ReadyPlanet.com
ardo calypso
dot
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : ข้อควรปฎิบัติ
dot
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 1
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 2
bulletวิธีเลือกกุมารแพทย์ให้ลูก
bulletก่อนคลอด
bulletสิ่งที่ต้องทำเมื่ออยู่ ร.พ.
bulletหลังคลอด
bulletท่าในการให้นม
bulletBreast Crawl
bulletความคาดหวังของลูกน้อย
bulletบันทึกการให้นมลูก
bulletวิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง
bulletสัมผัสรักระหว่างแม่ลูก
bulletโรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
bulletแบบสอบถาม
dot
ปัญหาเรื่อง นมแม่
dot
bulletวิธีแก้ปัญหานมไม่พอ
bullet"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ
bulletนมพอหรือไม่
bulletเมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)
bulletอาหารเพิ่มน้ำนม
bulletวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม
bulletWorkshop เพิ่มน้ำนม (new)
bulletยาประสระน้ำนม
bulletDomperidone (Motilium)
bulletยาเพิ่มน้ำนม Motilium
bulletคำเตือนสำหรับการใช้ยา Domperidone
bulletน้ำหนักตัวเพิ่มช้า
bulletน้ำหนักตัวน้อย
bulletเจ็บหน้าอก หัวนมแตก
bulletการบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม
bulletลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า
bulletตัวเหลือง
bulletสารพันปัญหา
บริจาคนมแม่
dot
เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
dot
bullet20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน
bulletมาทำ stock น้ำนม กันเถอะ
bulletวิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
bulletจะให้ลูกกินอะไรเมื่อแม่ไปทำงาน
bulletวิธีเก็บรักษานมแม่
bulletต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?
bulletโปรแกรมคำนวณนมแม่
bulletยาคุมกำเนิด
dot
คุณแม่นักปั๊ม
dot
bulletการปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม
bulletปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
bulletข้อคิดก่อนซื้อ ที่ปั๊มนม
bulletเพิ่มน้ำนมภายใน 14 วันแรก
bulletเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
bulletซื้อเครื่องปั๊มที่ไหนดี
bulletปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี
bulletเรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
bulletถุงเก็บน้ำนมแม่
dot
กลเม็ดเคล็ดลับ
dot
bulletวิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new)
bulletบีบด้วยมือ vs ปั๊มด้วยเครื่อง
bullet10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี
bulletนอนให้นม...สบายมากๆ เลย
bulletอุปกรณ์เสริม ช่วยแม่ให้นมลูก
bulletมุมให้นมแม่
bulletวิธีพาสเจอร์ไรซ์นมแม่
dot
ปัญหาที่พบไม่บ่อย
dot
bulletลิ้นติด (Tongue Tie)
bulletเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่
bulletต้องการถามปัญหาอื่นๆ
bulletทำไมทารกร้องไห้โยเย
dot
หนังสือแนะนำ
dot
bulletขอรับหนังสือนมแม่ฟรี
bulletการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletสร้างชีวิตมหัศจรรย์ด้วยน้ำนมแม่
bulletนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก
bullet เคล็ดลับ...แม่มือใหม่ "นมแม่"
bulletเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletพัฒนาสมองด้วยนมแม่...
bulletGuide to Breastfeeding
dot
แหล่งข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่
dot
bulletคลินิกนมแม่ทั่วประเทศ
bulletนมแม่ แน่ที่สุด
bulletศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
bulletคลีนิครัก
bulletศริริราชออนไลน์
bulletสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
bulletwww.breastfeeding.com
bulletPromom
bulletรักลูก
bulletLa Leche League
bullet4woman
bulletMother & Child Health
bulletWABA
bulletBreastfeedingonline
bulletDr. Sears
bulletbreastfeedingbasics
bulletwebboard
bulletkellymom
bulletDr. Jack Newman
bulletInfact
bulletgotbreastpump
bulletNew Beginnings
bulletโครงการสายใยรัก
bulletศูนย์ข้อมูล สสส
bulletUNICEF
bulletbreastfeedingmadesimple
bullethm4hb
bulletLactation Narration
bulletNormalFed
dot
Brainfeeding
dot
bulletเก็บมาฝาก
bulletIf we don't care, who will?
bullet๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา
bulletสัมภาษณ์ ดร. อาจอง ชุมสาย ฯ
bulletคนดีของพ่อ
bulletเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้รู้
bulletคุยกับประภาส
dot
Sponsor Link
dot
bulletbfdcenter
bulletร้านนมแม่
bulletศูนย์รวมฟิล์มทุกชนิด
bulletV-Kool
bulletSuvarnabhumi Airport Hostel
bulletBussaba Bangkok Boutique Hotel Suvarnabhumi Airport
bulletbeing-mom
bulletมีลูกยาก
bulletSite Map
ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี whisper
unimom allegro
ardo calypso
Ardo Carum
bulletนมแม่


ร้านนมแม่-เครื่องปั๊มนม


การนวดเต้านมเพื่อแก้ไขภาวะท่อน้ำนมอุดตัน

การนวดเต้านมเพื่อแก้ไขภาวะท่อน้ำนมอุดตัน

อังสนา ศิริวัฒนเมธานนท์พย.ม.1

ปาลิตา โพธิ์ตา พย.บ.2

โสภา บุตรดา พย.ม.1

อรดี โชคสวัสดิ์ พย.ม.3

ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์Ph.D. 4

 

บทคัดย่อ

ภาวะท่อน้ำนมอุดตันเป็นการอุดกั้นการไหลของน้ำนมทําให้มารดาเกิดความเจ็บปวด ไม่สุขสบายจนอาจยุติการให้นมบุตรในที่สุด การนวดเต้านมเป็นวิธีการพยาบาลที่พบว่าสามารถแก้ปัญหานี้ได้เพราะการนวดเป็นการส่งเสริมการทํางานของระบบการไหลเวียนเลือดและน้ำเหลือง เพิ่มการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อร่างกาย

นอกจากนี้การนวดเต้านมยังเป็นวิธีที่ปลอดภัย สะดวก และประหยัด เพราะมารดาหลังคลอดสามารถนวดตัวเองที่บ้านได้จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าวิธีการนวดเต้านมที่ช่วยในการแก้ไขปัญหาท่อน้ำนมอุดตันได้มี 3 วิธีคือ

1) การนวดเพื่อการบําบัด

2) การนวดเพื่อการรักษาแบบ 6 ขั้นตอน และ

3) การนวดแบบผสมผสานหรือแบบกายภาพบําบัด

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอวิธีการนวดเต้านมด้วยท่าพื้นฐาน 6 ท่าที่คลินิกนมแม่ของโรงพยาบาลบุรีรัมย์ได้ให้บริการนวดแก่มารดามาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี  โดยประยุกต์มาจากการนวดของประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบไปด้วยท่าผีเสื้อขยับปีกท่าหมุนวนปลายนิ้วท่าประกายเพชรท่ากระตุ้นท่อน้ำนมท่าเปิดท่อน้ำนมและท่าพร้อมบีบน้ำนมโดยเชื่อว่าการนวดแต่ละท่าจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทําให้ท่อน้ำนมและต่อมน้ำนมทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพและแก้ไขปัญหาท่อน้ำนมอุดตันในที่สุด 

คําสําคัญ: การนวดเต้านม ภาวะท่อน้ำนมอุดตัน การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา 

1 โรงพยาบาลบุรีรัมย์

2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชชนนี นครราชสีมาคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี

คัดลอกจาก วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2565)

บทนํา

ภาวะท่อน้ำนมอุดตัน(blockedducts หรือ plugged ducts) เป็นปัญหาในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาของมารดาส่วนใหญ่ (ร้อยละ 67) ที่มารับการรักษา1ภาวะนี้เกิดจากที่ท่อน้ำนมถูกอุดกั้น ทําให้น้ำนมระบายออกจากเต้านมไม่เพียงพอ จึงค้างอยู่ในเต้านมบางกลีบ ส่งผลให้มารดามีอาการเจ็บเต้านมผิวหนังบริเวณนั้นมีอาการแดง หากไม่ได้รับการแก้ไขก็จะพัฒนาไปสู่ภาวะเต้านมอักเสบ ติดเชื้อ หรือเป็นหนองได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากเชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีในน้ำนม2

ปัญหาต่อเนื่องจากภาวะท่อน้ำนมอุดตันนี้อาจกลายเป็นอุปสรรคต่อความสําเร็จการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่จนครบ 6 เดือนตามเป้าหมายขององค์การอนามัยโลก3ซึ่งกําหนดเป้าหมายจํานวนมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ภายในปี พ.ศ. 25684

ปัจจุบันยังไม่มีรายงานสถิติการเกิดท่อน้ำนมอุดตันในประเทศไทย แต่จากสถิติของมารดาที่มารับบริการในคลินิกนมแม่ของโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ในปี พ.ศ. 2561-2563  พบว่าจํานวนมารดาที่มีปัญหาท่อน้ำนมอุดตันเพิ่มขึ้นทุกปี คือ953 ราย, 1,033, และ 1,699 รายตามลําดับ5ความเจ็บปวด ไม่สุขสบาย จากสาเหตุต่าง ๆ รวมทั้งจากภาวะท่อน้ำนมอุดตันอาจส่งผลให้มารดายุติการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ได้6

หากปัญหาเหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมอาจทําให้มีโอกาสที่แต่ละประเทศจะไม่บรรลุเป้าหมายของWHO จะเห็นได้จากรายผลการสํารวจทั่วโลกในปี พ.ศ. 2563 พบว่าอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนมีเพียงร้อยละ 44 เท่านั้น7 และจากผลการสํารวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยล่าสุดในปีพ.ศ. 2562 พบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนมีเพียงร้อยละ 14 ซึ่งยังต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยทั่วโลกถึง 3 เท่า8  และเป็นประเทศที่มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนต่ำที่สุดของประเทศในกลุ่มอาเซียนอีกด้วย

ส่วนข้อมูลจากระบบข้อมูล Health Data Center (HDC)9 ของกระทรวงสาธารณสุข 3 ปีย้อนหลัง (2563-2565) พบว่าในภาพรวมของประเทศเด็กแรกเกิด -ต่ำกว่า 6 เดือนที่กินนมแม่อย่างเดียวมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อย คือเท่ากับร้อยละ 62.08, 62.21, และ 61.81ตามลําดับ แตกต่างจากข้อมูลของเขตสุขภาพที่ 9 ที่พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คือ เท่ากับร้อยละ 75.44, 76.41, และ 78.86 ตามลําดับ ซึ่งเป็นจํานวนที่สูงที่สุดในประเทศทั้ง 3 ปีการที่จะเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนเกือบ 4 เท่าในระยะเวลา 3 ปีเป็นความท้าทายของบุคลากรด้านสุขภาพที่ต้องส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างจริงจังด้วยการค้นหาและแก้ไขปัญหาของมารดาในระหว่างการให้นมบุตรใน 6 เดือนแรกโดยเฉพาะภาวะท่อน้ำนมอุดตัน

การนวดเต้านมจึงเป็นทางเลือกที่สําคัญในการรักษาภาวะท่อน้ำนมอุดตัน เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่สาเหตุ ลดการอุดกั้นต่อน้ำนม เพิ่มการระบายน้ำนม ช่วยบรรเทาอาการปวด และถูกนําไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มการไหลของน้ำนมอีกด้วย10

การทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับวิธีการนวดเต้านมเพื่อแก้ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พบว่าวิธีการนวดลดอาการท่อน้ำนมอุดตันมี 3 วิธี ได้แก่

1) วิธีนวดเพื่อการรักษา (Therapeutic breast massage in lactation [TBML])

2) วิธีการนวดเพื่อการรักษาแบบ 6 ขั้นตอน (Six-step  recanalization manual  therapy [SSRMT])

3)โปรแกรมการทํากายภาพบําบัด (Comprehensive treatment [CT] or physical therapy intervention)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อนําเสนอวิธีการนวดเต้านมเพื่อแก้ปัญหาท่อน้ำนมอุดตันโดยนําเสนอเนื้อหาด้านกายวิภาคของเต้านมหัวนมและลานนมกลไกการสร้างและการไหลของน้ำนม ภาวะท่อน้ำนมอุดตัน และการนวดเต้านมเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะท่อน้ำนมอุดตันสี่วิธีได้แก่ วิธี TBML, SSRMT, CT หรือ PTและวิธีการนวดเต้านมด้วยท่าพื้นฐาน 6 ท่า(Six Steps of Basic Breast Massage [SSBBM]) โดยสามวิธีแรกจะนําเสนอโดยสังเขป และวิธีที่ 4 จะนําเสนอโดยละเอียดเนื่องจากเป็นวิธีการนวดที่คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ใช้แก้ปัญหาท่อน้ำนมอุดตันของผู้รับบริการและกําลังพัฒนาให้มีประสิทธิผลเพื่อนําไปใช้แก้ไขปัญหาภาวะท่อน้ำนมอุดตันของมารดาในสถานการณ์ที่ใกล้เคียงต่อไป

 

กายวิภาคของเต้านม หัวนม และลานนม

เต้านม (Corpus Mammae) ประกอบ ด้วยต่อมน้ำนม (Alveolar) ท่อน้ำนม (Duct) และเนื้อเยื่อไขมันโดยท่อน้ำนมจะแตกแขนงเป็นฝอยส่วนปลายพองเป็นกระเปาะเรียกว่าต่อมน้ำนม น้ำนมที่สร้างภายในเซลล์ต่อมน้ำนม (Alveolar cells) จะรวมอยู่ภายในกระเปาะต่อมน้ำนม (Alveolus)

เมื่อเซลล์กล้ามเนื้อเล็ก (Myoepithelial cells) หดตัวจะบีบไล่น้ำนมให้ไหลไปตามท่อ (Ductile) และไปรวมกันที่Lactiferous duct  ซึ่งจะไปเปิดที่หัวนม ในอดีตเชื่อว่าส่วนของท่อที่ทอดผ่านบริเวณใต้ลานหัวนมจะพองออกเป็นกระเปาะเรียกว่าแอ่งเก็บน้ำนม (Lactiferoussinus) เป็นที่พักเก็บน้ำนม แต่การศึกษาปัจจุบันพบว่าไม่มีอยู่จริง3

หัวนม (Nipple)มีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 16 มิลลิเมตร ลักษณะนุ่มและลู่ไปตามรูปปากของทารก ภายในหัวนมจะมีท่อน้ำนม (Lactiferous duct) ประมาณ 15-20 ท่อ11ส่วนลานนม (Areola) มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 -2.5 เซนติเมตร

ขณะตั้งครรภ์ผิวหนังบริเวณหัวนมและลานหัวนมจะมีสีเข้มขึ้นและไม่จางไปภายหลังคลอด ในชั้นผิวหนังของหัวนมและลานหัวนมจะมีกล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle) เรียงประสานกันตามแนวรัศมีออกไปจากหัวนม และเป็นวงกลมล้อมรอบท่อน้ำนมเมื่อกระตุ้นหัวนมและลานหัวนมกล้ามเนื้อเหล่านี้จะหดรัดตัวทําให้หัวนมหดเล็กลง12

กลไกการสร้างและการไหลของน้ำนมหลังรกคลอด ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจะลดต่ำลง ในขณะที่ฮอร์โมนโปรแลคตินและออกซีโตซินจะเพิ่มสูงขึ้นทันที จึงเกิดการกระตุ้นกลุ่มเนื้อเยื่อที่ทําหน้าที่ในการสร้างน้ำนม (Alveoli) ให้สร้างและหลั่งน้ำนม13โดยกลไกหลัก 2 กลไกดังนี้

  1. ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior pituitary gland) หลั่งฮอร์โมนโปรแลคตินไปกระตุ้นให้เซลล์สร้างน้ำนมให้สร้างน้ำนมในระยะที่ 2 โดยการดูดนมของทารกจะกระตุ้นให้ระดับของโปรแลคตินเพิ่มสูงขึ้นและมีการสร้างน้ำนมอย่างต่อเนื่อง  การสร้างน้ำนมในระยะที่ 3 จะถูกควบคุมจากปริมาณน้ำนมที่ทารกดูด โดยหากทารกดูดนมออกมากจะเกิดการสร้างน้ำนมปริมาณมาก ตรงข้ามหากทารกดูดนมออกน้อยการสร้างน้ำนมก็จะน้อยลง ทั้งนี้ในน้ำนมมีสารโปรตีนที่ยับยั้งการสร้างน้ำนม เรียกว่า Feedback Inhibitor of Lactation (FIL)จะยับยั้งการสร้างน้ำนมจากเนื้อเยื่อAlveoliขณะมีน้ำนมอยู่เต็มเต้านม เมื่อมีการระบายน้ำนม สารนี้จะถูกระบายออกไปด้วยทําให้สามารถสร้างน้ำนมต่อไปได้
  2. ต่อมใต้สมองส่วนหลัง (Posterior pituitary gland) จะหลั่งฮอร์โมนออกซิโตซิน กระตุ้นเซลล์กล้ามเนื้อบริเวณต่อมน้ำนม (Myoepithelial cell) หดตัวและบีบน้ำนมจากเนื้อเยื่อ Alveoli ไหลผ่านท่อน้ำนมออกมาจนเข้าสู่ปากทารกขณะดูดนม ซึ่งการหลั่งของฮอร์โมนออกซิโตซินขึ้นกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมารดา ทําให้มีน้ำนมไหลขณะที่ทารกไม่ได้ดูดนม (Milk ejection reflex)แต่หากมารดามีความเครียดเจ็บปวดหรือมีความวิตกกังวลจะเกิดการยับยั้งการหลั่งออกซิโตซินทําให้น้ำนมไม่ไหล

 

ภาวะท่อน้ำนมอุดตัน

ภาวะท่อน้ำนมอุดตันเกิดจากการคั่งค้างของน้ำนม และการจํากัดการระบายน้ำนมซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากเต้านมคัดตึงหรือการระบายน้ำนมไม่เพียงพอ สาเหตุเบื้องต้นมาจากทั้งด้านมารดาและทารก ได้แก่ ทารกดูดนมไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากมีภาวะลิ้นติด ดูดน้อย หรือดูดไม่บ่อยพอ  มารดามีปัญหาที่หัวนม เช่น เจ็บหัวนมหรือหัวนมบอดเป็นต้นหรือมารดามีพฤติกรรมที่ส่งเสริมการเกิดภาวะนี้ เช่น สวมเสื้อผ้าที่รัดแน่น เป็นต้น2

ภาวะท่อน้ำนมอุดตันสามารถวินิจฉัยได้ด้วยการซักประวัติมารดาเกี่ยวกับสาเหตุปัจจัยเสี่ยงและประวัติการก้อนขนาดเล็กหลุดออกมาในน้ำนมและสังเกตพฤติกรรมของมารดาในการให้นมเพื่อประเมินเทคนิคการนําทารกเข้าเต้าท่อน้ำนมที่อุดตันถ้าไม่ได้รับการแก้ไขจะกลายเป็นกาแลคโตซีล (Galactocele) ซึ่งทําให้เต้านมขยายใหญ่คลําได้เป็นก้อน และมีอาการปวดเมื่อบีบเต้านมจะได้น้ำนมที่มีลักษณะเป็นครีมข้นสีขาวนวล

พยาธิสภาพของภาวะท่อน้ำนมอุดตันมี 2 ลักษณะตามที่ศิริรัตน์ เกียรติกูลานุสรณ์2 ได้อธิบายคือเมื่อเต้านมมีการสร้างน้ำนมแล้วการระบายออกไม่เพียงพอน้ำนมที่ค้างอยู่ในเต้านมจะทําให้กระเปาะของต่อมน้ำนมถูกยืดออก ท่อน้ำนมถูกกด การระบายน้ำนมจึงถูกปิดกั้นทําให้เต้านมบวม น้ำนมที่ค้างอยู่ในเต้านมเกิดเปลี่ยนแปลงระดับโมเลกุลจนหนาตัวและกลายเป็นก้อนไตแข็ง (Breast lump)ไปกดท่อน้ำนมข้างเคียงทําให้อุดกั้นไปด้วย ทําให้มารดาเกิดความรู้สึกไม่สบายที่บริเวณเต้านม เต้านมคัดตึงขยายวงกว้างมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

พยาธิสภาพอีกประการ คือ เมื่อการระบายของน้ำนมถูกปิดกั้นทําให้เซลล์ที่ทําหน้าที่ในการหลั่งน้ำนมจะถูกกดจนแบน ฉีกขาด และสูญเสียประสิทธิภาพ น้ำนมจึงถูกดูดซึมกลับส่งผลให้ต่อมน้ำนมสูญเสียโครงสร้างและไม่สามารถผลิตน้ำนมได้อีกอาการแสดงของภาวะท่อน้ำนมอุดตัน คือ มีก้อนเป็นไตแข็งเจ็บเต้านมข้างที่เป็นไตแข็งและมักจะพบผิวหนังบริเวณนั้นแดงอาจพบจุดสีขาวที่ปลายของหัวนม3ซึ่งเกิดจากการเจริญเติบโตของ Epithelium หรือการสะสมอัดแน่นของน้ำนมหรือไขมัน จุดสีขาวนี้มีความสัมพันธ์กับภาวะท่อน้ำนมอุดตัน และจะมีอาการเจ็บปวดอย่างมากเมื่อลูกดูดนม2

มารดาจะพบปัญหาความไม่สุขสบาย และอาการรบกวนที่เห็นได้ชัดเจนคือ ปวดเต้านม มีไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย คลําเต้านมได้เป็นก้อนแข็ง การไหลของน้ำนมผิดปกติไปจากเดิม เช่นน้ำนมไม่ไหล ไหลน้อยลง เป็นต้น  จากอาการดังกล่าวทําให้มารดาระยะให้นมบุตร ไม่อยากสัมผัสเต้านมทนเจ็บปวด และมีอาการมากขึ้นจนกลายเป็นเต้านมอักเสบในที่สุดการรักษาภาวะท่อน้ำนมอุดตันที่ดีที่สุด คือการป้องกัน และการป้องกันที่ดีที่สุดคือ การแนะนําให้มารดาดูแลตนเอง โดยมีหลักการสําคัญ คือ การทําให้นมเกลี้ยงเต้า การใช้ความร้อนการนวด และการพัก2

วิธีการนวดเพื่อการป้องกันแนะนําให้เป็นวิธีการที่มารดาสามารถทําได้ด้วยตนเอง เพราะมีความสะดวกสามารถทําได้ตลอดเวลาหากไม่สามารถป้องกันได้แพทย์ เทคนิคการแพทย์หรือพยาบาล อาจจะให้การรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามขอบเขตวิชาชีพของตน เช่น การประคบร้อนหรือเย็น การรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียง (Ultrasound therapy)การติดเทปแบบยืดที่หัวนม (Elastic therapeutic taping)การรักษาด้วยยาที่ช่วยละลายไขมัน เช่น Lecithin และการนวดเต้านมซึ่งมีหลายวิธีดังที่จะนําเสนอในหัวข้อต่อไป

 

การนวดเต้านมเพื่อแก้ปัญหาภาวะท่อน้ำนมอุดตัน

วัตถุประสงค์ของการนวดเต้านม ในมารดาที่มีภาวะท่อน้ำนมอุดตันคือการช่วยระบายน้ำนมที่คั่งค้างภายในท่อทางเดินน้ำนมให้เป็นปกติ  ส่งเสริมการทํางานของต่อมน้ำนม  ลดความตึงเครียดและทําให้ร่างกายผ่อนคลายวิธีนวดเต้านมโดยทั่วไปมี 2 วิธีคือการนวดด้วยตนเอง  และการนวดโดยมีผู้นวดในบทความนี้จะนําเสนอการการนวดเต้านมเพื่อลดอาการท่อน้ำนมอุดตัน4 รูปแบบ โดย 3 รูปแบบแรกเป็นวิธีการนวด

แบบ TMBL,  SSRMT,  และ CT หรือ PTT ที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมโดยศศิธาราน่วมภาและคณะ10  ซึ่งจะกล่าวถึงพอสังเขปส่วนรูปแบบที่ 4 คือวิธีการนวดเต้านมด้วยท่าพื้นฐาน 6 ท่า ([SSBBM]) ซึ่งเป็นวิธีการนวดที่ใช้ในคลินิกนมแม่ของโรงพยาบาลบุรีรัมย์นั้นจะนําเสนอแบบละเอียดเพื่อเป็นแนวทางสําหรับพยาบาลในการดูแลมารดาหลังคลอดและเป็นแนวทางในการวิจัยเพื่อพัฒนาให้วิธีการนวดนี้เกิดประสิทธิผลเนื่องจากการนําวิธีการนวดเต้านมนี้ไปใช้ในการวิจัยที่ผ่านมายังได้ผลไม่แน่นอน

 

การนวดเต้านมแบบ TMBL

การนวดวิธีนี้ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของระบบเลือดและน้ำเหลือง ซึ่งจะส่งผลต่อการลดอาการบวมของเนื้อเยื่อบริเวณเต้านมประกอบด้วยการนวดเต้านมและการบีบน้ำนม โดยปรับเปลี่ยนขั้นตอนไปตามอาการของมารดาเทคนิคการนวดจะใช้การคลึงเต้านมด้วยมือทั้งสองข้างหรือนวดด้วยหลังกําปั้นเป็นจังหวะอย่างเบามือ ส่วนเทคนิคการบีบน้ำนม ก็มี 2 วิธี คือ การบีบน้ำนมแบบพื้นฐาน และ การบีบน้ำนมร่วมกับการนวดเต้านม10

ในขั้นการเตรียมให้จัดท่ามารดาให้อยู่ในท่าที่สุขสบายซึ่งมักเป็นท่านอนหงายขณะนวดควรส่งเสริมให้ทารกดูดนมมารดาด้านตรงข้ามเพื่อช่วยระบายน้ำนมควรนวดอย่างนุ่มนวลประเมินความสุขสบายของมารดาตลอดการนวด และลดน้ำหนักมือเมื่อมารดารู้สึกไม่สุขสบาย1  ได้ทดลองใช้การนวดแบบ TBML ในมารดาที่เต้านมคัดตึงหรืออักเสบร่วมกับการฝึกมารดาให้นวดเต้านมด้วยตนเองและให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา เช่น การอุ้มบุตรดูดนม การประเมินปริมาณน้ำนมและการเกิดเต้านมคัดตึงเป็นต้น

ผลการศึกษาพบว่ามารดารับรู้ว่าอาการเจ็บปวดที่เต้านมและหัวนมลดลงมารดาส่วนมาก (ร้อยละ 65) บอกว่าการนวดมีประโยชน์สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ แม้ว่าบางคนจะกลับเป็นซ้ำอีกก็ตาม

 

การนวดเพื่อการรักษาแบบ SSRMT

วิธีการนวดนี้พัฒนาโดย Zhao et al.14  มีขั้นตอนหลักและหลักการพื้นฐาน 4 ประการ คือ

1) ประเมินก่อนการนวด

2) จัดมารดาให้อยู่ในท่านั่ง 

3) นวดเต้าข้างละ 5 นาที หากจําเป็นต้องนวดซ้ำ  ควรทําไม่เกิน 2 รอบ และควรนวดเว้นระยะห่าง 3 วัน

4) ห้ามนวดในมารดาที่มีเต้านมอักเสบติดเชื้อมีฝีที่เต้านม มีก้อนเนื้องอก หรือมีอาการบาดเจ็บที่เต้านมจากการมีเลือดคั่งหรือผิวหนังไหม้

 

ส่วนเทคนิคการนวดมี 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย

1) ขั้นเตรียมความพร้อม

2)ขั้นล้างทางออกของน้ำนม

3) ขั้นจัดการกับหัวนม

4) ขั้นกดและเหยียดลานนม

5) ขั้นกดและนวดเต้านม

6) ขั้นตรวจสอบปริมาณน้ำนมที่เหลือค้าง14

ศึกษาประสิทธิภาพของการนวดแบบ SSRMTในการรักษาภาวะท่อน้ำนมอุดตันในมารดาในระยะให้นมบุตรที่มารับการรักษาในโรงพยาบาล  จํานวน 3,491 คน แล้ววัดการตอบสนองต่อการรักษาซึ่งแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ 

ระดับที่ 1 มีการแก้ไขได้อย่างสมบูรณ์

ระดับที่ 2 อาการดีขึ้นมากหลังการแก้ไข

ระดับที่ 3 อาการดีขึ้นหลังการแก้ไข 

ระดับ 4 ไม่ตอบสนองต่อการรักษา

ผลการศึกษาพบว่าหลังจากรักษาแล้ว 1 ครั้ง มารดาส่วนมาก (ร้อยละ 91.2)  มีการตอบสนองต่อการรักษาอยู่ในระดับ 1 คือมีการแก้ไขได้อย่างสมบูรณ์

 

การนวดแบบ CT หรือ PTT

การนวดวิธีนี้เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการรักษาที่ทําในกรณีที่มารดาแก้ไขปัญหาด้วยตนเองแล้วหรือได้รับการประคบร้อนและการนวดโดยผู้เชี่ยวชาญแล้วแต่ไม่ได้ผล15โดยมี 4 ขั้นตอน คือ

1) ขั้นประคบร้อนด้วยCervicalhydro collator packs (160 F) วางตรงตําแหน่งที่มีอาการนานประมาณ 10 นาที 

2) ขั้นอัลตราซาวด์เพื่อการรักษา ด้วยความถี่ 1-MHz

3) ขั้นนวด โดยจัดท่ามารดาเป็นท่าตะแคงกึ่งหงายแล้วนวดแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนย่อย คือ (1) นวดโดยใช้มือทั้งสองข้างจับเต้านมข้างที่มีอาการแล้วเริ่มนวดจากบริเวณใกล้หัวนม คลึงเบาๆขยับไปยังหัวนม และสลับขยับออกห่างหัวนม และ (2) นวดและบีบไล่น้ำนมออกจากก้อน สันนิษฐานว่าตําแหน่งของการอุดตันจะอยู่ระหว่างก้อนและหัวนมบริเวณใต้ก้อนต้องใช้แรงกดเพื่อป้องกันน้ำนมไหลเข้าก้อนที่อุดตัน (Backed-up milk in the lump) ดังนั้นมือข้างไม่ถนัดจับก้อนส่วนมือที่ถนัดบีบน้ำนมบริเวณระหว่างก้อนและหัวนมเพื่อไล่น้ำนมที่ค้างออกจากก้อน ระหว่างการนวดอาจเกิดความเจ็บ แนะนําให้มารดาบริหารการหายใจแบบลึก (Deep breathing technique)

4) ขั้นให้ความรู้ในการดูแลเต้านม

 

วิธีการนวดเต้านมด้วยท่าพื้นฐาน 6 ท่า (SSBBM)

วิธีการนวดเต้านมนี้คลินิกนมแม่ของโรงพยาบาลบุรีรัมย์ได้ใช้เพื่อส่งเสริมการไหลของน้ำนมของมารดาหลังคลอดที่มารับบริการที่คลินิกโดยประยุกต์มาจากการนวดของประเทศฟิลิปปินส์และเผยแพร่ประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 416ต่อมากฤษณา ปิงวงศ์ และกรรณิการ์ กันธะรักษา17  ได้เรียกว่าการนวดเต้านมด้วยท่าพื้นฐาน 6 ท่าและจัดให้อยู่ในกลุ่มการนวดเพื่อส่งเสริมการไหลของน้ำนมและเพิ่มปริมาณน้ำนม

การศึกษาเพื่อวัดประสิทธิผลของการนวดเต้านมด้วยท่าพื้นฐาน 6 ท่าวิธีการนวดแบบ SSBBM ได้ถูกระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการกระตุ้นน้ำนมในการวิจัย 2 เรื่องดังต่อไปนี้

กนกพร  เอื้ออารีย์กุลและคณะ18  ได้ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการกระตุ้นน้ำนมต่อปริมาณน้ำนม และระยะเวลาที่มารดามีน้ำนมเพียงพอสําหรับทารกในมารดาของทารกคลอดก่อนกําหนดโดยโปรแกรมกระตุ้นน้ำนมประกอบด้วย การให้ความรู้เกี่ยวกับการกระตุ้นน้ำนม  การประคบเต้านม การนวดเต้านม และการบีบน้ำนม ผู้วิจัย คือ กนกพร  เอื้ออารีย์กุลได้รับการฝึกการนวดด้วยท่าพื้นฐาน 6 ขั้นตอนจากอังสนา วงศ์ศิริพยาบาลวิชาชีพประจําคลินิกนมแม่ โรงพยาบาลบุรีรัมย์เป็นระยะเวลา 1 เดือน จนสามารถนวดได้ถูกต้อง ผลการศึกษาในกลุ่มทดลองจํานวน 13 ราย และมีกลุ่มเปรียบเทียบ จํานวน 15 รายพบว่าปริมาณน้ำนมมาเฉลี่ยในวันที่ 4 และ วันที่ 10 หลังคลอดของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน  และจํานวนวันเฉลี่ยที่มารดามีปริมาณน้ำนมเพียงพอต่อความต้องการของทารกเป็นวันแรก ในกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ

ต่อมาระวีวัฒน์  นุมานิตและคณะ19ซึ่งเป็นนักวิจัยในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ได้ออกแบบโปรแกรมการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมโดยใช้การนวดเต้านมพื้นฐาน 6 ท่าร่วมกับการประคบเต้านมด้วยลูกประคบสมุนไพร โดยมีคู่มือการสอนสาธิต หรือแผนการสอนเพื่อช่วยส่งเสริมการสร้างและการหลั่งน้ำนมและสื่อการเรียนรู้อื่น ๆ คือ ภาพพลิกซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับความสําคัญและประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลักการดูดนมที่มีประสิทธิภาพ  ท่าอุ้มลูกดูดนม การปฏิบัติช่วยส่งเสริมการสร้างและการหลั่งน้ำนม  การประคบและการนวดเต้านมเป็นต้น

หลังการศึกษาได้วัดระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมและระยะเวลาการมาของน้ำนมเต็มเต้าในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง พบว่า มารดาที่เข้าร่วมโปรแกรมมีระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมเฉลี่ย 21.4 ชั่วโมง ซึ่งเร็วกว่ามารดาที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม (33.33 ชั่วโมง)  และ มีค่าเฉลี่ยของระยะเวลาการมาของน้ำนมเต็มเต้า คือ 34.2 ชั่วโมง เร็วกว่ามารดาที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม  (41.47  ชั่วโมง) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ  (p< .01)

 

การเตรียม และขั้นตอนการนวดด้วยท่าพื้นฐาน 6 ท่า มีดังนี้

ขั้นการเตรียม ประกอบด้วยการเตรียมผู้นวด การเตรียมมารดา และการเตรียมสถานที่และอุปกรณ์โดยก่อนการนวดผู้นวดต้องล้างมือให้สะอาด ตัดเล็บสั้น ถอดเครื่องประดับที่มือขออนุญาตมารดาก่อนลงมือนวดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ได้แก่น้ำมันยี่หร่า น้ำมันตะไคร้  น้ำมันมะลิ  น้ำมันมะพร้าว น้ำมันงา หรือน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์เพื่อเพิ่มความหล่อลื่น ลดการเสียดสีที่ทําให้เกิดความเจ็บปวด และช่วยในการขับน้ำนมด้วยสรรพคุณของสมุนไพรหมอนหนุน  2 ใบ ผ้าขนหนูขนาดกลางสําหรับคลุม  1  ผืนจัดให้มารดานั่งบนพื้นหรือเก้าอี้ หลังตรง

ขั้นการนวด อังสนา วงศ์ศิริ20  พยาบาลวิชาชีพประจําคลินิกนมแม่ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ได้เผยแพร่ขั้นตอนการนวดไว้ในบทความวิชาการการศึกษาต่อเนื่องสาขาพยาบาลศาสตร์เล่มที่ 14 ดังนี้

ท่าที่ 1  ผีเสื้อขยับปีก (Butterfly stroke) ผู้นวดยืนด้านหลังของมารดา ใช้ฝ่ามือมือวางนาบลงบริเวณเต้านมด้านในของมารดาในแนวเฉียงเล็กน้อย นิ้วแต่ละข้างชิดกัน นวดจากเต้าด้านในออกไปด้านนอกในลักษณะหมุนวนรอบฐานเต้านมจํานวน 5 ครั้ง จากนั้นใช้การหมุนวนกลับจากด้านนอกเข้าด้านใน 5 ครั้ง


ท่าที่ 2  หมุนวนปลายนิ้ว (Fingertip circles) ผู้นวดยืนด้านหลังค่อนไปทางขวามือของมารดาใช้อุ้งมือขวารองเต้านมขวาของมารดาไว้  พร้อมกับใช้ปลายนิ้วทั้ง 4 ของมือซ้ายวางนาบลงบริเวณเหนือลานหัวนม แล้วนวดโดยการหมุนวนไปรอบ ๆ เต้านม ลงน้ำหนักพอประมาณ  5 รอบ จากนั้นสลับนวดทีละเต้า 


ท่าที่ 3  ประกายเพชร (Diamond stroke) ผู้นวดยืนด้านหลังไปทางขวามือของมารดาใช้ฝ่ามือขวาวางทาบลงเต้าขวาด้านขวา ฝ่ามือซ้ายวางทาบเต้าขวาด้านซ้าย นิ้วหัวแม่มือทั้ง2 กางออกตั้งฉากกับนิ้วทั้งหมด ในลักษณะประคอง จากนั้นบีบมือทั้ง 2 เข้าหากันพร้อม ๆ กับเลื่อนมือลงไปที่ลานหัวนม ทําสลับขึ้นลง ลงน้ำหนักแน่นพอควรจากนั้นใช้มือซ้ายและขวาแตะสลับเต้านมส่วนล่าง 5  ครั้ง  และใช้มือคลี่เต้านมด้านล่างด้วยนิ้วลักษณะปูไต่  5  ครั้ง


ท่าที่ 4  กระตุ้นท่อน้ำนม (Acupressure point I) ผู้นวดยืนด้านหลังค่อนไปทางขวามือของผู้ถูกนวดใช้มือซ้ายประคองเต้านมขวาผู้ถูกนวด  กํามือขวาเหลือเพียงนิ้วชี้ วางลงบริเวณขอบนอกของลานหัวนม (โดยวัดตําแหน่งการวางจากฐานหัวนมออกไปหนึ่งข้อนิ้วหัวแม่มือ) กดนิ้วชี้พร้อมกับวนที่ปลายนิ้วในตําแหน่งเดียวกัน ขยับนิ้วเปลี่ยนตําแหน่ง กดและวนนิ้วในลักษณะเดิมโดยไม่ให้สัมผัสกับหัวนมท่าที่ 5  เปิดท่อน้ำนม(Acupressure point II)ผู้นวดยืนด้านหลังค่อนไปทางขวามือของมารดาการวัดตําแหน่งผู้นวดใช้สามนิ้วของมือข้างขวาวางทาบลงเหนือฐานหัวนมด้านบน ใช้สามนิ้วของมือซ้ายวางทาบต่อจากนิ้วสุดท้ายของมือขวา  ตําแหน่งที่ได้คือ การวางของนิ้วชี้ข้างซ้าย  ใช้มือขวาวางที่ข้างแขนของผู้ถูกนวด มือซ้ายใช้นิ้วชี้ กดและหมุนวนลงในตําแหน่งที่วัดได้  คลายการกดลง แล้วกดซ้ำทําในลักษณะเดิม  5 ครั้ง 


ท่าที่เปิดท่อน้ํานม (Acupressure point II) ผู้นวดยืนด้านหลังค่อนไปทางขวามือของมารดาการวัดตําแหน่งผู้นวดใช้สามนิ้วของมือข้างขวาวางทาบลงเหนือฐานหัวนมด้านบน ใช้สามนิ้วของมือซ้ายวางทาบต่อจากนิ้วสุดท้ายของมือขวา  ตําแหน่งที่ได้คือ การวางของนิ้วชี้ข้างซ้าย  ใช้มือขวาวางที่ข้างแขนของผู้ถูกนวด มือซ้ายใช้นิ้วชี้ กดและหมุนวนลงในตําแหน่งที่วัดได้  คลายการกดลง แล้วกดซ้ำทําในลักษณะเดิม  5 ครั้ง 

 

ท่าที่พร้อมบีบน้ำนม (Final  steps) ผู้นวดยืนด้านหลังค่อนไปทางขวามือของมารดา ในขั้นตอนสุดท้ายนี้ จะมีทั้งหมด 3 ขั้นตอนทําให้ครบทุกท่าแล้วจึงเปลี่ยนข้าง และทําเช่นเดิม โดยทุกขั้นตอนจะไม่สัมผัสถูกหัวนม


ปัจจุบันคลินิกนมแม่ของโรงพยาบาลบุรีรัมย์กําลังพัฒนาการนวดด้วยท่าพื้นฐาน 6 ท่า เพื่อลดอาการท่อน้ำนมอุดตันเพราะจากการพิจารณาท่านวดต่าง ๆ พบว่า

ท่าที่ 1  ช่วยประเมินตําแหน่งที่มีการอุดตันหรือมีก้อน

ท่าที่ 2  เป็นการหาของท่อน้ำนมมีการอุดตัน ประเมินทางออกของน้ำนม ท่านี้สามารถไล่น้ำนมที่ติดค้างในท่อน้ำนมได้ดี

ท่าที่ 3  ช่วยกําจัดหรือคลายก้อนที่อยู่ใต้ฐานเต้านม

ท่าที่ 4  กระตุ้นให้มีการไหลของน้ำนม 

ท่าที่ 5  ช่วยในการสร้างน้ำนม

และท่าที่ 6  คลายท่อน้ำนมที่อุดกั้นบริเวณคอหัวนม ทําให้น้ำนมไหลออกได้ดี 

และจากการให้บริการการนวดด้วยท่าพื้นฐาน 6 ท่า แก่มารดาหลังคลอดในระยะให้นมบุตรที่มีปัญหาท่อน้ำนมอุดตันจํานวน 32 รายในระหว่างเดือนเมษายน-ตุลาคม 2564 โดยเก็บข้อมูล 3 ส่วน คือ

1) บันทึกการไหลของน้ำนม ซึ่งประกอบด้วย ดูดได้เกลี้ยงเต้าทุกครั้งและน้ำนมไหลพุ่งทุกครั้งที่ลูกดูด

2) สอบถามความพึงพอใจในการนวดเต้านม 

และ 3)ประเมินความปวดก่อนและหลังการนวดเต้านม

พบว่าหลังการนวดเต้านมน้ำนมไหลออกได้เกลี้ยงเต้า และน้ำนมไหลพุ่งดีกว่าก่อนการนวด  มารดามีความพึงพอใจและคิดว่าการนวดช่วยผ่อนคลายร่างกายและจิตใจลดความตึงเครียด  ส่วนอาการปวดเต้านมพบว่าก่อนและหลังการนวดเต้านมความปวดไม่แตกต่างกัน

การนวดด้วยท่าพื้นฐาน 6 ท่านี้จึงมีศักยภาพที่จะช่วยแก้ไขปัญหาท่อน้ำนมอุดตันได้  ซึ่งโรงพยาบาลบุรีรัมย์จะพัฒนาการศึกษาประสิทธิผลการนวดเต้านมนี้ในการวิจัยต่อไป

ความน่าเชื่อถือ (Creditability) ของการนวดด้วยท่าพื้นฐาน 6 ท่าเริ่มจากการที่ผู้นวด คืออังสนา ศิริวัฒนเมธานนท์ได้รับการฝึกโดยการนวดเต้านมเพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนมใหม่ (Relactation) จากกลุ่มแม่บ้านฟิลิปปินส์ที่เรียกว่า Arugaan Mother Support Group ที่โรงพยาบาลสมิติเวชซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยและได้เผยแพร่ความรู้บทความ เรื่อง  การนวดเต้านมวิถีแห่งการเพิ่มน้ำนมลงในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 416และบทความวิชาการการศึกษาต่อเนื่อง เล่มที่ 14  ของสภาการพยาบาล20และถูกบรรจุในกระบวนการเรียนการสอน ในหลักสูตรวิทยากรแกนนําการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของสภาการพยาบาล21เป็นวิทยากรฝึกปฏิบัติการนวดเต้านมในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาและโรงพยาบาลหลายแห่งรวมทั้งสอนและสาธิตการนวดแก่ประชาชนผู้สนใจเช่นการนวดเต้านมในงานสัปดาห์นมแม่โลก 2012 และงานประชุมวิชาการพยาบาลแห่งชาติครั้งที่ 14รวมทั้งเผยแพร่ในรายการของสถานีโทรทัศน์

ต่อมาในปี 2558 อังสนา ศิริวัฒนเมธานนท์ได้พัฒนาทักษะเพิ่มเติมด้วยการไปพบผู้เชี่ยวชาญการนวดเต้านมในงาน 11thOne Asia Breastfeeding Partners Forum  2015 ที่ประเทศมาเลเซียเพื่อตรวจสอบความตรงของเนื้อหา (Content validity) ของภาพที่แสดงขั้นตอนการนวดในแผ่นพับ เรื่องการนวดเต้านม: วิถีแห่งการเพิ่มน้ำนม20 และแสดงวิธีการนวดให้อาจารย์ได้ตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง  พร้อมทั้งได้รับการนวดจริงจากอาจารย์ เพื่อสังเกตน้ำหนักมือจนเป็นที่ยอมรับได้

วิธีการนวดที่ได้รับการพัฒนาหลังจากการประชุมนี้ ได้รับการเผยแพร่ในวงกว้างในปัจจุบันและคลินิกนมแม่ของโรงพยาบาลบุรีรัมย์เป็นคลินิกสําหรับการศึกษาดูงานเรื่องการนวดเต้านมโดยเฉพาะผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่บทความและเอกสารประกอบการประชุมเขียนโดยอังสนา วงศ์ศิริ16,20

วิธีการประเมินผลลัพธ์ของการนวดเต้านมเพื่อลดภาวะท่อน้ำนมอุดตันดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าคลินิกนมแม่  โรงพยาบาลบุรีรัมย์ได้ประเมินผลลัพธ์ของการนวดเต้านม ด้วยการประเมินการไหลของน้ำนม ความเจ็บปวดและความพึงพอใจ ขณะที่กนกพร  เอื้ออารีย์กุล,  พรรณรัตน์  แสงเพิ่ม,และสุดาภรณ์  พยัคฆเรือง18ประเมินด้วยปริมาณน้ำนมมาเฉลี่ยในวันที่ 4 และวันที่ 10 หลังคลอดและและจํานวนวันเฉลี่ยที่มารดามีปริมาณน้ำนมเพียงพอต่อความต้องการของทารกเป็นวันแรก ส่วนระวีวัฒน์  นุมานิตและคณะ19ประเมินด้วยระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมและระยะเวลาการมาของน้ำนมเต็มเต้า ซึ่งยังไม่มีการประเมินภาวะท่อน้ำนมอุดตันโดยตรงการประเมินภาวะท่อน้ำนมอุดตันและการตอบสนองต่อการรักษา ได้จากการวิจัยของWitt et al.1    และ Zhao et al.14   โดยWitt et al.1  ได้ประเมินและบันทึกความรุนแรงของท่อน้ำนมอุดตันซึ่งแบ่งเป็น 4 ระดับ ตามลักษณะของการตรวจพบก้อน คือ  

1) ระดับ 0 ไม่มีก้อน

2) ระดับ1 มีก้อน 1 ตําแหน่งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 3 เซนติเมตร

3) ระดับ 2  มีก้อน 1 ตําแหน่ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 3 เซนติเมตรแต่ไม่ถึง 5 เซนติเมตร

4) ระดับ 3 มีก้อน 1 ตําแหน่ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 5 เซนติเมตรและ

5) ระดับ 4  มีก้อนมากว่า 1 ก้อน  (หรือมีตําแหน่งการอุดตันมากกว่า 1 พื้นที่)

ส่วนZhao et al. 14 ได้พัฒนาเกณฑ์การจัดกลุ่มการตอบสนองต่อการรักษาภาวะท่อน้ำนมอุดตัน (The response classification criteria of plugged duct) โดยแบ่งการตอบสนองต่อการรักษาออกเป็น 4 เกรด คือ

เกรด 1 (แก้ไขปัญหาได้อย่างสมบูรณ์) ประเมินจากการที่น้ำนมกลับมาไหลตามปกติ ร่วมกับการตรวจพบว่าก้อนต่าง ๆ (หรืออาการคัดตึงเต้านมเฉพาะที่ ) ที่เคยตรวจพบนั้นยุบหายไปอย่างสมบูรณ์ และไม่มีอาการเจ็บเต้านม

เกรด 2(อาการดีขึ้นมาก) ประเมินจากการตรวจพบว่าน้ำนมกลับมาไหลตามปกติหรือเกือบปกติร่วมกับการตรวจพบว่าอาการเจ็บเต้านมลดลงอย่างมาก และขนาดของก้อน (หรือขนาดของพื้นที่ที่มีอาการคัดตึง) ก็ลดลงอย่างมากเช่นกัน

เกรด 3 (อาการดีขึ้น)ประเมินจากการตรวจพบว่าน้ำนมไหลออกเพิ่มขึ้น ร่วมกับการตรวจพบว่าขนาดของก้อน (หรือขนาดของพื้นที่ที่มีอาการคัดตึง) ลดลงเล็กน้อยหรือปานกลาง และยังคงมีอาการปวดเต้านม

เกรด 4 (ไม่ตอบสนองต่อการรักษา) ประเมินจากการตรวจพบว่าการไหลของน้ำนมไม่เปลี่ยนแปลงร่วมกับตรวจพบว่าก้อน (หรือขนาดของพื้นที่ที่มีอาการคัดตึง) ขนาดเท่าเดิม  และยังคงมีอาการเจ็บเต้านม

 Zhao et al. 14 ให้ข้อเสนอแนะว่าการประเมินผลนี้ควรทําโดยผู้นวด ในทันทีที่นวดเสร็จโดยให้ประเมินเต้านมทีละข้าง ถ้าผลการประเมินไม่เหมือนกันให้ใช้เต้าที่ได้ผลการประเมินที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่า (อยู่ในเกรดสูงกว่า) เป็นตัวแทนของการประเมินโดยภาพรวมของมารดารายนั้นข้อห้ามและข้อควรระวังในการนวดเต้านมการนวดเต้านมที่มีประสิทธิภาพผู้นวดจะรู้สึกว่าเกิดความร้อนบริเวณเต้านมขณะนวด แต่การนวดที่ไม่ถูกต้อง อาจทําให้ไม่สามารถแก้ปัญหาของเต้านมให้มารดาหลังคลอดได้ และอาจเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย ผู้นวดจึงควรปฏิบัติด้วยความระมัดระวังดังนี้

  1. ควรวินิจฉัยอาการและการแยกอาการผิดปกติอย่างถูกต้องก่อนการนวดเต้านม การวินิจฉัยอาการเต้านมคัดตึง ท่อน้ำนมอุดตันและเต้านมอักเสบควรปฏิบัติตามมาตรฐานและคํานึงถึงความถูกต้องแม่นยําเนื่องจากมีอาการผิดปกติที่อาจพบก้อนในระยะให้นมบุตรหลายชนิด เช่น เช่น เนื้องอกเต้านมมะเร็งเต้านมหรืออาการเลือดคั่ง ถ้าสงสัยความผิดปกติของเต้านมควรส่งต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที
  2. ห้ามนวดเต้านมในมารดาที่มีเต้านมอักเสบ ติดเชื้อปวดบวม แดงร้อน เพราะจะทําให้อักเสบเพิ่มขึ้น ห้ามนวดผู้ที่เป็นโรคผิวหนัง เพราะจะทําให้เชื้อแพร่กระจายและห้ามนวดกรณีเต้านมมีความผิดปติอื่น ๆ เช่น เต้านมเป็นฝี เนื้องอก มีแผลหรือก้อนเลือดคั่ง มะเร็งเต้านม ผิวหนังไหม้ และมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง หรือมีประวัติการผ่าตัดเสริมหรือลดขนาดของเต้านม
  3. ควรนวดเต้านมอย่างนุ่มนวลเบามือ ปรับน้ำหนักมือไม่ให้เบาหรือหนักจนเกินไปเพื่อป้องกันการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อและฟกช้ํา โดยสังเกตจากสีหน้าและท่าทางของผู้ถูกนวดประกอบขณะนวด ผู้นวดควรได้รับการฝึกฝนและเตรียมความพร้อมในเทคนิคการนวดเต้านม ควรเล็บตัดสั้นนวดและไม่สวมเครื่องประดับทุกชนิดและคํานึงถึงข้อห้ามและข้อควรระวังในการนวดเต้านมไม่สัมผัสถูกหัวนมตลอดการนวดสรุปการนวดเต้านมช่วยหมุนเวียนการทํางานของระบบไหลเวียนเลือดกระตุ้นการทํางานของต่อมน้ำนมเนื่องจากในเต้านมมีเนื้อเยื่อที่มีความอุดมสมบูรณ์ของหลอดเลือดและน้ำเหลือง กระตุ้นให้เนื้อเยื่อคลายตัวและส่งเสริมการระบายน้ำเหลืองตามธรรมชาติ ทําให้ปริมาณของน้ำนมเพิ่มขึ้นช่วยลดปัญหาเต้านมคัดตึงและป้องกันภาวะท่อน้ำนมอุดตัน อีกทั้งยังช่วยค้นพบความผิดปกติของเต้านมได้เร็วขึ้น

จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าการนวดเต้านมที่สามารถแก้ปัญหาท่อน้ำนมอุดตันได้มี 3 วิธีคือ วิธี TBBL, SSRMT, และ CT หรือ PTT ในบทความนี้ผู้แต่งได้นําเสนอวิธีการนวดวิธีที่ 4 คือแบบ SSBBM โดยละเอียดสําหรับเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาท่อน้ำนมอุดตันเนื่องจากลักษณะการนวดมีศักยภาพในการแก้ปัญหาท่อน้ำนมอุดตันได้วิธีการนวดนี้จึงควรได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิผลดีโดยออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการแก้ปัญหาการไหลของน้ำนม ด้วยการวิจัยเชิงทดลองหรือการวิจัยแบบผสานวิธี

 

เอกสารอ้างอิง

  1. Witt AM,  Bolman M, Kredit S, & Vanic A. Therapeutic breast massage in lactation forthe management of engorgement, plugged ducts, and mastitis.J Hum Lact2016;32:123-31. doi: 10.117/0890334415619439.
  2. ศิริรัตน์ เกียรติกูลานุสรณ์. การจัดการทางกายภาพบําบัดในผู้ป่วยท่อน้ำนมอุดตัน. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน2561;24:320-34.
  3. พฤหัสจันทร์ประภาพ. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. ใน:ประภัทร วนิชพงษ์พันธ์ม กุศล รัศมีเจริญ, และตรีภพ เลิศบรรณพงษ์, บรรณาธิการ. ตําราสูติศาสตร์. กรุงเทพ: พี เอ ลีฟวิ่ง จํากัด; 2560.หน้า 427-40.
  4. Who Health Organization [Internet]. 2022 [cited 2022 Aug 24]. Available from:https://www.who.int/health-topics/breastfeeding#tab=tab_3
  5. ข้อมูลสถิติ  Unit Profile.คลินิกนมแม่ กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลบุรีรัมย์. 2564.
  6. Sokan Adeaga M, Sokan-Adeaga A, Sokan-Adeaga E. A systematic review on exclusive breastfeeding practice in Sub-Saharan Africa:facilitators and barriers. ASMS 2019;3:53-6.
  7. UNICEFfor every child.Division of Data, Analysis, Planning and Monitoring[Internet].2021 [cited 2022Jun2].Available from: https://www.unicef.org/media/91026/file/DAPM-2019-HQAR.pdf
  8. สํานักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย. โครงการสํารวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2562, รายงานผลฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานสถิติแห่งชาติ; 2563.
  9. กระทรวงสาธารณสุข. ร้อยละของเด็กแรกเกิด -ต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว[อินเตอร์เน็ต].2565[เข้าถึงเมื่อ2มิ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5&id=4164a7c49fcb2b8c3ccca67dcdf28bd0#
  10. ศศิธารา  น่วมภา,พรนภา ตั้งสุขสันต์,วาสนา  จิติมา,และกันยรักษ์  เงยเจริญ.การนวดเต้านมเพื่อส่งเสริมและแก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่:การปฏิบัติพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์.  วารสารพยาบาลศาสตร์2563;38:4-21.
  11. สาวิตรี พรานพนัส,สุอารีย์ อันตระการ,พยุง แห่งเชาวนิช. กายวิภาคของเต้านมและกลไกการสร้างและหลั่งน้ำนม. ใน:ศุภวิทย์  มุตตามระ,กุสุมา ชูศิลป์,อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ,วราภรณ์ แสงทวีสิน,ยุพยง แห่งเชาวนิช, บรรณาธิการ. ตําราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. กรุงเทพฯ:มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย; 2555.หน้า 1-13.
  12. ฉันทิกา จันทร์เปีย. กายวิภาคของเต้านมสรีรวิทยาของการสร้างและหลั่งน้ำนมและกลไกการดูดของทารก. ใน กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์,พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม,นันทิยา วัฒนายุ,สุพินดา เรืองจิรัษเฐียร, และสุดาภรณ์ พยัคฆเรือง, บรรณาธิการ. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. กรุงเทพฯ: พรี-วัน; 2555. หน้า 61-82.
  13. Lawrence, RA.Lawrence,RM. Breastfeeding: A guide for the medical Profession. 8thed. United States of America:Elsevier;2016.
  14. Zhao C, Tang R, Wang J, Guan X, Zheng J, Hu J,et al. Six-step recanalization manual therapy: a novel method for treating plugged ducts in lactating. J Hum Lact2014;30:324-30. doi: 10.1177/0890334414532314.
  15. Cooper BB, KowalskyDS, Physical therapy intervention for treatment of blocked milk ducts in lactating women. J Womens HealthPhys Therap2006;30:26.doi:10.1097/01274882-200630020-00006
  16. อังสนา  วงศ์ศิริ. การนวดเต้านม :วิถีแห่งการเพิ่มน้ำนม. ในเอกสารประกอบประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ; 2556. 
  17. กฤษณา  ปิงวงศ์,และกรรณิการ์ กันธะรักษา. การนวดเต้านมเพื่อส่งเสริมการสร้างและหลั่งน้ำนม.พยาบาลสาร2560;44:169-76.
  18. กนกพร  เอื้ออารีย์กุล, พรรณรัตน์  แสงเพิ่ม,สุดาภรณ์  พยัคฆเรือง. ผลของโปรแกรมกระตุ้นน้ำนมต่อปริมาณน้ำนมและระยะเวลาที่มารดามีน้ำนมเพียงพอสําหรับทารก ในมารดาทารกเกิดก่อนกําหนดที่ผ่าตัดคลอด.วารสารพยาบาลศาสตร์2561;36:71-82.
  19. ระวีวัฒน์ นุมานิตย์.ผลของโปรแกรมการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมต่อระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมและระยะเวลาการมาของน้ำนมเต็มเต้า ในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง.การประชุม HACC FORUM ครั้งที่ 12; วันที่ 22-23 พฤศจิกายน 2561; สํานักวิชาพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ร่วมกับ ศูนย์ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลเขตนครชัยบุรินทร์ (HACC นครชัยบุรินทร์) และสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). จังหวัดนครราชสีมา: ม.ป.พ.;2561.
  20. อังสนา วงศ์ศิริ.พลังนวดเพิ่มน้ำนม.ใน:กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม. บทความวิชาการการศึกษาต่อเนื่องสาขาพยาบาลศาสตร์ เล่มที่ 14  การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. กรุงเทพฯ: ศิริยอดการพิมพ์; 2557.หน้า 45-52.
  21. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาวิทยากรแกนนําเครือข่ายการสนับสนุน และคุ้มครองการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่; วันที่ 12-13 มิถุนายน 2565;สภาการพยาบาล โดยคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล;นครปฐม: ม.ป.พ.2557.



ความรู้เรื่องนมแม่

จะปั๊มนม ทำสต็อกอย่างไร?
กระเพาะของทารกแรกเกิด
ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ชุดที่ 2 article
นมปั๊มกลางวัน กินกลางวัน นมปั๊มกลางคืน กินกลางคืน ใช่หรือไม่ article
รวมความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ article
ผ่าคลอดแล้วไม่มีน้ำนม article
นมแม่กับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่: การเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก ตอนที่ 2
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่: การเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก ตอนที่ 1
ความจุของเต้านม
10 ความจริงเรื่องนมแม่จาก WHO article