ReadyPlanet.com
ardo calypso
dot
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : ข้อควรปฎิบัติ
dot
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 1
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 2
bulletวิธีเลือกกุมารแพทย์ให้ลูก
bulletก่อนคลอด
bulletสิ่งที่ต้องทำเมื่ออยู่ ร.พ.
bulletหลังคลอด
bulletท่าในการให้นม
bulletBreast Crawl
bulletความคาดหวังของลูกน้อย
bulletบันทึกการให้นมลูก
bulletวิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง
bulletสัมผัสรักระหว่างแม่ลูก
bulletโรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
bulletแบบสอบถาม
dot
ปัญหาเรื่อง นมแม่
dot
bulletวิธีแก้ปัญหานมไม่พอ
bullet"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ
bulletนมพอหรือไม่
bulletเมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)
bulletอาหารเพิ่มน้ำนม
bulletวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม
bulletWorkshop เพิ่มน้ำนม (new)
bulletยาประสระน้ำนม
bulletDomperidone (Motilium)
bulletยาเพิ่มน้ำนม Motilium
bulletคำเตือนสำหรับการใช้ยา Domperidone
bulletน้ำหนักตัวเพิ่มช้า
bulletน้ำหนักตัวน้อย
bulletเจ็บหน้าอก หัวนมแตก
bulletการบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม
bulletลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า
bulletตัวเหลือง
bulletสารพันปัญหา
บริจาคนมแม่
dot
เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
dot
bullet20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน
bulletมาทำ stock น้ำนม กันเถอะ
bulletวิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
bulletจะให้ลูกกินอะไรเมื่อแม่ไปทำงาน
bulletวิธีเก็บรักษานมแม่
bulletต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?
bulletโปรแกรมคำนวณนมแม่
bulletยาคุมกำเนิด
dot
คุณแม่นักปั๊ม
dot
bulletการปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม
bulletปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
bulletข้อคิดก่อนซื้อ ที่ปั๊มนม
bulletเพิ่มน้ำนมภายใน 14 วันแรก
bulletเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
bulletซื้อเครื่องปั๊มที่ไหนดี
bulletปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี
bulletเรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
bulletถุงเก็บน้ำนมแม่
dot
กลเม็ดเคล็ดลับ
dot
bulletวิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new)
bulletบีบด้วยมือ vs ปั๊มด้วยเครื่อง
bullet10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี
bulletนอนให้นม...สบายมากๆ เลย
bulletอุปกรณ์เสริม ช่วยแม่ให้นมลูก
bulletมุมให้นมแม่
bulletวิธีพาสเจอร์ไรซ์นมแม่
dot
ปัญหาที่พบไม่บ่อย
dot
bulletลิ้นติด (Tongue Tie)
bulletเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่
bulletต้องการถามปัญหาอื่นๆ
bulletทำไมทารกร้องไห้โยเย
dot
หนังสือแนะนำ
dot
bulletขอรับหนังสือนมแม่ฟรี
bulletการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletสร้างชีวิตมหัศจรรย์ด้วยน้ำนมแม่
bulletนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก
bullet เคล็ดลับ...แม่มือใหม่ "นมแม่"
bulletเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletพัฒนาสมองด้วยนมแม่...
bulletGuide to Breastfeeding
dot
แหล่งข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่
dot
bulletคลินิกนมแม่ทั่วประเทศ
bulletนมแม่ แน่ที่สุด
bulletศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
bulletคลีนิครัก
bulletศริริราชออนไลน์
bulletสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
bulletwww.breastfeeding.com
bulletPromom
bulletรักลูก
bulletLa Leche League
bullet4woman
bulletMother & Child Health
bulletWABA
bulletBreastfeedingonline
bulletDr. Sears
bulletbreastfeedingbasics
bulletwebboard
bulletkellymom
bulletDr. Jack Newman
bulletInfact
bulletgotbreastpump
bulletNew Beginnings
bulletโครงการสายใยรัก
bulletศูนย์ข้อมูล สสส
bulletUNICEF
bulletbreastfeedingmadesimple
bullethm4hb
bulletLactation Narration
bulletNormalFed
dot
Brainfeeding
dot
bulletเก็บมาฝาก
bulletIf we don't care, who will?
bullet๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา
bulletสัมภาษณ์ ดร. อาจอง ชุมสาย ฯ
bulletคนดีของพ่อ
bulletเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้รู้
bulletคุยกับประภาส
dot
Sponsor Link
dot
bulletbfdcenter
bulletร้านนมแม่
bulletศูนย์รวมฟิล์มทุกชนิด
bulletV-Kool
bulletSuvarnabhumi Airport Hostel
bulletBussaba Bangkok Boutique Hotel Suvarnabhumi Airport
bulletbeing-mom
bulletมีลูกยาก
bulletSite Map
ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี whisper
unimom allegro
ardo calypso
Ardo Carum
bulletนมแม่


ร้านนมแม่-เครื่องปั๊มนม


สัมผัสรักระหว่างแม่ลูก

 

เนื้อหาในบทความนี้ อาจจะยังไม่ใช่วิธีปฏิบัติทั่วๆ ไปที่พวกเราจะได้รับในการคลอดในปัจจุบันของบ้านเรา แต่อยากให้คุณแม่ทุกท่านได้อ่านไว้เป็นข้อมูล เผื่อว่าอาจจะมีบางโรงพยาบาลยินยอมปฏิบัติให้ถ้าเราลองขอดูค่ะ 

 

มีผลการศึกษาจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่าในช่วงเวลาทันทีหลังจากที่ทารกคลอดออกมา ตลอดจนถึงช่วงเวลาหลังจากคลอดผ่านพ้นไปแล้ว แม่กับลูกควรจะได้อยู่ด้วยกัน และแม่ควรได้มีโอกาสกอดกระชับลูกให้ผิวของแม่แนบสัมผัสกับผิวของลูกโดยตรง (ทารกอยู่ในลักษณะถอดเสื้อผ้า ไม่ถูกห่ออยู่ในผ้า)  

เพราะเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ทารกที่ได้สัมผัสกับแม่ในลักษณะนี้จะมีความสุขมากกว่า มีอุณหภูมิร่างกายที่คงที่และอยู่ในระดับปกติมากกว่า อัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจก็สม่ำเสมอและเป็นปกติมากกว่า และยังมีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น การให้แม่ได้อุ้มลูกในลักษณะเนื้อแนบเนื้อทันทีหลังจากเกิด จะช่วยให้ทารกคุ้นเคยกับแบคทีเรียชนิดเดียวกับที่แม่มีอยู่ในร่างกาย ซึ่งเชื่อกันว่าเมื่อประกอบกับการที่ทารกได้รับน้ำนมแม่ จะมีส่วนสำคัญในการป้องกันโรคภูมิแพ้ ในขณะที่ถ้าทารกถูกนำเข้าตู้อบ ผิวหนังและภายในร่างกายจะได้รับแบคทีเรียที่แตกต่างออกไปจากที่มีอยู่ในร่างกายของแม่  

ทั้งนี้ไม่เฉพาะกับในทารกที่คลอดครบกำหนดและแข็งแรงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงทารกที่คลอดก่อนกำหนดด้วย การให้ผิวหนังของแม่สัมผัสกับลูกโดยตรงและการอุ้มทารกในท่า Kangaroo Care มีส่วนช่วยในการดูแลทารกที่คลอดก่อนกำหนดได้เป็นอย่างมาก และทำได้แม้แต่กับทารกที่ต้องได้รับการให้ออกซิเจน โดยจะช่วยให้ทารกจำเป็นต้องได้รับออกซิเจนน้อยลง และทำให้กลไกอื่น ๆ ในร่างกายคงทีมากขึ้นอีกด้วย  

ในแง่ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทารกที่ได้รับการกอดสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อกับแม่ทันทีภายหลังการคลอดเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง มีแนวโน้มที่จะสามารถดูดนมแม่ได้เองโดยไม่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือใด ๆ ทั้งสิ้น และมีความเป็นไปได้ที่จะดูดนมได้ดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่แม่ไม่ได้รับยาใด ๆ เลยในระหว่างการคลอด ทารกที่ดูดนมด้วยท่าที่ถูกต้องจะได้รับน้ำนมได้ง่ายขึ้น และยังช่วยให้แม่เจ็บหัวนมน้อยกว่า   

ในกรณีที่แม่มีน้ำนมมากมายเหลือเฟือ ถึงแม้จะดูดด้วยท่าที่ไม่ถูกต้อง ทารกก็จะยังสามารถดูดน้ำนมได้เป็นจำนวนมาก เพียงแต่อาจจะต้องดูดเป็นเวลานานหรือดูดบ่อย ๆ หรือไม่ก็ทั้งสองอย่าง และแม่ก็มีแนวโน้มจะเกิดปัญหาเช่นท่อน้ำนมอุดตันหรือเต้านมอักเสบได้มากกว่า  

อย่างไรก็ตาม ในช่วงสองถึงสามวันแรกน้ำนมของแม่ไม่ได้มีปริมาณมากมายนัก (แต่ก็เพียงพอสำหรับลูก) การดูดด้วยท่าที่ถูกต้องจะช่วยให้ทารกสามารถดูดเอาน้ำนมที่มีอยู่ออกมาได้ (น้ำนมยังคงมีอยู่ในเต้าถึงแม้ว่าจะปั๊มไม่ออกก็ตาม) ถ้าทารกดูดด้วยท่าที่ไม่ถูกต้อง แม่อาจจะเจ็บหัวนม และทารกที่ดูดน้ำนมได้ไม่ดีก็จะยิ่งดูดนานขึ้นและทำให้แม่เจ็บมากขึ้นไปอีก  

กล่าวโดยสรุปแล้ว การให้แม่ได้กอดลูกโดยให้ผิวหนังสัมผัสกันโดยตรงทันทีหลังการคลอดเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงจะมีผลดีต่อทารกดังนี้  

  • ทารกมีแนวโน้มจะดูดนมแม่มากขึ้น
  • ทารกมีแนวโน้มจะดูดนมได้ดีกว่า
  • ทารกมีอุณหภูมิผิวหนังที่คงที่และเป็นปกติมากกว่า
  • ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตที่คงที่และเป็นปกติมากกว่า
  • ทารกมีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงกว่า
  • ทารกมีแนวโน้มที่จะร้องไห้น้อยกว่า
  • ทารกมีแนวโน้มที่จะดูดนมแม่เพียงอย่างเดียวเป็นเวลานานกว่า 

ไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่จะไม่ให้ทารกส่วนใหญ่ได้มีโอกาสสัมผัสกับแม่แบบเนื้อแนบเนื้อทันทีเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงภายหลังการคลอด ทั้งนี้ไม่ควรไปให้ความสำคัญที่มากกว่ากับขั้นตอนปฎิบัติทั่วไปอื่น ๆ ของโรงพยาบาล เช่น การชั่งน้ำหนักทารก  

ทารกควรได้รับการเช็ดตัวให้แห้งและมอบให้กับแม่ ไม่ควรมีใครพยายามผลักดันให้ทารกทำอะไร ในระหว่างนี้ยังไม่ควรมีใครพยายามช่วยให้ทารกดูดนม ส่วนแม่ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องพยายามหาทางช่วยลูกด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ก็ไม่ควรจะถูกขัดขวาง ควรปล่อยให้แม่และลูกอยู่ด้วยกันอย่างสงบเพื่อรับรู้ความสุขของการอยู่ร่วมกัน (อย่างไรก็ตาม ไม่ควรปล่อยให้แม่กับลูกอยู่กันตามลำพัง โดยเฉพาะกรณีที่แม่ได้รับยาระหว่างการคลอด ควรให้ทั้งคู่สมรส พยาบาล พดุงครรภ์ ผู้ดูแล หรือแพทย์อยู่ด้วย เพราะบางครั้งทารกอาจต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์ จึงควรจะมีบุคคลที่สามารถให้ความช่วยเหลือดังกล่าวได้อยู่ด้วยเผื่อในกรณีที่จำเป็น) 

การหยอดตาและการฉีดวิตามินเคสามารถรอทำภายหลังจากนั้นสองสามชั่วโมงได้  การให้แม่ลูกสัมผัสกันแบบเนื่อแนบเนื้อก็สามารถทำได้ในกรณีของการผ่าตัดคลอด แม้กระทั่งในระหว่างที่แม่กำลังได้รับการเย็บแผล ยกเว้นแต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากมีเหตุผลทางการแพทย์ให้ไม่สามารถทำได้เท่านั้น  

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าแม้แต่ทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักเพียง 1200 กรัม (2 ปอนด์ 10 ออนซ์) ก็จะมีเมตาบอลิซึ่มที่คงที่ (รวมไปถึงระดับน้ำตาลในเลือด) และหายใจได้ดีกว่าหากได้รับการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อทันทีหลังการคลอด การรักษาใด ๆ ที่จำเป็นยกตัวอย่างเช่น การให้ยาทางเส้นเลือด การให้ออกซิเจน หรือการสอดสายยางเพื่อให้อาหารหรือระบายแก๊สในท้อง ไม่ควรไปขัดขวางไม่ให้แม่กับลูกได้มีโอกาสสัมผัสกัน  การสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อสามารถทำร่วมกับการให้การรักษาอื่น ๆ เพื่อช่วยให้ทารกแข็งแรงขึ้นได้ แน่นอนว่าในกรณีที่ทารกอ่อนแอมาก การดูแลสุขภาพของทารกย่อมมีความสำคัญมากกว่า แต่ควรให้ทารกคลอดก่อนกำหนดที่ไม่มีปัญหาในการหายใจเนื่องจากขาดน้ำหล่อลื่นปอด (Respiratory Distress Syndrome) ได้สัมผัสกับแม่แบบเนื้อแนบเนื้อทันทีได้ทันทีหลังจากคลอด 

ที่จริงแล้วทั้งในเด็กที่คลอดก่อนกำหนดและครบกำหนด การสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้ออาจช่วยลดอัตราการหายใจที่เร็วเกินไปให้กลับเข้าสู่เกณฑ์ปกติได้ แม้แต่ในทารกที่ไม่ยอมดูดนมแม่ระหว่างช่วงหนึ่งถึงสองชั่วโมงแรกหลังการคลอด การให้ได้รับสัมผัสในลักษณะเนื้อแนบเนื้อก็ยังส่งผลดีและมีความสำคัญต่อเด็กในแง่อื่น ๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น  

ไม่ต้องตื่นตระหนกหากทารกไม่ยอมดูดนมทันทีในช่วงแรก การเร่งให้ทารกดูดนมแทบจะไม่มีความจำเป็นอะไรเลย โดยเฉพาะในเด็กคลอดครบกำหนดที่สุขภาพแข็งแรง ความเชื่อในการเลี้ยงทารกแรกเกิดผิด ๆ ที่อันตรายที่สุดอย่างหนึ่งก็คือความเชื่อที่ว่าทารกควรได้รับอาหารทุกสามชั่วโมง  ทารกควรจะได้รับอาหารเมื่อแสดงอาการให้เห็นว่าพร้อม และการให้ทารกได้อยู่กับแม่จะช่วยให้แม่รู้ได้ว่าเมื่อใดที่ทารกจะพร้อม  

ไม่มีหลักฐานอะไรที่จะพิสูจน์ได้เลยว่าควรป้อนนมทารกทุกสามชั่วโมงหรือตามตารางเวลาใด ๆ ก็ตาม ความเชื่อเช่นนี้เองที่ทำให้ทารกจำนวนมากถูกบังคับให้ดูดนมแม่เมื่อเวลาผ่านไปครบสามชั่วโมง ทารกที่ยังไม่อยากดูดนมอาจขัดขืนสุดฤทธิ์ และถูกบังคับหนักขึ้นไปอีก การพยายามให้ทารกดูดนมแม่ในลักษณะนี้ หลายครั้งที่กลับทำให้ทารกปฏิเสธการดูดนมแม่ไปเลย  

หากทารกยังคงยืนกรานปฏิเสธเมื่อถูกบังคับให้ดูดนมและมีอาการหงุดหงิดมากขึ้นเรื่อย ๆ แน่นอนที่ว่าขั้นตอนต่อไปก็คือการให้อาหารอื่นแก่ทารก เห็นได้ชัดเลยว่านี่คือทิศทางที่พวกเรากำลังมุ่งไปนั่นเอง  


*** สำหรับแม่ที่มีปัญหาลูกปฎิเสธการดูดจากเต้าแม่ ไม่ว่าจะเคยดูดมาแล้ว  แล้วอยู่ๆ ก็ไม่ยอมดูด หรือผิดพลาดตั้งแต่แรกโดยการให้ดูดขวด และต้องการให้ลูกกลับมาดูดนมแม่ใหม่  สามารถใช้วิธีนี้ได้  ในสถานที่เป็นส่วนตัว ให้ลูกใส่แต่ผ้าอ้อม แม่ไม่ต้องใส่เสื้อ (หรือใส่เฉพาะเสื้อชั้นใน) โดยการโอบกอดลูกให้มีการสัมผัสผิวเนื้อระหว่างแม่ลูกให้มากที่สุด ทำบ่อยๆ ให้ลูกรู้สึกคุ้นเคย และค่อยๆ ให้ลูกเริ่มดูดนมแม่ใหม่***

 

แปลจาก Handout #1a. The importance of skin to skin contact 

. Revised January 2005 Written by Jack Newman, MD, FRCPC. © 2005  โดย  แม่ต่าย

 

บทความนี้ แม่ต่าย อาสาแปลให้โดยมิได้ร้องขอ หากคุณผู้อ่านทุกท่านอ่านบทความนี้แล้วรู้สึกว่าได้ประโยชน์ ขอความกรุณาส่งคำขอบคุณสั้นๆ ให้ผู้แปลบ้าง เราเชื่อว่าน่าจะเป็นการตอบแทนซึ่งทำให้ผู้รับอิ่มใจไม่น้อยค่ะ



ชื่อ:
อีเมล์:
*คำขอบคุณ: