ReadyPlanet.com
ardo calypso
dot
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : ข้อควรปฎิบัติ
dot
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 1
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 2
bulletวิธีเลือกกุมารแพทย์ให้ลูก
bulletก่อนคลอด
bulletสิ่งที่ต้องทำเมื่ออยู่ ร.พ.
bulletหลังคลอด
bulletท่าในการให้นม
bulletBreast Crawl
bulletความคาดหวังของลูกน้อย
bulletบันทึกการให้นมลูก
bulletวิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง
bulletสัมผัสรักระหว่างแม่ลูก
bulletโรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
bulletแบบสอบถาม
dot
ปัญหาเรื่อง นมแม่
dot
bulletวิธีแก้ปัญหานมไม่พอ
bullet"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ
bulletนมพอหรือไม่
bulletเมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)
bulletอาหารเพิ่มน้ำนม
bulletวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม
bulletWorkshop เพิ่มน้ำนม (new)
bulletยาประสระน้ำนม
bulletDomperidone (Motilium)
bulletยาเพิ่มน้ำนม Motilium
bulletคำเตือนสำหรับการใช้ยา Domperidone
bulletน้ำหนักตัวเพิ่มช้า
bulletน้ำหนักตัวน้อย
bulletเจ็บหน้าอก หัวนมแตก
bulletการบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม
bulletลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า
bulletตัวเหลือง
bulletสารพันปัญหา
บริจาคนมแม่
dot
เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
dot
bullet20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน
bulletมาทำ stock น้ำนม กันเถอะ
bulletวิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
bulletจะให้ลูกกินอะไรเมื่อแม่ไปทำงาน
bulletวิธีเก็บรักษานมแม่
bulletต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?
bulletโปรแกรมคำนวณนมแม่
bulletยาคุมกำเนิด
dot
คุณแม่นักปั๊ม
dot
bulletการปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม
bulletปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
bulletข้อคิดก่อนซื้อ ที่ปั๊มนม
bulletเพิ่มน้ำนมภายใน 14 วันแรก
bulletเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
bulletซื้อเครื่องปั๊มที่ไหนดี
bulletปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี
bulletเรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
bulletถุงเก็บน้ำนมแม่
dot
กลเม็ดเคล็ดลับ
dot
bulletวิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new)
bulletบีบด้วยมือ vs ปั๊มด้วยเครื่อง
bullet10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี
bulletนอนให้นม...สบายมากๆ เลย
bulletอุปกรณ์เสริม ช่วยแม่ให้นมลูก
bulletมุมให้นมแม่
bulletวิธีพาสเจอร์ไรซ์นมแม่
dot
ปัญหาที่พบไม่บ่อย
dot
bulletลิ้นติด (Tongue Tie)
bulletเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่
bulletต้องการถามปัญหาอื่นๆ
bulletทำไมทารกร้องไห้โยเย
dot
หนังสือแนะนำ
dot
bulletขอรับหนังสือนมแม่ฟรี
bulletการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletสร้างชีวิตมหัศจรรย์ด้วยน้ำนมแม่
bulletนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก
bullet เคล็ดลับ...แม่มือใหม่ "นมแม่"
bulletเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletพัฒนาสมองด้วยนมแม่...
bulletGuide to Breastfeeding
dot
แหล่งข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่
dot
bulletคลินิกนมแม่ทั่วประเทศ
bulletนมแม่ แน่ที่สุด
bulletศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
bulletคลีนิครัก
bulletศริริราชออนไลน์
bulletสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
bulletwww.breastfeeding.com
bulletPromom
bulletรักลูก
bulletLa Leche League
bullet4woman
bulletMother & Child Health
bulletWABA
bulletBreastfeedingonline
bulletDr. Sears
bulletbreastfeedingbasics
bulletwebboard
bulletkellymom
bulletDr. Jack Newman
bulletInfact
bulletgotbreastpump
bulletNew Beginnings
bulletโครงการสายใยรัก
bulletศูนย์ข้อมูล สสส
bulletUNICEF
bulletbreastfeedingmadesimple
bullethm4hb
bulletLactation Narration
bulletNormalFed
dot
Brainfeeding
dot
bulletเก็บมาฝาก
bulletIf we don't care, who will?
bullet๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา
bulletสัมภาษณ์ ดร. อาจอง ชุมสาย ฯ
bulletคนดีของพ่อ
bulletเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้รู้
bulletคุยกับประภาส
dot
Sponsor Link
dot
bulletbfdcenter
bulletร้านนมแม่
bulletศูนย์รวมฟิล์มทุกชนิด
bulletV-Kool
bulletSuvarnabhumi Airport Hostel
bulletBussaba Bangkok Boutique Hotel Suvarnabhumi Airport
bulletbeing-mom
bulletมีลูกยาก
bulletSite Map
ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี whisper
unimom allegro
ardo calypso
Ardo Carum
bulletนมแม่


ร้านนมแม่-เครื่องปั๊มนม


ข้อควรปฏิบัติเมื่อต้องพาลูกหาหมอ

บทความโดย พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ https://www.doctorbreastfeeding.com/

 

ในการทำงานเป็นหมอเด็ก แต่ละวัน ไม่มีวันไหนที่เหมือนกันเลย บางวันทำงานเสร็จแล้ว ยังรู้สึกกระชุ่มกระชวย แฮปปี้กระดี๊กระด๊า ยังมีแรงอีกมากที่จะกลับไปลุยกับลูก นั่งเขียนต้นฉบับ วิ่งจ๊อกกิ้งอีก 1ชม. แล้วไปตีแบดต่ออีกซักเกมส์สองเกมส์ แต่บางวันเสร็จงานแล้วอยากสลบ ไม่อยากคุยอะไรกับใครทั้งสิ้น เพราะแรงหมดแล้ว อยากหยุดทำงานไปอีกซักวันสองวัน แล้วค่อยกลับมาทำงานใหม่ 
วันที่การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น
 สนุกสนาน คือ วันที่คนไข้ให้ความร่วมมือในการตรวจเป็นอย่างดี สวัสดีทักทาย นั่งเปิดพุงให้ตรวจง่ายๆ ไม่ร้องไห้ ไม่กรี๊ดใส่หูหมอ ไม่ถีบหมอ ไม่ด่าหมอ อ้าปากกว้างให้หมอเห็นชัดๆ ตรวจเสร็จแล้วยังมีเวลาเหลือให้ได้เม้าท์กับพ่อแม่ต่อ เช่น อยากให้นมแม่นานๆทำยังไงดี ขอคำแนะนำเรื่องการฝึกวินัยลูก เรื่องโรงเรียนแนวไหนดี เรื่องอาหารเสริม การเสริมสร้างพัฒนาการของลูกรัก แม่ควรฉีดวัคซีนตัวใหม่ HPV (ป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก) ดีไหม พอตรวจเสร็จก็บ๊ายบายกันอย่างมีความสุข คุณหมอก็จะแถมสติ๊กเกอร์หรือวิตะมินซีให้เป็นรางวัล คราวหน้าเจอกันก็จะได้ตรวจง่ายๆเหมือนเดิม 
ส่วนวันไหนที่เจอคนไข้ที่กล
ัวหมอสุดขีด (ทั้งๆที่หมอก็แสนจะใจดีและแสนสวย) ดิ้นรนและร้องไห้ตะเบ็งเสียงอย่างเจ็บปวดแบบตีบทกระจุย (แต่พอตรวจเสร็จเดินออกจากห้องตรวจแล้ว หยุดร้องไห้สนิทเลย) หมอก็เลยต้องตะโกนหรือพูดให้เสียงดังขึ้นเพื่อถามอาการจากคุณแม่ ดังนั้นกว่าจะตรวจเสร็จก็เล่นเอาหมอเหงื่อแตกและเสียเซลฟ์ไปเลย หรือบางคนกว่าจะฉีดวัคซีนได้ ต้องให้พ่อแม่และพยาบาลอีกสองคนช่วยจับ พอตรวจเสร็จ ฉีดยาเสร็จ พ่อแม่ก็ต้องรีบลาและรีบพาลูกออกจากห้องตรวจแทบจะทันที ทำให้ไม่มีโอกาสได้คุยอะไรกันสักเท่าไร วันไหนมียากๆหลายๆคนก็เหนื่อยกว่าปกติ (ยิ่งกว่าไปวิ่งรอบสนามศุภฯ) และเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ก็คงมีความรู้สึกคล้ายๆกันหรืออาจจะหนักยิ่งกว่า คือ รู้สึกว่าการพาลูกมาโรงพยาบาลแต่ละครั้ง เหมือนกับพาลูกเข้าสู่แดนทรมาน ดังนั้นหากไม่จำเป็นก็คงไม่มีใครอยากมาพบหมอ
แต่ทว่า เวลาที่ลูกเจ็บป่วยไม่สบายน
ั้น ช่างเป็นอะไรที่น่าสงสาร เปราะบาง และอยู่ในสภาพที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย ไม่เพียงแต่ลูกเท่านั้น คนที่เป็นพ่อแม่นั้นกลับดูแย่ยิ่งกว่า น่าสงสารเพราะเป็นทุกข์ใจที่เห็นลูกไม่สบายตัวและทรมานจากอาการป่วย ดูเปราะบางเพราะอยู่ในสภาพที่พร้อมจะแตกเป็นเสี่ยงๆได้ทุกเมื่อ ยิ่งถ้าลูกป่วยหนัก และพ่อแม่ที่ไม่ได้เป็นหมอย่อมมีความรู้สึกว่าตัวเองหมดสภาพ เพราะไม่ทราบว่าจะช่วยเหลือบรรเทาอาการเจ็บป่วยทุกข์ทรมานของลูกได้อย่างไร ถึงแม้พ่อแม่ที่เป็นหมอ บางครั้งก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกัน จนอาจไม่กล้ารักษาหรือดูแลลูกของตัวเอง ต้องให้หมอคนอื่นช่วยดูแลแทน 
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากพ่อแม่ต้องเผชิญกับการเจ
็บป่วยครั้งแรกในชีวิตของลูกคนแรก เช่น ภาวะไข้ขึ้นสูง อาการอาเจียนไม่หยุด ภาวะศีรษะฟาดพื้นจากตกเตียงย่อมเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความตกใจอย่างรุนแรงและความวิตกกังวลอย่างสูงสุดแก่ผู้เป็นพ่อแม่ แต่เชื่อหรือไม่ว่า ท้ายที่สุดแล้ว เมื่อคุณแม่มีประสบการณ์มากขึ้น จะสามารถเรียนรู้วิธีการจัดการกับไข้ สามารถรับมือกับการอาเจียนของลูก หรือ ทำการดูแลลูกที่เพิ่งได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ ได้อย่างสุขุม มีสติ มั่นใจ และเก่งเทียบเท่ากับมืออาชีพทีเดียว 
ในการพัฒนาความสามารถของคุณ
แม่ให้ไปถึงจุดนั้นได้โดยเร็ว ทำได้โดยการพยายามหาความรู้จากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจากหนังสือ ค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ต และที่สำคัญที่สุดคือ คำแนะนำโดยตรงจากคุณหมอที่ดูแลลูก เพราะบางครั้งความรู้ที่ได้จากการอ่านอาจเข้าใจได้ยากกว่าความรู้ที่ถ่ายทอดโดยตรงจากคุณหมอ หรือบางครั้งการอ่านข้อมูลมากเกินไปอาจทำให้สับสนมากยิ่งขึ้น เพราะนำมาประยุกต์ใช้ไม่ตรงกับสถานการณ์ 
ยกตัวอย่างเช่น ในหนังสือเขียนว่าหากลูกอาเ
จียนไม่หยุด อาจเกิดจากโรคลำไส้กลืนกันซึ่งอันตรายมาก ทำให้คุณแม่มีความรู้สึกกลัวมาก แต่เมื่อคุณหมอตรวจแล้ว ปรากฏว่าเป็นโรคลำไส้อักเสบ จึงให้คำแนะนำว่าต้องดูแลลูกอย่างไรบ้าง หากครั้งหน้าลูกมีอาการแบบเดียวกัน จะดูแลเบื้องต้นอย่างไร และอาการอะไรที่เป็นสัญญาณอันตรายว่าต้องพาพบคุณหมอโดยเร็ว เมื่อลูกมีปัญหาอาเจียนครั้งต่อไป คุณแม่ก็สามารถรับมือกับการป่วยของลูกได้อย่างถูกต้อง และบางครั้งหากเป็นการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ คุณอาจรักษาพยาบาลลูกให้หายได้โดยไม่ต้องพบคุณหมอ 
การได้รับความรู้และคำแนะนำ
จากคุณหมอ ไม่จำกัดแต่เฉพาะเวลาที่ได้พบคุณหมอเวลาที่ลูกป่วยเท่านั้น แต่เวลาที่พาลูกไปฉีดวัคซีนและตรวจสุขภาพ คุณแม่ก็จะได้รับคำแนะนำที่ดีๆจากคุณหมอเช่นกัน แต่ทำอย่างไรเราจึงจะได้ประโยชน์สูงสุดจากการพบคุณหมอในแต่ละครั้ง เพราะดูคุณหมอจะดูยุ่งๆ ไม่ค่อยคุย และมีเวลาน้อย ทำให้เราไม่กล้าที่จะซักถามอะไรมาก ต่อไปนี้คือ คำแนะนำข้อควรปฏิบัติเมื่อต้องพาลูกพบหมอ เพื่อให้การดูแลสุขภาพลูกของเราเป็นไปอย่างดีที่สุด อย่าลืมว่าหมอจะรักษาและดูแลลูกให้ดีไม่ได้เลย หากไม่มีการช่วยเหลือจากผู้ช่วยมือดีที่สุดอยู่ข้างกายลูก นั่นคือคุณพ่อคุณแม่นั่นเอง
1. การเตรียมตัวล่วงหน้า 
การนัดหมาย หากคุณมีนัด การตรงต่อเวลาจะช่วยให้คุณไ
ม่ต้องเสียเวลารอคอย เพราะการรอคอยนานๆพร้อมกับเด็กที่กำลังป่วยหรือไม่ป่วยแต่ซนมาก อยู่ไม่นิ่งเลย จะทำให้แม่เครียดและปวดหัวมากกว่าปกติ หากไม่สามารถมาตามนัด ควรโทรบอกเลื่อนนัดก่อนอย่างน้อย 1 วัน 
ให้ลูกแต่งตัวชนิดที่ง่ายแล
ะสะดวกแก่การตรวจ 
เด็กช่วงวัย 1-2 ขวบ มักกลัวหมอ กลัวพยาบาล เพราะเริ่มจำได้ว่ามาโรงพยา
บาลทีไร โดนฉีดยาวัคซีน หรือโดนคุณหมอจับเนื้อจับตัว เอาเครื่องมือตรวจหู จมูก ยิ่งไม้กดลิ้นยิ่งไม่ชอบ ทำให้ต้องร้องไห้ ดิ้นรน ปัดป่าย หมอจึงตรวจได้ลำบาก ต้องจับกันหลายคน ก็ยิ่งทำให้ลูกรู้สึกกลัวมากขึ้น ครั้นเมื่อลูกร้องไห้มาก แม่ก็ต้องรีบออกจากห้องตรวจเพื่อให้ลูกหยุดร้องโดยเร็ว ทำให้บางครั้งไม่ทันได้ฟังคำแนะนำจากหมอได้เต็มที่หรือไม่มีโอกาสซักถามข้อสงสัยอย่างอื่นเพิ่มเติม 
แต่หากขณะอยู่บ้านได้มีการฝ
ึกซ้อมให้ลูกได้เล่นเลียนแบบเป็นคุณหมอ ลองอ่านหนังสือการ์ตูนที่เกี่ยวกับการไปหาหมอ เพื่อให้ลูกได้คุ้นเคยหรือคาดเดาได้ว่าคุณหมอจะตรวจอะไร ต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง การให้ลูกนั่งตรวจบนตักของพ่อแม่แทนที่จะนั่งคนเดียวหรืออยู่บนเตียง อาจทำให้อาการกลัวลดลงได้
เวลาที่เหมาะสมในการมาตรวจ (ในกรณีที่ไม่ฉุกเฉิน) ไม่ควรเป็นเวลานอนกลางวันขอ
งลูก หรือเป็นเวลาที่เหนื่อยหรือหิว หรืออาจเตรียมอาหาร นม อาหารว่าง หรือของเล่นเพื่อไม่ให้ลูกร้องไห้งอแงจากการต้องรอคิวตรวจ (หากเตรียมของเล่นมาเอง อาจช่วยให้ลูกไม่ต้องจับของเล่นส่วนกลางซึ่งอาจมีเชื้อโรค) บางครั้งคุณหมออาจทำเป็นขอตรวจพี่ตุ๊กตาให้ลูกดูเป็นตัวอย่าง
จดข้อมูลที่สำคัญ ประเด็นต่างๆที่หมอควรทราบ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้รู้
อาการป่วยของลูกไม่ได้มาด้วย เพื่อช่วยให้คุณแม่เล่าอาการของลูกได้ตรงประเด็น และครบถ้วน เช่น ลูกเริ่มมีอาการป่วยเมื่อไร อะไรที่ทำให้ลูกป่วย อะไรทำให้อาการดีขึ้นหรือแย่ลง เช่น เวลานอนลูกจะไอมากกว่าท่านั่ง ลูกมีอาการผิดปกติอะไรบ้าง เช่น ไข้สูงหรือต่ำ น้ำมูกใสหรือมีสี ไอแห้งหรือมีเสมหะ หายใจหอบ อาเจียนกี่ครั้ง ถ่ายเหลวเป็นน้ำหรือมีมูกเลือด มีผื่นหรือแผลในปาก งอแง ซึมลง หรือยังเล่นได้ดี กินได้น้อยลง ปัสสาวะออกน้อยลงหรือครั้งสุดท้ายเมื่อไร ลูกได้กินยาอะไรอยู่บ้างและช่วยให้อาการดีขึ้นบ้างหรือไม่ หากจำชื่อยาไม่ได้ ควรนำยามาให้หมอดู หากใช้ต่อได้ หมอจะได้ไม่ต้องสั่งเพิ่ม ไม่งั้นเดี๋ยวยาเต็มบ้าน กลายเป็นร้านขายยา ได้รับการตรวจโดยคุณหมอแล้วหรือยัง มีใครที่ป่วยแบบเดียวกันบ้าง มีประวัติได้รับอุบัติเหตุหรือไปในแหล่งของโรคระบาดมาก่อนหน้านี้หรือไม่ ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต ลูกมีโรคประจำตัวหรือไม่ และอย่าลืมบอกคุณหมอเรื่องยาที่ลูกแพ้ 
อาการบางอย่างอาจเป็นและหาย
ไปในเวลาอันรวดเร็ว เช่น ผื่นแพ้ หรือการเคลื่อนไหวของแขนขาหรือกล้ามเนื้อที่ผิดปกติแล้วไม่แน่ใจว่าเป็นอาการชักหรือไม่ ดังนั้นจึงควรถ่ายรูปหรืออัดวีดีโอเพื่อนำมาให้แพทย์ดูหากลูกมีอาการถ่ายเหลวก็ควรนำอุจจาระมาให้แพทย์ดู หากสงสัยว่าลูกจะกินหรือกลืนสารพิษ ให้นำตัวอย่างมาด้วย เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค 
ในกรณีที่พาลูกมารับการฉีดว
ัคซีน คุณแม่จะมีเวลาพูดคุยกับคุณหมอถึงสุขภาพทั่วไปของลูก หากมีคำถาม อย่าลืมจดไว้เพื่อซักถามคุณหมอ ไม่งั้นเดี๋ยวจะลืมถาม เช่น ทำไมฟันยังไม่ขึ้น ทำอย่างไรหากลูกชอบกรี๊ด การให้อาหารเสริม การฝึกขับถ่าย ส่วนใหญ่คำถามเหล่านี้ จะถามในช่วงที่พาลูกมาตรวจสุขภาพเพื่อรับวัคซีน ไม่ใช่ช่วงที่ลูกกำลังเจ็บป่วยอยู่ เพราะแค่ดูแลลูกป่วยก็แทบจะไม่มีเวลาสงสัยอะไรอย่างอื่นอีกแล้ว
2. การปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณ
หมอ
- เมื่อได้คำแนะนำจากคุณหมอ ควรจดบันทึก หากมาคนเดียวจะเขียนลำบากเพ
ราะต้องอุ้มลูกไว้ด้วย ถ้าเป็นไปได้ พ่อ แม่ควรมาด้วยกัน หรืออัดเทปไว้ (หากคุณหมออนุญาต) เพราะอาจจำไม่ได้ เนื่องจากกำลังเครียดจัดจากการที่ลูกร้องไห้มาก จึงอาจไม่ได้ยินตอนที่หมอบอกว่าฉีดยาแล้วอาจมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง และควรดูแลช่วยเหลืออย่างไร พอถึงบ้านแล้วค่อยนึกออกว่าเอ๊ะ! เมื่อกี้ คุณหมอพูดว่าอะไรนะ
- เมื่อได้รับคำแนะนำหรือการร
ักษาจากคุณหมอแล้ว หากไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ควรจะแจ้งให้คุณหมอทราบ เพื่อจะได้ประเมินผลการรักษาได้อย่างถูกต้อง และคุณหมอจะได้หาวิธีอื่นต่อไปที่จะทำให้ลูกมีอาการดีขึ้น เช่น หากลูกกินยาที่หมอให้ไปไม่ได้เลยเพราะอาเจียนออกหมดหรือคุณแม่ยังไม่ได้ให้ยาฆ่าเชื้อที่หมอสั่งให้เพราะไม่อยากให้ลูกกินยาประเภทปฏิชีวนะ (เพราะได้ยินมาว่ากินมากๆ จะไม่ดีต่อตับไตฟันหรือกระดูกของลูก) และอาการของลูกไม่ดีขึ้น เมื่อคุณหมอทราบจะได้ประเมินว่า ไม่ใช่เป็นเพราะยาไม่ได้ผล แต่เป็นเพราะไม่ได้รับยา หมอจะได้แนะวิธีการให้ยาให้สำเร็จหรืออธิบายให้คุณแม่ทราบถึงความจำเป็นและความปลอดภัยของการให้ยาฆ่าเชื้อที่ให้ เพื่อให้แม่มั่นใจยิ่งขึ้น หรืออาจเปลี่ยนเป็นยาอื่นที่กินง่ายขึ้น
- เมื่อไรก็ตามที่คุณรู้สึกไม
่แน่ใจว่าการวินิจฉัยและการรักษาจากคุณหมอจะช่วยให้ลูกคุณดีขึ้น อย่าเก็บความรู้สึกเอาไว้ ให้พูดคุยตรงๆกับคุณหมอได้เลย โดยวิธีการที่นุ่มนวล ไม่ดูถูกหรือท้าทาย เพื่อให้คุณหมอทบทวนการวินิจฉัยและวิธีการรักษาอีกครั้งหนึ่ง อธิบายถึงเหตุผลที่คุณกังวลใจและขอทราบถึงเหตุผลเบื้องหลังการเลือกวิธีการการรักษาดังกล่าวจากคุณหมอ การได้พูดคุยกันอาจช่วยให้ได้เรียนรู้บางอย่างจากกันและกัน รวมถึงบางครั้งอาจต้องปรึกษาความเห็นจากคุณหมอท่านอื่น โดยทั้งนี้เป้าหมาย คือ การดูแลลูกอย่างดีที่สุด 
3. เมื่อคุณพาลูกพบหมอเพื่อตรว
จร่างกายและรับวัคซีน
- อย่าลืมนำสมุดวัคซีนมาด้วย เพื่อคุณหมอจะได้ลงบันทึกกา
รฉีดยา วันที่ ชื่อยา หมายเลขตัวยาที่ฉีด เพื่อเป็นประวัติ เพราะบางครั้งคุณแม่อาจพาลูกรับวัคซีนจากหลายโรงพยาบาล จะได้ทราบว่าฉีดไปกี่เข็มแล้ว และหากมีปัญหาผลข้างเคียงของวัคซีน จะได้ตรวจสอบได้ว่าเป็นวัคซีนที่ผลิตจากแหล่งใด และต้องเก็บสมุดไว้อย่างดีจนลูกโต เพราะต้องใช้เพื่อตรวจสอบประวัติการฉีดวัคซีน เวลาลูกสอบได้ทุนไปต่างประเทศ ว่ามีภูมิคุ้มกันเรียบร้อยแล้วหรือยัง หากทำสมุดหาย ก็ต้องเจาะเลือดเช็คว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่ หรือต้องฉีดกันใหม่อีกหลายเข็ม (เพราะเขากลัวเอาโรคไปแพร่ในประเทศของเขา หรือกลัวลูกจะไปป่วยขณะอยู่ต่างประเทศ แล้วจะลำบาก)
- สิ่งที่คุณหมอจะถาม เช่น เป็นอย่างไรบ้างในช่วงเดือน
ที่ผ่านมา ลูกสบายดีหรือไม่ คุณแม่คุณพ่อและทุกคนในบ้านสบายดีหรือไม่ หากเป็นเด็กแรกเกิด อาจถามว่าพี่ๆของลูกเข้ากับน้องได้ดีหรือไม่ ใครเป็นคนช่วยเลี้ยงลูกเวลาแม่ไปทำงาน ลูกเลี้ยงง่ายหรือยาก ดูดนมเก่งหรือไม่ กินนมอะไร ชอบกินอาหารเสริมหรือไม่ นอนหลับดีหรือร้องไห้เก่ง ขับถ่ายปกติดีหรือไม่ พัฒนาการทำอะไรได้บ้าง
- พยาบาลจะบันทึกน้ำหนัก ความยาว ขนาดเส้นรอบศีรษะ รอบอก และจุดลงในกราฟมาตรฐานการเจ
ริญเติบโต เพื่อให้คุณหมอแปลผลและอธิบายให้ทราบว่าลูกเติบโตอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่
- คุณหมอจะทำการตรวจร่างกาย เพื่อประเมินสภาพต่อไปนี้ คือ ตรวจตาว่ามองตามดีไหม มีภาวะซีดหรือตัวเหลือง ผิวหนังมีผื่นหรือร่องรอยฟก
ช้ำ ตรวจการได้ยินดูว่าหันหาเสียงได้ ใช้หูฟังเพื่อตรวจการเต้นของหัวใจ ฟังเสียงลมในปอดหรือเสียงผิดปกติจากการมีน้ำในปอดหรือเสียงหลอดลมตีบ ช่องหูมีบาดแผลหรือติดเชื้อหรือไม่ โพรงจมูกบวมอักเสบหรือมีน้ำมูกคั่ง ช่องปากดูฝ้าขาวหรือแผลหรือการอักเสบและตรวจสภาพฟัน คลำลำคอว่ามีต่อมน้ำเหลืองโตหรือมีก้อนผิดปกติ คลำท้องว่าโตหรืออวัยวะในช่องท้องผิดปกติหรือไม่ ฟังเสียงลำไส้บีบตัว ตรวจบริเวณอวัยวะเพศและก้น ตรวจแขนขาข้อต่อและการเคลื่อนไหว ตอบสนองต่อการกระตุ้นหรือของเล่นอย่างไรบ้าง (หากลูกให้ความร่วมมือ อาจตรวจเสร็จทั้งหมดภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที จนคุณแม่อาจมองไม่ทัน) 
รวมถึงซักถามปัญหาด้านพฤติก
รรม เช่น ซนมากไหม สมาธิดีไหม พูดไม่ชัดหรือติดอ่าง ดูทีวี หรือให้ขนมกินมากเกินไปหรือไม่ เพื่อที่จะได้ให้คำแนะนำเรื่องการเลี้ยงดู การฝึกระเบียบวินัย การรับมือหากลูกมีปัญหาร้องดิ้นอาละวาดหรือร้องกลั้น แนะนำวิธีลงโทษแบบถูกวิธีหากลูกทำผิด การฝึกให้ลูกนอนหลับยาวตอนกลางคืน การป้องกันไม่ให้ลูกเจ็บป่วย การให้อาหารที่บำรุงสุขภาพและถูกหลักอนามัย ไม่ให้ลูกติดหวาน การไม่สูบบุหรี่ การให้ลูกพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ การให้นมแม่ การให้วัคซีน สอนเรื่องการล้างมือบ่อยๆ และคำแนะนำล่วงหน้าว่าเดือนต่อๆไป ลูกจะทำอะไรได้บ้าง กินอาหารเสริมอะไร ต้องระวังป้องกันไม่ให้ลูกได้รับอันตรายจากอุบัติเหตุอย่างไรบ้าง การใช้เก้าอี้นิรภัย เข็มขัดนิรภัย การเก็บของมีคมหรือสารเคมีหรือยาให้พ้นจากมือลูก อย่าลืมจดถ้ากลัวลืม (ส่วนใหญ่มักจะลืม เพราะภาระกิจยุ่งเหยิง)
- เมื่อมีการฉีดวัคซีน คุณหมอจะอธิบายว่าป้องกันโร
คอะไร มีผลข้างเคียงอย่างไร และดูแลช่วยเหลืออาการข้างเคียงอย่างไร เช่น การให้ยาลดไข้ การเช็ดตัว และถามว่าคราวก่อนที่ฉีดยามีปัญหาผลข้างเคียงหรือไม่
หวังว่าคำแนะนำเหล่านี้จะช่
วยให้การพาลูกหาหมอครั้งต่อไปเป็นไปอย่างราบรื่น ได้ประโยชน์ และมีความสุขค่ะ
รูปประกอบ น้องภัทรผู้ไม่กลัวป้าหมอ เพราะมาหาป้าหมอทีไรได้กินม
ะละกอทู้กที เด็กคนอื่นต้องเอาสติ๊กเกอร์หรือวิตมินซีล่อหลอก แต่น้องภัทรต้องล่อหลอกด้วย
มะละกอ




25.เมื่อลูกไม่สบาย

"ควรปรึกษาแพทย์ ก่อนให้ยาลูกเอง"
"วิธีการวัดไข้"
"ทำไมเวลาป่วยจึงมีไข้"
"การปรึกษาปัญหาทางโทรศัพท์"
วิธีรักษาแผลเป็นในเด็ก..ทำอย่างไร ?
"การดูแลด้านจิตใจเมื่อลูกป่วย"
"การป้องกันการแพร่เชื้อ เมื่อคุณหรือลูกป่วย"
ให้ลูกกินยาโดยไม่จำเป็น อันตรายมากไหม
ลูกเป็นไข้ ควรพบแพทย์เมื่อไร ?
ฟันน้ำนมผุ ต้องรักษาไหม ?
ลูกเป็นหวัด ดูแลอย่างไร ?
ลูกกินยายาก ป้อนยาลูกอย่างไรดี ?
วิธีป้อนยากรณีลูกกินยายาก
การดูแลเมื่อลูกเป็นไข้
คลิปวิดิโอ
การดูแลเมื่อลูกเป็นหวัด