ReadyPlanet.com
ardo calypso
dot
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : ข้อควรปฎิบัติ
dot
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 1
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 2
bulletวิธีเลือกกุมารแพทย์ให้ลูก
bulletก่อนคลอด
bulletสิ่งที่ต้องทำเมื่ออยู่ ร.พ.
bulletหลังคลอด
bulletท่าในการให้นม
bulletBreast Crawl
bulletความคาดหวังของลูกน้อย
bulletบันทึกการให้นมลูก
bulletวิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง
bulletสัมผัสรักระหว่างแม่ลูก
bulletโรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
bulletแบบสอบถาม
dot
ปัญหาเรื่อง นมแม่
dot
bulletวิธีแก้ปัญหานมไม่พอ
bullet"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ
bulletนมพอหรือไม่
bulletเมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)
bulletอาหารเพิ่มน้ำนม
bulletวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม
bulletWorkshop เพิ่มน้ำนม (new)
bulletยาประสระน้ำนม
bulletDomperidone (Motilium)
bulletยาเพิ่มน้ำนม Motilium
bulletคำเตือนสำหรับการใช้ยา Domperidone
bulletน้ำหนักตัวเพิ่มช้า
bulletน้ำหนักตัวน้อย
bulletเจ็บหน้าอก หัวนมแตก
bulletการบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม
bulletลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า
bulletตัวเหลือง
bulletสารพันปัญหา
บริจาคนมแม่
dot
เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
dot
bullet20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน
bulletมาทำ stock น้ำนม กันเถอะ
bulletวิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
bulletจะให้ลูกกินอะไรเมื่อแม่ไปทำงาน
bulletวิธีเก็บรักษานมแม่
bulletต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?
bulletโปรแกรมคำนวณนมแม่
bulletยาคุมกำเนิด
dot
คุณแม่นักปั๊ม
dot
bulletการปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม
bulletปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
bulletข้อคิดก่อนซื้อ ที่ปั๊มนม
bulletเพิ่มน้ำนมภายใน 14 วันแรก
bulletเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
bulletซื้อเครื่องปั๊มที่ไหนดี
bulletปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี
bulletเรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
bulletถุงเก็บน้ำนมแม่
dot
กลเม็ดเคล็ดลับ
dot
bulletวิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new)
bulletบีบด้วยมือ vs ปั๊มด้วยเครื่อง
bullet10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี
bulletนอนให้นม...สบายมากๆ เลย
bulletอุปกรณ์เสริม ช่วยแม่ให้นมลูก
bulletมุมให้นมแม่
bulletวิธีพาสเจอร์ไรซ์นมแม่
dot
ปัญหาที่พบไม่บ่อย
dot
bulletลิ้นติด (Tongue Tie)
bulletเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่
bulletต้องการถามปัญหาอื่นๆ
bulletทำไมทารกร้องไห้โยเย
dot
หนังสือแนะนำ
dot
bulletขอรับหนังสือนมแม่ฟรี
bulletการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletสร้างชีวิตมหัศจรรย์ด้วยน้ำนมแม่
bulletนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก
bullet เคล็ดลับ...แม่มือใหม่ "นมแม่"
bulletเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletพัฒนาสมองด้วยนมแม่...
bulletGuide to Breastfeeding
dot
แหล่งข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่
dot
bulletคลินิกนมแม่ทั่วประเทศ
bulletนมแม่ แน่ที่สุด
bulletศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
bulletคลีนิครัก
bulletศริริราชออนไลน์
bulletสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
bulletwww.breastfeeding.com
bulletPromom
bulletรักลูก
bulletLa Leche League
bullet4woman
bulletMother & Child Health
bulletWABA
bulletBreastfeedingonline
bulletDr. Sears
bulletbreastfeedingbasics
bulletwebboard
bulletkellymom
bulletDr. Jack Newman
bulletInfact
bulletgotbreastpump
bulletNew Beginnings
bulletโครงการสายใยรัก
bulletศูนย์ข้อมูล สสส
bulletUNICEF
bulletbreastfeedingmadesimple
bullethm4hb
bulletLactation Narration
bulletNormalFed
dot
Brainfeeding
dot
bulletเก็บมาฝาก
bulletIf we don't care, who will?
bullet๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา
bulletสัมภาษณ์ ดร. อาจอง ชุมสาย ฯ
bulletคนดีของพ่อ
bulletเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้รู้
bulletคุยกับประภาส
dot
Sponsor Link
dot
bulletbfdcenter
bulletร้านนมแม่
bulletศูนย์รวมฟิล์มทุกชนิด
bulletV-Kool
bulletSuvarnabhumi Airport Hostel
bulletBussaba Bangkok Boutique Hotel Suvarnabhumi Airport
bulletbeing-mom
bulletมีลูกยาก
bulletSite Map
ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี whisper
unimom allegro
ardo calypso
Ardo Carum
bulletนมแม่


ร้านนมแม่-เครื่องปั๊มนม


ทีวีส่งผลอะไรบ้างต่อลูกคุณ

 

แปลและเรียบเรียงจาก How TV Affects Your Child โดย Mary L. Gavin จากเว็บไซต์ www.kidshealth.org

 

ทุกวันนี้ เด็กๆ ส่วนใหญ่เริ่มต้นดูทีวีตั้งแต่อายุน้อยลงเรื่อยๆ ข้อมูลจากงานศึกษาของสหรัฐอเมริการะบุว่า 70% ของสถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนในสหรัฐฯ เปิดทีวีเป็นประจำ  โดยเฉลี่ยแล้ว ปีหนึ่งๆ เด็กอเมริกันส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 900 ชั่วโมงในโรงเรียน และอีกเกือบ 1,023 ชั่วโมงอยู่หน้าจอทีวี

 

ข้อมูลจากสถาบันกุมารแพทย์ของอเมริกา (AAP) ระบุว่า เด็กชาวอเมริกันดูทีวีวันละประมาณ 4 ชั่วโมง ทั้งๆ ที่ AAP เคยออกคำเตือนว่า เด็กอายุเกิน 2 ขวบ ไม่ควรดูทีวีเกินวันละ 1-2 ชั่วโมง และรายการที่ดูก็ควรเป็นรายการที่เหมาะสมสำหรับเด็ก

 

ตามคำแนะนำเดียวกันนี้ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบไม่ควรรับชม “ภาพจากจอ” (ไม่ว่าจะเป็นทีวี ดีวีดีหรือวิดีโอ คอมพิวเตอร์ หรือวิดีโอเกม) โดยสิ้นเชิง เพราะช่วง 2 ปีแรก เป็นช่วงเวลาที่สำคัญยิ่งสำหรับพัฒนาการทางสมอง ทีวีจะเป็นตัวขัดขวางการสำรวจค้นคว้า การเรียนรู้ และช่วงเวลาของการมีปฏิสัมพันธ์รวมถึงการเล่นกับพ่อแม่และบุคคลอื่นๆ อันเป็นกิจกรรมซึ่งล้วนแล้วแต่มีส่วนช่วยให้เด็กเล็กๆ สามารถพัฒนาทักษะต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตทางปัญญา ร่างกาย สังคม และอารมณ์

 

ผลการวิจัยชี้ว่า การให้เด็กดูทีวีมากเกินไปส่งผลเสียอย่างมากคือ

  • เด็กที่ใช้เวลาอยู่หน้าจอทีวีวันละมากกว่า 4 ชั่วโมง มีแนวโน้มจะมีน้ำหนักล้นเกิน
  • เด็กที่ได้เห็นฉากของความรุนแรง (เช่น การลักพาตัว หรือการฆาตกรรม) มีแนวโน้มจะเชื่อว่าโลกใบนี้น่าหวาดกลัว และสิ่งเลวร้ายจะเกิดขึ้นกับพวกเขา
  • ผลการวิจัยระบุว่า ทีวีย้ำเน้นเรื่องการแบ่งแยกทางเพศ และชาติพันธุ์

 

เมื่อพิจารณาถึงทางแก้ปัญหานี้ หลายฝ่ายที่ทำงานกับเด็กก็ยังมีความคิดเห็นแตกต่างกันไป หลายคนสนับสนุนให้เพิ่มเวลารายการด้านการศึกษาให้มากขึ้น ขณะที่อีกหลายคนมองว่าสภาพแวดล้อมที่ปลอดจากทีวีน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด บางคนเสนอว่าจะเป็นการดีกว่า ถ้าพ่อแม่จะคอยควบคุมเวลาดูทีวีของลูกๆ และสอนให้เด็กๆ รู้ว่าทีวีเป็นเพียงสิ่งให้ความบันเทิงชั่วครั้งชั่วคราว มิใช่ถาวร

 

ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณต้องคอยตรวจตราเนื้อหาของรายการทีวี และจำกัดเวลาดูของลูกๆ เพื่อจะมั่นใจได้ว่าลูกของคุณไม่ได้ใช้เวลาอยู่หน้าจอทีวีมากเกินไป แทนที่จะได้ทำกิจกรรมอื่น เช่น เล่นกับเพื่อน ออกกำลังกาย และอ่านหนังสือ

 

ความรุนแรง

 

ผลการวิจัยชี้ว่า โดยเฉลี่ยแล้ว เด็กอเมริกัน (อายุต่ำกว่า 18 ปี) ได้เห็นฉากของความรุนแรง 200,000 ฉากทางทีวี ฉากเหล่านี้บางครั้งกระตุ้นการเลียนแบบ เพราะแสดงและส่งเสริมว่าการทำเช่นนี้สนุกและมีประสิทธิภาพในการได้มาซึ่งสิ่งที่เราต้องการ

 

AAP ยังชี้ว่า สถานการณ์ความรุนแรงหลายครั้งมักเกิดจาก “พระเอกหรือคนดี” ในเรื่องด้วยซ้ำไป ซึ่งยิ่งเป็นการส่งเสริมให้เด็กถือเป็นแบบอย่าง แม้ว่าพ่อแม่จะพร่ำสอนลูกๆ ไม่ให้ตีคนอื่น แต่ทีวีกลับบอกว่าการตี กัด หรือเตะคนอื่นนั้นเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าเราเป็นคนดี และที่สำคัญ “คนเลว” อย่างในทีวีนั้นสมควรแล้วที่จะได้ถูกกระทำเช่นนั้น

 

นอกจากนี้ ภาพที่เด็กซึมซับจากทีวียังสร้างรอยแผลและความไม่มั่นคงในจิตใจของพวกเขา ข้อมูลจากการวิจัยระบุว่า เด็กอายุ 2-7 ขวบรู้สึกหวาดกลัวภาพตัวละครที่น่าพรั่นพรึง เช่น ปิศาจหน้าตาน่าเกลียด การบอกกับลูกว่าตัวละครเหล่านั้นไม่มีอยู่จริง ไม่ได้ช่วยปลอบประโลมเด็ก เพราะเด็กๆ ไม่สามารถแบ่งแยกระหว่างโลกที่เป็นจริงกับโลกจินตนาการ

 

เด็กๆ อายุ 8-12 ปี รู้สึกขวัญเสียกับภัยคุกคามจากความรุนแรง ภัยธรรมชาติ และการตกเป็นเหยื่อของเด็กๆ ไม่ว่าภาพเหล่านั้นจะเป็นเพียงเรื่องสมมติ ข่าว หรือรายการที่อิงกับเรื่องจริงก็ตาม การอธิบายเหตุผลอาจพอช่วยได้สำหรับเด็กวัยนี้ ดังนั้นคุณจึงต้องให้ความมั่นใจและให้ข้อมูลที่เป็นจริงเพื่อช่วยบรรเทาความหวาดกลัวของลูกๆ  อย่างไรก็ตาม คุณควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกดูรายการที่มีภาพซึ่งอาจทำให้แกหวาดกลัว

 

พฤติกรรมที่น่าเป็นห่วง

 

ทีวีมักเต็มไปด้วยรายการและโฆษณาที่แสดงพฤติกรรมสุ่มเสี่ยง เช่น แสดงให้เห็นว่าการมีเพศสัมพันธ์หรือการใช้ยาเสพติดเป็นเรื่องเท่ สนุก และน่าตื่นเต้น นอกจากนี้ มักไม่มีการพูดถึงผลที่ตามมาจากการดื่มสุรา เสพยาเสพติด สูบบุหรี่ และมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

 

ตัวอย่างเช่น งานศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า วัยรุ่นที่ดูรายการทีวีซึ่งเต็มไปด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ มีแนวโน้มจะสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองหรือมีกิจกรรมทางเพศเร็วกว่าเพื่อนวัยเดียวกันที่ไม่ได้ดูรายการพวกนี้

 

แม้ว่าโฆษณาบุหรี่จะถูกสั่งห้ามเผยแพร่ทางโทรทัศน์ แต่บรรดาเด็กๆ และวัยรุ่นก็ยังคงเห็นตัวละครในรายการทีวีหรือภาพยนตร์สูบบุหรี่กันทั่วไป (ในอเมริกา) การโฆษณาแฝงด้วยวิธีนี้ทำให้พฤติกรรมไม่ดีบางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่และการดื่มสุราเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ อันที่จริง เด็กที่ดูทีวีวันละมากกว่า 5 ชั่วโมงขึ้นไป มีแนวโน้มจะเริ่มต้นสูบบุหรี่เร็วกว่าเด็กที่ดูทีวีน้อยกว่าวันละ 2 ชั่วโมง ดังที่แนะนำไว้

 

โรคอ้วน

 

บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพได้เตือนมานานแล้วว่า การดูทีวีมากเกินไปมีส่วนสัมพันธ์กับโรคอ้วน อันเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในยุคปัจจุบัน ขณะดูทีวี เด็กๆ ย่อมไม่ได้เคลื่อนไหวและมีแนวโน้มจะหาของขบเคี้ยว นอกจากนี้ เด็กๆ ยังถูกกระหน่ำด้วยข้อความโฆษณามากมายที่ส่งเสริมให้รับประทานอาหารที่ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ เช่น มันฝรั่งกรอบ และเครื่องดื่มที่เต็มไปด้วยน้ำตาล จนสิ่งเหล่านี้กลายเป็นอาหารว่างประจำของพวกเขา

 

การรับชมรายการทีวีทางการศึกษามากเกินไปก็มีผลกระทบทางอ้อมต่อสุขภาพของเด็กๆ เช่นกัน ถึงแม้เด็กจะดูรายการทีวีเพื่อการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นเวลา 4 ชั่วโมง แต่ในอีกแง่หนึ่งก็หมายความว่า เด็กเหล่านั้นไม่ได้ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ พูดคุยกับคนอื่นๆ หรือไม่ได้ใช้เวลาเล่นกลางแจ้งเลย

 

โฆษณา

 

จากข้อมูลของ AAP เด็กชาวอเมริกันชมโฆษณา 40,000 ชิ้นต่อปี โฆษณาดังกล่าวนี้มีตั้งแต่อาหารขยะและของเล่น ไปจนถึงรายการส่งเสริมการขายที่น่าสนใจ ข้อความการตลาดที่ส่งถึงเด็กๆ ทุกเพศทุกวัย ที่สำคัญ สำหรับพวกเด็กๆ แล้ว อะไรๆ ในโฆษณาก็ดูยอดเยี่ยมไปหมด กลายเป็นสิ่งที่พวกแกจะต้องมีให้ได้ โฆษณาเหล่านี้ล้วนดึงดูดใจ และบ่อยครั้งก็ดูดีเกินจริง

 

สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 8 ขวบ พวกเขายังไม่เข้าใจว่าโฆษณามีไว้เพื่อขายสินค้า เด็ก 6 ขวบหรือต่ำกว่านั้นไม่สามารถแยกแยะระหว่างเนื้อหารายการทีวีกับโฆษณา โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าตัวละครที่พวกแกชื่นชอบเป็นผู้โฆษณาสินค้านั้น แม้แต่เด็กที่อายุมากกว่านี้ก็จำเป็นต้องได้รับการเตือนว่านี่เป็นการโฆษณา

 

แน่นอนว่าการหลีกเลี่ยงโฆษณาโดยสิ้นเชิง อาจยากที่จะเป็นไปได้ ดังนั้น สิ่งที่คุณทำได้ก็คือ สอนเด็กๆ ให้เป็นผู้บริโภคที่ฉลาดด้วยการพูดคุยถึงสิ่งที่แกคิดเกี่ยวกับโฆษณาที่กำลังเผยแพร่ ขณะดูทีวีร่วมกัน ถามคำถามที่กระตุ้นให้คิด เช่น “ลูกชอบอะไรในนั้น” “ลูกคิดว่ามันดีอย่างที่เห็นในโฆษณาหรือเปล่า” และ “ลูกคิดว่านี่เป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพไหม”

 

นอกจากนี้ คุณควรอธิบายกับลูกๆ ว่า โฆษณานั้นออกแบบมาเพื่อกระตุ้นให้คนเราเกิดความต้องการในสิ่งที่ไม่จำเป็น และบ่อยครั้งที่โฆษณาทำให้เราคิดว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะทำให้เรามีความสุขมากขึ้น ซึ่งไม่เป็นความจริงเลย การพูดคุยกับลูกๆ ถึงข้อเท็จจริงในเรื่องเหล่านี้จะช่วยให้พวกแกมองเห็นแง่มุมต่างๆ มากขึ้น

 

คุณอาจจำกัดการดูโฆษณาของเด็ก ได้ด้วยการอัดเทปรายการที่อนุญาตให้ลูกดูเอาไว้ (โดยไม่มีโฆษณา) หรือ

ซื้อหรือเช่าวิดีโอหรือดีวีดีมาให้เด็กดูแทน

 

การสอนเด็กๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ดีในการดูทีวี

 

แนวทางต่อไปนี้ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ได้จริงเพื่อให้การดูทีวีของครอบครัวคุณให้คุณมากกว่าโทษ:

1. จำกัดเวลาดูทีวี - ควรวางทีวีไว้ในห้องที่มีสิ่งบันเทิงอื่นๆ ที่ไม่ใช่จอสี่เหลี่ยม (เช่น หนังสือ นิตยสารสำหรับเด็ก ของเล่น เกมปริศนา กระดานหมากรุก เป็นต้น) เพื่อส่งเสริมให้ลูกๆ ของคุณทำอย่างอื่นนอกจากดูทีวี

2. ไม่ควรมีทีวีในห้องนอนลูก

3. ปิดทีวีในระหว่างรับประทานอาหาร

4. ไม่อนุญาตให้ลูกดูทีวีไป ทำการบ้านไป

5. ทำให้การดูทีวีเป็นเหมือนสิทธิพิเศษที่คุณยอมอนุญาตให้ลูกบางครั้งบางคราว แต่ไม่ใช่สิทธิ์ที่พวกแกต้องได้เสมอไป บอกกับลูกๆ ว่า พวกแกจะดูทีวีได้ก็ต่อเมื่อทำการบ้านและงานบ้านเสร็จหมดแล้ว

6. ทดลองหยุดทีวีสักสัปดาห์หนึ่ง – ลำพังแค่การงาน งานบ้าน และอื่นๆ ก็มากพอจนคุณแทบจะหาเวลาพิเศษของครอบครัวไม่ได้อยู่แล้ว คุณจึงควรเก็บออมเวลาดูทีวีมาไว้สำหรับการอยู่พร้อมหน้ากันของครอบครัวเพื่อรับประทานอาหารร่วมกัน เล่นเกม ทำกิจกรรมกลางแจ้ง และอ่านหนังสือจะดีกว่า

7. เป็นตัวอย่างที่ดี โดยการจำกัดเวลาดูทีวีของคุณเอง

8. ดูรายการทีวีที่จะให้ลูกดูเสียก่อน

9. กำหนดตารางเวลาการดูทีวีของครอบครัวในแต่ละสัปดาห์ซึ่งทุกคนในครอบครัวเห็นพ้องด้วยและติดตารางเวลาไว้ในบริเวณที่เห็นชัด (เช่น หน้าตู้เย็น) เพื่อให้ทุกคนรู้ว่า รายการใดที่สามารถดูได้และในเวลาใด และต้องแน่ใจว่าจะไม่มีใครเปิดทีวีในเวลาอื่น

10. ดูทีวีร่วมกับลูก ถ้าคุณไม่สามารถดูทีวีจนจบรายการ ก็ให้ดูช่วงสองสามนาทีแรกเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ทราบว่ารายการนั้นเหมาะสมหรือไม่ หรือคอยเช็คดูเป็นระยะๆ ตลอดรายการ

11. พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับสิ่งที่พวกแกเห็นบนจอทีวี และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและค่านิยม (สำหรับเด็กโต) ถ้ามีอะไรที่คุณไม่เห็นด้วยปรากฏขึ้นบนหน้าจอ คุณอาจปิดทีวีและใช้โอกาสนี้ถามคำถามที่กระตุ้นให้ลูกคิด เป็นต้นว่า “ลูกคิดว่าเหมาะสมไหมที่คนเหล่านั้นจะใช้กำลัง พวกเขาน่าจะทำอะไรได้อีกไหม ถ้าเป็นลูก ลูกจะทำยังไง”  คุณสามารถใช้ทีวีอธิบายถึงสถานการณ์ที่สร้างความสับสน หรือเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน (เช่น เรื่องเพศ ความรัก สุรา การสูบบุหรี่ ฯลฯ) สอนลูกคุณให้รู้จักตั้งคำถามและเรียนรู้จากสิ่งที่เห็นจากทีวี

12. พูดคุยกับพ่อแม่ท่านอื่นๆ หรือคุณครูที่โรงเรียนเกี่ยวกับนโยบายการดูทีวีของพวกเขา และรายการสำหรับเด็กที่เหมาะสมในทัศนะของพวกเขา

13. เสนอกิจกรรมบันเทิงอื่นๆ แทนการดูทีวี เช่น กิจกรรมกลางแจ้ง กีฬา อ่านหนังสือ การทำงานฝีมือหรืองานอดิเรก ฟังเพลง หรือเต้นรำ ฯลฯ กิจกรรมสนุกๆ นอกเหนือจากการดูทีวีนั้นมีไม่จำกัด ถ้าคุณจะใช้ความพยายามสักหน่อย ดังนั้นจงปิดทีวีและรื่นรมย์กับช่วงเวลาอันแสนวิเศษที่คุณและลูกๆ จะได้ทำอะไรร่วมกัน

 

ช่วยกันส่งคำขอบคุณให้แม่นกด้วยนะคะ ที่อุตส่าห์แปลบทความดีๆ มาฝากค่ะ 


ชื่อ :
email :
คำขอบคุณ :



เก็บมาฝาก

ญาติผู้ใหญ่กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
น้ำนมแม่ดีที่สุด!
เด็กไทยกับวัคซีน 1 ชีวิต 33 เข็ม มากมั้ย ? article
วัคซีน ไอพีดี article
นมแม่ในโรงงาน
5 ข้อดีที่คุณไม่เคยรู้ของการที่ลูกตื่นมากินนมตอนกลางคืนบ่อย ๆ
คุณพ่อเชิญทางนี้
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว: ความเชื่อหรือคลื่นกระแสนิยม?
ถ้อยแถลงของ ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน เรื่อง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ article