
นมผสมมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของทารกในรัฐอิลินอยส์ ![]() รายงานจากศูนย์บริการงานข่าวในย่านชิคาโกได้พบหลักฐานของเหตุการณ์น่าเศร้าสลดใจอีกเหตุการณ์หนึ่งเกี่ยวกับนมผสมซึ่งเป็นเหตุให้ทารกเสียชีวิต บีคอนนิวส์ (Beacon News) เผยแพร่รายงานเมื่อวันศุกร์ถึงรายละเอียดเกี่ยวกับความโชคร้ายของ คอนเนอร์ แม็คเกรย์ ทารกซึ่งคลอดก่อนกำหนดเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ที่ศูนย์การแพทย์รัช-ค็อปลีย์ (Rush-Copley Medical Center) ในเมืองออโรร่า รัฐอิลินอยส์ หลังจากได้กินนมผสมยี่ห้อ Enfamil ของบริษัท Mead Johnson คอนเนอร์เกิดอาการติดเชื้อจากแบคทีเรีย เป็นเหตุให้เขาเสียชีวิต การติดเชื้อนี้เชื่อว่าเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Enterobacter sakazakii รายงานของบีคอนนิวส์พบว่าเคยมีเหตุการณ์การติดเชื้อ E. sakazakii อย่างรุนแรงในรัฐอิลลินอยส์ถึง 2 ครั้ง และพบการติดเชื้อในที่อื่น ๆ อย่างน้อย 17 รัฐในสหรัฐอเมริกา ยังมีการติดเชื้ออีกหลาย ๆ ครั้งที่ไม่ได้มีการรายงาน และทารกที่เสียชีวิตจากโรคไข้สมองอักเสบ (Meningitis) จำนวนมากก็ไม่ได้ถูกทดสอบว่ามีเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียตัวนี้หรือไม่ เหตุการณ์น่าสลดใจครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นที่พ่อแม่จะต้องตระหนังกและรับรู้ว่านมผสมไม่ได้ปราศจากเชื้อโรค กลุ่มทารกที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือทารกที่มีระบบภูมิต้านทานอ่อนแอและทารกที่คลอดก่อนกำหนด ทารกที่คลอดก่อนกำหนดส่วนใหญ่มักจะได้รับนมผสมสูตรพิเศษ (fortified powder formula) ทั้ง ๆ ที่ ในปีค.ศ. 2002 สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐ (เอฟดีเอ) ได้ออกคำเตือนห้ามการกระทำเช่นนั้นหลังจากมีการแพร่กระจายของเชื้อ E. Sakazakii ในรัฐเทนเนสซี ในขณะที่รายงานของบีคอนนิวส์ฉบับนี้เป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะมันช่วยเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายของนมผสม แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นเรื่องไม่น่ายินดีที่เรื่องเกี่ยวกับธนาคารน้ำนมแม่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในบทสนทนาที่สาธารณชนนำมากล่าวถึงเมื่อมีการพูดถึงปัญหานี้ เวลาที่แม่คนหนึ่งไม่สามารถให้นมตัวเองกับลูกได้ ทางเลือกที่ดีที่สุดคือ ใช้น้ำนมจากแม่คนอื่น ธนาคารน้ำนมแม่ได้ช่วยชีวิตทารกที่คลอดก่อนกำหนดและทารกที่สุขภาพอ่อนแอมาแล้วมากมาย แต่ก็ยังอีกไกลกว่าจะไปถึงจุดที่สามารถจะมีธนาคารน้ำนมที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือช่วยชีวิตให้กับเด็กทารกทุกคนในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา จนกว่าน้ำนมแม่จะได้รับการยอมรับว่าเป็นปราการป้องกันอย่างแรกและอย่างเดียวสำหรับต่อต้านการติดเชื้อที่คร่าชีวิตทารก ก็จะยังคงมีทารกอีกมากที่จะต้องเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร ดูรายละเอียดรายงานฉบับเต็มได้ที่: http://www.suburbanchicagonews.com/beaconnews/news/1279542,2_1_AU14_BABYFORMULA_S1.article ดูรายละเอียดเกี่ยวกับเชื้อแบคทีเรีย E. Sakazakii ได้ที่:
ดูรายละเอียดเกี่ยวกับธนาคารน้ำนมแม่ได้ที่: http://www.hmbana.org/ |