ReadyPlanet.com
ardo calypso
dot
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : ข้อควรปฎิบัติ
dot
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 1
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 2
bulletวิธีเลือกกุมารแพทย์ให้ลูก
bulletก่อนคลอด
bulletสิ่งที่ต้องทำเมื่ออยู่ ร.พ.
bulletหลังคลอด
bulletท่าในการให้นม
bulletBreast Crawl
bulletความคาดหวังของลูกน้อย
bulletบันทึกการให้นมลูก
bulletวิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง
bulletสัมผัสรักระหว่างแม่ลูก
bulletโรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
bulletแบบสอบถาม
dot
ปัญหาเรื่อง นมแม่
dot
bulletวิธีแก้ปัญหานมไม่พอ
bullet"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ
bulletนมพอหรือไม่
bulletเมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)
bulletอาหารเพิ่มน้ำนม
bulletวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม
bulletWorkshop เพิ่มน้ำนม (new)
bulletยาประสระน้ำนม
bulletDomperidone (Motilium)
bulletยาเพิ่มน้ำนม Motilium
bulletคำเตือนสำหรับการใช้ยา Domperidone
bulletน้ำหนักตัวเพิ่มช้า
bulletน้ำหนักตัวน้อย
bulletเจ็บหน้าอก หัวนมแตก
bulletการบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม
bulletลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า
bulletตัวเหลือง
bulletสารพันปัญหา
บริจาคนมแม่
dot
เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
dot
bullet20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน
bulletมาทำ stock น้ำนม กันเถอะ
bulletวิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
bulletจะให้ลูกกินอะไรเมื่อแม่ไปทำงาน
bulletวิธีเก็บรักษานมแม่
bulletต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?
bulletโปรแกรมคำนวณนมแม่
bulletยาคุมกำเนิด
dot
คุณแม่นักปั๊ม
dot
bulletการปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม
bulletปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
bulletข้อคิดก่อนซื้อ ที่ปั๊มนม
bulletเพิ่มน้ำนมภายใน 14 วันแรก
bulletเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
bulletซื้อเครื่องปั๊มที่ไหนดี
bulletปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี
bulletเรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
bulletถุงเก็บน้ำนมแม่
dot
กลเม็ดเคล็ดลับ
dot
bulletวิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new)
bulletบีบด้วยมือ vs ปั๊มด้วยเครื่อง
bullet10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี
bulletนอนให้นม...สบายมากๆ เลย
bulletอุปกรณ์เสริม ช่วยแม่ให้นมลูก
bulletมุมให้นมแม่
bulletวิธีพาสเจอร์ไรซ์นมแม่
dot
ปัญหาที่พบไม่บ่อย
dot
bulletลิ้นติด (Tongue Tie)
bulletเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่
bulletต้องการถามปัญหาอื่นๆ
bulletทำไมทารกร้องไห้โยเย
dot
หนังสือแนะนำ
dot
bulletขอรับหนังสือนมแม่ฟรี
bulletการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletสร้างชีวิตมหัศจรรย์ด้วยน้ำนมแม่
bulletนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก
bullet เคล็ดลับ...แม่มือใหม่ "นมแม่"
bulletเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletพัฒนาสมองด้วยนมแม่...
bulletGuide to Breastfeeding
dot
แหล่งข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่
dot
bulletคลินิกนมแม่ทั่วประเทศ
bulletนมแม่ แน่ที่สุด
bulletศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
bulletคลีนิครัก
bulletศริริราชออนไลน์
bulletสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
bulletwww.breastfeeding.com
bulletPromom
bulletรักลูก
bulletLa Leche League
bullet4woman
bulletMother & Child Health
bulletWABA
bulletBreastfeedingonline
bulletDr. Sears
bulletbreastfeedingbasics
bulletwebboard
bulletkellymom
bulletDr. Jack Newman
bulletInfact
bulletgotbreastpump
bulletNew Beginnings
bulletโครงการสายใยรัก
bulletศูนย์ข้อมูล สสส
bulletUNICEF
bulletbreastfeedingmadesimple
bullethm4hb
bulletLactation Narration
bulletNormalFed
dot
Brainfeeding
dot
bulletเก็บมาฝาก
bulletIf we don't care, who will?
bullet๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา
bulletสัมภาษณ์ ดร. อาจอง ชุมสาย ฯ
bulletคนดีของพ่อ
bulletเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้รู้
bulletคุยกับประภาส
dot
Sponsor Link
dot
bulletbfdcenter
bulletร้านนมแม่
bulletศูนย์รวมฟิล์มทุกชนิด
bulletV-Kool
bulletSuvarnabhumi Airport Hostel
bulletBussaba Bangkok Boutique Hotel Suvarnabhumi Airport
bulletbeing-mom
bulletมีลูกยาก
bulletSite Map
ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี whisper
unimom allegro
ardo calypso
Ardo Carum
bulletนมแม่


ร้านนมแม่-เครื่องปั๊มนม


มาทำ stock น้ำนม กันเถอะ

        สำหรับคุณแม่ที่ต้องกลับไปทำงานประจำ  แต่ยังต้องการ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ต่อไป  เป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยากค่ะ  แต่ต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้าเล็กน้อยค่ะ  นั่นคือ การทำ stock น้ำนมเก็บไว้ให้ลูกในระหว่างวันที่คุณแม่ต้องไปทำงาน

 

        การทำ stock น้ำนม  ขอแนะนำให้เริ่มเก็บน้ำนมตั้งแต่สัปดาห์แรกหลังคลอดเลยนะคะ  เพราะนอกจากจะช่วยให้เราไม่ต้องกังวลในช่วงใกล้ๆ จะกลับไปทำงาน แล้วยังเป็นการช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมด้วยค่ะ

 

        หลังจากสัปดาห์แรก  เมื่อทุกอย่างเริ่มเข้าที่เข้าทาง (เล็กน้อย)  ขอให้คุณแม่เริ่มปั๊มนมเก็บไว้ได้เลยนะคะ  โดยเลือกช่วงเวลาที่รู้สึกคัดเต้านมมากที่สุด (โดยปกติจะเป็นช่วงเช้าตอนตื่นนอนใหม่ๆ เพราะร่างกายจะได้พักผ่อนเต็มที่  เต้านมจะผลิตน้ำนมได้เต็มที่)  ให้ลูกดูดก่อนข้างหนึ่ง  ถ้าลูกอิ่มดีแล้วก็ปั๊มจากอีกข้างหนึ่งเก็บไว้ค่ะ วันแรกๆ อาจจะได้ติดก้นขวด  ไม่ต้องกังวลนะคะ  ปั๊มให้ได้อย่างน้อย 15 นาที  ถึงไม่มีอะไรออกมา หรือแค่หยดเดียวติดปลายช้อน ก็ไม่เป็นไรค่ะ  ถ้าน้อยมากๆ ก็ยังไม่ต้องแช่แข็ง  เอาช้อนเล็กๆ แตะปลายช้อนทีละนิด แล้วก็ป้อนลูกค่ะ  (น้อยแค่ไหน ก็มีภูมิคุ้มกันค่ะ  ยิ่งวันแรกๆ น้ำนมยิ่งมีคุณค่ามากค่ะ)

 

          ถ้าลูกดูดข้างเดียวแล้วไม่อิ่มก็ให้ดูดทั้งสองข้าง  หลังจากนั้นก็ปั๊มต่อประมาณ 3-5 นาทีต่อข้าง  เพื่อกระตุ้นเต้านม  ในระหว่างวันก็เช่นกันค่ะ  ถ้ามื้อไหนคุณแม่ไม่ขี้เกียจ  เมื่อลูกดูดเสร็จแล้ว  ก็ใช้ปั๊มกระตุ้นต่อสัก 3-5 นาที ทำเรื่อยๆ  ทุกวัน  ร่างกายก็จะรับรู้ว่าต้องผลิตน้ำนมเพิ่ม  น้ำนมที่ปั๊มก็จะได้ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  1  oz. -2  oz. -3 oz. ....ดู  วิธีเก็บรักษานมแม่

 

พอครบเดือน  ก็จะเริ่มมี stock ไว้พอสมควรแล้วค่ะ  แต่ไม่ควรหยุดปั๊มนะคะ  โดยเฉพาะเด็กที่นอนนานๆ  ถ้าลูกไม่ดูดนมทุก 2-3 ชม. ก็ต้องปั๊มออกมาเก็บไว้เรื่อยๆ นะคะ  สำหรับเด็กที่ดูดนมถี่มากๆ  บางครั้งไม่ถึงช.ม. ก็มี  ก็ไม่เป็นไรค่ะ  ให้เค้าดูดตามต้องการ  คุณแม่ก็พยายามดื่มน้ำมากๆ  ทานอาหารให้ครบ  และพักผ่อนให้เต็มที่ ร่างกายเราก็จะผลิตน้ำนมได้ตามความต้องการของลูกในที่สุดค่ะ

 

            เมื่อลูกครบเดือน  ก็หัดให้ลูกดื่มนมจากช้อน จากแก้ว  หรือจากขวด  เลือกเอาตามสะดวกค่ะ  ไม่จำเป็นต้องกังวลมากว่า วิธีไหนดีที่สุด  เลือกเอาที่คิดว่าเหมาะและง่ายกับคนป้อนค่ะ  ถ้าเลือกป้อนด้วยช้อนหรือแก้ว  ช่วงแรกที่ไม่ถนัดอาจจะหกเลอะเทอะไปบ้าง  แต่ถ้าฝึกคล่องแล้วก็ไม่มีปัญหา  สำหรับบ้านที่มีผู้ใหญ่หัวโบราณสักนิด ถ้าไม่อยากขัดแย้งกันก็ใช้ขวดก็ได้ค่ะ  (ไม่ต้องกังวลมากค่ะ  เพราะวิธีการไม่ใช่สาระสำคัญ  ขอให้เป็นนมแม่ก็พอค่ะ ไม่จำเป็นต้องเอาเรื่องนี้มาทะเลาะกัน คุณแม่จะเครียดเปล่าๆ  ลำพังต้องรับมือกับประเด็นที่ว่าทำไมไม่เลี้ยงนมผสมก็เครียดพอแล้วค่ะ)  ดู  วิธีหัดให้ลูกดูดนมจากขวด

 

            เมื่อคุณแม่เริ่มไปทำงาน  ก็ให้ลูกกินนมที่เราปั๊มเก็บไว้   ระหว่างที่อยู่ที่ทำงานก็ปั๊มนมทุก 3 ชม. พยายามกำหนดเวลาให้ตรงกันทุกวัน  เช่นตอนเช้าให้ลูกดูดก่อนไปทำงาน  พอถึงที่ทำงานก็ปั๊มตอน 9.00-12.00-15.00 น. แช่ตู้เย็นหรือเตรียมกระติกใส่แล้วนำกลับมาให้ลูกกินในวันรุ่งขึ้น  วันเสาร์-อาทิตย์ ก็ให้ลูกดูดนมแม่ทุกมื้อ เพื่อรักษาปริมาณน้ำนม  เพราะไม่มีเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดีเท่าลูกดูดเองค่ะ

 

 

สต็อคเท่าไหร่ถึงจะพอ 

ถ้าต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนๆ  โดยไม่ต้องใช้นมผสมนั้น  ในช่วงที่ลาสามเดือนนั้น  ต่อให้เร่งทำสต็อคได้เป็นพันออนซ์ก็จะไม่พอสำหรับลูก  ถ้าคุณแม่ไปทำงานแล้วปั๊มได้แค่วันละครั้งหรือสองครั้ง 

 

 ในทางกลับกัน ถึงแม้จะมีสต็อคแค่สิบยี่สิบออนซ์ก่อนไปทำงาน  แต่คุณแม่สามารถหาเวลาปั๊มหรือบีบนมให้ลูกได้เท่ากับจำนวนออนซ์และมื้อที่ลูกกินตอนที่แม่ไปทำงาน (ลูกกินที่บ้าน 3 มื้อ รวม 12 oz. แม่ก็ปั๊ม 3 มื้อ กลับมาส่งลูก 12 oz.  ถ้าลูกกิน 4 มื้อ รวม 16 oz. แม่ก็ปั๊ม 4 มื้อ รวม 16 oz มาให้ลูก)  ถ้าทำได้แบบนี้  จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานแค่ไหนก็ได้ค่ะ

 

 ปัญหาหลักที่หลายคนทำผิดพลาดเมื่อกลับไปทำงานก็คือ

 

       ไม่ได้ปั๊มเท่ากับจำนวนมื้อที่ลูกกิน  วันแรกที่กลับไปทำงานใหม่ๆ  แม้ว่าบางคนจะปั๊มแค่ครั้งเดียวตอนเที่ยง  ก็อาจจะได้น้ำนมมากเป็นสิบออนซ์  เพราะนมสะสมมากจากที่เคยให้ลูกดูดตอนอยู่บ้าน3-4 ครั้ง  แต่พอไม่กี่วัน ก็จะปั๊มนมได้น้อยลงจนตกใจ  และถ้ายังคงปั๊มวันละครั้งไปเรื่อยๆ  ไม่นานก็จะลดลงเรื่อยๆ  จนไม่พอในที่สุด  เพราะร่างกายจะตอบสนองกับความต้องการที่ลดลงนี้โดยอัตโนมัติ

 

       บีบไม่เป็น หรือใช้เครื่องปั๊มนมที่ไม่ดีพอ  ทำให้ไม่สามารถปั๊มนมออกมาได้เท่ากับที่ลูกเคยดูดในแต่ละมื้อ  เมื่อเราเริ่มให้ลูกกินนมแม่ที่ปั๊ม  ก็จะรู้เองว่าปริมาณน้ำนมที่ลูกต้องการแต่ละมื้อนั้นเท่าไหร่ (แตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน  ไม่ต้องเมล์มาถามนะคะว่าลูกตัวเองต้องการนมเท่าไหร่  สังเกตเอาเองค่ะ)   ถ้าลูกกิน 3 ครั้ง รวม  12 oz แล้วเราก็ปั๊มได้  3 ครั้ง รวมแล้ว 12 oz หรือมากกว่า  ก็ถือว่าเครื่องปั๊มนมนั้นใช้ได้   โดยปกติ  ถ้าในช่วงลา 3 เดือน แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนๆ  โดยไม่ใช้นมผสม  เมื่อกลับไปทำงาน  ถ้าบีบด้วยมือได้คล่องและชำนาญ  หรือใช้เครื่องปั๊มนมคุณภาพดี  บีบหรือปั๊มเท่าจำนวนครั้งที่ลูกกินที่บ้าน ส่วนใหญ่จะปั๊มได้มากกว่าที่ลูกต้องการนิดหน่อยอยู่แล้ว

 

อย่างไรก็ตาม  มีเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ สำหรับคุณแม่ที่โชคร้าย  ที่ทำงานไม่สะดวกให้ปั๊มนมได้วันละ 3-4 ครั้ง  ขอบอกว่าถ้าวันละครั้งเดียวนี่ยากมาก  แต่ถ้าได้อย่างน้อย 2 ครั้ง พอมีลุ้นค่ะ  สมมติว่าลูกอยู่บ้านกินนมวันละ 4 มื้อ แม่ปั๊มได้แค่ 2 ครั้ง เที่ยงกับบ่ายสาม  ก็ขอให้มาปั๊มชดเชยตอนตีห้า  กับ ห้าทุ่มเที่ยงคืนเพิ่มค่ะ  ในมื้อที่จะปั๊มชดเชยนี้  พยายามให้ลูกกินข้างเดียว  แล้วปั๊มเก็บอีกข้าง  ทำแบบนี้สักอาทิตย์  ร่างกายก็จะรับรู้ว่ามีความต้องการในเวลานั้นๆ  มากกว่าเวลากลางวัน  มันก็จะปรับการผลิตให้เองค่ะ  แบบนี้แม้ว่าจะปั๊มได้แค่วันละสองครั้งที่ทำงาน  ก็พอได้ค่ะ

 

จำนวนสต็อคน้ำนมที่น่าจะพอดีๆ  ก่อนไปทำงาน  โดยส่วนตัวคิดว่าสัก 30-50 ถุง (ถุงละ 2-4 oz)  ก็น่าจะกำลังดี  เพราะอาจจะมีบางวันเครียดๆ  ปั๊มได้น้อยกว่าปกติ  ก็ยังมีเผื่อเหลือเผื่อขาด  วันไหนอารมณ์ดี เจ้านายชม ปั๊มได้เกินกว่าที่ลูกกินก็มาชดเชยวันที่ได้น้อยไป

 

สต็อคที่มากเกินไปสร้างความไม่สะดวก คือ ไม่มีที่เก็บ และยังทำให้นมที่ต้องนำมาใช้ต้องย้อนหลังไปเป็นเดือน ซึ่งไม่ตรงกับวัยของลูกอีกต่างหาก 

 

ถ้าใครโชคดีไม่ต้องทำงานประจำ ให้ลูกดูดจากได้เต้าทุกมื้อ ทุกวันนี่ถือว่า สุดยอดแล้วค่ะ แบบนี้มีสต็อคไม่ถึง 10 ถุงก็พอ เผื่อเวลาแอบหนีลูกไปชอปปิ้งสัก 3-4 ชม. อย่างเก่งก็แค่มื้อเดียว กลับมาบ้านลูกกินนมไปแล้ว ก็มาปั๊มเก็บไว้แทนที่ใช้ไป 1 มื้อ

 

เป็นเรื่องธรรมดานะคะ ถ้าบางวันจะปั๊มได้มากบ้าง น้อยบ้าง สลับกันไป ปกติลูกกินวันละ 12 อาจจะมีบางวันได้ 10 บางวันได้ 14 การผลิตน้ำนมก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของเราล่ะค่ะ  วันไหนอารมณดี กินอิ่ม นอนเยอะ ก็ปั๊มได้เยอะ  วันไหนเครียด กินน้อย นอนไม่พอ ก็ปั๊มได้น้อยไปบ้าง  ไม่ต้องตกอกตกใจ ยิ่งเครียด ยิ่งน้อยค่ะ  ขอให้ยึดหลักความสม่ำเสมอ  ทำให้ได้ทุกวัน ดูแลร่างกายให้ดี เดี๋ยวก็กลับมาเหมือนเดิมค่ะ  

 

อ่านเพิ่มเติม