ReadyPlanet.com
ardo calypso
dot
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : ข้อควรปฎิบัติ
dot
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 1
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 2
bulletวิธีเลือกกุมารแพทย์ให้ลูก
bulletก่อนคลอด
bulletสิ่งที่ต้องทำเมื่ออยู่ ร.พ.
bulletหลังคลอด
bulletท่าในการให้นม
bulletBreast Crawl
bulletความคาดหวังของลูกน้อย
bulletบันทึกการให้นมลูก
bulletวิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง
bulletสัมผัสรักระหว่างแม่ลูก
bulletโรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
bulletแบบสอบถาม
dot
ปัญหาเรื่อง นมแม่
dot
bulletวิธีแก้ปัญหานมไม่พอ
bullet"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ
bulletนมพอหรือไม่
bulletเมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)
bulletอาหารเพิ่มน้ำนม
bulletวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม
bulletWorkshop เพิ่มน้ำนม (new)
bulletยาประสระน้ำนม
bulletDomperidone (Motilium)
bulletยาเพิ่มน้ำนม Motilium
bulletคำเตือนสำหรับการใช้ยา Domperidone
bulletน้ำหนักตัวเพิ่มช้า
bulletน้ำหนักตัวน้อย
bulletเจ็บหน้าอก หัวนมแตก
bulletการบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม
bulletลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า
bulletตัวเหลือง
bulletสารพันปัญหา
บริจาคนมแม่
dot
เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
dot
bullet20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน
bulletมาทำ stock น้ำนม กันเถอะ
bulletวิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
bulletจะให้ลูกกินอะไรเมื่อแม่ไปทำงาน
bulletวิธีเก็บรักษานมแม่
bulletต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?
bulletโปรแกรมคำนวณนมแม่
bulletยาคุมกำเนิด
dot
คุณแม่นักปั๊ม
dot
bulletการปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม
bulletปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
bulletข้อคิดก่อนซื้อ ที่ปั๊มนม
bulletเพิ่มน้ำนมภายใน 14 วันแรก
bulletเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
bulletซื้อเครื่องปั๊มที่ไหนดี
bulletปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี
bulletเรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
bulletถุงเก็บน้ำนมแม่
dot
กลเม็ดเคล็ดลับ
dot
bulletวิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new)
bulletบีบด้วยมือ vs ปั๊มด้วยเครื่อง
bullet10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี
bulletนอนให้นม...สบายมากๆ เลย
bulletอุปกรณ์เสริม ช่วยแม่ให้นมลูก
bulletมุมให้นมแม่
bulletวิธีพาสเจอร์ไรซ์นมแม่
dot
ปัญหาที่พบไม่บ่อย
dot
bulletลิ้นติด (Tongue Tie)
bulletเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่
bulletต้องการถามปัญหาอื่นๆ
bulletทำไมทารกร้องไห้โยเย
dot
หนังสือแนะนำ
dot
bulletขอรับหนังสือนมแม่ฟรี
bulletการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletสร้างชีวิตมหัศจรรย์ด้วยน้ำนมแม่
bulletนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก
bullet เคล็ดลับ...แม่มือใหม่ "นมแม่"
bulletเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletพัฒนาสมองด้วยนมแม่...
bulletGuide to Breastfeeding
dot
แหล่งข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่
dot
bulletคลินิกนมแม่ทั่วประเทศ
bulletนมแม่ แน่ที่สุด
bulletศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
bulletคลีนิครัก
bulletศริริราชออนไลน์
bulletสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
bulletwww.breastfeeding.com
bulletPromom
bulletรักลูก
bulletLa Leche League
bullet4woman
bulletMother & Child Health
bulletWABA
bulletBreastfeedingonline
bulletDr. Sears
bulletbreastfeedingbasics
bulletwebboard
bulletkellymom
bulletDr. Jack Newman
bulletInfact
bulletgotbreastpump
bulletNew Beginnings
bulletโครงการสายใยรัก
bulletศูนย์ข้อมูล สสส
bulletUNICEF
bulletbreastfeedingmadesimple
bullethm4hb
bulletLactation Narration
bulletNormalFed
dot
Brainfeeding
dot
bulletเก็บมาฝาก
bulletIf we don't care, who will?
bullet๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา
bulletสัมภาษณ์ ดร. อาจอง ชุมสาย ฯ
bulletคนดีของพ่อ
bulletเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้รู้
bulletคุยกับประภาส
dot
Sponsor Link
dot
bulletbfdcenter
bulletร้านนมแม่
bulletศูนย์รวมฟิล์มทุกชนิด
bulletV-Kool
bulletSuvarnabhumi Airport Hostel
bulletBussaba Bangkok Boutique Hotel Suvarnabhumi Airport
bulletbeing-mom
bulletมีลูกยาก
bulletSite Map
ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี whisper
unimom allegro
ardo calypso
Ardo Carum
bulletนมแม่


ร้านนมแม่-เครื่องปั๊มนม


ตัวเหลือง

อาการตัวเหลืองในเด็กเกิดจากการสะสมของสารบิลิรูบินในกระแสเลือด สารบิลิรูบินคือเม็ดสีสีเหลืองที่เกิดจากการแตกตัวของเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุแล้ว การแตกตัวของเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุแล้วเป็นเรื่องปกติ และโดยทั่วไปสารบิลิรูบินที่เกิดขึ้นจะไม่ทำให้เกิดอาการตัวเหลือง เพราะตับจะเผาผลาญมันและกำจัดออกทางลำไส้

แต่ทารกแรกคลอดมักจะตัวเหลืองในช่วงสองสามวันแรก เนื่องจากเอนไซม์ในตับซึ่งทำหน้าที่เผาผลาญบิลิรูบินยังไม่สมบูรณ์พอ นอกจากนี้ทารกแรกคลอดมีเม็ดเลือดแดงมากกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้นเม็ดเลือดแดงที่แตกตัวก็จะมีจำนวนมากกว่าด้วยเช่นกัน
 
กรณีที่ทารกคลอดก่อนกำหนด, มีความเครียดจากการคลอดที่ยากลำบาก, ทารกที่แม่เป็นโรคเบาหวาน, หรือมีเม็ดเลือดแดงเแตกตัวมากผิดปกติ (ซึ่งเกิดขึ้นได้ในกรณีที่เลือดเข้ากันไม่ได้) ระดับของบิลิรูบินในเลือดก็อาจจะเพิ่มสูงเกินระดับปกติ
 
อาการตัวเหลืองในเด็ก ๒ ประเภท
 
ตับจะเปลี่ยนรูปบิลิรูบินเพื่อที่มันจะได้ถูกกำจัดออกจากร่างกายได้ บิลิรูบินที่เปลี่ยนรูปแล้ว เรียกว่า บิลิรูบินชนิดสังยุค (conjugated bilirubin)*  ถ้าตับทำงานได้ไม่ดีพอ (ซึ่งมักจะเกิดในช่วงที่มีการติดเชื้อ) หรือท่อที่ลำเลียงบิลิรูบินไปยังลำไส้เกิดการอุดตัน บิลิรูบินที่เปลี่ยนรูปนี้ก็อาจสะสมอยู่ในกระแสเลือดและทำให้เกิดอาการตัวเหลือง เมื่อเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น บิลิรูบินที่เปลี่ยนรูปจะออกมาทางปัสสาวะ และทำให้ปัสสาวะเป็นสีน้ำตาล ปัสสาวะสีน้ำตาลนี้เป็นสัญญาณสำคัญที่บอกว่าอาการตัวเหลืองไม่ ปกติ
 
อาการตัวเหลืองจากบิลิรูบินชนิดสังยุคมักจะเป็นสิ่งผิดปกติเสมอ บ่อยครั้งเป็นอันตรายและจำเป็นต้องได้รับการวิเคราะห์อย่างละเอียดและเร่งด่วน นอกจากในกรณีที่เป็นโรคเกี่ยวกับกระบวนการเผาผลาญอาหาร ซึ่งพบได้น้อยมาก คุณแม่สามารถให้ลูกกินนมแม่ได้และควรให้ลูกกินนมแม่ต่อไป
 
การสะสมของบิลิรูบินก่อนที่มันจะถูกเอนไซม์ในตับเปลี่ยนรูปไปอาจจะเป็นเรื่องปกติ สำหรับอาการตัวเหลืองแบบปกติ  (physiologic jaundice)**  บิลิรูบินก่อนถูกเปลี่ยนรูป เรียกว่า บิลิรูบินชนิดอสังยุค (unconjugated bilirubin) ***
 
อาการตัวเหลืองแบบปกติ จะเริ่มประมาณวันที่ ๒ และเป็นมากที่สุดในวันที่ ๓ หรือ ๔ หลังจากนั้นจะค่อย ๆ หายไป แต่ก็อาจจะมีสาเหตุอื่นที่ทำให้อาการตัวเหลืองชนิดนี้มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น และจำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่เนื่องจากสาเหตุเหล่านั้นไม่มีความสัมพันธ์กับการให้ลูกกินนมแม่ คุณแม่จึงควรให้ลูกกินนมแม่ต่อไป หรือถ้าทารกมีอาการตัวเหลืองขั้นรุนแรงเนื่องจากการแตกตัวอย่างรวดเร็วของเม็ดเลือดแดง ก็ไม่ใช่สาเหตุที่จะงดนมแม่ คุณแม่ควรให้ลูกกินนมแม่ต่อไปในสถานการณ์เช่นนี้
 
อาการตัวเหลืองจากนมแม่
 
มีอาการตัวเหลืองอีกชนิดหนึ่ง ที่เรียกกันทั่วไปว่า ตัวเหลืองจากนมแม่ ไม่มีใครรู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุของอาการตัวเหลืองจากนมแม่ การวินิจฉัยอาการตัวเหลืองชนิดนี้ ทารกควรมีอายุอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ แต่ก็เป็นเรื่องน่าสนใจว่า ทารกที่มีอาการตัวเหลืองจากนมแม่จำนวนมาก มักจะมีอาการตัวเหลืองแบบปกติร่วมด้วย
 
ทารกควรจะน้ำหนักเพิ่มขึ้นดีด้วยการกินนมแม่ล้วน ๆ ถ่ายอุจจาระบ่อยและมีปริมาณมาก ปัสสาวะเป็นสีใส และโดยทั่วไปมีสุขภาพดี ในสถานการณ์เช่นนี้ทารกมีอาการที่บางคนเรียกว่า ตัวเหลืองจากนมแม่ ถึงแม้ว่าบางครั้งการติดเชื้อของปัสสาวะ หรือต่อมไทรอยด์ของทารกทำงานน้อยผิดปกติ รวมถึงโรคบางชนิดที่พบได้ยากมาก ก็อาจทำให้เกิดอาการแบบเดียวกันได้
 
อาการตัวเหลืองจากนมแม่จะเป็นมากที่สุดตอนอายุ ๑๐-๒๑ วัน แต่ก็อาจจะเป็นต่อไปนาน ๒ หรือ ๓ เดือนได้ อาการตัวเหลืองจากนมแม่เป็นเรื่องปกติ แทบไม่มีกรณีใดเลยที่จำเป็นต้องหยุดให้ลูกกินนมแม่ แม้แค่ช่วงเวลาสั้น ๆ มีบางกรณีเท่านั้นที่ทารกจำเป็นต้องได้รับการรักษาอื่น ๆ เช่น การส่องไฟ และไม่มีหลักฐานใด ๆ เลยที่แสดงว่าอาการตัวเหลืองจากนมแม่จะเป็นปัญหากับทารก
.
คุณแม่ไม่ควรหยุดการให้ลูกกินนมแม่ เพื่อทำการวินิจฉัยโรคถ้าทารกสามารถกินนมจากอกแม่ได้ดี ก็ไม่มีเหตุผลใดเลยที่จะหยุดให้ลูกกินนมแม่ หรือให้นมเสริมด้วยอุปกรณ์เสริมการให้นม (lactation aid)
 
ความเชื่อที่ว่า ทารกที่มีอาการตัวเหลืองมีความผิดปกติ มาจากสมมติฐานที่เชื่อว่า ทารกกินนมผสมคือมาตรฐานที่เราควรใช้วัดว่าทารกกินนมแม่ควรเป็นอย่างไร วิธีการคิดเช่นนี้แทบจะเป็นมาตรฐานสากลในหมู่เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพ แต่เป็นการใช้ตรรกะผิดด้าน เนื่องจากทารกที่กินนมผสมแทบจะไม่มีอาการตัวเหลืองเลยในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด และถ้าทารกมีอาการตัวเหลืองขึ้นมา ก็มักจะมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับเขา ดังนั้นทารกที่ตัวเหลืองชนิดที่เรียกกันว่าตัวเหลืองจากนมแม่ จึงเป็นกลายเป็นเรื่องน่ากังวล และ ต้องทำอะไรสักอย่าง
 
อย่างไรก็ตามจากประสบการณ์ของเรา ทารกกินนมแม่ล้วน ๆ ที่มีสุขภาพดีเยี่ยม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ดี ส่วนใหญ่ก็ยังมีอาการตัวเหลืองตอนอายุห้าหกสัปดาห์หรืออาจจะนานกว่านั้นด้วยซ้ำ
 
ความจริงแล้ว คำถามที่พวกเราควรจะถามกันคือ มันเป็นเรื่องปกติหรือเปล่าที่ทารกจะไม่มีอาการตัวเหลือง และการที่เด็กไม่มีอาการตัวเหลืองนั้นควรเป็นสิ่งที่เราจะกังวลหรือเปล่าต่างหาก อย่าหยุดให้ลูกกินนมแม่ เพราะลูกมีอาการตัวเหลืองจากนมแม่
 
 
ตัวเหลืองเพราะกินนมแม่ไม่พอ
 
ระดับของบิลิรูบินที่สูงผิดปกติ หรือ อาการตัวเหลืองที่เกิดนานผิดปกติ อาจจะเกิดขึ้นได้ถ้าทารกได้รับนมไม่พอ นี่อาจจะเป็นเพราะน้ำนมแม่ที่จะใช้เวลานานกว่าปกติกว่าที่จะมาได้เต็มที่ (แต่ถ้าทารกกินนมได้ดีในช่วงวันแรก ๆ กรณีนี้ก็ไม่ควรจะเป็นปัญหา) หรือเพราะโรงพยาบาลจำกัดช่วงเวลาหรือความถี่ในการให้ลูกกินนมแม่ หรือทารกไม่สามารถงับหัวนมได้ดีพอ จึงไม่สามารถกินนมแม่ที่มีอยู่ได้พอ (ดู ลูกกินนมพอหรือไม่)
 
ถ้าทารกได้กินนมน้อย ก็มีแนวโน้มว่าจะมีการขับถ่ายออกมาน้อยไปด้วย บิลิรูบินที่อยู่ในลำไส้ของทารกก็จะถูกดูดซึมกลับเข้าไปในกระแสเลือด แทนที่จะถูกกำจัดออกจากร่างกายพร้อมกับของเสียที่ถูกขับถ่ายออกมา จะเห็นได้ชัดว่ามาตรการที่ดีที่สุดสำหรับอาการตัวเหลืองเพราะกินนมแม่ไม่พอ ก็คือการเริ่มให้ลูกกินนมแม่อย่างถูกวิธี 
 
อยากไรก็ตาม แน่นอนว่ามาตรการแรกสำหรับอาการตัวเหลืองเพราะกินนมแม่ไม่พอ ก็คือการไม่หยุดให้ลูกกินนมแม่ หรือการไม่ยอมให้ทารกกินนมผสม และถ้าทารกสามารถกินนมแม่ได้ดี การให้ทารกกินนมแม่บ่อยขึ้นอาจจะเพียงพอที่จะทำให้สารบิลิรูบินลดระดับลงได้เร็วขึ้น ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องทำอะไร 
 
แต่ถ้าทารกกินนมแม่ได้ไม่ดี การช่วยให้ทารกสามารถงับหัวนมได้ดีขึ้น อาจจะทำให้เขาดูดนมจากอกแม่ได้ดีขึ้น และกินนมแม่ได้มากขึ้น การบีบหน้าอกเพื่อให้ได้น้ำนมมากขึ้นก็อาจจะช่วยได้เช่นกัน แต่ถ้าการช่วยงับหัวนมและการบีบหน้าอกไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ก็อาจจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริมการให้นมกับทารก เพิ่มเติมจากการกินนมจากอกแม่
 
 
การส่องไฟ
 
การส่องไฟจะช่วยเพิ่มความต้องการของเหลวของทารก ถ้าทารกกินนมแม่ได้ดี การให้ทารกกินนมบ่อยครั้งขึ้นจะช่วยเติมเต็มความต้องการที่เพิ่มขึ้นนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าคิดว่าทารกต้องการของเหลวเพิ่มขึ้น ควรใช้อุปกรณ์เสริมการให้นมเสริมจากการกินนมจากอกแม่ โดยใช้น้ำนมแม่ที่บีบออกมา หรือนมแม่ที่บีบออกมาเติมด้วยน้ำผสมน้ำตาล หรือน้ำผสมน้ำตาลอย่างเดียว แทนที่จะใช้นมผสม
 
 
*บิลิรูบินชนิดสังยุค  (conjugated bilirubin) หรือบิลิรูบินชนิดทำปฏิกริยาโดยตรง (direct reacting bilirubin) หรือบิลิรูบินชนิดละลายในน้ำ (water soluble bilirubin) ชื่อทั้งสามนี้คือสิ่งเดียวกัน
 
**physiologic jaundice  อาการตัวเหลืองแบบไม่มีพยาธิสภาพ
 
***บิลิรูบินชนิดอสังยุค (unconjugated bilirubin) บิลิรูบินชนิดทำปฏิกริยาโดยอ้อม (indirect reacting bilirubin) หรือบิลิรูบินชนิดละลายในไขมัน (fat soluble bilirubin)
 
 
Written and Revised by Jack Newman, MD, FRCPC 1995-2005
Revised May 2008

แปลโดย คุณนิจวรรณ ตั้งวิรุฬห์