
ทำไมแต่ละคนปั๊มนมได้ไม่เท่ากัน 1.แต่ละคนมีกระเปาะน้ำนมมากน้อยต่างกัน ไม่ได้ขึ้นกับขนาดของเต้านมเพราะถ้าเต้าขนาดใหญ่แสดงว่าไขมันเยอะ ไม่ได้เกี่ยวกับปริมาณน้ำนม คนคัพเอ มีนมแม่ฟรีสเต็มตู้แช่ถมเถไป
2. Dr.Spatz โชว์งานวิจัยว่า ถ้ามีโอกาส ควรซื้อเครื่องปั๊มนมแบบคู่เพราะจะได้น้ำนมมากกว่าปั๊มเดี่ยว หรือ ใช้มือบีบ แต่ถ้ามีงบจำกัด ป้าหมอแนะนำซื้อเครื่องมือ
![]() 3.เคยได้ยินไหมคะ ว่ายังไม่ต้องรีบร้อนปั๊มนม ว่าแต่รอได้นานแค่ไหน ค่อยเริ่มปั๊มได้ Dr.Spatz โชว์งานวิจัย ยิ่งปั๊มเร็วยิ่งดี โดยเฉพาะ 2 สัปดาห์แรก เพราะถ้าเริ่มช้ากว่านี้ ลูกดูดอย่างเดียว จะกระตุ้นการผลิตน้ำนมได้แค่เพียงพอกิน แต่ไม่พอเหลือเก็บไว้ทำสต๊อก ดังนั้นแม่ทำงานนอกบ้านจึงควรรีบปั๊มนมให้เร็วที่สุด แต่จำไว้ว่า จะปั๊มก็ต่อเมื่อเริ่มมีเวลาว่างจากลูกดูดแล้วเท่านั้นค่ะ เน้นดูดเต้าเป็นหลัก ไม่ใช่เวลาไปปั๊มนมแทนการดูดเต้านะคะ
ถ้าเริ่มปั๊มหลัง 2 สัปดาห์ โอกาสที่จะกระตุ้นให้น้ำนมเพิ่มขึ้นด้วยการใช้เครื่องปั๊มจะน้อยลง สรุป คือ ทันทีที่ลุกขึ้นมาปั๊มนมไหว เช่น นั่งดูทีวีอยู่ นั่งทำงานอะไรอยู่ก็ต้องนมไปพร้อมๆกันได้ ให้เริ่มปั๊มได้เลย ปั๊มได้ทุกชม.ช่วงกลางวัน กลางคืนทุก 3 ชม. อย่าหลับเพลิน โดยเฉพาะเวลา 4 ทุ่มถึง ตี 4 ต้องลุกขึ้นมาปั๊มให้ได้ 1 รอบ ให้ปั๊มแบบ 2 ข้างพร้อมกัน ปั๊มนาน 15 นาที
4.เทคนิคการปั๊ม ใช้มือคลึงเต้านมไปรอบๆขณะปั๊ม คอยขยับกรวยบ่อยๆ ใช้ความแรงเหมาะสม ไม่เบาหรือแรงเกินไป เลือกขนาดกรวยให้พอดีกับขนาดหัวนม ถ้าใหญ่หรือเล็กเกินไปจะทำให้เจ็บหัวนม ให้รู้สึกผ่อนคลายโดยดูรูปลูกไปด้วย หรือ ทำงาน หรือ กิจกรรมอื่นขณะปั๊มนมไปด้วย ใช้วิธีกระตุ้นจี๊ดร่วมด้วย (ดูจาก YouTube)
ปล. Dr.Spatz บอกประโยชน์ของเลซิทินนอกจากจะใช้ในกรณีป้องกันปัญหาท่อน้ำนมอุดตันบ่อยๆ ยังช่วยให้ปั๊มนมแล้วได้นมส่วนท้ายออกมามากขึ้น ทำให้เกลี้ยงเต้ามากขึ้น เพราะเลซิทินจะช่วยทำให้ไขมันน้ำนมที่เกาะอยู่ที่ผนังท่อน้ำนม หลุดล่อนออกมากับน้ำนมได้ จึงทำให้นมข้นขึ้นกว่าเวลาที่คุณแม่ไม่ได้กินเลซิทิน กินขนาด 1 เม็ด เช้าเย็น กินได้นานตลอดการให้นม (ถ้าลูกไม่แพ้ถั่วเหลือง) เพราะจัดเป็นอาหาร ไม่ใช่ยา
แต่ที่สำคัญกว่าการปั๊มนมให้ได้เยอะๆ คือ จะใช้นมสต๊อกอย่างไรไม่ให้เปลืองเกินความจำเป็น (คือ ไม่ใช้เกินชม.ละออนซ์) ลูกจะได้เก็บท้องไว้รอกินจากเต้าตอนแม่กลับจากที่ทำงาน |
ป้าหมอเล่าเรื่องนมแม่