ReadyPlanet.com
ardo calypso
dot
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : ข้อควรปฎิบัติ
dot
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 1
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 2
bulletวิธีเลือกกุมารแพทย์ให้ลูก
bulletก่อนคลอด
bulletสิ่งที่ต้องทำเมื่ออยู่ ร.พ.
bulletหลังคลอด
bulletท่าในการให้นม
bulletBreast Crawl
bulletความคาดหวังของลูกน้อย
bulletบันทึกการให้นมลูก
bulletวิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง
bulletสัมผัสรักระหว่างแม่ลูก
bulletโรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
bulletแบบสอบถาม
dot
ปัญหาเรื่อง นมแม่
dot
bulletวิธีแก้ปัญหานมไม่พอ
bullet"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ
bulletนมพอหรือไม่
bulletเมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)
bulletอาหารเพิ่มน้ำนม
bulletวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม
bulletWorkshop เพิ่มน้ำนม (new)
bulletยาประสระน้ำนม
bulletDomperidone (Motilium)
bulletยาเพิ่มน้ำนม Motilium
bulletคำเตือนสำหรับการใช้ยา Domperidone
bulletน้ำหนักตัวเพิ่มช้า
bulletน้ำหนักตัวน้อย
bulletเจ็บหน้าอก หัวนมแตก
bulletการบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม
bulletลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า
bulletตัวเหลือง
bulletสารพันปัญหา
บริจาคนมแม่
dot
เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
dot
bullet20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน
bulletมาทำ stock น้ำนม กันเถอะ
bulletวิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
bulletจะให้ลูกกินอะไรเมื่อแม่ไปทำงาน
bulletวิธีเก็บรักษานมแม่
bulletต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?
bulletโปรแกรมคำนวณนมแม่
bulletยาคุมกำเนิด
dot
คุณแม่นักปั๊ม
dot
bulletการปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม
bulletปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
bulletข้อคิดก่อนซื้อ ที่ปั๊มนม
bulletเพิ่มน้ำนมภายใน 14 วันแรก
bulletเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
bulletซื้อเครื่องปั๊มที่ไหนดี
bulletปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี
bulletเรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
bulletถุงเก็บน้ำนมแม่
dot
กลเม็ดเคล็ดลับ
dot
bulletวิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new)
bulletบีบด้วยมือ vs ปั๊มด้วยเครื่อง
bullet10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี
bulletนอนให้นม...สบายมากๆ เลย
bulletอุปกรณ์เสริม ช่วยแม่ให้นมลูก
bulletมุมให้นมแม่
bulletวิธีพาสเจอร์ไรซ์นมแม่
dot
ปัญหาที่พบไม่บ่อย
dot
bulletลิ้นติด (Tongue Tie)
bulletเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่
bulletต้องการถามปัญหาอื่นๆ
bulletทำไมทารกร้องไห้โยเย
dot
หนังสือแนะนำ
dot
bulletขอรับหนังสือนมแม่ฟรี
bulletการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletสร้างชีวิตมหัศจรรย์ด้วยน้ำนมแม่
bulletนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก
bullet เคล็ดลับ...แม่มือใหม่ "นมแม่"
bulletเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletพัฒนาสมองด้วยนมแม่...
bulletGuide to Breastfeeding
dot
แหล่งข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่
dot
bulletคลินิกนมแม่ทั่วประเทศ
bulletนมแม่ แน่ที่สุด
bulletศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
bulletคลีนิครัก
bulletศริริราชออนไลน์
bulletสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
bulletwww.breastfeeding.com
bulletPromom
bulletรักลูก
bulletLa Leche League
bullet4woman
bulletMother & Child Health
bulletWABA
bulletBreastfeedingonline
bulletDr. Sears
bulletbreastfeedingbasics
bulletwebboard
bulletkellymom
bulletDr. Jack Newman
bulletInfact
bulletgotbreastpump
bulletNew Beginnings
bulletโครงการสายใยรัก
bulletศูนย์ข้อมูล สสส
bulletUNICEF
bulletbreastfeedingmadesimple
bullethm4hb
bulletLactation Narration
bulletNormalFed
dot
Brainfeeding
dot
bulletเก็บมาฝาก
bulletIf we don't care, who will?
bullet๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา
bulletสัมภาษณ์ ดร. อาจอง ชุมสาย ฯ
bulletคนดีของพ่อ
bulletเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้รู้
bulletคุยกับประภาส
dot
Sponsor Link
dot
bulletbfdcenter
bulletร้านนมแม่
bulletศูนย์รวมฟิล์มทุกชนิด
bulletV-Kool
bulletSuvarnabhumi Airport Hostel
bulletBussaba Bangkok Boutique Hotel Suvarnabhumi Airport
bulletbeing-mom
bulletมีลูกยาก
bulletSite Map
ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี whisper
unimom allegro
ardo calypso
Ardo Carum
bulletนมแม่


ร้านนมแม่-เครื่องปั๊มนม


ความจริงของคนเป็นแม่ที่ไม่มีใครบอกคุณ

 

ฉันคิดว่าฉันเตรียมตัวอย่างดีแล้วสำหรับลูกคนแรกของฉัน ฉันอ่านหนังสือนับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เด็กแรกเกิด หรือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ฉันเข้าอบรบการดูแลระหว่างตั้งครรภ์ รวมไปถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ฉันมีประสบการณ์สารพัดกับทั้งเด็กทารกและเด็กโต แล้วก็ยังได้พูดคุยปรึกษากันแบบเป็นเรื่องเป็นราวอย่างจริงจังกับพ่อแม่ของเด็กเหล่านั้น 

แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ช่วยอะไรฉันเลย เมื่อฉันต้องเผชิญกับเสียงร้องไห้ไม่หยุดของลูกฉัน หรืออาการโหยหาการนอนของฉัน หรือแม้กระทั้งที่ฉันไม่อยากส่องกระจกดูหน้าตัวเอง หลังจากที่จำไม่ได้ว่าฉันหวีผมครั้งสุดท้ายเมือไหร่ ไม่มีใครบอกฉันถึงความรู้สึกสำนึกผิดที่เกิดขึ้นเมื่อฉันไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ หรือความมั่นใจของฉันมันบอบบางขนาดไหน

 

เหมือนคนที่กำลังเป็นคุณแม่ทั่วไป ฉันเตรียมพร้อมในด้านการคลอด หรือแม้แต่การให้นมแม่แก่ลูก แต่ไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับ ชีวิตหลังการคลอด เหตุผลหนึ่งที่ไม่มีคนกล่าวถึงเพราะคนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจมัน

 

ดังนั้น ผู้ที่กำลังเป็นแม่มักจะประเมินการณ์พลาดว่าชีวิตหลังจากที่มีลูกนั้นเปลี่ยนไปเพียงใด เราอาจจะเชื่อว่าลูกของเราจะหลับอย่างสงบเป็นชั่วโมงๆในขณะที่เราทำงานอย่างอื่นอยู่ ตามปกติแล้ว การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะเป็นสิ่งที่เราเลือกโดยธรรมชาติ ลูกน้อยของเราจะจ้องตาเราในขณะที่คุณพ่อมองดูด้วยความรักอยู่ใกล้ๆ

หลังจากลูกเราเกิด ภาพในฝันของเด็กทารกที่นอนหลับอย่างสงบสุขจะถูกทำลายลงด้วยเสียงกรีดร้องของเด็กที่หิวโหย เขาอาจจะต้องการดูดนมวันละ 8 ถึง 12 ครั้งรวมทั้งการป้อนนมด้วย ซึ่งใช้ทั้งเวลาและพลังงานมากกว่าที่คิด ในขณะที่คนเป็นแม่พยายามต่อสู้ในการที่จะปรับตัวให้ยอมรับกับบทบาทแม่ในโลกแห่งความเป็นจริง คำแนะนำอย่างเช่น อย่าหวังว่าช่วงเวลาเหล่านี้จะผ่านไปได้ง่ายๆ นะ และ เธอไม่รักลูกเธอเลยเหรอ มักจะทำร้ายจิตใจของผู้เป็นแม่อย่างร้ายแรง แม่คนหนึ่งยอมรับว่า มีบางช่วงเวลาฉันรู้สึกว่าฉันทำผิดอย่างมหันต์ เธอรักลูกของเธออย่างมาก แต่เธอประสบความลำบากในการปรับตัวกับสิ่งที่คาดหวัง

 

ในโลกความเป็นจริง เด็กทารกต้องการการดูแลอย่างสม่ำเสมอและเอาใส่ใจตลอดเวลาซึ่งพ่อแม่หลายคนไม่ได้เตรียมตัวสำหรับสิ่งนี้มาก่อน สิ่งเหล่านี้สามารถบ่อนทำลายแม้แต่ความสัมพันธ์ที่ดี คุณแม่บางคนหมดเวลาไปกับการดูแลลูกจนไม่เหลือเวลาให้กับสามี ในขณะที่บางคนไม่พอใจที่สามียังสามารถใช้ชีวิตอย่างอิสระได้เหมือนเดิม ดูเหมือนชีวิตไม่มีอะไรเปลียนแปลงเลย

 

ภาพความฝันถึงการเป็นพ่อแม่ในอุดมคติของสามีภรรยาคู่หนึ่ง ต้องแหลกสลายเมื่อเผชิญกับโลกความเป็นจริง ถึงแม้จะมีการเตรียมตัวอย่างมากมาย การตั้งครรภ์และคลอดนั้นเป็นไปตามที่วางแผนไว้ แต่ลูกสาวของพวกเขาร้องไม่หยุดเป็นเวลา 1 เดือน และเมื่อคุณพ่อเริ่มถอนตัวและไม่ได้ให้ความช่วยเหลือคุณแม่ คุณแม่เริ่มรู้สึกโดนทอดทิ้งและโกรธ ผู้ให้คำปรึกษาต้องพยายามอธิบายว่าคุณพ่อนั้นรู้สึกเหมือนถูกลูกเกลียด เพราะลูกนั้นร้องไห้หนักขึ้นทุกครั้งที่คุณพ่อพยายามเข้าไปปลอบ คุณพ่อเองก็รู้สึกเจ็บปวด สับสน ผิดหวังเช่นเดียวกัน การบำบัดได้ช่วยให้ครอบครัวกลับมาสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง

 

อแมนด้า ฟิลิป จาก มลรัฐ ออนตาริโอ้ ประเทศแคนนาดา มีประสบการณ์ที่แตกต่าง ฉันไม่รู้สึกผูกพันกับลูกสาว และไม่รู้สึกถึงสัญชาตญาณของความเป็นแม่เลย ในขณะที่สามีของเธอนั้นเหมือนกับรู้วิธีที่จะดูแลลูกสาวของเธอ ซึ่งทำให้เธอรู้สึกไร้ค่าและคิดว่าเธอนั้นล้มเหลวที่จะเป็นแม่คน

 

ภาพคุณแม่ที่อแมนด้าวาดไว้เหมือนคุณแม่ทั่วไปคาดหวังไว้ก่อนให้กำเนิดลูกน้อย รวมถึงความคิดที่ว่าจะตกหลุมรักลูกน้อยทันที และรู้ว่าควรจะทำอย่างไรดีต่อจากนั้นด้วยสัญชาตญาณความเป็นแม่ ในความเป็นจริงบางครั้ง ไม่เป็นเช่นนั้น และเมื่อมันไม่เป็นเช่นนั้น คุณแม่เหล่านั้นจะรู้สึกผิดและกลัว

 

นาโอมิ ลีโบ จากมลรัฐ บริทิช โคลัมเบีย แคนนาดา ยังจำได้ว่าเธอร้องสะอื้นบนอกของสามี กับความรู้สึกเป็นแม่ที่แย่มากเพราะเธอกลัวว่า เธอจะไม่ผูกพันกับลูกน้อยของเธอ สามีของเธอต้องปลอบว่า ความผูกพันจะตามมาเอง ซึ่งเขาพูดถูก นาโอมิและลูกชายของเธอสนิทกันมาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องใช้เวลา

 

ในชุดหนังสือของ  LLLI-published book เรื่อง ฝันร้ายของการเป็นพ่อแม่ โดย ดร. วิลเลียม เซียร์ได้เขียนไว้ว่า:

 

สายสัมพันธ์นั้นไม่เหมือนกับกาวตาช้าง ที่จะเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกภายในเวลาที่รวดเร็ว แล้วสามารถอยู่ด้วยตลอดกาล แต่เป็นความสัมพันธ์ที่ใช้เวลาตลอดชีวิตโดยอาศัยการสื่อสารกันระหว่างคุณแม่และลูกน้อย

 

สายสัมพันธ์เป็นสิ่งที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ตอนตั้งท้อง คุณแม่ท่านหนึ่งบอกว่าวันแรกที่ลูกเกิดเหมือนกับการเริ่มต้นของความสัมพันธ์ การเปรียบเทียบเช่นนี้อาจจะเป็นการกดดันคุณแม่ท่านอื่นๆ สายสัมพันธ์ก็เหมือนกับความรักที่เรามีต่อคู่ชีวิตเรา ที่ค่อยๆ เติบโตไปด้วยกัน

 

ถึงแม้จะมีสายสัมพันธ์อันลึกซึ้ง คุณแม่มือใหม่ก็ยังคงจะรู้สึกเหนื่อยล้า ท่วมท้น ซึ่งส่วนใหญ่จะประสบกับอาการ "baby blues" ซึ่งเกิดขึ้น 2-3 วันหรือเป็นอาทิตย์ ที่คุณแม่จะมีอาการเศร้า เจ้าอารมณ์ และกังวล คุณแม่มือใหม่จะเจอกับสิ่งต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการแปรปรวนของโฮโมน อารมณ์ และร่างกายหลังจากการคลอด รวมไปถึงการนอนไม่พอ  

 

เทรซี สเลเตอร์ จากมลรัฐแคลิฟอร์เนี่ย สหรัฐอเมริกา รู้สึกหงุดหงิดบางครั้งที่ลูกสาวเธอลากเธอมาจากเตียงเพื่อจะกินนม เธอเริ่มร้องให้เมือเธออุ้มลูกน้อยของเธฺอ เธอรู้สึกว่าเธอเป็นแม่ที่แย่ ที่รู้สึกเช่นนั้น แต่แล้วเธอก็เข้าใจว่า สาเหตุมาจากการนอนไม่พอนั่นเอง

 

คุณแม่ส่วนใหญ่จะประสบกับอารมณ์ต่างๆ เมื่อเรารู้ว่าลูกน้อยนั้นขึ้นอยู่กับเรา ความรู้สึกรับผิดชอบที่ท่วมท้น โดยเฉพาะช่วงแรกๆเมือเราอยู่ในอาการ  "baby blues" และอ่อนล้า การเปลี่ยนแปลงจากผู้หญิงอิสระที่ไม่ต้องพึ่งพาใครมาเป็นคนที่มีอีกหนึ่งชีวิตเกี่ยวข้องกับเราตลอดเวลานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย คุณแม่ส่วนใหญ่รู้สึกกังวล และกลัว คุณแม่คนหนึ่งเล่าว่า ฉันคิดว่าพวกนั้นบ้าที่อนุญาตใหัฉันออกจากโรงพยาบาลมาอยู่ที่บ้าน ฉันจะไปรู้อะไรเกี่ยวกับการดูแลเด็กแรกเกิด

 

ซาบริน่า บาสเส็ท จากมลรัฐ ออนทาริโอ้ แคนนาดา รู้สึกกลัวคนอื่นจะคิดเรื่องเกี่ยวกับเธอ กลัวว่าเมื่อเธอไม่อยู่จะมีอะไรเกิดขึ้นกับลูกน้อยของเธอ  จะทำอย่างไร เมื่อลูกของเธอร้องไห้ เธอไม่สามารถคลายกังวลเมื่อเธออยู่กับลูกน้อย และยิ่งเครียดหนักเมื่อเธอห่างจากลูกน้อย ความกังวลของเธอทำให้เธอไม่สามารถออกจากบ้านได้  ฉันเกลียดการอยู่คนเดียว ฉันไม่เคยรู้เลยว่าการอยู่กับใครบางคนตลอด 24 ชั่วโมงจะทำให้รู้สึกโดดเดี่ยวได้

 

ความรู้สึกถึงความโดดเดี่ยวเกิดจากการย้ายออกมาห่างไกลจากสมาชิกคนอื่นในครอบครัว หรือเป็นคนกลุ่มแรกในหมู่เพื่อนๆที่มีลูกน้อย สิ่งเหล่านี้เกิดจากความรู้สึกที่ไม่พร้อมซึ่งมาพร้อมกับลูกน้อยที่มีความต้องการสูง ดร เซียร์ อธิบายลักษณะเด็กพวกนี้ว่าเป็นเด็กที่มีความเครียด และมีความต้องการสูง ต้องการให้คุณแม่กอดอยู่ตลอดเวลา.

 

ในหนังสือ THE HIDDEN FEELINGS OF MOTHERHOOD, แคทเธอลีน เคนเดล แทคเก็ต เขียนไว้ว่า บางครั้ง คุณแม่รู้สึกแปลกแยกจากคุณแม่คนอื่นเนื่องมาจากความกลัวที่จะถูกตัดสิน คุณแม่บางคนอาจจะเป็นนักวิจารณ์ปากร้าย ไม่น่าแปลกใจเลยที่คุณแม่จะลังเลที่จะเล่าประสบการณ์ที่แย่ให้ฟัง

 

ความทรงจำเกี่ยวกับลูกชายคนโตของฉันเต็มไปด้วยน้ำตา ทั้งของเขาและฉัน เขานอนได้น้อยมาก และร้องให้ตลอดเวลา ซึ่งบั่นทอนความมั่นใจในความเป็นแม่ของฉัน ฉันมั่นใจว่าฉันต้องทำอะไรผิดแน่นอน มันไม่ได้ช่วยอะไรเลย การร้องไห้ของลูกน้อยเปรียบเหมือนแม่เหล็กสำหรับคำแนะนำที่ไม่ได้ต้องการ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแง่ลบ และสำหรับฉัน มันเป็นการตอกย้ำความกลัวของฉัน

 

การเข้าร่วมการประชุม La Leche League เป็นครั้งแรกถือว่าเป็นจุดหักเหของฉัน ตอนแรกฉันรู้สึกถึงความคุกคามของเหล่าพยาบาล ในขณะที่ฉันกล่อมลูกน้อย พยายามที่จะให้ลูกน้อยหยุดจากการร้องไห้ ภายหลังหนึ่งในผู้นำกลุ่มบอกฉันว่าเขาก็มีลูกที่มีความต้องการสูงเหมือนกัน เธอย้ำถึงความลำบากทีจะเจอและบอกว่าฉันเป็นแม่ที่ดี เธอเป็นข้อพิสูจน์ว่าคนอื่นได้ผ่านพ้นประสบการณ์นี้ และฉันก็จะผ่านพ้นไปได้เหมือนกัน จากนั้น LLL ก็เป็นเหมือนแนวทางชีวิตของฉัน

 

ผู้เชี่ยวชาญต่างเห็นพ้องกันถึงความสำคัญของการสนับสนุนซึ่งกันและกันระหว่างคุณแม่ด้วยกัน เคท O'Shaugnessy ซึ่งเป็นผู้บำบัดจิตวิทยาใน ลอส แอจเจลิส แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ได้ให้คำแนะนำเฉพาะสำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอดบุตร นอกจากนี้เธอยังจัดกลุ่มสนับสนุนสำหรับคุณแม่ เธอเชื่อว่าสังคมควรให้ความสนับสนุนกับคุณแม่มือใหม่ในการปรับตัวสู่ความเป็นแม่ ซึ่งต้องการการสนับสนุนทุกทาง ไม่ว่าจากคู่ชีวิต ครอบครัว เจ้านาย และเพื่อนๆ

 

นาโอมิ ได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนจาดคุณแม่ของเธอในช่วงเวลาที่แย่ เธอจำได้ถึงช่วงที่เธอเปียกชุมด้วยน้ำตา เมือลูกน้อยของเธอกรีดร้องตลอดเวลาที่เขาอาบน้ำแม่ของเธอธอปลอบ ว่า เขาไม่ได้ร้องไห้เพราะเธอหรอก เป็นเรื่องปกตินะ เขาเกลียดการอาบน้ำนะ  

 

น่าเสียดายที่คุณแม่ไม่สามารถได้รับการสนับสนุนที่ต้องการจากสมาชิกในความครอบครัว บางครั้งเขารู้สึกถูกตัดสิน และคำแนะนำบางอย่างขัดต่อสัญชาตญาณ คุณแม่เหล่านี้จะรู้ดีเมื่อได้ระบายกับเพื่อนทีสนิท โดยเฉพาะความรู้สึกสับสนและปั่นป่วน อาจจะมีคนสงสัยว่าเราจะมีความรู้สึกอื่นนอกจากความรู้สึกรักหมดใจให้กับลูกน้อยของเราได้ ส่วนใหญ่จะเป็นความรู้สึกหงุดหงิด สับสน โกรธ โดยเฉพาะเวลาที่เราเหนื่อยสุดๆ และไม่มีอะไรจะให้อีกแล้ว

 

อาจจะมีบางวูบที่แม่บางคนอาจจะคิดถึงการหนี หรือทำร้ายลูกน้อย ความโกรธหรืออารมณ์อื่นๆดูจะท้วมท้น และความรู้สึกผิดก็ตามมา ถึงแม้จะรู้ว่าพวกเขาจะไม่มีวันทำตามความรู้สึกนั้น แต่อารมณ์ชั่ววูบมันก็รู้สึกน่ากลัว

 

คิม เคลลี่ จากแมสซาชูเสต สหรัฐอเมริกา เล่าว่าเธอเคยมีความคิดที่จะโยนลูกชายเธอทิ้ง เวลาที่ลูกเธอร้องไห้เป็นชั่วโมงๆ ไม่หยุด ฉันเกลียดการเป็นแม่จนกระทั่งลูกฉันอายุ 8 เดือน ฉันเกลียดการนอนไม่พอ การร้องไห้ ทุกอย่าง เขาช่างเป็นเด็กเลี้ยงยากจริงๆ และฉันก็ไม่พร้อมสำหรับเขา

 

เคลลีสงสัยว่าเธอทำอะไรผิดลูกน้อยถึงได้ร้องไห้ขนาดนั้น เธอเคยตั้งคำถามว่าเธอเหมาะเป็นคุณแม่หรือเปล่า หลังจากที่เธอค้นพบการนอนด้วยกัน เธอเริ่มนอนหลับสนิทขึ้นในเวลากลางคืน เธอเริ่มมีเพื่อนที่จะแบ่งปันเรื่องราว ชีวิตเริ่มจะดีขึ้น

 

สำหรับคุณแม่ส่วนใหญ่ รวมทั้งเคลลี ความคิดที่น่ากลัวมันล่องลอย แต่ถ้าคุณกลัวคุณอาจจะทำร้ายตัวคุณเองหรือลูกน้อยของคุณ ให้วางลูกน้อยในที่ที่ปลอดภัย เช่นเปลเลี้ยงเด็ก และขอความช่วยเหลือทันที โทรหาสามีคุณ คุณหมอ เพื่อน หรือสายด่วน ในกรณีเหล่านี้ อาการ "baby blues" อาจจะกลายเป็นอาการ postpartum psychosis

 

จากที่กลุ่มช่วยเหลืออาการหลังคลอดนานาชาติ อาการ postpartum psychosis จะมีอาการเห็นภาพหลอนและเสียง ความคิดฟุ้งซ่าน (delusional thinking) อาการนี้เกิดกับ 1 หรือ 2 คนในทุกๆ พันคน (0.001-0.002%) และในจำนวนนั้นได้ฆ่าตัวตาย 5 % และฆ่าลูกน้อย อีก 4 %

 

จากบทความของเธอใน New Studies in Postpartum Depression, แคนเธอลีน เคนเดลแทคเกท อธิบายว่า คุณแม่ทีมีความคิดที่จะทำร้ายลูกน้อยของตนมักจะมีอาการจาก postpartum obsessive compulsive disorder (OCD) อาการ OCD เป็นอาการตื่นตระหนกผิดปกติ มีลักษณะการย้ำคิด ความคิดที่ไม่ดี และความสงสัยที่จะเพิ่มความตื่นตระหนกและความเครียด เป็นอาการที่เพิ่มพร้อมกับอาการเครียดหลังคลอด postpartum depression (PPD).

 

ความเครียดหลังการคลอดนี้เป็นอาการป่วยที่เกิดขึ้นหลังจากคลอดลูกน้อยซึ่งอาจจะมีอาการเป็นเดือนหรือปี จะมีอาการหนักและมีอาการนานกว่าอาการ baby blues. อาการของความเครียดจะรวมไปถึง ความรู้สึกเศร้า รู้สึกผิด สิ้นหวัง หมดความสนใจหรือความสนุกของกิจกรรมทีเคยทำ เรื่องเกี่ยวกับการนอน ความอยากอาหารเปลียนไป PPD สามารถลดทอนความเข็มแข็งและมีผลในแง่ลบกับความสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป ยังมีขั้นตอนที่คุณแม่สามารถทำ เช่น การร้องขอความช่วยเหลือ ความช่วยเหลือจากผู้เชียวชาญมีได้หลายรูปแบบไม่ว่าจากกลุ่มสนับสนุน การเข้าบำบัด และการทานยา ใช่ มันมียาที่สามารถใช้ร่วมกับการให้นมแม่

 

นีน่า ลิตเติ้ล นักสังคมสงเคราะชั้นประกาศนียบัตร และเป็นที่ปรึกษาเด็กแรกเกิดใน โอเรนจ์วิลล์ มลรัฐออนตาริโอ แคนาดา ช่วยจัดกลุ่มสนับสนุนสำหรับผู้หญิงที่มีความลำบากในการปรับตัวเป็นคุณแม่ กลุ่มนี้เป็นที่ที่ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ในการแลกเปลียนประสบการณ์ คุณนายลิตเติ้ลเชื่อว่า แม้จะไม่มีความสุข คุณแม่ส่วนใหญ่ก็ยังมีความรู้สึกรับผิดชอบ เป็นห่วงและผูกพันกับลูกน้อย ลูกน้อยคือการให้อภัย

 

ถึงกระนั้น เราควรจะให้ความสำคัญกับความเครียด นักวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าความเครียดมีผลต่อการสื่อสารระหว่างคุณแม่และลูกน้อย และมีผลต่อการพัฒนาของทารก การให้นมแม่นั้นสามารถช่วยได้ แคทเธอลีน เคนเดล แทคเกต กล่าวในการศึกษาของเธอว่า,

 

โจนส์และเพือนร่วมงานได้ค้นพบว่าการให้นมแม่สามารถป้องกันทารกจากอันตรายเนื่องจากความเครียดของคุณแม่ เหตุผลหลักคือการให้นมลูก คุณแม่จะได้สัมผัส อุ้ม และมีการจ้องตากับลูกน้อย

 

คิมกังวลว่าเธอจะทำให้ลูกของเธอกลัวจากความรู้สึกด้านลบของเธอในระยะแรก เธอรู้สึกเสียใจที่ไม่ขอความช่วยเหลือ เธอไม่ยอมรับว่าเธอนั้นเครียด และกลัวว่าคนอื่นจะว่านั้นเป็นเพียงคำแก้ตัว และเธอไม่เหมาะจะเป็นคุณแม่

 

นี้เป็นเหตุผลที่อแมนด้าเปิดอกอภิปรายผลการตรวจของอาการเครียดหลังการคลอด  เธอต้องการให้เพื่อนของเธอและครอบครัวของเธอรู้ว่าเธอเข้าใจและพร้อมที่จะพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ถ้าพวกเขาต้องการ คุณแม่คนอื่นๆก็เห็นด้วย พวกเขาหวังว่าการที่ได้รู้ว่าไม่ใช่คนเดียวที่รู้สึกเช่นนั้นจะช่วยทำให้พวกเขารู้สึกผิดน้อยลง

 

ดร แจคเกอร์ลีน ดันแคน นักจิตวิทยาและนักบำบัดใน อิงเกิ้ลวูด มลรัฐออนตาริโอ้ แคนนาดา ได้ให้คำแนะนำแก่คุณแม่ว่า ให้ลืมอดีตเสีย ลูกน้อยไม่ได้รู้ถึงผิดทางอาญาของคุณแม่ (ความไม่อดทน อารมณ์โกรธ หรือฉุนเฉียว) ที่คุณแม่รู้สึกผิด ลูกน้อยจะติดนิสัยการเกลียดตัวเอง หรือความรู้สึกผิด ความละอายที่คุณแม่ทำตัวเอง สิ่งที่กำหนดความภูมิใจของตนเองและความสามารถที่จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพนั้นไม่ได้เกิดจากความรันทดบทหนึ่งที่เราได้พบ เธออธิบายต่อว่า คุณแม่ที่รู้สึกละอายและรู้สึกผิด มักจะเป็นคุณแม่ที่ดี แต่ตั้งมาตรฐานไว้สูง และมองทุกอย่างเป็นขาวกับดำ ดีหรือแย่ สิ่งที่อันตรายสำหรับการคิดแบบนี้คือ วันแย่ๆวันหนึ่งคุณจะรู้สึกเสียทุกอย่าง มากกว่าจะเห็นว่ามันเป็นวันแย่ๆวันหนึ่งเท่านั้น

 

น่าเศร้าใจที่ความรู้สึกผิดสามารถอยู่ทนนาน คุณแม่ท่านหนึ่งเล่าว่า

 

ถึงแม้ฉันจะอายุมากขึ้นและฉลาดขึ้น แต่ก็ยังยอมรับว่าสิ่งเหล่านี้ยังเป็นชนวนจุดความคิด แม่ที่แย่ ในสมองของฉัน คุณแม่ต้องการการสนับสนุนที่ดี

 

ดร. ดันแคนหวังว่าคุณแม่จะสามารถปล่อยวางความรู้สึกผิดที่ติดฝังมา ในระหว่างนั้นก็ฝึกฝนความเป็นพ่อแม่ และหากลุ่มสนับสนุน หรือเพื่อนที่จะแบ่งปันประสบการณ์ด้วย สิ่งเหล่านี้ได้ช่วยคุณแม่หลายท่านให้หาย และรักลูกน้อยของเขามากขึ้น

 

ซาบรีน่าพบว่าปัจจัยหลายอย่าง รวมทั้งหากลุ่มสนับสนุน และกลับไปทำงาน ได้คืนความสมดุลและทำให้เธอเป็นคุณแม่ที่มีความสุข ฉันมองที่ลูกสาวฉันแล้วคิดว่าเธอเป็นคนที่สุดยอดที่สุดที่ฉันเคยรู้จัก

 

คุณแม่อีกคนสะท้อนความรู้สึกหอมหวาน เธอชอบที่จะเป็นคุณแม่ ไม่ว่าจะดีหรือร้าย ไม่ว่าเธอจะเหนื่อยแค่ไหน ลูกชายของเธอสามารถทำให้เธอหัวเราะ และสามารถคืนความสดชืนด้วยจุมพิตจากลูกน้อย เธอตกหลุมรักเขาอย่างเต็มเปา เธอกล่าวเพิ่มอีกว่าเขามาแทนที่ภาพในจินตนาการที่สมบูรณ์แบบในสมองเธอ

 

สำหรับบางคน เวลาคือทุกสิ่ง คุณแม่ท่านหนึ่งเล่าว่าเธอถึงจุดหักเหเมื่อลูกของเธออายุประมาณ 6 เดือน เธอรู้สึกว่าเธอได้ปรับตัวเข้ากับความเป็นแม่แล้ว ไม่รู้สึกเศร้าและเครียดอีกแล้ว เมื่อมองย้อนกลับไปเธอเห็นการครำครวญถึงการสูญเสียความเป็นส่วนตัว และความเปลี่ยนแปลงระหว่างความสัมพันธ์ของเธอและสามี เธอไม่ได้เห็นสิ่งที่แสนวิเศษที่เธอได้แลกมา แล้วตอนนี้ละ "สิ่งต่างๆที่ฉันครำครวณเป็นสิ่งทีไม่สำคัญกับฉันแล้ว ณ ตอนนี้ ในช่วงเวลาหนึ่งมันคือทุกสิ่ง

 

ทุกสิ่งจะดีขึ้น อาการนอนไม่พอจะหมดไป สัญชาตญาณของเราจะดีขึ้น ความผูกพันระหว่างคุณแม่กับลูกน้อยจะแน่นแฟ้นขึ้น และท้ายสุด เทรซี่กล่าวว่า อาการที่รู้สึกท่วมท้นที่จะเลี้ยงดูเด็กจะลดลงเมื่อกับเทียบความสุขของการเป็นแม่

 

 

ข้อแนะนำให้มีความสุขในระยะแรก

  • พยายามให้เด็กอยู่ใกล้ๆ การสะพายลูก การนอนด้วยกัน และการให้นมแม่แก่ลูก จะทำให้มีความใกล้กันมากขึ้นระหว่างแม่และลูก
  • จำไว้ว่าคุณไม่สามารถทำทุกอย่างได้ ขอความช่วยเรื่องเกียวกับงานบ้าน อย่าตั้งความหวังไว้สูง จะลดภาระของคุณ
  • พยายามหากลุ่มหรือเครือข่ายซับพอร์ท: เข้าร่วมกับชมรมเช่น  La Leche League meetings และสมัครร่วมกิจกรรมเกี่ยวแม่และเด็กในแถวที่คุณอาศัยอยู่ เำพื่อจะได้มีเพื่อนร่วมประสบการ์เดียวกับคุณ
  • บำรุงตัวเอง: กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย เช่นสะพายลูกน้อยแล้วเดินออกกำลังกาย และพักผ่อนเมือคุณมีเวลา
  • หัวเราะ:ลูกน้อยมักจะทำหน้าตาตลกๆหรือแม้แต่เสียงประหลาด ถ้าสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถทำให้คุณหัวเราะได้ หาหนังตลกมาดู
  • เชื่อมั่นในตัวคุณเอง:พูดกับตัวเองบ่อยว่า คุณได้ทำดีแล้ว

 

Postpartum Support International (PSI)

805.967.7636
www.postpartum.net

ข้อมูลสำหรับอาการความเครียดหลังการคลอดลูก หรืออารมณ์แปรปรวน ร่วมไปถึงกลุ่มช่วยเหลือต่างๆในต่างประเทศ พร้อมทั้งให้ข้อมูลเกี่ยวจิตแพทย์และ ศุนย์ให้ความช่วยเหลือต่างๆ

 

แปลจาก The Reality Of Motherhood...What Nobody Tells You by Laura LaRocca
Grand Valley
ON Canada

From NEW BEGINNINGS, Vol. 23 No. 4, July-August 2006, pp. 148-152.

 

 

 

 

 

 โดย คุณละออ โควาวิสารัช

 

 อย่าลืมช่วยกันส่งคำขอบคุณให้ผู้แปลบทความนี้ เพื่อเป็นกำลังใจในการแปลบทความดีๆ มาให้พวกเราอ่านกันต่อไปด้วยนะคะ

 


ชื่อ :
email :
คำขอบคุณ :



แม่มือเก่า...เล่าให้ฟัง

Ardo Colostrum Care
Bell Phaphat Kaosanit
Natkittiya Icyjet Terapreyapong
Toonie Toon
Wilawan Pechthong
Oiy Namon
Menee Khong-Udnun
Rungfar Chaiya
Gypso Yanakron
Woraluck Supcharoen
ธารา มัม
Angel Fáh
KaRo Jung
Premkamon Ketbunjong
Ann Jaruwan
My-Favorite An Ya
Masjung Ja
Linda Yaya Lakthong
Jaratsri Ruangsrisut
น้องขวัญ
เรื่องของแม่หนึ่ง
ประสบการณ์กู้น้ำนมของแม่อ้อย
น้องไอหมอก
นมไหนใครว่าแน่.. article
แม่น้องปุ๊บปั๊บ
(น้ำ) นมนี้แม่สร้างได้
แม่น้องเจสสิกา
เรื่องของน้องเก้า
เรื่องของน้องโอห์ม
แม่น้องต้นหนาว
คุณแม่น้องเนส
คุณแม่ลูกเอิร์ท
ครอบครัวตัว ต.
เรื่องของแม่น้องมุก
คุณแม่สายใยรัก
พลังรักถักทอเพื่อลูกเอิง
เจ้าตัวน้อยของแม่ - สำหรับแม่ที่กังวลเรื่องน้ำหนักลูก
เรื่องของคุณชลาลัย
เรื่องของแม่น้องนาย
เรื่องของแม่นงนุช
เรื่องของแม่น้อง 4WD
เรื่องของคุณกชกร
เรื่องของน้องน้ำเหนือ
เรื่องของแม่น้องโกะ
ความทรงจำของสองเรา
ท้องสอง ไม่ลองไม่รู้
เรื่องของแม่ตูน
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่....เอง
เรื่องของแม่น้องคีย์ Part 2
เรื่องของแม่น้องณัจ
เรื่องของแม่น้องจู๊ด
รักต้องสู้ article
เรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
กับดักคุณแม่ทุนนิยมสมัยใหม่
การรับมือกับความเปลี่ยนแปลงจากลูกโทนไปสู่การเป็นพี่คนโต
นมแม่ไม่ใช่แค่อาหาร
เส้นทางของเราสองคน
ฝันของแม่
A Three Course Meal and a Dance
นมแม่ดีแท้ จากแม่พี่จู-น้องเติ้ล article
ฉันทำไปเพื่ออะไรเนี่ย? article
บันทึกของแม่เพื่อต้นหนาว
คำแนะนำจากแม่น้องปุน article
แม่ต่ายขอคุยด้วยคน article
แม่ของอาริสะ article
เรื่องของแม่เอื้อย article
เรื่องของแม่อ้อน article
ยุ้งฉางเล่าเรื่องนมแม่ article
คุณวิภาดา กิตติโกวิท



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล