
5 อันดับสุดยอดเครื่องปั๊มนม Hospital Grade ระดับ World Class ที่ดีที่สุดในโลก 5 อันดับสุดยอดเครื่องปั๊มนม Hospital Grade ระดับ World Class ที่ดีที่สุดในโลก คุณแม่มือใหม่ที่กำลังหาซื้อเครื่องปั๊มนม อาจจะงงๆ ว่าเครื่องปั๊มนม Hospital Grade คืออะไร ทำไมยี่ห้อไหนๆ ก็บอกว่าของตัวเองเป็น Hospital Grade กันทั้งนั้น ตกลงมันมีมาตรฐานไหม ก่อนอื่นต้องบอกว่า เครื่องปั๊มนมจัดเป็นเครื่องมือแพทย์ชนิดหนึ่ง ที่ต้องได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการใช้ แต่เนื่องจากประเทศไทยเราไม่มีองค์กรหรือหน่วยงานใดที่เป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดมาตรฐานสำหรับเครื่องปั๊มนมจริงๆ มีแต่อย.ที่ทำหน้าที่ออกใบอนุญาตนำเข้าเท่านั้น ทำให้ทุกบริษัทต่างก็สามารถอ้างว่าเครื่องของตัวเองนั้นเป็นเกรดโรงพยาบาลได้ตามใจชอบ ข้อกำหนดในการออกใบอนุญาตนำเข้าเครื่องปั๊มนมของ อย.ไทย นั้นใช้เพียง Certificate of Free Sale หมายความว่า หากในประเทศผู้ผลิต อนุญาตให้ขายผลิตภัณฑ์นั้นๆ ในประเทศของตน ประเทศของเราก็อนุญาตด้วยอัตโนมัติ นั่นหมายความว่า หากในประเทศผู้ผลิตจัดเครื่องปั๊มนมเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า มาตรฐานที่เขาอนุญาตก็เป็นมาตรฐานของเครื่องใช้ไฟฟ้านั่นเอง ในขณะที่ เครื่องปั๊มนมสำหรับใช้ในโรงพยาบาลในต่างประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น มีมาตรฐานและข้อกำหนดสำคัญ (The Regulation of Medical Device) คือ แรงดูดต้องไม่เกิน 250 mmHg หรือ 330 mbar เพราะถ้าเกินกว่านั้น จะทำให้ร่างกายบาดเจ็บได้ และต้องมีกรวยปั๊มที่เป็นระบบปิดเพื่อป้องกันเชื้อโรคและสิ่งสกปรกผ่านเข้าสู่น้ำนม นอกจากนี้เครื่องปั๊มนมที่ได้มาตรฐานนั้น ยังต้องผลิตโดยผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ โดยมีองค์กรมาตรฐานสากลอย่าง CE หรือ TUV SUD ให้การรับรอง ใน Class ของ Medical Device หรือเครื่องมือแพทย์ ไม่ใช่เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปั๊มนมนับร้อยรุ่นที่เห็นทั่วไปตามท้องตลาดบ้านเราในเวลานี้นั้น ส่วนใหญ่จะผลิตโดยโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าจากประเทศจีน และใช้การทำการตลาดสร้างแบรนด์ให้ดูน่าเชื่อถือ โดยที่คุณภาพจริงนั้นไม่ได้มาตรฐานสากล ทำให้มีคุณแม่จำนวนไม่น้อยต้องได้รับบาดเจ็บจากการใช้เครื่องเหล่านั้น เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่า 5 อันดับสุดยอดเครื่องปั๊มนม Hospital Grade ระดับ World Class ที่ทั่วโลกยอมรับกันนั้นมีรุ่นไหนบ้าง อันดับ 5 Medela Lactina (เมดีล่า แลคติน่า) รุ่นนี้เป็นรุ่นเก่าแก่ที่ยังพอเห็นอยู่บ้างในโรงพยาบาลใหญ่ๆ นะคะ ผลิตโดยบริษัท Medela AG จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่ปี 1988 ก็ 30 ปีมาแล้วนะคะ แรงดูด 100-240 mmHg (75-320 mbar) รอบดูด 40-60 ครั้ง/นาที แต่ด้วยที่ใช้ระบบการทำงานแบบกระบอกสูบ (Piston) ทำให้การปั๊มค่อนข้างนุ่มนวล เสียงเงียบ แล้วก็ทนทานมากๆ ค่ะ ใช้กันเป็น 10 ปีสบายๆ น้ำหนัก 2.4 kg ราคาอยู่ที่ประมาณ 50,000 บาทค่ะ อันดับ 4 Ameda Elite (อมีด้า เอลีท) รุ่นนี้ผลิตโดยบริษัท Ameda ซึ่งมีต้นกำเนิดมานานกว่า 70 ปีโดยวิศวกรชาวสวีเดน สำหรับรุ่น Elite เริ่มจำหน่ายครั้งแรกในปี 1993 ใช้ระบบการทำงานแบบกระกอกสูบ (Piston) เช่นเดียวกัน แรงดูด 0-250 mmHg (0-330 mbar) น้ำหนัก 3 kg ราคาประมาณ 73,000 บาท อันดับ 3 Mamivac Sensitive C (มามิแวค เซนสิทีฟ ซี) รุ่นนี้เป็นของเยอรมันค่ะ ผลิตโดยบริษัท KaWeCo GmbH ที่มีประวัติยาวนานกว่า 40 ปี เช่นกันค่ะ สำหรับ Sensitive C นี้ผลิตจำหน่ายครั้งแรกในปี 2009 ระบบการทำงานเป็นแบบ Diaphragm Pump โหมดกระตุ้น แรงดูด 45-150 mmHg (60-200 mbar) รอบดูดคงที่ 100 ครั้ง/นาที ส่วนโหมดปั๊ม แรงดูด 45-250 mmHg (30-330 mbar) รอบดูด 20-48 ครั้ง/นาที น้ำหนักเบาที่สุด 0.79 kg ราคา 30,000 บาท อันดับ 2 Medela Symphony รุ่นนี้เป็นของ Medela เช่นกันค่ะ เป็นรุ่น upgrade มาจาก Lactina เครื่องปั๊มนมรูปทรงคล้ายๆ หม้อหุงข้าวรุ่นนี้ เป็นรุ่นที่เห็นบ่อยในโรงพยาบาลใหญ่ๆ เริ่มมีหน้าจอ LED แล้วค่ะ ระบบการทำงานเป็นแบบ Diaphragm Pump โหมดกระตุ้น แรงดูด 48-195 mmHg (65-260 mbar) รอบดูดคงที่ 120 ครั้ง/นาที ส่วนโหมดปั๊ม แรงดูด 48-250 mmHg (65-330 mbar) รอบดูด 54-78 ครั้ง/นาที น้ำหนัก 2.9 kg ราคา 85,000 บาท อันดับ 1 Ardo Carum รุ่นนี้ผลิตโดย Ardo Medical AG จากสวิตเซอร์แลนด์ บ้านเกิดเดียวกับ Medela เลยค่ะ Carum เลือกใช้ระบบการทำงานของกระบอกสูบเพื่อความนุ่มนวล สาเหตุที่ Carum เป็นสุดยอดนวัตกรรมใหม่ของเครื่องปั๊มนมก็เพราะ Carum สามารถปรับแรงดูดและรอบดูดได้อย่างอิสระ ทำให้สามารถเลียนแบบการดูดของทารกได้อย่างแท้จริง รวมทั้งยังมี Sensitive Programme ที่ให้แรงดูดที่นุ่มนวลและเบามาก แม้กระทั่งเต้านมที่ได้รับบาดเจ็บมาก่อนก็สามารถปั๊มได้ โดยไม่ทำให้เจ็บ เป็นเครื่องที่ออกแบบมาเพื่อกระตุ้น Colostrum โดยเฉพาะ และยังมีฟีเจอร์ DropZone ที่เป็นช่วงที่แรงดูดจะหยุดชั่วขณะอย่างนุ่มนวลขณะที่แรงดูดถึงจุดที่ตั้งไว้ ซึ่งจะช่วยให้การไหลของน้ำนมเป็นไปอย่างต่อเนื่อง รุ่นนี้เรียกว่าเป็น โรลสรอยซ์ของเครื่องปั๊มนมก็ว่าได้ค่ะ โหมดกระตุ้น แรงดูด 23-112 mmHg (30-150 mbar) รอบดูด 72-120 ครั้ง/นาที ส่วนโหมดปั๊ม แรงดูด 23-250 mmHg (30-330 mbar) รอบดูด 30-60 ครั้ง/นาที น้ำหนัก 3 kg ราคา 120,000 บาท ------------------------------------- Tag: ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี, ปั๊มไฟฟ้า ยี่ห้อไหนดี 2020, ปั๊มไฟฟ้า ยี่ห้อไหนดี 2563, ปั๊มไฟฟ้า ยี่ห้อไหนดี 2562,เครื่องปั๊มนม ยี่ห้อไหนดี,เครื่องปั๊มนม รุ่นไหนดี, ปั๊มนมไม่เจ็บ, รีวิวเครื่องปั๊มนม, Ardo, Unimom, Rumble Tuff, Spectra S1, Youha, Malish, Brusta, Attitude Mom Galaxy, mirror light, โค้ชนมแม่, นมน้อย, นมไม่พอ, ปั๊มนมไม่ออก, ปั๊มแล้วเจ็บ, กู้น้ำนม, นวดเปิดท่อ, นวดเคลียร์เต้า, นวดเพิ่มน้ำนม, เครื่องปั๊มนมรุ่นไหนดี, ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี |