ReadyPlanet.com
ardo calypso
dot
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : ข้อควรปฎิบัติ
dot
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 1
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 2
bulletวิธีเลือกกุมารแพทย์ให้ลูก
bulletก่อนคลอด
bulletสิ่งที่ต้องทำเมื่ออยู่ ร.พ.
bulletหลังคลอด
bulletท่าในการให้นม
bulletBreast Crawl
bulletความคาดหวังของลูกน้อย
bulletบันทึกการให้นมลูก
bulletวิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง
bulletสัมผัสรักระหว่างแม่ลูก
bulletโรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
bulletแบบสอบถาม
dot
ปัญหาเรื่อง นมแม่
dot
bulletวิธีแก้ปัญหานมไม่พอ
bullet"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ
bulletนมพอหรือไม่
bulletเมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)
bulletอาหารเพิ่มน้ำนม
bulletวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม
bulletWorkshop เพิ่มน้ำนม (new)
bulletยาประสระน้ำนม
bulletDomperidone (Motilium)
bulletยาเพิ่มน้ำนม Motilium
bulletคำเตือนสำหรับการใช้ยา Domperidone
bulletน้ำหนักตัวเพิ่มช้า
bulletน้ำหนักตัวน้อย
bulletเจ็บหน้าอก หัวนมแตก
bulletการบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม
bulletลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า
bulletตัวเหลือง
bulletสารพันปัญหา
บริจาคนมแม่
dot
เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
dot
bullet20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน
bulletมาทำ stock น้ำนม กันเถอะ
bulletวิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
bulletจะให้ลูกกินอะไรเมื่อแม่ไปทำงาน
bulletวิธีเก็บรักษานมแม่
bulletต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?
bulletโปรแกรมคำนวณนมแม่
bulletยาคุมกำเนิด
dot
คุณแม่นักปั๊ม
dot
bulletการปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม
bulletปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
bulletข้อคิดก่อนซื้อ ที่ปั๊มนม
bulletเพิ่มน้ำนมภายใน 14 วันแรก
bulletเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
bulletซื้อเครื่องปั๊มที่ไหนดี
bulletปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี
bulletเรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
bulletถุงเก็บน้ำนมแม่
dot
กลเม็ดเคล็ดลับ
dot
bulletวิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new)
bulletบีบด้วยมือ vs ปั๊มด้วยเครื่อง
bullet10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี
bulletนอนให้นม...สบายมากๆ เลย
bulletอุปกรณ์เสริม ช่วยแม่ให้นมลูก
bulletมุมให้นมแม่
bulletวิธีพาสเจอร์ไรซ์นมแม่
dot
ปัญหาที่พบไม่บ่อย
dot
bulletลิ้นติด (Tongue Tie)
bulletเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่
bulletต้องการถามปัญหาอื่นๆ
bulletทำไมทารกร้องไห้โยเย
dot
หนังสือแนะนำ
dot
bulletขอรับหนังสือนมแม่ฟรี
bulletการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletสร้างชีวิตมหัศจรรย์ด้วยน้ำนมแม่
bulletนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก
bullet เคล็ดลับ...แม่มือใหม่ "นมแม่"
bulletเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletพัฒนาสมองด้วยนมแม่...
bulletGuide to Breastfeeding
dot
แหล่งข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่
dot
bulletคลินิกนมแม่ทั่วประเทศ
bulletนมแม่ แน่ที่สุด
bulletศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
bulletคลีนิครัก
bulletศริริราชออนไลน์
bulletสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
bulletwww.breastfeeding.com
bulletPromom
bulletรักลูก
bulletLa Leche League
bullet4woman
bulletMother & Child Health
bulletWABA
bulletBreastfeedingonline
bulletDr. Sears
bulletbreastfeedingbasics
bulletwebboard
bulletkellymom
bulletDr. Jack Newman
bulletInfact
bulletgotbreastpump
bulletNew Beginnings
bulletโครงการสายใยรัก
bulletศูนย์ข้อมูล สสส
bulletUNICEF
bulletbreastfeedingmadesimple
bullethm4hb
bulletLactation Narration
bulletNormalFed
dot
Brainfeeding
dot
bulletเก็บมาฝาก
bulletIf we don't care, who will?
bullet๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา
bulletสัมภาษณ์ ดร. อาจอง ชุมสาย ฯ
bulletคนดีของพ่อ
bulletเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้รู้
bulletคุยกับประภาส
dot
Sponsor Link
dot
bulletbfdcenter
bulletร้านนมแม่
bulletศูนย์รวมฟิล์มทุกชนิด
bulletV-Kool
bulletSuvarnabhumi Airport Hostel
bulletBussaba Bangkok Boutique Hotel Suvarnabhumi Airport
bulletbeing-mom
bulletมีลูกยาก
bulletSite Map
ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี whisper
unimom allegro
ardo calypso
Ardo Carum
bulletนมแม่


ร้านนมแม่-เครื่องปั๊มนม


5 ข้อดีที่คุณไม่เคยรู้ของการที่ลูกตื่นมากินนมตอนกลางคืนบ่อย ๆ
บรรดาพ่อแม่มือใหม่ร้อยละร้อยมักมีปัญหาลูกตื่นตอนกลางคืนบ่อย ๆ และมักกังวลว่าลูกตัวเองผิดปกติหรือเปล่า หรือจะทำยังไงให้ลูกนอนหลับตอนกลางคืนได้ดี หลับได้นาน ๆ แต่ความจริงแล้วพวกเรารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับการตื่นตอนกลางคืนของทารก ทำไมลูกชอบตื่นขึ้นมาตอนดึก ๆ ดื่น ๆ ในเวลาที่พ่อแม่อยากจะนอนใจจะขาด ต่อไปนี้เป็น 5 ข้อดีเกี่ยวกับการให้ทารกกินนมแม่ตอนกลางคืนที่ไม่มีใครเคยบอก

  1. มีงานวิจัยที่แสดงว่า พ่อแม่ของทารกกินนมแม่ ได้มีเวลานอนหลับมากกว่า พ่อแม่ของทารกที่กินนมผสม จริงอยู่ว่าแม่มือใหม่ทุกคนรู้สึกเหนื่อยล้านอนไม่พอ แต่นี่คือความจริง จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า ในช่วง 3 เดือนแรกหลังคลอด พ่อแม่ของทารกกินนมแม่ได้นอนมากกว่าพ่อแม่ของทารกกินนมผสมโดยเฉลี่ย 30-40 นาทีต่อคืน (เมื่อคิดเวลาตลอด 3 เดือน มันคือการได้นอนหลับมากกว่ามาก!!) งานวิจัยยังแสดงว่าการได้นอนหลับเพิ่มขึ้นมีผลต่อสุขภาพจิตของแม่ ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด
  2. แม่ที่อยู่ระหว่างให้นมลูกจะผลิตฮอร์โมนโปรแล็คติน (ซึ่งช่วยในการสร้างน้ำนม) ไปตามจังหวะของวัน มีงานวิจัยที่แสดงว่าระดับโปรแล็คตินในแม่ที่ให้นมลูกจะสูงขึ้นในตอนกลางคืน โดยเฉพาะในช่วงใกล้รุ่ง ทารกมักจะอยากกินนมแม่ตอนกลางคืนเพราะว่าแม่มักจะมีน้ำนมมากตอนกลางคืน เห็นหรือยังว่าลูก ๆ ของพวกเราฉลาดแค่ไหน 
  3. ทารกแรกเกิดยังไม่มีความรับรู้เรื่องจังหวะของวัน ไม่รู้ว่าตอนไหนเป็นกลางวันตอนไหนเป็นกลางคืน ต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าที่พวกเขาเริ่มรับรู้จังหวะของวันด้วยตัวเอง ทารกแรกเกิดยังไม่สามารถผลิตเมลาโทนิน (ฮอร์โมนที่ช่วยในการนอนหลับ) ได้เอง เราคงเดาได้ไม่ยากกว่าอะไรที่มีเมลาโทนินเป็นจำนวนมาก (น้ำนมแม่ที่ผลิตตอนกลางคืน) นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าน้ำนมแม่ตอนกลางคืนมีเมลาโทนินจำนวนมากเพื่อช่วยให้ทารกปรับตัวเข้ากับจังหวะของวันและทำให้พวกเขาเรียนรู้ที่จะนอนหลับตอนกลางคืนได้นานขึ้น  
  4. นอกจากเมลาโทนิน น้ำนมแม่ที่ผลิตช่วงเย็นและกลางคืนยังมีสารอื่นที่ช่วยให้นอนหลับได้ดีและบำรุงสมองในปริมาณมาก บทความจากมหาวิทยาลัยน็อทร์-ดามเขียนไว้ว่า “พ่อแม่ควรรู้ว่าน้ำนมแม่ตอนเย็นและตอนกลางคืนมีสารทริปโทรแฟน (กรดอะมิโนที่ช่วยการนอนหลับ) และกรดอะมิโนอื่นที่ช่วยกระตุ้นการสังเคราะห์ฮอร์โมนเซโรโทนิน ซึ่งมีความจำเป็นมากต่อการพัฒนาสมอง เซโรโทนินช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้น ทำให้มีอารมณ์ดี และช่วยในการปรับวงจรการนอนหลับการตื่นนอน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะให้ทารกกินนมตอนเย็นหรือตอนกลางคืน เพราะในน้ำนมมีทริปโทแฟนซึ่งมีประโยชน์มากไปกว่าการทำให้พวกเขานอนหลับได้ 
  5. การให้ทารกกินนมตอนกลางคืน มีส่วนสำคัญในการรักษาการผลิตน้ำนมแม่ให้มีปริมาณสม่ำเสมอและผลิตน้ำนมได้มากพอในระยะยาว และช่วยให้แม่ไม่ต้องปั๊มนมออกมากในตอนกลางวัน สำหรับแม่ที่กำลังให้นม ร่างกายรับรู้ว่าต้องผลิตน้ำนมมากแค่ไหนจากความถี่ในการเอาน้ำนมออกจากเต้า มันเป็นกฎของอุปสงค์-อุปทาน และขึ้นอยู่กับเวลา 24 ชั่วโมงไม่ใช่แค่ในระหว่างช่วงเวลาที่แม่ตื่นนอน แม่แต่ละคนจะมีจำนวนครั้งที่ต้องเอาน้ำนมออกจากเต้าเพื่อให้ร่างกายสามารถผลิตน้ำนมได้พอในระยะยาว จำนวนครั้งที่ว่านี้ถูกเรียกว่า “ตัวเลขมหัศจรรย์” ถ้าแม่ให้ลูกกินนมในรอบ 24 ชั่วโมงไม่ถึงจำนวนครั้งที่เป็น “ตัวเลขมหัศจรรย์” ของตัวเอง ร่างกายจะค่อย ๆ ลดการผลิตน้ำนมลง ทำให้ร่างการผลิตน้ำนมได้น้อยลง สำหรับแม่ที่ไปทำงานแล้ว การให้ลูกกินนมแม่ตอนกลางคืนหลาย ๆ ครั้ง ทำให้จำนวนครั้งในการเอาน้ำนมออกจากเต้าในรอบ 24 ชั่วโมงเพิ่มขึ้น หมายความว่าจำนวนครั้งที่แม่จะต้องปั๊มน้ำนมออกในตอนกลางวันอาจจะน้อยลง แต่ก็ยังสามารถรักษาจำนวน “ตัวเลขมหัศจรรย์” และรักษาการผลิตน้ำนมเอาไว้ได้ กลไกพื้นฐานนี้ยังมีผลในทารกที่โตแล้วด้วย นั่นคือเหตุผลว่าทำไมพวกเขายังควรจะได้กินนมแม่ในตอนกลางคืนด้วยเหมือนกัน
 
นี่คือ 5 ข้อดีของการที่ทารกตื่นมากินนมตอนกลางคืน ดังนั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่ได้ยินลูกร้องงอแงจะกินนมตอนตี 2 ให้คิดไว้ว่าลูกกำลังช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ได้มีโอกาสนอนหลับมากขึ้น ลดความเสี่ยงของโรคซึมเศร้าหลังคลอด สร้างพัฒนาการทางสมองที่ดีสำหรับตัวเอง ลดความเสี่ยงในการมีอารมณ์แปรปรวน ปรับตัวและเรียนรู้จังหวะของวันของตัวเอง มีโอกาสกินนมแม่ในเวลาที่ร่างกายแม่ผลิตน้ำนมได้มาก ช่วยให้ร่างกายแม่ผลิตน้ำนมได้สม่ำเสมอมากพอและต่อเนื่องในระยะยาว และช่วยให้แม่ไม่ต้องปั๊มนมถี่มากขึ้นเวลาไปทำงานตอนกลางวัน

ที่มา http://bit.ly/1pfjL0r



เก็บมาฝาก

ญาติผู้ใหญ่กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
น้ำนมแม่ดีที่สุด!
เด็กไทยกับวัคซีน 1 ชีวิต 33 เข็ม มากมั้ย ? article
วัคซีน ไอพีดี article
ทีวีส่งผลอะไรบ้างต่อลูกคุณ
นมแม่ในโรงงาน
คุณพ่อเชิญทางนี้
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว: ความเชื่อหรือคลื่นกระแสนิยม?
ถ้อยแถลงของ ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน เรื่อง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ article