน้ำนม (new)
bulletยาประสระน้ำนม
bulletDomperidone (Motilium)
bulletยาเพิ่มน้ำนม Motilium
bulletคำเตือนสำหรับการใช้ยา Domperidone
bulletน้ำหนักตัวเพิ่มช้า
bulletน้ำหนักตัวน้อย
bulletเจ็บหน้าอก หัวนมแตก
bulletการบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม
bulletลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า
bulletตัวเหลือง
bulletสารพันปัญหา
บริจาคนมแม่
dot
เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
dot
bullet20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน
bulletมาทำ stock น้ำนม กันเถอะ
bulletวิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
bulletจะให้ลูกกินอะไรเมื่อแม่ไปทำงาน
bulletวิธีเก็บรักษานมแม่
bulletต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?
bulletโปรแกรมคำนวณนมแม่
bulletยาคุมกำเนิด
dot
คุณแม่นักปั๊ม
dot
bulletการปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม
bulletปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
bulletข้อคิดก่อนซื้อ ที่ปั๊มนม
bulletเพิ่มน้ำนมภายใน 14 วันแรก
bulletเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
bulletซื้อเครื่องปั๊มที่ไหนดี
bulletปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี
bulletเรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
bulletถุงเก็บน้ำนมแม่
dot
กลเม็ดเคล็ดลับ
dot
bulletวิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new)
bulletบีบด้วยมือ vs ปั๊มด้วยเครื่อง
bullet10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี
bulletนอนให้นม...สบายมากๆ เลย
bulletอุปกรณ์เสริม ช่วยแม่ให้นมลูก
bulletมุมให้นมแม่
bulletวิธีพาสเจอร์ไรซ์นมแม่
dot
ปัญหาที่พบไม่บ่อย
dot
bulletลิ้นติด (Tongue Tie)
bulletเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่
bulletต้องการถามปัญหาอื่นๆ
bulletทำไมทารกร้องไห้โยเย
dot
หนังสือแนะนำ
dot
bulletขอรับหนังสือนมแม่ฟรี
bulletการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletสร้างชีวิตมหัศจรรย์ด้วยน้ำนมแม่
bulletนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก
bullet เคล็ดลับ...แม่มือใหม่ "นมแม่"
bulletเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletพัฒนาสมองด้วยนมแม่...
bulletGuide to Breastfeeding
dot
แหล่งข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่
dot
bulletคลินิกนมแม่ทั่วประเทศ
bulletนมแม่ แน่ที่สุด
bulletศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
bulletคลีนิครัก
bulletศริริราชออนไลน์
bulletสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
bulletwww.breastfeeding.com
bulletPromom
bulletรักลูก
bulletLa Leche League
bullet4woman
bulletMother & Child Health
bulletWABA
bulletBreastfeedingonline
bulletDr. Sears
bulletbreastfeedingbasics
bulletwebboard
bulletkellymom
bulletDr. Jack Newman
bulletInfact
bulletgotbreastpump
bulletNew Beginnings
bulletโครงการสายใยรัก
bulletศูนย์ข้อมูล สสส
bulletUNICEF
bulletbreastfeedingmadesimple
bullethm4hb
bulletLactation Narration
bulletNormalFed
dot
Brainfeeding
dot
bulletเก็บมาฝาก
bulletIf we don't care, who will?
bullet๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา
bulletสัมภาษณ์ ดร. อาจอง ชุมสาย ฯ
bulletคนดีของพ่อ
bulletเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้รู้
bulletคุยกับประภาส
dot
Sponsor Link
dot
bulletbfdcenter
bulletร้านนมแม่
bulletศูนย์รวมฟิล์มทุกชนิด
bulletV-Kool
bulletSuvarnabhumi Airport Hostel
bulletBussaba Bangkok Boutique Hotel Suvarnabhumi Airport
bulletbeing-mom
bulletมีลูกยาก
bulletSite Map
ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี whisper
unimom allegro
ardo calypso
Ardo Carum
bulletนมแม่


ร้านนมแม่-เครื่องปั๊มนม


ทำไมทารกร้องไห้โยเย

ไม่มีอะไรซับซ้อน ทารกร้องไห้โยเยด้วยสาเหตุเดียวกับผู้ใหญ่ คือ เขารู้สึกเจ็บปวด (ไม่ทางกายก็ทางใจ) หรือเขาต้องการอะไรบางอย่าง การร้องไห้มีมากมายหลายแบบ เช่น ทารกที่ร้องไห้เพราะอยากให้อุ้ม เราสามารถปลอบเขาให้เงียบได้ง่ายตราบเท่าที่ยังมีคนอุ้มเขาอยู่ ส่วนทารกที่ร้องไห้เพราะรู้สึกเจ็บปวด อาจจะร้องไห้งอแงและไม่สามารถปลอบให้เงียบได้ง่าย ๆ เราเรียกว่าอาการร้องไห้แบบนี้ว่า โคลิก

ทารกร้องไห้โยเยเพราะรู้สึกไม่สบายตัว ตอนทารกอยู่ในท้องแม่ เขาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับเขาอย่างสมบูรณ์แบบ สภาพที่ได้ลอยตัวอย่างเป็นอิสระในถุงน้ำคร่ำ มีอุณหภูมิคงที่ตลอดเวลา ความต้องการสารอาหารได้รับการตอบสนองโดยอัตโนมัติ สิ่งแวดล้อมในท้องแม่เป็นระเบียบและสะดวกสบาย ทารกร้องโยเยเพราะคิดถึงสภาวะที่เขาเคยชินในท้องแม่ การออกจากท้องแม่ทำลายความเป็นระเบียบและสะดวกสบายนี้ไป

ในช่วงเดือนแรกหลังคลอด ทารกอยากกลับไปสู่สภาวะที่มีระเบียบและสะดวกสบาย และต้องพยายามปรับตัวให้เข้ากับชีวิตนอกท้องแม่ การกำเนิดและการปรับตัวเข้าสู่ชีวิตหลังคลอดจะดึงอารมณ์ของทารกออกมา เป็นครั้งแรกที่เขาต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อให้ความต้องการของเขาได้รับการตอบสนอง เขาถูกบังคับให้กระทำ ให้ทำตัวดี ๆ ถ้ารู้สึกหิว, หนาว, กังวล เขาจะร้องไห้ เขาต้องใช้ความพยายามเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เขาต้องการจากสิ่งแวดล้อมที่ให้ความดูแลเขาอยู่ ถ้าเขามีความต้องการในเรื่องง่ายๆ เขาก็จะได้รับสิ่งที่เขาต้องการได้อย่างง่ายดาย และเราก็จะคิดว่าเขาเป็น “เด็กเลี้ยงง่าย” แต่ถ้าเขาไม่ปรับตัวอย่างรวดเร็ว เราก็จะคิดว่าเขาเป็น “เด็กเลี้ยงยาก” ทารกที่หงุดหงิดงอแง คือทารกที่ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ยาก คือทารกที่ไม่พอใจง่าย ๆ กับการดูแลที่เขาได้รับ พวกเขามีความต้องการมากกว่านั้น และพวกเขาแสดงอาการหงุดหงิดงอแง เพื่อให้ได้มันมา

การร้องไห้ ไม่ใช่แค่เสียง แต่มันคือสัญญาณที่ถูกออกแบบเพื่อความอยู่รอดของทารกและพัฒนาการของพ่อแม่ การไม่ตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ ทั้งพ่อแม่และทารกจะเสียประโยชน์ทั้งคู่

ในเดือนแรก ๆ ทารกไม่สามารถบอกความต้องการของเขาออกมาเป็นคำพูดได้ ในระหว่างที่ทารกไม่สามารถพูด “ภาษาของพ่อแม่” ได้ เขาก็มีภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ของเขาเองที่เรียกว่า “การร้องไห้”

เมื่อทารกมีความต้องการ เช่น หิวหรือต้องการให้คนปลอบเวลาที่เขารู้สึกไม่สบาย ความต้องการเหล่านี้จะไปกระตุ้นให้เกิดเสียงที่เราเรียกว่า เสียงร้องไห้ ทารกไม่ได้คิดหรอกว่า “ตอนนี้ตีสามแล้ว หนูคิดว่าหนูควรจะปลุกแม่ขึ้นมาป้อนอาหารว่างให้หนูดีกว่า” การใช้เหตุผลแบบผิด ๆ นี้เป็นการตีความของผู้ใหญ่ นอกจากนี้ทารกก็ไม่มีความฉลาดปราดเปรื่องมากพอที่จะเข้าใจว่าทำไมพ่อแม่ถึงตอบสนองเสียงร้องของเขาอย่างดีตอนบ่ายสามโมง แต่กลับไม่อยากตอบสนองเสียงร้องเดียวกันตอนตีสาม

เสียงร้องของทารกแรกเกิดบอกพวกเราว่า “หนูต้องการอะไรบางอย่าง ตอนนี้มีอะไรบางอย่างผิดปกติ ช่วยทำให้มันดีเหมือนเดิมด้วย”

สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้เกี่ยวกับการร้องไห้ของลูก

1. การร้องไห้ของทารก คือ การส่งสัญญาณที่สมบูรณ์แบบ

นักวิทยาศาสตร์ยอมรับกันมานานแล้วว่า เสียงร้องไห้ของทารก มีลักษณะ 3 อย่างของการส่งสัญญาณที่สมบูรณ์แบบ

  • หนึ่ง. สัญญาณที่สมบูรณ์แบบเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ – ทารกแรกเกิดร้องไห้โดยอัตโนมัติ เขารับรู้ถึงความต้องการ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการสูดอากาศเข้าปอดอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการไล่อากาศออกผ่านเส้นเสียง เมื่อเส้นเสียงถูกอากาศสั่นจะเกิดเสียงร้องที่เราเรียกกันว่า เสียงร้องไห้ ในเดือนแรก ๆ ทารกไม่ได้คิดว่า “การร้องไห้แบบไหนจะทำให้เราได้กินนม?” ทารกแค่ร้องไห้ไปตามกลไกอัตโนมัติ นอกจากนี้การร้องไห้ยังทำได้ง่าย เมื่อมีอากาศอยู่เต็มปอด ทารกสามารถร้องไห้ได้โดยแทบไม่ต้องใช้ความพยายามเลย
  • สอง. การร้องไห้เป็นการรบกวนที่พอเหมาะ – เสียงร้องไห้จะกวนหูมากพอที่จะทำให้ผู้แลหันมาสนใจทารกและพยายามปลอบให้เขาหยุดร้องไห้ แต่ก็ไม่รบกวนมากเกินไปจนทำให้ผู้ฟังรู้สึกรำคาญจนไม่อยากจะทนฟัง
  • สาม. การร้องไห้สามารถปรับเปลี่ยนไปได้ในขณะที่ผู้ร้องและผู้ฟังเรียนรู้วิธีส่งสัญญาณให้ถูกต้องแม่นยำขึ้น – สัญญาณจากทารกแต่ละคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เสียงร้องไห้ของทารก คือ ภาษาของเขา และทารกแต่ละคนร้องไห้แตกต่างกันไป นักวิจัยด้านเสียงเรียกเสียงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวนี้ว่า “ลายเสียงร้องไห้” ซึ่งจะแตกต่างกันไปเช่นเดียวกับลายนิ้วมือของทารก

2. การตอบสนองต่อเสียงร้องของทารกเป็นความปกติทางชีวภาพ

คนที่เป็นแม่จะถูกกำหนดโดยทางชีวภาพให้ตอบสนองต่อเสียงร้องของทารก และไม่สามารถต่อต้านหรือฝืนใจตนเองได้ การเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพอันน่าอัศจรรย์นี้จะเกิดขึ้นในร่างกายของคนที่เป็นแม่เพื่อตอบสนองเสียงร้องไห้ของลูกตนเอง เมื่อได้ยินเสียงลูกร้อง เลือดจะไหลเวียนไปที่หน้าอกมากขึ้น และมีความต้องการทางชีวภาพที่อยากจะ “อุ้มลูกและให้นม”

การให้นมลูกทำให้ระดับโปรแล็คตินสูงขึ้นอย่างผิดปกติ โปรแล็คตินคือฮอร์โมนที่เข้าใจกันว่าเป็นพื้นฐานทางชีวภาพของคำว่า “สัญชาติญาณความเป็นแม่” ฮอร์โมนอ็อกซีโทซิน ซึ่งทำให้เกิดการหลั่งน้ำนม จะทำให้คนเป็นแม่รู้สึกผ่อนคลายและเป็นสุขใจ รู้สึกปลดปล่อยจากความเครียดก่อตัวจากเสียงร้องของทารก ความรู้สึกเหล่านี้ทำให้คนเป็นแม่รู้สึกรักลูกของตัวเอง

เวลาที่ลูกร้องไห้ แม่จะฟังเสียงเรียกร้องทางชีวภาพภายในร่างกายของตนเอง มากกว่าฟังเสียงคนอื่นที่คอยแนะนำให้ทำหูทวนลม ความเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพเหล่านี้ คือสาเหตุว่าทำไมมันจึงง่ายสำหรับคนอื่นที่จะพูดเช่นนั้น เพราะพวกเขาไม่มีความสัมพันธ์ทางชีวภาพกับทารก ระดับฮอร์โมนของเขาจึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อลูกของคุณร้องไห้

3. ควรละเลยหรือตอบสนองต่อเสียงร้องไห้?

เมื่อคุณตระหนักถึงคุณค่าอันเป็นสัญญาณพิเศษของเสียงร้องไห้แล้ว สิ่งที่สำคัญ คือ คุณจะทำอย่างไรกับมัน คุณแม่มี 2 ทางเลือก ละเลย หรือ ตอบสนอง

การละเลยเสียงร้องของทารกมักจะเป็นทางเลือกที่เสียประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

ทารกที่หัวอ่อนหรือว่าง่ายจะยอมแพ้และหยุดส่งสัญญาณ กลายเป็นเด็กเงียบและเริ่มตระหนักได้ว่า การร้องไห้ไม่มีประโยชน์ และคิดว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ทารกเริ่มหมดแรงบันดาลใจที่จะสื่อสารกับพ่อแม่ และพ่อแม่ก็เสียโอกาสที่จะได้รู้จักลูกตัวเอง เสียประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

ทารกที่หัวแข็งหรือดื้อดึง (ทารกที่เอาแต่ใจตัวเองมากที่สุด) จะไม่ยอมแพ้ง่าย ๆ เขาจะร้องไห้ดังขึ้น และเพิ่มความแรงของสัญญาณขึ้น ทำให้มันน่ารำคาญมากขึ้นเรื่อย ๆ คุณแม่อาจละเลยสัญญาณอันดื้อดึงนี้ได้หลายวิธี

คุณแม่อาจจะรอจนกว่าเขาจะหยุดร้องไห้ แล้วค่อยอุ้มเขาขึ้นมา เพื่อที่เขาจะได้ไม่คิดว่าการร้องของเขาสามารถเรียกร้องความสนใจของคุณได้ นี่คือการต่อสู้เพื่อแสดงอำนาจ คุณสอนลูกให้รู้ว่าคุณคือผู้ที่ควบคุมสถานการณ์ ในขณะเดียวกันคุณก็กำลังสอนลูกว่าเขาไม่มีอำนาจในการสื่อสารด้วยเช่นกัน นี่เป็นการปิดช่องทางการสื่อสารระหว่างพ่อแม่กับลูก และในระยะยาวทุกคนก็เสียประโยชน์

คุณอาจจะตัดความรู้สึกอ่อนไหวออกไปได้หมด จนคุณไม่รู้สึกรู้สากับเสียงร้องของทารกเลย วิธีนี้คุณสามารถสอนให้ลูกรู้ว่า เขาจะได้รับการตอบสนองเมื่อถึงเวลา นี่ก็คือทางเลือกที่เสียทั้งสองฝ่ายอีกเช่นกัน ทารกไม่ได้ในสิ่งที่เขาต้องการ พ่อแม่ก็ติดอยู่กับความรู้สึกว่าพวกเขาไม่สามารถมีความสุขกับบุคลิกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของลูก

คุณอาจจะอุ้มลูกขึ้นมา ปลอบให้เงียบ แล้วก็วางเขาลงเพราะ “ยังไม่ถึงเวลากินนม” เพราะท้ายที่สุด เขาควรจะต้องเรียนรู้ที่จะมีความสุขด้วยตัวของเขาเอง เสียประโยชน์ทั้งสองฝ่ายอีกเช่นกัน เพราะเขาก็จะร้องไห้อีก แล้วคุณก็จะโมโห ทารกจะเรียนรู้ว่าการพยายามสื่อสารของเขามีคนรับรู้ แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง ซึ่งจะทำให้เขาเริ่มไม่เชื่อมั่นความรู้สึกของตนเอง เขาอาจจะเริ่มคิดว่า “บางทีพ่อแม่อาจจะถูก บางทีหนูอาจจะยังไม่หิวนมจริง ๆ ก็ได้”

4. ให้ความทะนุถนอม

อีกทางเลือกหนึ่งของคุณแม่ คือ ตอบสนองอย่างรวดเร็วและทะนุถนอม นี่คือทางเลือกที่ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย ลูกน้อยและคุณแม่สามารถสร้างระบบการสื่อสารที่ช่วยทั้งสองฝ่าย

คุณแม่ที่ตอบสนองอย่างรวดเร็วและอ่อนโยน จะทำให้ทารกรู้สึกกังวลน้อยลงเวลาที่เขาต้องการอะไรในคราวต่อไป ทารกจะเรียนรู้ที่จะ “ร้องไห้ให้ดียิ่งขึ้น” ร้องไห้น่ารำคาญน้อยลง เพราะเขารู้แล้วว่าแม่จะต้องมาหาแน่ ๆ แม่จัดเตรียมสิ่งแวดล้อมของทารกเพื่อเขาจะไม่จำเป็นต้องร้องไห้บ่อย ๆ เช่น แม่จะให้ลูกอยู่ใกล้ ๆ ตัวถ้ารู้ว่าเขากำลังง่วงและใกล้หลับ แม่จะเพิ่มความละเอียดอ่อนต่อเสียงร้องเพื่อที่จะสามารถตอบสนองได้อย่างถูกต้อง เช่น การตอบสนองอย่างรวดเร็วตอนทารกยังเล็กและต้องการการดูแลใกล้ชิด หรือเมื่อเสียงร้องแสดงว่าสถานการณ์กำลังอันตรายจริง ๆ แต่การตอบสนองจะช้าลงเมื่อทารกโตขึ้นและเริ่มจะเรียนรู้ที่จะจัดการต่อสิ่งรบกวนได้ด้วยตัวเอง

การตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ของลูกกอย่างเหมาะสม เป็นสิ่งแรกและหนึ่งในสิ่งที่ยากที่สุดในการสื่อสารกับลูกที่คุณแม่จะต้องเผชิญ คุณแม่จะมีความเชียวชาญขึ้นหลังจากได้ฝึกซ้อมเป็นพัน ๆ ครั้งในช่วงเดือนแรก ๆ

ถ้าคุณแม่คิดไว้ตั้งแต่แรกว่า การร้องไห้ของทารกคือสัญญาณที่ต้องประเมินสถานการณ์และได้รับการตอบสนอง มากกว่าจะคิดว่ามันคือนิสัยเสียที่ต้องแก้ไข ความคิดของคุณแม่ก็จะเปิดกว้างขึ้นและกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในการอ่านสัญญาณจากลูก ซึ่งจะทำให้คุณแม่กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับลูกในที่สุด

การส่งสัญญาณระหว่างแม่ลูกแต่ละคู่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ดังนั้นมันจึงเป็นความคิดตื้น ๆ ถ้า “ผู้ฝึกสอนการร้องไห้” ที่จะแนะนำสูตรสำเร็จในการตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ให้กับคุณแม่ เช่น “คืนแรกปล่อยให้เขาร้อง 5 นาที คืนที่สอง 10 นาที” ฯลฯ

5. การที่ลูกร้องไห้ไม่ใช่ความผิดของคุณ

ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่ละเลยต่อการร้องไห้ของลูก และพยายามทำให้เขารู้สึกปลอดภัยในโลกใหม่ของเขา คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรจะคิดว่ามันเป็นความผิดของพวกคุณที่ลูกร้องไห้บ่อย ๆ และไม่ควรคิดว่าการจะทำให้ลูกหยุดร้องไห้ขึ้นอยู่กับคุณ

แน่นอนว่าความคิดของพวกคุณจะต้องเปิดกว้างเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่จะช่วยลูก (เช่น เปลี่ยนอาหารการกินของตัวเอง หรือเรียนวิธีใหม่ ๆ ในการอุ้มลูก) และคุณอาจจะต้องพาลูกไปพบหมอถ้าหากสงสัยว่ามีอาการเจ็บป่วยเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกร้องไห้

แต่อาจจะมีบางเวลาที่คุณหาสาเหตุไม่ได้ว่าทำไมลูกร้องไห้ บางครั้งคุณอาจจะสงสัยด้วยซ้ำไปว่าลูกรู้ตัวหรือเปล่าว่าเขาร้องไห้เพราะอะไร อาจจะมีบางเวลาที่ทารกแค่ต้องการจะร้องไห้ ถ้าคุณได้ลองทำทุกวิธีที่ปกติเคยทำให้เขาหยุดร้องไห้ได้แล้ว แต่ก็ยังไม่ทำให้เขาหยุดร้องไห้ คุณก็ไม่จำเป็นต้องรู้สึกสิ้นหวังที่จะทำให้เขาหยุดร้องไห้

มันเป็นสัจธรรมในชีวิตของพ่อแม่มือใหม่ว่า ถึงแม้ทารกจะร้องไห้เพื่อแสดงความต้องการ แต่วิธีการที่เขาร้องไห้เป็นผลมาจากลักษณะอารมณ์ของเขา อย่าเอาการร้องไห้ของทารกมาเป็นอารมณ์ หน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่คือสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อทำให้เขาจำเป็นต้องร้องไห้น้อยลง ให้ความห่วงใยและอ้อมแขนอันอบอุ่นเพื่อที่ลูกจะได้ไม่ต้องร้องไห้อยู่คนเดียว และทำงานสืบสวนให้มากที่สุดเพื่อหาสาเหตุว่าทำไมลูกจึงร้องไห้ และคุณจะช่วยเขาได้อย่างไร เรื่องอื่น ๆ ที่เหลือเป็นเรื่องของลูก

6. งานวิจัยเกี่ยวกับการร้องไห้

ซิลเวีย เบลล์ และ แมรี เอนส์เวิร์ธ สองนักวิจัยซึ่งทำการศึกษาในช่วงศตวรรษ 1970 ได้ทำลายความเชื่อเรื่อง “ทฤษฏีการถูกตามใจจนเสียเด็ก” (สิ่งที่น่าสนใจคือ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงช่วงเวลานั้นหรืออาจจะถึงปัจจุบันนี้ด้วยซ้ำ ที่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพัฒนาการของทารกที่คอยพร่ำบอกว่า ควรปล่อยให้ทารกร้องไห้จนพอใจ มักจะเป็นผู้ชายแทบทั้งนั้น ต้องให้นักวิจัยผู้หญิงมาแก้ความเชื่อผิด ๆ ให้ถูกต้อง)

นักวิจัยทั้งสองศึกษาคู่แม่ลูก 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เมื่อลูกร้องไห้ แม่จะตอบสนองอย่างรวดเร็วและอ่อนโยน กลุ่มที่ 2 แม่จะหักห้ามใจในการตอบสนองมากกว่า พวกเขาพบว่าเด็กในกลุ่มที่ 1 ซึ่งแม่ตอบสนองอย่างอ่อนโยนและรวดเร็วกว่า จะไม่ค่อยใช้การร้องไห้เป็นวิธีการสื่อสารเมื่อเขาอายุ 1 ขวบ เด็กเหล่านี้รู้สึกผูกพันกับแม่ของพวกเขาค่อนข้างมาก และมีพัฒนาการของทักษะการสื่อสารดีกว่า เป็นเด็กที่ไม่ค่อยโยเยและไม่เอาแต่ใจตัวเอง

ก่อนการวิจัยครั้งนี้ พ่อแม่ถูกทำให้เชื่อว่า ถ้าพวกเขารีบอุ้มลูกทุกครั้งที่ลูกร้อง ลูกจะไม่มีทางเรียนรู้ที่จะปรับตัวและจะยิ่งเรียกร้องมากขึ้น งานวิจัยของเบลล์และเอนส์เวิร์ธแสดงผลในทางกลับกัน ทารกที่มีความรู้สึกปลอดภัยและได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วและอ่อนโยน จะติดพ่อแม่น้อยลงและเรียกร้องน้อยลง มีการทำงานวิจัยเพิ่มมากขึ้นเพื่อลบล้าง “ทฤษฏีการถูกตามใจจนเสียเด็ก” แสดงว่า ทารกที่ไม่ได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วจะร้องไห้มากขึ้น, นานขึ้น, และด้วยวิธีการที่น่ารำคาญมากขึ้น

ในการวิจัยครั้งหนึ่ง เปรียบเทียบเด็ก 2 กลุ่ม เด็กกลุ่มหนึ่งได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วและอ่อนโยน ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งถูกปล่อยให้ร้องไห้จนพอใจ เด็กที่ได้รับการตอบสนองอย่างอ่อนโยนจะร้องไห้น้อยลง 70 เปอร์เซ็นต์ ในทางกลับกัน เด็กที่ถูกปล่อยให้ร้องไห้จนพอใจ ไม่ร้องไห้ลดลง สรุปง่าย ๆ ก็คือ งานวิจัยเรื่องการร้องไห้แสดงว่า ทารกที่เสียงร้องไห้ของเขามีคนรับฟังและตอบสนองจะเรียนรู้ที่จะ “ร้องไห้ให้ดีขึ้น” ทารกที่พ่อแม่พยายามยับยั้งใจในการตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ของลูก จะเรียนรู้ทีจะ “ร้องไห้ให้ดังขึ้น”

สิ่งที่น่าสนใจคือ การศึกษาเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า นอกจากจะมีความแตกต่างของวิธีที่ทารกสื่อสารกับพ่อแม่ตามการตอบสนองที่เขาได้รับต่อการร้องไห้ของเขาแล้ว และยังมีความแตกต่างในหมู่คุณแม่อีกด้วย งานวิจัยแสดงว่า แม่ทีพยายามยับยั้งใจในการตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ หรือตอบสนองด้วยความอ่อนไหวน้อย จะมีความรู้สึกอ่อนไหวต่อเสียงร้องของทารกน้อยลงเรื่อย ๆ และความไม่อ่อนไหวนี้จะส่งต่อไปยังความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูกด้านอื่น ๆ งานวิจัยแสดงว่าการปล่อยให้ลูกร้องจนพอใจ ทำให้ความรู้สึกของครอบครัวเสียไปด้วย

7. การร้องไห้ไม่ได้ช่วยให้ทารก “ได้ขยายปอด”

หนึ่งในความเชื่อผิด ๆ ทางการแพทย์คือ “ปล่อยให้ทารกร้องไห้ ช่วยขยายปอด” ช่วงปลายศตวรรษที่ 1970 มีงานวิจัยแสดงว่าทารกที่ถูกปล่อยให้ร้องไห้จะมีอัตราการเต้นหัวใจสูงขึ้นถึงระดับที่น่าเป็นห่วง มีปริมาณออกซิเจนในเลือดลดลง เมื่อการร้องไห้ของเขาได้รับการปลอบประโลม ระบบหัวใจและหลอดเลือดกลับสู่สภาวะปกติอย่างรวดเร็ว แสดงให้เห็นว่าทารกสามารถรับรู้ความเป็นดีอยู่ดีทางกายได้รวดเร็วมาก ถ้าการร้องไห้ไม่ได้รับการปลอบประโลม ทารกจะตกอยู่ในความเครียดทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ

ความเชื่อผิด ๆ เรื่องการร้องไห้ช่วยสร้างเสริมสุขภาพ ยังคงอยู่ถึงทุกวันนี้ เพราะหนึ่งในคะแนน Apgar (การทดสอบที่แพทย์ใช้ประเมินสภาพของทารกแรกเกิด) ทารกจะได้คะแนนเพิ่ม 2 คะแนนถ้า “ร้องไห้เสียงดังเต็มที่” ทั้ง ๆ ที่การได้คะแนนเพิ่มเพราะการร้องไห้ไม่มีความสมเหตุสมผลในทางสรีระศาสตร์เลย ทารกแรกเกิดซึ่งรู้สึกตัวดีแต่นอนเงียบ ๆ หายใจในระดับปกติ และตัวเป็นสีชมพูมากกว่าเด็กที่ร้องไห้เสียงดัง กลับเสียคะแนน Apgar นี่เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นได้ชัดว่า เสียงร้องไห้ ซึ่งเป็นเสียงที่น่าอัศจรรย์ที่สุดของมนุษย์ ยังคงถูกแปลความหมายไปในทางที่ผิดอยู่

วิธีสอนให้ลูกร้องไห้ได้ดีขึ้น

ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับซึ่งผ่านการทดสอบมาเป็นเวลานาน ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่สามารถแปลความหมายและตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ของลูกได้อย่างเป็นธรรมชาติ และค่อย ๆ สร้างความสัมพันธ์ในการสื่อสาร เพื่อที่ทารกจะได้ไม่ต้องร้องไห้อยู่ตลอดเวลาเพื่อสื่อสารกับพ่อแม่

1. คิดว่าการร้องไห้ของทารก คือ เครื่องมือสื่อสาร มากกว่า เครื่องมือที่ใช้บงการพ่อแม่ – คิดว่าการร้องไห้เป็นสัญญาณที่ต้องรับฟัง แปลความหมาย มากกว่า คิดกลัวว่าจะตามใจลูกจนเสียเด็ก หรือกลัวจะตกอยู่ในการควบคุมของลูก

2. เร็วดีกว่าช้า – พ่อแม่มือใหม่มักจะคิดว่า ยิ่งชะลอการตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ของลูกออกไป ลูกจะร้องไห้น้อยลง ถึงแม้ว่านี่อาจจะเป็นเรื่องจริงสำหรับเด็กใจอ่อน, หัวอ่อน แต่ทารกที่มีบุคลิกดื้อดึงจะร้องไห้เสียงดังขึ้น, ส่งเสียงน่ารำคาญมากขึ้น

คุณพ่อคุณแม่ควรจะหัดอ่านสัญญาณที่มักเกิดขึ้นก่อนการร้องไห้ เช่น สีหน้าวิตกกังวล การกางแขนหรือโบกมือเรียก การหายใจถี่ ฯลฯ การตอบสนองต่อสัญญาณเรียกร้องให้พ่อแม่อุ้มเหล่านี้ จะสอนให้ทารกรู้ว่า เขาไม่จำเป็นต้องร้องไห้เพื่อเรียกร้องความสนใจ

คุณพ่อคุณแม่ควรลืมเรื่องถูกตามใจจนเสียเด็กไปก่อน ผลงานวิจัยแสดงว่า ทารกที่ได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วเมื่อเขาร้องไห้ จะเรียนรู้ที่จะร้องไห้น้อยลงเวลาที่เขาโตขึ้น

3. ตอบสนองให้เหมาะสม – คุณแม่ไม่จำเป็นต้องรีบอุ้มลูกวัยเจ็ดเดือนเร็วเท่ากับลูกวัยเจ็ดวัน ช่วงสัปดาห์แรกเป็นช่วงของการซ้อมคิว คุณแม่ควรตอบสนองอย่างรวดเร็วและทำตามสัญชาติญาณ เมื่อคุณกับลูกสามารถสื่อสารกันได้ดีขึ้น คุณแม่จะรู้เองว่าการร้องไห้ของเขาเป็น “เหตุด่วน” ที่ต้องตอบสนองทันที หรือสามารถรอได้

เรียนรู้คำตอบที่เหมาะสมสำหรับการร้องไห้ รู้ว่าจะพูดว่า “ได้จ้ะ” หรือ “ไม่ได้จ้ะ” เมื่อไร โดยธรรมชาติคุณแม่ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นด้วยการเป็น “คุณแม่ได้จ้ะ” แต่ต่อมาสัญชาติญาณจะทำให้คุณแม่กลายเป็น “คุณแม่ได้จ้ะและไม่ได้จ้ะ” เวลาคุณแม่ที่ยังไม่แน่ใจ ให้ตอบว่า “ได้จ้ะ” ไปก่อน การตอบสนองมากเกินไปแก้ไขได้ง่ายกว่ามาก คุณแม่ก็แค่ถอยหลังออกมานิดหนึ่ง การแก้ไขความไม่เชื่อใจของทารกที่เกิดจากการตอบสนองไม่เพียงพอเป็นเรื่องยากกว่ามาก และอาจทำให้สูญเสียการสื่อสาร

4. ลองใช้วิธีแบบชาวแคริบเบียน – ระบบที่เราพัฒนาขึ้นเพื่อสร้างความสงบทางจิตใจให้กับทารก เป็นระบบที่เราเรียกชื่อเล่นตามทัศนคติของชาวแคริบเบียนว่า “ไม่มีปัญหา” สมมติว่าลูกวัยเจ็ดเดือนของคุณกำลังนั่งเล่นอยู่ที่พื้นใกล้ ๆ ในขณะที่คุณกำลังคุยโทรศัพท์ ลูกเริ่มงอแงและทำท่าจะให้อุ้ม แทนที่จะวางโทรศัพท์แล้วรีบอุ้มเขาขึ้นมา คุณก็ทำหน้าสดใส แสดงให้เขาเห็นว่าคุณรับรู้ความต้องการของเขาและพูดกับว่า “ไม่เป็นไรนะจ๊ะ” การทำเช่นนี้ ภาษากายของคุณจะบอกว่า “ไม่มีปัญหา ไม่ต้องงอแง” อีกวลีหนึ่งที่พวกแคริบเบียนชอบใช้คือ “สบายดี ไม่มีปัญหา” ใช้ภาษากายของคุณ สื่อให้ลูกคุณรู้ว่า “สบายดี ไม่มีงอแง”

โรคปิดเครื่อง (SHUTDOWN SYNDROME)*

จากการทำงานตลอด 30 ปีร่วมกับพ่อแม่และทารก เราได้รับรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเจริญเติบโตของเด็ก (ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ) และวิธีการเลี้ยงดูของพ่อแม่

“เธอตามใจลูกมากเกินไป” ลินดากับนอร์ม พ่อแม่มือใหม่พาเฮทเธอร์ลูกสาววัยสี่เดือนซึ่งมีความต้องการสูงมาพบผม เพราะเฮทเธอร์หยุดเจริญเติบโต

เฮทเธอร์เคยเป็นเด็กที่มีความสุข เติบโตสมบูรณ์ (thrive) จากการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดเต็มที่ มีคนอุ้มวันละหลาย ๆ ชั่วโมง เวลาร้องไห้ก็ได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็ว ได้กินนมแม่ทุกครั้งที่ต้องการ มีคนสัมผัสกอดรัดใกล้ชิดเกือบทั้งวัน ทั้งครอบครัวมีความสุขดี และการเลี้ยงดูแบบนี้ได้ผลดีสำหรับพวกเขา แต่เพื่อนผู้หวังดีเกลี้ยกล่อมให้พ่อแม่คู่นี้เชื่อว่า พวกเขาตามใจลูกมากเกินไป ลูกสามารถบงการพวกเขาได้ และเฮทเธอร์จะโตขึ้นมาเป็นเด็กที่ติดพ่อแม่

พ่อแม่หมดความเชื่อมั่น – เหมือนพ่อแม่มือใหม่ทั่ว ๆ ไป นอร์มกับลินดาหมดความเชื่อมั่นในสิ่งที่พวกเขาทำอยู่ และยอมแพ้ต่อแรงกดดันของคนรอบข้าง ยอมรับวิธีการเลี้ยงลูกแบบยับยั้งชั่งใจและห่างเหินกว่าเดิม พวกเขาปล่อยให้เฮทเธอร์ร้องไห้จนหลับไป ให้กินนมตามตารางเวลา และอุ้มเฮทเธอร์น้อยลงเพราะกลัวว่าลูกจะเสียเด็ก

สองเดือนต่อมา เฮทเธอร์เปลี่ยนจากเด็กที่มีความสุขและชอบโต้ตอบกับพ่อแม่ เป็นเด็กที่เศร้าสร้อยและเงียบงัน น้ำหนักของเธอไม่เพิ่มขึ้น จากเด็กที่อยู่บนสุดของตารางการเจริญเติบโต ตกลงมาอยู่ล่างสุด เฮทเธอร์ไม่เติบโตสมบูรณ์อีกต่อไป พ่อแม่ของเธอก็เช่นกัน

ทารกหมดความเชื่อมั่น – หลังจาก 2 เดือนที่ไม่มีการเจริญเติบโต หมอบอกว่าเฮทเธอร์ “ล้มเหลวในการเติบโตสมบูรณ์” (fail to thrive) และเกือบจะต้องเข้ารับการตรวจรักษาอย่างละเอียด เมื่อพ่อแม่มาปรึกษาผม ผมวินิจฉัยว่าเธอเป็น “โรคปิดเครื่อง”

ผมอธิบายว่าเฮทเธอร์เติบโตสมบูรณ์เพราะการเลี้ยงดูอย่างทะนุถนอม และด้วยการเลี้ยงดูแบบนี้ เฮทเธอร์มีความเชื่อมั่นว่าความต้องการของเธอจะได้รับการตอบสนอง และสภาพทางกายภาพโดยรวมของเธอจะได้รับการจัดการเป็นอย่างดี เพราะคิดว่าพวกเขาจะให้สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูก พ่อแม่คู่นี้ปล่อยให้ตัวเองถูกชักจูงไปใช้วิธีการเลี้ยงดูแบบอื่น พวกเขาถอดปลั๊กความผูกพันระหว่างพวกเขากับเฮทเธอร์โดยไม่รู้ตัว และสูญเสียช่องทางที่ทำให้เฮทเธอร์เติบโตสมบูรณ์ ความกดดันต่อทารกก็จะเกิดขึ้น และระบบทางกายภาพของเฮทเธอร์ชะลอตัว

ผมแนะนำพ่อแม่คู่นี้ให้กลับไปใช้วิธีเลี้ยงดูแบบเดิม อุ้มลูกบ่อย ๆ ให้กินนมเวลาที่ต้องการ ตอบสนองต่อเสียงร้องของเธอย่างอ่อนโยนทั้งกลางวันและกลางคืน ภายใน 1 เดือนเฮทเธอร์กลับมาเติบโตสมบูรณ์เหมือนเดิม

ทารกจะเติบโตสมบูรณ์เมื่อได้รับการทะนุถนอม – เราเชื่อว่า ทารกทุกคนมีความต้องการที่จะได้สัมผัสและทะนุถนอมระดับหนึ่งเพื่อที่เขาจะเติบโตสมบูรณ์ (เติบโตสมบูรณ์ ไม่ได้หมายความแค่ โตขึ้น แต่ต้องโตขึ้นได้เต็มศักยภาพ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ)

เราเชื่อว่า ทารกสามารถสอนพ่อแม่ได้ว่าเขาต้องการการเลี้ยงดูในระดับใด มันขึ้นอยู่กับพ่อแม่ว่าจะรับฟังหรือไม่ และขึ้นกับผู้เกี่ยวข้องในทางวิชาชีพที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับพ่อแม่ ไม่ทำลายความมั่นใจด้วยการแนะนำวิธีการเลี้ยงดูที่เหินห่างกว่า เช่น “ปล่อยให้ลูกร้องไห้ให้พอใจ” หรือ “คุณต้องอุ้มเขาให้น้อยลง” ตัวทารกเท่านั้นที่รู้ระดับความต้องการของตัวเอง และพ่อแม่เป็นคนที่จะเข้าใจภาษาของลูกตัวเองได้ดีที่สุด

ทารกที่ “ได้รับการฝึกสอน” ให้ไม่แสดงความต้องการของตัวเองออกมา อาจจะดูเงียบสงบ, หัวอ่อน, หรือ เป็นเด็กดี แต่ทารกเหล่านี้อาจจะเป็นเด็กที่มีความกดดัน ซึ่งปิดกั้นการแสดงความต้องการของตัวเอง พวกเขาอาจจะกลายเป็นเด็กที่ไม่กล้าพูดเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ และสุดท้ายก็จะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่เอาแต่ใจตัวเองมากที่สุด

 (แปลและเรียบเรียงจากบทความในเว็บไซต์ www.askdrsears.com) โดย คุณนิจวรรณ ตั้งวิรุฬห์ 

* หมายเหตุ ครั้งแรกผู้แปลแปลคำว่า Shutdown Syndrome ว่า โรคเงียบ เพราะเข้าใจผิดว่าดร.เซียร์สจะบอกว่าทารกนิ่งเงียบไม่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม แต่เมื่อได้ไปอ่านทวนบทความภาษาอังกฤษอีกรอบ จึงเข้าใจว่าประเด็นหลักน่าจะเป็นการหยุดเจริญเติบโตของทารกมากกว่าการไม่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คำว่า Shutdown นี้จึงควรจะเป็นความหมายเดียวกับที่่เราใช้เวลาเราปิดหรือหยุดสิ่งต่าง ๆ เช่น ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์, หยุดกิจการ, ปิดโรงงาน ฯลฯ โรคเงียบ จึงถูกเปลี่ยนเป็น โรคปิดเครื่อง ด้วยประการฉะนี้...  

 

 บทความนี้ ถึงกับทำให้ผู้แปลเปลี่ยนทัศนคติ และรู้สึกผิดที่เคยหงุดหงิดหลานๆ ซึ่งร้องไห้ งอแงพูดไม่รู้เรื่องเลยทีเดียว บทความนี้ให้ความรู้กับเราในประเด็นที่แตกต่างไปอย่างมาก จากที่เคยได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ของเด็ก  อย่างไรก็ตาม อยากให้ผู้อ่านพิจารณาให้ดีว่า การที่ลูกร้องไห้นั้น เราควรตอบสนองอย่างไร ในแต่ละช่วงวัยหรือสถานการณ์  ดังที่ในบทความก็กล่าวไว้ว่า "คุณแม่ไม่จำเป็นต้องรีบอุ้มลูกวัยเจ็ดเดือนเร็วเท่ากับลูกวัยเจ็ดวัน"  การตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ของลูกอย่างเหมาะสมนั้นไม่ได้หมายถึงการตามใจลูกทุกครั้งที่ลูกร้องไห้นะคะ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลูกอยู่ในวัยที่สามารถสื่อสารกับเราด้วยวิธีอื่นได้แล้ว - webmother

 

 

อย่าลืมช่วยกันส่งคำขอบคุณให้กับผู้แปลด้วยนะคะ



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




ทุกปัญหา..มีทางแก้

รวมบทความแก้ปัญหานมไม่พอ
ทำไมแม่ที่ให้ลูกดูดเต้าถึงปั๊มนมได้น้อย
น้ำนมไม่พอ...ปัญหายอดนิยม article
ความสำเร็จในการกลับมาให้นมแม่อีกครั้ง article
ลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า? article
ท่อน้ำนมอุดตัน
ท่อน้ำนมตัน
ก้อนแข็งที่เต้านม-เต้านมอุดตัน
รวมปัญหาเกี่ยวกับหัวนม
อูยยย... เจ็บหัวนม article
หัวนมแตก ทำอย่างไร article
ลูกของฉันดูดนมไม่เป็น
หย่านมแม่อย่างไรดี article
ลูก 2 เดือน ไม่ค่อยชอบดูดนมแม่ article
ลูกอายุ 20 วัน น้ำนมแห้งไป จะทำอย่างไรดี article
จะทำอย่างไรถ้าแม่ผลิตน้ำนมไม่พอ หรือน้ำหนักตัวลูกไม่เพิ่มตามเกณฑ์? article
ต้องให้นมขวดเสริมหรือเปล่า? article
ควรจะให้ลูกดูดบ่อย(และนาน)แค่ไหน? article
การเตรียมตัวและแก้ไขหัวนมผิดปกติ article
หัวนมบอดหรือหัวนมบุ๋ม ก็ไม่เป็นปัญหา article
จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกได้รับนมพอเพียง? article
ทำไมลูกจึงอยากดูดนมตลอดเวลา? article
เมื่อไรจึงจะเริ่มมีน้ำนม? article
ควรให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวนานเท่าใดกันแน่ 4 หรือ 6 เดือน? article
ขนาดนั้นสำคัญไฉน article
แม่ที่ให้นมลูกควรรับประทานอาหารอะไร? article
เต้านมอักเสบ article
น้ำหนักตัวน้อย และ กราฟแสดงการเจิญเติบโต
เวลาที่แม่ไม่สบาย จะทำให้ลูกติดโรคจากนมแม่หรือไม่
ยาเพิ่มน้ำนม Domperidone
นมแม่ เปลี่ยนสี เปลี่ยนรสได้ จริงรึ article
เคล็ดลับให้นมลูกได้ แม้แม่ต้องไปทำงาน article
เตรียมหัวนมอย่างไรก่อนคลอด article
ลูกไม่ดูดเต้า ถ้าเราปั๊มนมอย่างเดียว นมจะแห้งไหม article
ในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้หรือไม่ article
ทำไมลูกที่กิน นมแม่ จึงไม่ค่อยท้องเสีย article
ทำไม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ได้ article
เคยเห็นเด็กกินนมผสมก็ฉลาดและมีพัฒนาการที่ดี ดูแล้วไม่น่าแตกต่างกับการกิน นมแม่ article