ReadyPlanet.com
ardo calypso
dot
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : ข้อควรปฎิบัติ
dot
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 1
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 2
bulletวิธีเลือกกุมารแพทย์ให้ลูก
bulletก่อนคลอด
bulletสิ่งที่ต้องทำเมื่ออยู่ ร.พ.
bulletหลังคลอด
bulletท่าในการให้นม
bulletBreast Crawl
bulletความคาดหวังของลูกน้อย
bulletบันทึกการให้นมลูก
bulletวิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง
bulletสัมผัสรักระหว่างแม่ลูก
bulletโรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
bulletแบบสอบถาม
dot
ปัญหาเรื่อง นมแม่
dot
bulletวิธีแก้ปัญหานมไม่พอ
bullet"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ
bulletนมพอหรือไม่
bulletเมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)
bulletอาหารเพิ่มน้ำนม
bulletวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม
bulletWorkshop เพิ่มน้ำนม (new)
bulletยาประสระน้ำนม
bulletDomperidone (Motilium)
bulletยาเพิ่มน้ำนม Motilium
bulletคำเตือนสำหรับการใช้ยา Domperidone
bulletน้ำหนักตัวเพิ่มช้า
bulletน้ำหนักตัวน้อย
bulletเจ็บหน้าอก หัวนมแตก
bulletการบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม
bulletลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า
bulletตัวเหลือง
bulletสารพันปัญหา
บริจาคนมแม่
dot
เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
dot
bullet20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน
bulletมาทำ stock น้ำนม กันเถอะ
bulletวิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
bulletจะให้ลูกกินอะไรเมื่อแม่ไปทำงาน
bulletวิธีเก็บรักษานมแม่
bulletต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?
bulletโปรแกรมคำนวณนมแม่
bulletยาคุมกำเนิด
dot
คุณแม่นักปั๊ม
dot
bulletการปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม
bulletปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
bulletข้อคิดก่อนซื้อ ที่ปั๊มนม
bulletเพิ่มน้ำนมภายใน 14 วันแรก
bulletเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
bulletซื้อเครื่องปั๊มที่ไหนดี
bulletปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี
bulletเรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
bulletถุงเก็บน้ำนมแม่
dot
กลเม็ดเคล็ดลับ
dot
bulletวิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new)
bulletบีบด้วยมือ vs ปั๊มด้วยเครื่อง
bullet10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี
bulletนอนให้นม...สบายมากๆ เลย
bulletอุปกรณ์เสริม ช่วยแม่ให้นมลูก
bulletมุมให้นมแม่
bulletวิธีพาสเจอร์ไรซ์นมแม่
dot
ปัญหาที่พบไม่บ่อย
dot
bulletลิ้นติด (Tongue Tie)
bulletเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่
bulletต้องการถามปัญหาอื่นๆ
bulletทำไมทารกร้องไห้โยเย
dot
หนังสือแนะนำ
dot
bulletขอรับหนังสือนมแม่ฟรี
bulletการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletสร้างชีวิตมหัศจรรย์ด้วยน้ำนมแม่
bulletนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก
bullet เคล็ดลับ...แม่มือใหม่ "นมแม่"
bulletเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletพัฒนาสมองด้วยนมแม่...
bulletGuide to Breastfeeding
dot
แหล่งข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่
dot
bulletคลินิกนมแม่ทั่วประเทศ
bulletนมแม่ แน่ที่สุด
bulletศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
bulletคลีนิครัก
bulletศริริราชออนไลน์
bulletสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
bulletwww.breastfeeding.com
bulletPromom
bulletรักลูก
bulletLa Leche League
bullet4woman
bulletMother & Child Health
bulletWABA
bulletBreastfeedingonline
bulletDr. Sears
bulletbreastfeedingbasics
bulletwebboard
bulletkellymom
bulletDr. Jack Newman
bulletInfact
bulletgotbreastpump
bulletNew Beginnings
bulletโครงการสายใยรัก
bulletศูนย์ข้อมูล สสส
bulletUNICEF
bulletbreastfeedingmadesimple
bullethm4hb
bulletLactation Narration
bulletNormalFed
dot
Brainfeeding
dot
bulletเก็บมาฝาก
bulletIf we don't care, who will?
bullet๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา
bulletสัมภาษณ์ ดร. อาจอง ชุมสาย ฯ
bulletคนดีของพ่อ
bulletเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้รู้
bulletคุยกับประภาส
dot
Sponsor Link
dot
bulletbfdcenter
bulletร้านนมแม่
bulletศูนย์รวมฟิล์มทุกชนิด
bulletV-Kool
bulletSuvarnabhumi Airport Hostel
bulletBussaba Bangkok Boutique Hotel Suvarnabhumi Airport
bulletbeing-mom
bulletมีลูกยาก
bulletSite Map
ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี whisper
unimom allegro
ardo calypso
Ardo Carum
bulletนมแม่


ร้านนมแม่-เครื่องปั๊มนม


ลูกเป็นไข้ ควรพบแพทย์เมื่อไร ?

บทความโดย พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ https://www.doctorbreastfeeding.com/

 

"เวลาลูกเป็นไข้ จะซื้อยาลดไข้ให้เขากินเอง(โดยไม่พาไปหาหมอ)ได้หรือเปล่า ควรใช้ยาอย่างไร (เฉพาะตอนที่มีไข้หรือให้ต่อเนื่อง) และให้ยาได้นานแค่ไหน ควรพาไปหาหมอเมื่อมีอาการอย่างไร"

ไข้เป็นภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่อเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย โดยการหลั่งสารเคมีออกมาจากเซลเม็ดเลือดขาว ไปกระตุ้นสมองส่วนที่ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย ให้ผลิตความร้อนออกมาเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอม โดยทั่วไปเด็กจะมีอาการตัวร้อน หน้าแดงตัวแดง เนื่องจากเส้นเลือดฝอยที่ผิวหนังขยายตัวเพื่อระบายความร้อน แต่เด็กบางคนอาจมีอาการปลายมือปลายเท้าเย็นและซีด ทำให้ดูไม่ออกว่ากำลังมีไข้สูง จนกว่าจะได้วัดอุณหภูมิแล้วจึงทราบ ดังนั้นการใช้มือสัมผัสที่ร่างกาย อาจทำให้เข้าใจไม่ถูกต้อง จึงควรใช้เครื่องมือวัดไข้ทุกครั้ง
คุณแม่ควรพาลูกพบหมอทันที หากลูกมีไข้ร่วมกับอาการต่อ
ไปนี้
เป็นเด็กอายุน้อยกว่า 3 เดือน เนื่องจากเป็นเด็กเล็ก สังเกตอาการยาก
ไข้สูงมากกว่า 40°C (104°F) เพราะอาจเป็นโรคร้ายแรงหรือ
มีโอกาสชักได้
ทานอาหารหรือนมได้น้อยกว่าป
กติ
มีอาการอาเจียน หรือถ่ายเหลว
ไข้นานกว่า 24 ชม.ในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี หรือนานกว่า 72 ชม.ในเด็กอายุมากกว่า 2 ปี 
ร้องไห้ไม่หยุดต่อเนื่องหลา
ยชั่วโมง เพื่อหมอจะได้หาสาเหตุและช่วยเหลือบรรเทาอาการ
กระสับกระส่าย ซึมมาก ปลุกไม่ตื่น
ผื่นสีม่วงหรือแดง เป็นจุดหรือจ้ำเลือดตามตัว 
ริมฝีปาก ลิ้น เล็บ มีสีคล้ำ ซึ่งแสดงถึงภาวะระบบไหลเวีย
นหรือการหายใจล้มเหลว
กระหม่อมโป่งหรือยุบผิดปกติ
 ซึ่งแสดงถึงการติดเชื้อที่สมองหรือมีภาวะขาดน้ำรุนแรง
คอแข็งหรือปวดศีรษะมาก อาจเป็นอาการของเยื่อหุ้มสม
องอักเสบ
ขาอ่อนแรง อาจเป็นอาการของโรคโปลิโอ
หายใจลำบาก เพราะอาจมีปัญหาการหายใจล้ม
เหลว ต้องนั่งโน้มตัวไปด้านหน้า และมีน้ำลายไหลตลอดเวลา อาจเป็นอาการของโรคฝาปิดกล่องเสียงอักเสบซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
ชัก เพื่อหาสาเหตุของการชักและป
้องกันไม่ให้ชักรุนแรงจนมีภาวะสมองบวมตามมา
วิธีการวัดไข้ที่มีมาตรฐานเ
ป็นที่ยอมรับมี 4 วิธี คือ ทางปาก (เฉพาะเด็กโตที่ร่วมมือโดยการอมไว้ใต้ลิ้น ในเด็กเล็กทำไม่ได้เพราะอาจเสี่ยงกับการกัดปรอทแตก) ทางทวาร (ในเด็กเล็ก) ทางรักแร้ (ต้องระวังปรอทแก้วแตก หากเด็กดิ้นมาก) และทางหู 
เครื่องมือวัดไข้มี 3 แบบ คือ แบบปรอท แบบดิจิตอล และแบบวัดทางหู ( ส่วนการใช้แถบวัดแปะที่หน้า
ผากหรือแบบจุกหลอกให้เด็กดูดเป็นวิธีที่ไม่แม่นยำ ไม่แนะนำให้ใช้ ) แบบปรอทมีราคาถูก แต่ต้องใช้เวลานานในการวัด เช่น หากวัดทางปากหรือทางทวารใช้เวลานาน 2 นาที และถ้าเด็กมีอาการคัดจมูก ทำให้ต้องหายใจทางปาก อาจต้องนานถึง 4 นาที ทางรักแร้ใช้เวลานาน 5 นาที และต้องระมัดระวังการแตกหักเนื่องจากเป็นแก้ว แบบดิจิตอลใช้เวลาในการวัดเพียง 10-60 วินาที แต่มีราคาแพงกว่าและต้องระวังเรื่องความแม่นยำหากเครื่องวัดมีแบตเตอรี่อ่อน แบบวัดทางหูมีราคาแพงที่สุด ใช้ในเด็กอายุ 3 เดือนขึ้นไป เด็กเล็กกว่า 3 เดือนใช้ไม่ได้เนื่องจากรูหูเล็กเกินไป ใช้เวลาสั้นเพียง 1-3 วินาที ถ้ามีขี้หูอุดตันจะไม่แม่นยำ 
ในกรณีที่ไข้ไม่สูงหรือรอได
้ เพื่อความแม่นยำ ควรรอประมาณ 30 นาทีให้เด็กสงบหลังการออกแรงหรือร้องไห้มาก หลังการอาบน้ำ หรือหลังการทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็นจัดในกรณีที่เป็นการวัดทางปาก
การแปลผล หากวัดทางทวาร ถือว่ามีไข้เมื่ออุณหภูมิมา
กกว่า 38°C (100.4°F) ทางปากเมื่อมากกว่า 37.5°C ( 99.5°F) ทางรักแร้เมื่อมากกว่า 37.3°C (99°F)
วิธีลดไข้
เป้าหมายของการลดไข้ คือ ช่วยให้เด็กสุขสบายขึ้น อาการปวดหัว ปวดตัวลดลง งอแงน้อยลง นอนหลับพักผ่อนได้ และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะชั
กจากไข้สูงในรายที่มีความเสี่ยง นอกจากนี้ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคไต โรคซีด การมีไข้ทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น จนอาจเกิดปัญหาการทำงานของหัวใจล้มเหลว ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับการลดไข้แก่ผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นพิเศษ แต่ถ้าไม่มีความเสี่ยงกับภาวะชักจากไข้สูง หรือไม่มีโรคประจำตัวดังกล่าว หากลูกมีไข้ต่ำ ไม่มีอาการงอแงและนอนหลับได้ดี อาจไม่จำเป็นต้องลดไข้ เพราะการบังคับให้ลูกทานยาหรือการจับเช็ดตัว อาจทำให้ร้องไห้งอแงมากขึ้น 
ยาลดไข้มี 3 ประเภทคือ 
พาราเซตามอล (Paracetamol) ขนาดยา 10-20 มก./กก./
ครั้ง ทุก 4-6 ชม. ไม่มีฤทธิ์กัดกระเพาะอาหาร จึงทานได้ขณะ ท้องว่าง ขนาดยาที่มากเกินไปเป็นพิษกับตับ คำแนะนำที่เตือนว่าไม่ควรใช้ยาต่อเนื่องเกิน 5 วัน เป็นการเตือนให้ผู้ใช้ยาควรพบหมอเพื่อหาสาเหตุของไข้ จะได้รับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป การทานยาลดไข้ไม่ใช่การแก้ที่ต้นเหตุ เป็นเพียงบรรเทาอาการไข้เท่านั้น แต่หากได้รับการตรวจจากหมอจนทราบสาเหตุของไข้แล้ว บางครั้งการเป็นโรคบางอย่างอาจมีไข้หลายวัน การใช้ยาลดไข้นานเกิน 5 วัน ในขนาดยาที่ถูกต้อง ก็ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด
ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) หรือยาลดไข้สูง ใช้ได้ในเด็ก 6 เดือนขึ้นไป ขนาดยา 5-10 มก./กก./
ครั้ง ทุก 6 ชม. หากให้ยาพาราเซตามอลแล้วไข้ไม่ลด อาจเสริมยาชนิดนี้ได้ในระหว่างมื้อยาของพาราเซตามอล ในกรณีที่ยังไม่ครบ 4 ชม.จากการให้ยาครั้งสุดท้าย แต่เนื่องจากยามีฤทธิ์กัดกระเพาะอาหาร จึงห้ามทานขณะท้องว่าง และทำให้เลือดออกง่าย จึงห้ามทานในรายที่มีปัญหาเลือดออกง่าย เช่น ไข้เลือดออก 
แอสไพริน (Aspirin) ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี เพราะอาจเกิด Reye syndrome หากใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็น
โรคไข้หวัดใหญ่ หรือโรคสุกใส ( Reye syndrome เป็นภาวะที่อันตรายมากเพราะจะทำให้เสียชีวิตจากตับและสมองทำงานผิดปกติอย่างรุนแรง) และทำให้มีเลือดออกง่ายเหมือนยาไอบูโปรเฟน
การปรับอุณหภูมิห้องให้เย็น
สบาย มีอากาศถ่ายเท ไม่จำเป็นต้องเปิดแอร์ แต่หากเปิด ใช้อุณหภูมิ 26-28°C ไม่เย็นเกินไปจนหนาวสั่น ใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนออกได้ง่าย ไม่ห่มผ้าหนาๆ โดยมีความเชื่อว่าถ้ามีเหงื่อออกแล้วจะทำให้ไข้ลดเร็วขึ้น เพราะจะทำให้ไข้ขึ้นสูงจนชักได้ 
ดูแลให้ดื่มน้ำมากๆ เพราะหากร่างกายขาดน้ำจะทำใ
ห้ไข้สูงมากขึ้น 
การเช็ดตัว โดยผ้าชุบน้ำธรรมดา หรืออุ่นเล็กน้อย ห้ามใช้น้ำเย็นหรือแอลกอฮอล
 เพราะจะทำให้เส้นเลือดฝอยที่ผิวหนังหดตัว ระบายความร้อนออกไม่ได้ มีอาการหนาวสั่นและไข้สูงมากขึ้น เวลาเช็ดตัวให้ถอดเสื้อผ้าออกให้หมดแล้วคลุมส่วนที่ยังไม่ได้เช็ดด้วยผ้าห่มบางๆ ให้เปิดเช็ดทีละส่วน ให้เช็ดย้อนทิศทางการไหลของเลือด ไม่ควรเช็ดแบบถูแรงๆ เพราะเด็กจะเจ็บ เน้นตำแหน่งซอกคอ ใบหน้า ท้อง ข้อพับแขน หลังเข่า และวางผ้าชุบน้ำตามตำแหน่งที่เป็นซอกแขน ขาหนีบ จะช่วยดึงความร้อนออกจากเส้นเลือดได้มาก ในกรณีที่เด็กไม่ยอมให้เช็ดตัว แต่ไข้สูงมาก ให้ยาแล้วยังไม่ลดลง ให้พาเด็กอาบน้ำได้ โดยใช้วิธีให้เด็กนั่งในอ่าง แล้วใช้ฝักบัวเปิดน้ำเบาๆ ราดน้ำอุ่นเล็กน้อยไปตามตัว แล้วรีบเช็ดตัวให้แห้ง ควรปิดแอร์และพัดลมขณะทำการเช็ดตัวลดไข้ เพราะทำให้มีอาการหนาวสั่นได้
การวางผ้าเย็นหรือเจลลดความ
ร้อนบริเวณหน้าผาก ไม่ได้ช่วยให้ไข้ลดลงมาก เนื่องจากเจลช่วยดูดซับความร้อนเฉพาะที่ตำแหน่งที่วางเจลหรือผ้าเย็น ไม่สามารถดึงความร้อนทั้งหมดออกจากร่างกาย แต่มีประโยชน์ช่วยบรรเทาอาก
ารปวดศีรษะจากไข้ได้
 
 
 
 



25.เมื่อลูกไม่สบาย

"ควรปรึกษาแพทย์ ก่อนให้ยาลูกเอง"
"วิธีการวัดไข้"
"ทำไมเวลาป่วยจึงมีไข้"
"การปรึกษาปัญหาทางโทรศัพท์"
วิธีรักษาแผลเป็นในเด็ก..ทำอย่างไร ?
"การดูแลด้านจิตใจเมื่อลูกป่วย"
"การป้องกันการแพร่เชื้อ เมื่อคุณหรือลูกป่วย"
ให้ลูกกินยาโดยไม่จำเป็น อันตรายมากไหม
ฟันน้ำนมผุ ต้องรักษาไหม ?
ลูกเป็นหวัด ดูแลอย่างไร ?
ลูกกินยายาก ป้อนยาลูกอย่างไรดี ?
วิธีป้อนยากรณีลูกกินยายาก
การดูแลเมื่อลูกเป็นไข้
ข้อควรปฏิบัติเมื่อต้องพาลูกหาหมอ
คลิปวิดิโอ
การดูแลเมื่อลูกเป็นหวัด