ReadyPlanet.com
ardo calypso
dot
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : ข้อควรปฎิบัติ
dot
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 1
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 2
bulletวิธีเลือกกุมารแพทย์ให้ลูก
bulletก่อนคลอด
bulletสิ่งที่ต้องทำเมื่ออยู่ ร.พ.
bulletหลังคลอด
bulletท่าในการให้นม
bulletBreast Crawl
bulletความคาดหวังของลูกน้อย
bulletบันทึกการให้นมลูก
bulletวิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง
bulletสัมผัสรักระหว่างแม่ลูก
bulletโรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
bulletแบบสอบถาม
dot
ปัญหาเรื่อง นมแม่
dot
bulletวิธีแก้ปัญหานมไม่พอ
bullet"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ
bulletนมพอหรือไม่
bulletเมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)
bulletอาหารเพิ่มน้ำนม
bulletวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม
bulletWorkshop เพิ่มน้ำนม (new)
bulletยาประสระน้ำนม
bulletDomperidone (Motilium)
bulletยาเพิ่มน้ำนม Motilium
bulletคำเตือนสำหรับการใช้ยา Domperidone
bulletน้ำหนักตัวเพิ่มช้า
bulletน้ำหนักตัวน้อย
bulletเจ็บหน้าอก หัวนมแตก
bulletการบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม
bulletลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า
bulletตัวเหลือง
bulletสารพันปัญหา
บริจาคนมแม่
dot
เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
dot
bullet20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน
bulletมาทำ stock น้ำนม กันเถอะ
bulletวิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
bulletจะให้ลูกกินอะไรเมื่อแม่ไปทำงาน
bulletวิธีเก็บรักษานมแม่
bulletต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?
bulletโปรแกรมคำนวณนมแม่
bulletยาคุมกำเนิด
dot
คุณแม่นักปั๊ม
dot
bulletการปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม
bulletปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
bulletข้อคิดก่อนซื้อ ที่ปั๊มนม
bulletเพิ่มน้ำนมภายใน 14 วันแรก
bulletเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
bulletซื้อเครื่องปั๊มที่ไหนดี
bulletปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี
bulletเรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
bulletถุงเก็บน้ำนมแม่
dot
กลเม็ดเคล็ดลับ
dot
bulletวิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new)
bulletบีบด้วยมือ vs ปั๊มด้วยเครื่อง
bullet10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี
bulletนอนให้นม...สบายมากๆ เลย
bulletอุปกรณ์เสริม ช่วยแม่ให้นมลูก
bulletมุมให้นมแม่
bulletวิธีพาสเจอร์ไรซ์นมแม่
dot
ปัญหาที่พบไม่บ่อย
dot
bulletลิ้นติด (Tongue Tie)
bulletเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่
bulletต้องการถามปัญหาอื่นๆ
bulletทำไมทารกร้องไห้โยเย
dot
หนังสือแนะนำ
dot
bulletขอรับหนังสือนมแม่ฟรี
bulletการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletสร้างชีวิตมหัศจรรย์ด้วยน้ำนมแม่
bulletนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก
bullet เคล็ดลับ...แม่มือใหม่ "นมแม่"
bulletเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletพัฒนาสมองด้วยนมแม่...
bulletGuide to Breastfeeding
dot
แหล่งข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่
dot
bulletคลินิกนมแม่ทั่วประเทศ
bulletนมแม่ แน่ที่สุด
bulletศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
bulletคลีนิครัก
bulletศริริราชออนไลน์
bulletสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
bulletwww.breastfeeding.com
bulletPromom
bulletรักลูก
bulletLa Leche League
bullet4woman
bulletMother & Child Health
bulletWABA
bulletBreastfeedingonline
bulletDr. Sears
bulletbreastfeedingbasics
bulletwebboard
bulletkellymom
bulletDr. Jack Newman
bulletInfact
bulletgotbreastpump
bulletNew Beginnings
bulletโครงการสายใยรัก
bulletศูนย์ข้อมูล สสส
bulletUNICEF
bulletbreastfeedingmadesimple
bullethm4hb
bulletLactation Narration
bulletNormalFed
dot
Brainfeeding
dot
bulletเก็บมาฝาก
bulletIf we don't care, who will?
bullet๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา
bulletสัมภาษณ์ ดร. อาจอง ชุมสาย ฯ
bulletคนดีของพ่อ
bulletเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้รู้
bulletคุยกับประภาส
dot
Sponsor Link
dot
bulletbfdcenter
bulletร้านนมแม่
bulletศูนย์รวมฟิล์มทุกชนิด
bulletV-Kool
bulletSuvarnabhumi Airport Hostel
bulletBussaba Bangkok Boutique Hotel Suvarnabhumi Airport
bulletbeing-mom
bulletมีลูกยาก
bulletSite Map
ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี whisper
unimom allegro
ardo calypso
Ardo Carum
bulletนมแม่


ร้านนมแม่-เครื่องปั๊มนม


ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ชุดที่ 2 article

คุณแม่ที่สูบบุหรี่ไม่ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 

ไม่จริง !  แม่ที่ไม่สามารถหยุดสูบบุหรี่ได้ควรจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดผลเสียของควันบุหรี่ต่อปอดของทารก  การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพต่อแม่และทารก มันคงจะเป็นการดีกว่าถ้าแม่ไม่สูบบุหรี่เลย แต่ถ้าเธอไม่สามารถหยุดสูบบุหรี่หรือเลิกสูบบุหรี่ได้ การสูบบุหรี่แล้วเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็ย่อมจะดีกว่าการสูบบุหรี่แล้วเลี้ยงลูกด้วยนมผสม

คุณแม่ที่มีเลือดไหลจากหัวนมไม่ควรให้นมลูก 

ไม่จริง ! ถึงแม้ว่าเลือดจากหัวนมอาจจะทำให้ทารกแหวะนมมากขึ้น และอาจจะพบเลือดนั้นปนออกมาในอุจจาระของเด็กก็ตาม  สิ่งนี้ไม่ใช่เหตุผลที่จะต้องหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หัวนมที่ทั้งเจ็บปวดและมีเลือดไหลออกมานั้นไม่ได้แย่ไปกว่าหัวนมที่เจ็บปวดและไม่มีเลือดออกมา  ความเจ็บปวดที่แม่กำลังได้รับต่างหากที่เป็นปัญหา ความเจ็บปวดที่หัวนมนี้เองสามารถได้รับการบรรเทาได้  ในบางครั้งแม่มีเลือดออกจากหัวนมซึ่งจริงๆเป็นเลือดที่ออกมาจากภายในเต้านม และมักจะไม่เกี่ยวข้องกับความเจ็บปวด การที่มีเลือดออกจากหัวนมเช่นนี้ มักจะเกิดขึ้นได้ในช่วงสองสามวันแรกหลังคลอด และอาการเหล่านี้จะหายไปภายในเวลาสองสามวัน แม่ควรจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ! ถ้าอาการเลือดออกนั้นไม่หยุดเสียที จำเป็นที่จะต้องมีการหาสาเหตุ ต้นตอของปัญหานั้น แต่แม่ก็ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไป

คุณแม่ที่ไม่รู้สึกว่าเต้านมคัด แสดงว่ามีน้ำนมในเต้านมเพียงปริมาณน้อย 

ไม่จริง ! เต้านมไม่จำเป็นต้องรู้สึกคัดเพื่อที่จะสร้างน้ำนมปริมาณมาก มันเป็นเรื่องปกติที่เต้านมของผู้หญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะรู้สึกคัดน้อยลงเมื่อร่างกายเริ่มปรับสภาพตามปริมาณนมที่ลูกดูด สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ฉับพลัน และอาจเกิดขึ้นตั้งแต่ 2 อาทิตย์แรกหลังคลอด (หรือก่อนหน้านั้นก็ได้) เต้านมไม่เคยที่จะไร้น้ำนมและยังสร้างน้ำนมอีกได้ตลอดเวลาตราบเท่าที่ยังให้ลูกดูดอย่งสม่ำเสมอ

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนกระทั่งเด็กอายุ ถึง 3 หรือ 4 ปีนั้นเป็นเรื่องที่ผิดปกติ และไม่ดีต่อเด็ก ทำให้ลูกติดแม่มากเกินไป 

ไม่จริง ! การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปเป็นระยะเวลาสองถึงสามปีนั้น เป็นกฎที่มีมาในวัฒนธรรมส่วนใหญ่ของโลก ตั้งแต่แรกเริ่มที่มีมนุษยชาติมาบนโลกนี้ จะมีก็เพียงในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาที่ดูเหมือนว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น จะเป็นสิ่งที่ต้องมีการจำกัดเวลา เด็กที่ดื่มนมแม่จนกระทั่งเข้าสู่ปีที่สาม นั้นไม่ได้เป็นเด็กติดแม่มากเกินไป ในทางตรงข้ามเด็กเหล่านี้กลับดูจะมีความรู้สึกมั่นใจไร้กังวลและทำให้เป็นเด็กที่มีความเป็นตัวของตัวเองมากกว่าเสียด้วย ตัวเด็กเองจะก้าวไปสู่ขั้นของการหยุดดื่มนมแม่ด้วยตัวของพวกเขาเอง (ด้วยการสนับสนุนให้กำลังใจจากผู้เป็นแม่) และดังนั้นเด็กจะได้รับความมั่นใจจากผลสำเร็จของพวกเขาเอง

อยู่ดีๆ นมของแม่ก็แห้งไปได้เอง 

ไม่จริง ! หรือถ้าหากสิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นมา มันก็เป็นกรณีที่เกิดขึ้นได้ยากมาก  ความแตกต่างของปริมาณน้ำนมที่สร้างขึ้นจากวันแต่ละวัน และจากเช้าถึงเย็นนั้น ไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วฉับพลัน จะมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นซึ่งอาจจะทำให้มันดูเหมือนว่าการสร้างน้ำนมนั้นน้อยลงไปอย่างมากได้ ในกรณีดังต่อไปนี้

1) ความต้องการน้ำนมที่เพิ่มมากขึ้นของทารก  ซึ่งเป็นช่วงที่เรียกว่า การเติบโตแบบพุ่งพรวด (Growth spurt) ถ้านี่เป็นสาเหตุของการที่น้ำนมดูท่าว่าจะไม่เพียงพอสำหรับทารก การให้ลูกดูดนมแม่บ่อยขึ้นกว่าเดิมในเวลาสองถึงสามวัน จะช่วยทำให้สิ่งต่างๆกลับคืนสู่ภาวะปกติได้ ให้คุณลองกดเต้านมด้วยมือของคุณด้วยเพื่อช่วยให้ทารกได้รับน้ำนมมากขึ้น

 

2) การเปลี่ยนแปลงในด้านพฤติกรรมของทารก เมื่อทารกอายุประมาณ 5-6 สัปดาห์ (อาจมากกว่าหรือนอ้ยกว่านี้) ทารกอาจจะผล็อยหลับไปกับอกแม่ขณะดูดนมเมื่อการไหลของน้ำนมช้าลง เขาจะเริ่มดึงเต้านมแม่และร้องไห้เมื่อน้ำนมไหลช้าลง จริงๆ น้ำนมไม่ได้แห้งหมดไป แต่ทารกมีพฤติกรรมการดูดนมที่เปลี่ยนไป ให้ลองกดเต้านมด้วยมือของคุณเพื่อช่วยให้ทารกได้รับน้ำนมมากขึ้น

 

3) เต้านมของแม่ไม่รู้สึกคัดเต็มที่หรือมีความนุ่มหยุ่น เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้หลังจากสองสามอาทิตย์ผ่านไปที่คุณแม่จะไม่มีอาการคัดเต้านมอีกต่อไป ตราบใดที่ทารกยังคงดูดนมจากอกแม่ ก็ไม่จำเป็นต้องวิตกกังวล

 

4) ทารกดูดนมแม่ลดลง สิ่งนี้มักจะมีสาเหตุเนื่องมาจาก เราให้ทารกได้ดื่มนมผสมจากขวด หรือดูดจุกนมยาง ดังนั้นพวกเขาจึงเรียนรู้การดูดนมแม่ที่ไม่ถูกต้อง

 

ยาเม็ดคุมกำเนิดอาจทำให้น้ำนมของคุณลดน้อยลง ลองหยุดยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดนั้นเสีย หรือเปลี่ยนไปใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเดี่ยวๆ ชนิดเม็ด หรือเลือกใช้วิธีการคุมกำเนิดวิธีอื่นแทนก็ได้

 

ถ้าทารกดูเหมือนจะได้รับนมแม่ไม่เพียงพอจริงๆ ให้ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ ไม่ใช่ด้วยวิธีการเสริมนมขวด เพราะรังแต่จะทำให้แย่ลงกว่าเดิม  ถ้าเป็นความจำเป็นจริงๆ ทารกก็สามารถได้รับ การเสริมน้ำนมได้ โดยการใช้อุปกรณ์เสริมในการให้นม (lactation aid) ซึ่งไม่ขัดขวางการดูดนมแม่  อย่างไรก็ตาม มีหลายวิธีที่จะทำได้ก่อนจะให้นมผสม ให้ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญก่อน ลองวิธีกดบีบเต้านมขณะที่ดูดเพื่อช่วยให้ทารกได้รับน้ำนมมากขึ้น

 

 

ที่มา  :  Breastfeeding Myth  โดย Dr. Jack Newman, MD, FRCPC

แปลโดย  พัชรินทร์ เจริญบุตร




ความรู้เรื่องนมแม่

การนวดเต้านมเพื่อแก้ไขภาวะท่อน้ำนมอุดตัน
จะปั๊มนม ทำสต็อกอย่างไร?
กระเพาะของทารกแรกเกิด
นมปั๊มกลางวัน กินกลางวัน นมปั๊มกลางคืน กินกลางคืน ใช่หรือไม่ article
รวมความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ article
ผ่าคลอดแล้วไม่มีน้ำนม article
นมแม่กับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่: การเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก ตอนที่ 2
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่: การเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก ตอนที่ 1
ความจุของเต้านม
10 ความจริงเรื่องนมแม่จาก WHO article