
![]() | รวมบทความแก้ปัญหานมไม่พอ คำว่า"นมน้อย" หรือ "นมไม่พอ" ของแต่ละคนนั้น เวลาพูดเหมือนจะเป็นปัญหาเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปัญหาของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน สาเหตุและวิธีแก้ไขก็แตกต่างกัน |
![]() | ทำไมแม่ที่ให้ลูกดูดเต้าถึงปั๊มนมได้น้อย คุณแม่ที่ให้ลูกดูดเต้าเป็นหลัก กับคุณแม่ที่ปั๊มนมอย่างเดียวโดยไม่ให้ลูกดูดนั้นจะมีความแตกต่างกันมากในเรื่องของปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้ |
![]() | น้ำนมไม่พอ...ปัญหายอดนิยม![]() ไม่ใช่เฉพาะแม่ๆ บ้านเราหรอกนะคะที่บ่นเรื่องนมไม่พอ ลองอ่านเรื่องจริงของคุณแม่ท่านนี้ดู จะได้เป็นกำลังใจให้ทุกคนสู้เพื่อลูกค่ะ |
![]() | ความสำเร็จในการกลับมาให้นมแม่อีกครั้ง![]() มีคุณแม่หลายท่านที่ให้นมผสมไปแล้ว และอยากกลับมาให้นมแม่อีกครั้ง แต่ไม่มั่นใจว่าจะทำได้หรือเปล่า นี่เป็นตัวอย่างจริงของผู้ที่ทำได้สำเร็จค่ะ.. |
![]() | ทำไมทารกร้องไห้โยเย ไม่มีอะไรซับซ้อน ทารกร้องไห้โยเยด้วยสาเหตุเดียวกับผู้ใหญ่ คือ เขารู้สึกเจ็บปวด (ไม่ทางกายก็ทางใจ) หรือเขาต้องการอะไรบางอย่าง |
![]() | ลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า?![]() อาการท้องเสียมักไม่ค่อยเกิดกั |
![]() | ท่อน้ำนมอุดตัน เป็นที่น่าเสียดายมาก ที่ยังมีคุณหมอไม่ทราบวิธีรักษาฝีที่เต้านม ซึ่งเกิดจากท่อน้ำนมอุดตันที่เกิดขึ้นนานเกิน 1 สัปดาห์ จนทำให้ก้อนที่เต้านมกลายเป็นฝี ถ้าก้อนเป็นมาไม่นานเกิน 1 สัปดาห์ ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ท่อน้ำนมอุดตันหลุดออก ก็จะไม่เกิดฝีขึ้นมา
|
![]() | ท่อน้ำนมตัน อาการเต้านมเป็นก้อนซึ่งเกิดจากการอุดตันของไขมันที่ได้จากอาหารที่คุณแม่รับประทานเข้าไป ถ้าคุณแม่รับประทานอาหารที่มีไขมันมากและอาหารที่หวานจัด เช่น ข้าวขาหมูเน้นพ่อค้าว่าเอาหนังและมันเยอะๆ หรือทุเรียน มะม่วงสุก สิ่งเหล่านี้ทำให้ร่างกายมีไขมันสะสมสูงและไขมันดังกล่าวจะไปเกาะอยู่ตามท่อน้ำนมของคุณแม่ |
![]() | ก้อนแข็งที่เต้านม-เต้านมอุดตัน เป็นลักษณะของท่อน้ำนมอุดตัน (blocked duct) จะ เป็นก้อนที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งของเต้านม โดยไม่ได้เป็นทั้งเต้า ผิวหนังที่บริเวณเหนือก้อน กดเจ็บ และอาจจะบวมแดงด้วย |
![]() | รวมปัญหาเกี่ยวกับหัวนม การให้นมแม่ไม่ควรเจ็บปวด ความเจ็บปวดอาจเกิดขึ้นในช่วงแรกแต่จะค่อยๆหายเจ็บทีละน้อยและหายเจ็บในที่สุด การงับหัวนมที่ผิดวิธีและท่าอุ้มให้นมที่ผิดเป็นสาเหตุหลักของอาการเจ็บหัวนม เนื่องจากเด็กอาจงับลานนมได้ไม่ลึกพอจึงดูดเพียงบริเวณหัวนมซึ่งทำให้เจ็บ |
![]() | อูยยย... เจ็บหัวนม![]() คุณแม่หลายคนได้สัมผัสกับความสุขที่ได้ให้ลูกดูดกินน้ำนมจนกอกตนเอง แต่บางท่านอาจต้องเจอกับเรื่องเจ็บหัวนมจนรู้สึกอยากยกธงขาวเอาดื้อๆ อย่าเพิ่งท้อนะคะ เพราะคุณสามารดูแลไม่ให้ลุกลามและรุนแรงได้ วันนี้เรามาคุยกันสักนิดก่อนที่เจ้าตัวเล็กจะต้องอดนมแม่ไป
|
![]() | หัวนมแตก ทำอย่างไร![]() หัวนมแตกคืออาการของหัวนมที่เจ็บแตก มาจากการจัดท่าทางการดูดนมของลูกไม่ถูกต้อง ทำให้ลูกอมไม่ลึกไปถึงลานนม เวลาดูดแล้วไม่ได้น้ำนม เลยหันมาเคี้ยวหัวนมแทน แถมบางครั้งก็ถูล้างหัวนมจนผิวแห้งแตกเป็นแผล ซึ่งเป็นสาเหตุนำไปสู่เต้านมอักเสบได้นะคะ |
![]() | ลูกของฉันดูดนมไม่เป็น อลิดูดนมไม่เป็น เธอยอมดูดนมจากเต้าในช่วงสองสามวันแรก แต่ดูดได้ไม่ดีนักจนทำให้มีอาการขาดน้ำ และต่อจากนั้นก็เริ่มปฏิเสธที่จะดูดนมแม่ แม่ของเธอปั๊มนมป้อนให้โดยใช้ขวดและพยายามให้นมจากเต้าต่อ แต่ไม่สำเร็จ |
![]() | หย่านมแม่อย่างไรดี![]() รบกวนขอปรึกษา ว่าจะหยุดนมแม่ด้วยวิธีใดดี เนื่องจากตอนนี้ลูกอายุ 2 ขวบ 4 เดือนแล้ว แต่ยังไม่ยอมเลิกนมแม่ มีคนแนะนำให้ใช้บอระเพ็ดทาหัวนมเพื่อเวลาลูกดูดแล้วขมและจะเลิกไป |
![]() | ลูก 2 เดือน ไม่ค่อยชอบดูดนมแม่![]() ดิฉันเพิ่งมีลูกคนแรก และเลี้ยงลูกเอง ตอนนี้ลูกอายุได้เกือบสองเดือนแล้ว เลี้ยงลูกด้วยนมผสมและนมแม่ไปพร้อมกัน เนื่องจากการผ่าคลอดทำให้มีน้ำนมมาช้าไปห้าวันหลังคลอด และต้องพาลูกเดินทางหลังจากนั้นสองอาทิตย์ จึงทำให้ไม่สะดวกในการให้ลูกดูดนมตัวเอง กอรปกับสามีตามใจลูก ไม่อยากให้บังคับลูกให้หัดดูดนมจากเต้านมแม่ในสองสามอาทิตย์ แต่ก็พยายามให้ลูกดูดนมแม่บ่อยๆ แต่มีความรู้สึกว่าลูกจะปฏิเสธบ่อยๆโดยเฉพาะเวลาที่หิวหรือโมโห คงเป็นเพราะน้ำนมไหลไม่แรงเหมือนดูดจากจุกนมยาง จะทำอย่างไรดีให้ลูกหันมาดูดนมจากเต้านมแทนคะ และลูกมีอาการเหมือนท้องผูก เพราะอุจจาระแข็งมาก ไม่ทราบว่าอายุลูกเท่านี้จะให้ทานน้ำผลไม้ได้หรือเปล่า |
![]() | ลูกอายุ 20 วัน น้ำนมแห้งไป จะทำอย่างไรดี![]() ในช่วงให้นมลูก คุณต้องพยายามดูแลร่างกายตนเองให้ดี ทานอาหารและน้ำ รวมทั้งพักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้ไม่สบาย ลดความวิตกกังวล พยายามให้ลูกดูดนมบ่อยๆ (ต้องดูดให้ถูกวิธีด้วย) หลีกเลี่ยงการให้นมผสม ช่วงแรกๆ อาจจะเหนื่อยมาก เพราะลูกจะต้องการดูดนมแม่ตลอดเวลา แต่เมื่อร่างกายเราปรับการผลิตน้ำนมได้เพียงพอกับที่ลูกต้องการแล้ว ทุกอย่างจะดีขึ้น ในช่วงของการปรับตัวนี้ เป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างแม่กับลูก ซึ่งต้องใช้เวลา อาจจะเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน แต่มันจะดีขึ้นเรื่อยๆ |
![]() | จะทำอย่างไรถ้าแม่ผลิตน้ำนมไม่พอ หรือน้ำหนักตัวลูกไม่เพิ่มตามเกณฑ์?![]() การที่คุณแม่ผลิตน้ำนมไม่พอนั้น มักเกิดจากความผิดพลาดในความสมดุลย์ระหว่าง ความต้องการ และอัตราการผลิตน้ำนม (Demand and Supply balance)อย่าลืมกฎว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนเสบียงและความต้องการ ( Law of supply and demand ) คุณแม่ควรให้ลูกดูดนม บ่อยขึ้น อย่างน้อยทุก 1 หรือ 2 ช.ม. บางครั้งอาจต้องปลุกลูกขึ้นมาถ้าลูกนอนตอนกลางวันนานกว่า 3 ชม ลูกอาจดูดนมแค่นิดหน่อย แต่การดูดแม้จะน้อยก็สามารถกระตุ้นการสร้างน้ำนมได้
|
![]() | ต้องให้นมขวดเสริมหรือเปล่า?![]() การเอาขวดนมให้ลูกดูดในช่วงแรกๆนั้น จะทำให้ลูกรู้สึกสับสน หรือเลือกเอาหัวนมอย่างใดอย่างหนึ่ง อันจะมีผลเสียต่อการผลิตน้ำนม หากไม่มีเหตุผลใดที่จะให้ลูกดูดนมจากเต้าได้แล้วละก็ เราไม่ควรให้ลูกดูดขวดนมเลยในช่วง 3 ถึง 4 สัปดาห์แรก แม้จะเป็นขวดที่ใส่แค่น้ำก็ตาม |
![]() | ควรจะให้ลูกดูดบ่อย(และนาน)แค่ไหน?![]() ความจริงแล้วไม่มีกฏตายตัวว่าจะต้องให้ลูกดูดนมทั้งสองเต้าทุกครั้ง หากลูกดูดข้างเดียว แล้วรู้สึกว่าพอ ครั้งต่อไป คุณแม่ก็เอานมอีกข้างให้ลูกดูดก็ได้ บางครั้งนั้นลูกอาจอยากดูดนมแม่ไม่ใช่ว่าเพราะหิว แต่เพราะอยากแนบสนิทกับแม่ และเพราะอยากที่จะรู้สึกอบอุ่นเท่านั้น โดยทั่วไปแล้ว ลูกจะดูดนมทุกๆ 2 หรือ 3 ชั่วโมง ครั้งละ 5 ถึง 15 นาที |
![]() | การเตรียมตัวและแก้ไขหัวนมผิดปกติ![]() วิธีแก้ไขหัวนมที่มีปัญหา เช่น หัวนมสั้น บอด แบน บุ๋ม ควรได้รับการแก้ไขตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ เพื่อภายหลังคลอดจะสามารถให้ลูกดูดนมได้ ทำได้ 2 วิธี |
![]() | หัวนมบอดหรือหัวนมบุ๋ม ก็ไม่เป็นปัญหา![]() ”หัวนมของดิฉันยื่นออกมาไม่มากนัก แล้วอย่างนี้ดิฉันจะให้นมแม่ได้สำเร็จหรือคะ?”หากคุณกำลังสงสัยว่าหัวนมบอดหรือบุ๋มหรือไม่ ก็เพียงแต่ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้คีบบริเวณลานนมขึ้นมา (วงกลมสีคล้ำรอบหัวนม) หัวนมปกติจะยื่นออกมา ถ้าหัวนมไม่ยื่นออก นั่นแสดงว่าหัวนมแบน ส่วนหัวนมบุ๋ม หัวนมจะหดเข้าข้างใน อย่างไรก็ดี ไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไรถ้าหัวนมคุณบอดหรือบุ๋มข้างหนึ่ง ส่วนอีกข้างนั้นปกติ
|
![]() | จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกได้รับนมพอเพียง?![]() คุณแม่จะรู้สึกคัดเต้านมก่อนให้นมลูก และรู้สึกหายคัดหลังจากลูกดูดนมแล้ว ขณะที่ลูกดูดนมอยู่นั้นอาจมีน้ำนมไหลซึมออกมาจากเต้านมอีกข้างหนึ่งด้วย คุณแม่จะรู้สึกได้ว่าลูกดูดนมแรง และได้ยินเสียงลูกกลืน คุณแม่หลายคนจะรู้สึกเสียวๆเวลาน้ำนมพุ่งเข้าปากลูกที่ดูดอยู่ บ่อยครั้งที่ลูกจะดูดนมจนหลับไป แสดงได้ชัดว่าลูกดูดนมจนอิ่มแล้ว บางครั้งลูกดูดนมจนไม่ดูดแล้ว คุณแม่ก็คิดว่าลูกดูดพอ แต่พอจับลูกให้นอนกลับร้องหานมอีกอย่างนี้ไม่ได้หมายความว่าน้ำนมแม่ไม่พอ ลูกอาจมีความรู้สึกอยากให้อุ้ม ไม่อยากนอนที่นอนก็ได้ คุณแม่บางคนพบว่าการใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายเป้เอาลูกอุ้มไว้กับตัวจะได้ผลดีมาก และคุณแม่ก็สามารถทำภาระกิจต่างๆได้โดยไม่รู้สึกไม่สะดวกเท่าไร |
![]() | ทำไมลูกจึงอยากดูดนมตลอดเวลา?![]() ช่วงที่ร่างกายของลูกมีการเจริญเติบโตเร็วนั้น ลูกจะดูดนมมาก เพื่อเป็นการตอบสนอง การเจริญเติบโตนี้ บางครั้งทารกสามารถมีการโตตัวยาวขึ้นได้ถึง 1.5 ซม ใน 24 ชม ก็ไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่า ลูกจะต้องการนมมากเป็นพิเศษในช่วงนี้ คุณแม่ควรให้ลูกดูดนมมากเท่าที่ลูกต้องการ ไม่มีข้อจำกัด ตัวคุณแม่เองก็จะสร้างน้ำนมมากขึ้นตามความต้องการของลูก |
![]() | เมื่อไรจึงจะเริ่มมีน้ำนม?![]() ระยะก่อนที่จะมีน้ำนมปรกติเกิดขึ้นนั้น ลูกจะไม่อด ไม่ขาดอาหาร เพราะแม่จะสร้าง "นมน้ำเหลือง" อันมีประโยชน์มากเหลือเกินสำหรับลูก นมน้ำเหลืองนี้ จะมีสารโปรตีนมากเป็นสามเท่าของนมธรรมดา และเป็นสารอาหาร ที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับวันแรกๆหลังคลอด |
![]() | ควรให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวนานเท่าใดกันแน่ 4 หรือ 6 เดือน?![]() แต่เดิมนั้น แพทย์มักจะแนะนำให้ทารกกิน นมแม่ อย่างเดียว 4 เดือนแรก เนื่องจากพบว่าถ้าให้อาหารหรือน้ำส้มคั้นตั้งแต่ 2-3 เดือนแรก ทารกจะมีปัญหาเรื่องท้องเสีย ติดเชื้อง่ายกว่า และเจริญเติบโตพัฒนาด้อยกว่าทารกที่ได้ นมแม่ อย่างเดียว 4 เดือน องค์การอนามัยโลกจึงแนะนำให้ทารกได้กิน นมแม่ อย่างเดียว 4เดือนเต็มก่อน ตั้งแต่ประมาณสิบกว่าปีที่ผ่านมา |
![]() | ขนาดนั้นสำคัญไฉน![]() บางคนเข้าใจว่า หน้าอกหน้าใจขนาดบิ๊กไซส์อาจจะให้ปริมาณน้ำนมได้เยอะกว่าขนาดมินิ แต่ในความเป็นจริงแล้วขนาดน่ะ ไม่ได้มีผลต่อปริมาณน้ำนมซักนิดเลยล่ะค่ะ ในเมื่อขนาดของหน้าอกมิได้เกี่ยวกับปริมาณการผลิตน้ำนม แล้วน้ำนมที่เยอะหรือน้อยของคุรแม่แต่ละคนขึ้นอยู่กับอะไรล่ะ ? |
![]() | แม่ที่ให้นมลูกควรรับประทานอาหารอะไร?![]() ความจริงแล้ว ไม่มีกฎตายตัวสำหรับการรับประทานอาหารเท่าไร ขอให้เป็นอาหารที่มีคุณค่า และได้สมดุลย์ทางโภชนาการเท่านั้น จะว่าไปแล้ว อาหารที่เหมาะสมสำหรับช่วงให้นมลูก ก็เหมือนกับอาหารที่เหมาะสมสำหรับตอนตั้งครรภ์อย่างไรอย่างนั้น ร่างกายของคุณแม่ที่ให้นมลูกนั้นจะมีประสิทธิภาพในการจัดการกับแคลอรี่ที่รับเข้าไปได้ดีมากทีเดียว ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่ จะต้องรับประทานอาหารให้มากกว่าธรรมดา |
![]() | เต้านมอักเสบ![]() เต้านมอักเสบเกิดจากท่อน้ำนมถูกอุดกั้น หรือขาดการระบายออกจนท่อรับภาระไม่ไหว จึงบวมแข็ง ซึ่งการที่น้ำนมขังอยู่ในท่อและเต้านมมากๆ นี้ เกิดจากลูกดูดนมน้อยเกินไป หรือไม่บ่อยพอ ประกอบกับการสร้างน้ำนมมีมาก และไม่ถูกขับออก พอขังนานๆ เข้าท่อก็เต็มแน่น จนมีอาการปวดบวมแดง ร้อนกันเป็นทิวแถว การเกิดน้ำนมขังนี้ นอกจากจะทำให้เนื้อเยื่อบวมอักเสบแล้วยังพาให้การผลิตน้ำนมหยุดชะงักชั่วคราวเนื่องจากไม่มีที่เก็บน้ำนมอีกด้วยค่ะ |
![]() | น้ำหนักตัวน้อย และ กราฟแสดงการเจิญเติบโต สิ่งแรกที่พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับกราฟแสดงการเติบโต คือ กราฟแสดงการเติบโตเป็นการเปรียบเทียบ “น้ำหนัก” ของลูกของคุณกับเด็กคนอื่น ๆ แต่ไม่ได้เปรียบเทียบ “ความมีสุขภาพดี” |
![]() | เวลาที่แม่ไม่สบาย จะทำให้ลูกติดโรคจากนมแม่หรือไม่ ภาวะการไม่สบายของแม่มีตั้งแต่การเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น เป็นหวัด ท้องเสีย เชื้อโรคไม่ออกทางน้ำนมค่ะ ไม่ต้องหยุดให้นมลูก และไม่ควรหยุดด้วยเพราะหากหยุดอาจทำให้ลูกมีอาการมากกว่าการที่ยังได้ดูดนมแม่ |
![]() | ยาเพิ่มน้ำนม Domperidone ดอมเพอริโดน (Domperidone หรือ Motilium) เป็นยาซึ่งมีผลข้างเคียงช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการเพิ่มปริมาณฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) ที่ต่อมใต้สมองผลิตขึ้น โปรแลคตินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นให้เซลล์ในเต้านมของแม่ผลิตน้ำนม ดอมเพอริโดนมีส่วนช่วยเพิ่มฮอร์โมนโปรแลคตินทางอ้อม โดยเข้าไปขัดขวางกระบวนการทำงานของโดพามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารที่มีผลยับยั้งการผลิตโปรแลคตินของต่อมใต้สมอง |
![]() | นมแม่ เปลี่ยนสี เปลี่ยนรสได้ จริงรึ![]() น้ำนมแม่โดยปกติจะเป็นสีขาวนะคะ แต่ในวันแรกๆ หลังคลอดคุณแม่อาจจะมีสีของน้ำนมออกไปทางเหลือง เหลืองส้ม อันนี้ก็เป็นเรื่องปกติธรรมดา เพราะคอลอสตรัม หรือที่เรียกว่าหัวน้ำนม จะมีพวกสารเบต้าโรทีนหรือวิตามินเออยู่เยอะก็เลยกลั่นออกมากับน้ำนมด้วย ซึ่งพอนานๆ ไปก็จะค่อยๆ จางกลับมาเป็นสีขาวตามปกติได้เองค่ะ
|
![]() | เคล็ดลับให้นมลูกได้ แม้แม่ต้องไปทำงาน![]() ถ้าพบว่าปริมาณน้ำนมที่บีบออกมาได้น้อย ให้กลับไปดูเรื่องความบ่อย และระยะเวลาในการดูดหรือปั๊มนม อย่าลืมทฤษฎีดูดนาน ดูดบ่อยก็มีน้ำนมมาก อย่ากังวลเกินไป เดี๋ยวน้ำนมหดหมด หาเวลาพักผ่อน กินอาหารที่มีประโยชน์ ทำจิตใจให้ผ่องใส แค่นี้ก็หมดปัญหาแล้วค่ะ |
![]() | เตรียมหัวนมอย่างไรก่อนคลอด![]() การเตรียมดูแลเต้านมก่อนคลอดไม่มีอะไรยุ่งยากค่ะ หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือดูแลตามปกติเพราะหัวนมถูกเตรียมมาโดยธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงในระหว่างตั้งครรภ์อยู่แล้ว คือตรงบริเวณเต้านมจะมีเลือดมาเลี้ยงเยอะ มีความนุ่มนวลที่เกิดจากต่อมไขมันที่เกิดขึ้นบริเวณหัวนม ทำให้ตรงบริเวณนั้นนุ่มขึ้น แล้วก็มีความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อรอบๆ หัวนม อันเนื่องมาจากการทำงานของฮอร์โมน เพราะฉะนั้นหัวนมของแม่ถูกธรรมชาติสร้างและเตรียมมาให้อยู่แล้ว เราไม่ต้องดูแลอะไรเป็นพิเศษมากมาย |
![]() | ลูกไม่ดูดเต้า ถ้าเราปั๊มนมอย่างเดียว นมจะแห้งไหม![]() คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าน้ำลายของลูกนั้นสามารถบอกกับเต้าแม่ได้ว่า ขณะนี้ลูกต้องการอะไร ถ้าลูกมีเชื้อโรค เต้าแม่ก็จะตอบสนองด้วยการผลิตน้ำนมที่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคนั้นได้ แม่ที่ปั๊มนมใส่ขวดให้ลูกจะพลาดสิ่งนี้ไปอย่างน่าเสียดาย |
![]() | ในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้หรือไม่![]() การให้ลูกกินนมแม่ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานในวัยผู้ใหญ่ของลูก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้นมแม่แก่ลูก เพราะทารกที่มีประวัติในครอบครัวเป็นเบาหวาน จะมีโอกาสเป็นเบาหวานมากขึ้นหากได้รับโปรตีนนมวัว ข้าวหรืออาหารอื่นๆก่อนอายุ 4 เดือน ปัจจุบันมีการแนะนำให้ทารกกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ กินนมแม่อย่างเดียวในระยะ 6 เดือน และหลีกเลี่ยงการได้รับนมวัว (นมวัวผสม) ในระยะดังกล่าว |
![]() | ทำไมลูกที่กิน นมแม่ จึงไม่ค่อยท้องเสีย![]() นมแม่ เป็นอาหารธรรมชาติ สะอาด และย่อยง่ายมีสารที่ช่วยให้ลำไส้แข็งแรงสารภูมิต้านทานในน้ำนมแม่จะช่วยจับกินและสลายเชื้อโรครวมทั้งมีสารช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่ก่อให้เกิดโรคในลำไส้ เช่น แลคโตแบซิลไล ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดท้องเสีย หากมีเชื้อโรค เช่นแบคทีเรียที่หลุดเข้ามาในลำไส้ของลูก จึงลดโอกาสติดเชื้อในลำไส้ |
![]() | ทำไม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ได้![]() การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยเฉพาะการให้ลูกได้กิน นมแม่ อย่างเดียวในระยะ 4-6 เดือน จะช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ได้จริง เพราะโปรตีนของ น้ำนมแม่ เป็นโปรตีนไม่แปลกปลอมจึงไม่ก่อให้เกิดการแพ้ แต่ถ้าเป็นนมผสม(นมวัว) จัดเป็นโปรตีนแปลกปลอม จะสามารถผ่านเชลล์เยื่อบุลำใส้ได้ง่าย เพราะช่วงอายุนี้เซลล์ดังกล่าวยังอยู่ห่างกัน น้ำย่อยอาหารยังทำงานไม่เต็มที่ และสารภูมิคุ้มกันที่คอยดักจับสารแปลกปลอมยังไม่พัฒนาดีพอ โปรตีนแปลกปลอมจึงมีโอกาสเล็ดลอดเข้าไปกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ง่ายแต่ถ้าได้รับ นมแม่ นอกจากจะมีโปรตีนชนิดที่ทำให้ไม่เกิดการแพ้แล้วยังมีสารภูมิคุ้มกันใน นมแม่ ที่จะไปเคลือบเยื่อบุลำไส้ ทำให้ไม่แพ้ |
![]() | เคยเห็นเด็กกินนมผสมก็ฉลาดและมีพัฒนาการที่ดี ดูแล้วไม่น่าแตกต่างกับการกิน นมแม่![]() เป็นความจริงที่ทารกที่กินนมผสมก็ฉลาดและมีพัฒนาการที่ดี เนื่องจากความฉลาดและเชาวน์ปัญญาเป็นผลของพันธุกรรมประมาณ 50 % และเป็นเรื่องของการเลี้ยงดูประมาณ 50%การที่เด็กกินนมผสมบางราย มีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ฉลาด อาจเป็นเพราะได้รีบการถ่ายทอดพันธุกรรมที่ดีจากพ่อแม่ แม้จะขาดสารอาหารที่สำคัญหลายอย่างที่มีใน นมแม่ อีกทั้งการกระตุ้นการพัฒนาสมอง ก็ช่วยให้สติปัญญาดีได้ แต่หากได้รับ นมแม่ ก็จะทำให้มีสติปัญญาที่ดียิ่งขึ้นไปอีก |
หน้า 1/1 1 | [Go to top] |